บทสรุปบทความ00102064 Flipbook PDF

บทสรุปบทความ00102064
Author:  B

90 downloads 168 Views 1MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

เอกสารวิชาการ สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

บทความวิชาการ พลัง งานทดแทนในยุ ค ๔.๐ (Alternative Energy)

Photo: https://www.freepik.com/photos/background'> Background photo created by creativeart

ศ รั ณ ย์ ศิ ริ คั ม ภิ ร า น น ท์ เอกสารวิชาการนี้เป็ นความคิดเห็นและความรับผิดชอบส่วนบุคคลของผูเ้ ขียน สานักงานเลขาธิการวุฒสิ ภาไม่จาเป็ นต้องเห็นพ้องด้วย

00102064

บทความวิชาการ เรื่อง พลังงานทดแทนในยุค ๔.๐ (Alternative Energy)

จัดทาโดย นายศรัณย์ศิริ คัมภิรานนท์ วิทยากรปฏิบัติการ กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒสิ ภา สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส ำนั ก วิ ช ำกำร ส ำนั ก งำนเลขำธิ ก ำรวุ ฒิ ส ภำ มี ห น้ ำ ที่ ส นั บ สนุ น ข้ อ มู ล วิ ช ำกำร ให้แก่สมำชิกวุฒิสภำ และคณะกรรมำธิกำร เพื่อประโยชน์ในกำรดำเนินงำนที่เกี่ยวข้องในวงงำน ของฝ่ำยนิติบัญญัติ บทควำมวิชำกำร เรื่อง พลังงานทดแทนในยุค ๔.๐ (Alternative Energy) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลให้กับสมำชิกวุฒิสภำ และบุคคลในวงงำนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หำกสมำชิกวุฒิสภำมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะประกำรใด หรือประสงค์ให้จัดทำ ข้อมูลทำงวิชำกำรในเรื่องที่ท่ำนสนใจ สำมำรถแจ้งควำมจำนงได้ที่ สำนักวิชำกำร สำนักงำนเลขำธิกำร วุฒิสภำ อำคำรรัฐสภำ (เกียกกำย) ชั้น ๒ ถนนสำมเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๑ ๙๓๐๘, ๙๓๐๙ อนึ่ง บทควำมวิชำกำรนี้ สำนักวิชำกำรได้ จัดทำขึ้น ปีที่ ๐๙ ฉบับที่ ๑๐ เดือนกันยำยน ๒๕๖๒ เผยแพร่ผ่ำนทำงห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์วุฒิสภำ http://library.senate.go.th/e-library/ web/main.jsp?HMS=1582257832967 และเว็บไซต์ของสำนักงำนเลขำธิกำรวุฒิสภำในช่องทำง Digital Media (เอกสำรวิ ช ำกำร ส ำนั ก วิ ช ำกำร) https://www.senate.go.th/view/1/Digital_ Media_Data/TH-TH

พลังงานทดแทนในยุค ๔.๐ (Alternative Energy) ศรัณย์ศิริ คัมภิรานนท์* Photo: https://www.freepik.com/vectors/tree'> Tree vector created by macrovector

พลังงานเป็น ปัจจัยสาคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ กับ ทุกประเทศ แม้ว่าพลังงานฟอสซิล จะเป็นพลังงานที่จัดหามาได้ในปริมาณมากและนาไปใช้ได้สะดวก แต่พลังงานฟอสซิล เช่น นามัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เมื่อนามาใช้งานจะก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ที่ มี ผลกระทบต่ อสิ่ งแวดล้อม อี กทั งปริมาณที่ ค้ นพบในภู มิ ภาคต่ าง ๆ ของโลกก็ ลดน้ อยลง โดยเฉพาะ ก๊ าซธรรมชาติ ของประเทศไทยที่ เคยค้ นพบในอ่ าวไทยยิ่ งลดน้ อยลงมากจนใกล้ ถึ งสภาวะวิ กฤติ แล้ ว หากเหตุการณ์ยังเป็นเช่นนีต่อไป ประเทศไทยจะต้องนาเข้าพลังงานทดแทนทังหมดและจะทาให้เกิดวิกฤต พลังงานขึนอย่างแน่นอน ในขณะเดี ย วกั น ประเทศไทยตั งอยู่ บ นภู มิ ป ระเทศที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ ด้ ว ยทรั พ ยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เอือต่อการผลิตพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ พลังงานน า และพลังงานจากขยะ เป็ นต้น ซึ่งพลังงานเหล่านีสามารถนาไปแปรรูป ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานกลที่มีศักยภาพสูง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมีศักยภาพที่จะเป็นพลังงานที่สามารถพึ่งพิงได้ การใช้ พ ลั งงานทดแทน (alternative energy) จึ งเป็ นทางเลื อกที่ ห ลายประเทศให้ ความส าคั ญ และนามาใช้แทนนามันเชือเพลิงและก๊าซธรรมชาติ โดยแหล่งที่มามี ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ พลังงาน ทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไปเรียกว่า พลังงานสินเปลือง (non-renewable energy) ได้แก่ ถ่านหิ น ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินนามัน และทรายนามัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่ง พลั งงานที่ ใช้ แล้ วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อี กเรียกว่า พลั งงานหมุ นเวียน (renewable energy) ได้แก่ * วิทยากรปฏิบัติการ กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒิสภา

สานักวิชาการ โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๓๐๖, ๙๓๐๙

ข แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล นา และไฮโดรเจน เป็นต้น และประเภทที่ ๒ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น การพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พั ฒ นา และสาธิ ต ตลอดจนส่ งเสริ ม และเผยแพร่ เพื่ อ ให้ มี ก ารผลิ ต และการใช้ ป ระโยชน์ อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทังทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติ แห่ งชาติ เห็ นถึ งความส าคั ญในการบริหารจั ดการ พลั ง งานของประเทศไทย จึ ง ได้ พิ จ ารณาศึ ก ษา เรื่อง “การจัด ลาดับความเหมาะสมในการรับ ซือ ไฟฟ้ า ตามประเภทเชื อเพลิ ง พลั ง งานทดแทน” ในลั ก ษณะการวิ จั ย เร่ ง ด่ ว น (Quick Research) ผลจากการศึกษาวิจัย สรุปได้ว่า ความเหมาะสม ในการรับซือไฟฟ้าตามประเภทเชือเพลิงพลังงาน ทดแทนของประเทศไทยจัดลาดับได้ ๗ ลาดับ ดังนี Photo: https://www.freepik.com/vectors/technology'> Technology vector created by redgreystock (๑) พลังงานแสงอาทิตย์ (๒) ชีวมวล (๓) พลังงาน นาขนาดเล็ก (๔) ก๊าซชีวภาพจากนาเสีย/ของเสีย (๕) พลังงานลม (๖) ก๊าซชีวภาพจากพืช และ (๗) พลังงานขยะ ซึ่งหลักการและแนวทางการจัด ลาดับความเหมาะสมในการรับซือไฟฟ้ าตามประเภท เชื อเพลิ งพลั งงานทดแทน สามารถประยุ ก ต์ ใช้ ในการตั ด สิ น ใจตามล าดั บ ชัน (Analytic Hierarchy Process : AHP) โดยการพิจารณาปัจจัยที่มีอิ ทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างรอบด้านทังด้านความมั่นคง ทางพลังงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทังนี การเลือกปัจจัยควรคานึงถึงความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์ในแต่ละช่วงเวลาที่มีการตัดสินใจ สาหรับข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทาง ของการจั ด ลาดั บ ความเหมาะสมในการรับ ซื อไฟฟ้ าตามประเภทเชื อเพลิ งพลั งงานทดแทนภายใต้ แผนพั ฒ นาพลั ง งานทดแทนและพลั งงานทางเลื อ ก พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (Alternative Energy Development Plan : AEDP 2015) หรือแผนพลังงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี ๑. รัฐบาลอาจพิจารณาใช้นโยบายพลังงาน โดยกาหนดการรับซือไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็นกลไก ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาประเทศให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ปัญหา และความต้องการพัฒนา ในแต่ละช่วงเวลา รัฐบาลอาจใช้นโยบายพลังงานในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศได้ เช่น การรับซือ ไฟฟ้ าจากพลั งงานขยะ การรั บซื อไฟฟ้ าจากน าเสี ย/ของเสี ย การรับซื อไฟฟ้ าจากพื ชพลั งงาน เป็ นต้ น เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่า ๒. กรณีพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่เสถียร จึงควรเปิดการรับซือไฟฟ้า โดยกาหนด เงื่อนไขเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนแนวทางการรับซือไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ สูงสุดด้วยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมให้มากขึน

ค ๓. กรณี พ ลั งงานชี ว มวล แม้ ข้ อ มู ล จากหน่ ว ยงานที่ เกี่ ย วข้ อ งระบุ ถึ งปริ ม าณชี ว มวลเหลื อ ใช้ ทั งจากภาคเกษตรและอุ ตสาหกรรมว่ามี ศั กยภาพเพี ยงพอในการผลิ ตไฟฟ้ า แต่ จากการบริหารจั ดการ ด้านพลังงานทดแทนที่ผ่านมา พบปัญหาการขาดแคลนเชือเพลิง และการต่อต้านจากประชาชนในพืนที่ ดังนัน การเปิดรับซือไฟฟ้าควรพิจารณาและวางแผนให้เกิดความมั่นคงด้านวัตถุดิบร่วมด้วย และการกาหนด ให้มีการปลูกพืชเชือเพลิงสารองในปริมาณที่สอดคล้องกับความสามารถในการผลิตไฟฟ้าในพืนที่โรงงาน ไฟฟ้าแต่ละแห่ง รวมถึงการศึกษาเพื่อให้ความรู้ การทาความเข้าใจกับประชาชนให้มากยิ่งขึน สาหรับชีวมวล เหลือใช้ในพืนที่อาจพิจารณาสนับสนุนให้มีการทาชีวมวลอัดแท่ง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป ๔. ให้มีการวางแผนใช้ประโยชน์ที่ดินในการผลิตเชือเพลิงพลังงานทดแทน และการกาหนดพืนที่ตัง โรงไฟฟ้าที่เหมาะสมตามพื นที่ที่มีศักยภาพพลังงานทดแทนแต่ละประเภท เพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน ให้เกิดขึนอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงด้านวัตถุดิ บ ลดปัญหาความขัดแย้งและการต่อต้าน จากประชาชน นาสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ ๕. ให้ หน่ วยงานที่ รับผิดชอบมี การศึกษาจัดลาดับความเหมาะสมในการรับซือไฟฟ้าตามประเภท เชือเพลิงพลังงานทดแทนในรายละเอี ยดเชิงพื นที่ โดยอาจแบ่ งเป็ นรายภาค พร้อมทั งพิ จารณากาหนด ประเภทพลังงานทดแทนที่เหมาะสมและมีศักยภาพของพืนที่นัน ๆ ตามหลักวิชาการโดยสามารถชีแจงกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและลดปัญหาความขัดแย้งต่อต้านจากประชาชนในพืนที่ ประเทศไทยควรมีการส่งเสริมและสนั บสนุนให้ มีการผลิต การใช้และการพั ฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่าเท่าที่จาเป็น เปิดโอกาสให้ ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนมีส่วนร่วม มีการแข่งขันการลงทุนอย่างเป็นธรรม พึ่งพาตนเองทังในด้านวัตถุดิบ เทคโนโลยีแ ละองค์ความรู้ รวมทังส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการบริห าร จัดการพลังงานทดแทนด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านอุตสาหกรรม พลังงานและเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ระบบเศรษฐกิจมีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป **********************

รายละเอียดบทความฉบับเต็ม

ออกแบบ : เรไร ลาเจียก, นิจวรรณ โปยขุนทด

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.