สรง. ไตรมาสที่ 1/2563 Flipbook PDF

การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 1/2564 ( ม.ค.-มี.ค.) จังหวัดยโสธร
Author:  p

68 downloads 122 Views 888KB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ISSN 1685 - 0084

การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดยโสธร ไตรมาสที่ 1 : มกราคม – มีนาคม 2563

สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดยโสธร ไตรมาสที่ 1 : มกราคม – มีนาคม 2563

สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

หน่วยงานเจ้าของเรื่อง

สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร ศาลากลางจังหวัดยโสธร ชั้น 5 ถนนแจ้งสนิท ต.ในเมือง อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร 35000 โทรศัพท์ 0 4571 2703 โทรสาร 0 4571 3059 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : [email protected]

หน่วยงานที่เผยแพร่

กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 0 2143 1323 ต่อ 17496 โทรสาร 0 2143 8132 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : [email protected]

ปีทจี่ ัดพิมพ์ จัดพิมพ์โดย

2563 สำนักงานสถิตจิ ังหวัดยโสธร

คำนำ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เริ่มจัดทำโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2506 ในช่วง พ.ศ. 2514 - 2526 ได้ทำการสำรวจปีละ 2 รอบ โดยรอบแรกเป็นการสำรวจนอกฤดูการเกษตร ระหว่าง เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม รอบที่ 2 เป็นการสำรวจในฤดูกาลเกษตรระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน และช่วง พ.ศ. 2527-2540 ทำการสำรวจเป็นปีละ 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ รอบที่ 2 สำรวจ ในเดือนพฤษภาคม รอบที่ 3 สำรวจในเดือนสิงหาคม และช่วง พ.ศ. 2541-2543 ทำการสำรวจเพิ่มขึ้นอีก 1 รอบ เป็นรอบที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลเป็นรายไตรมาส สำหรับการสำรวจตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ได้ดำเนินการสำรวจเป็นรายเดือนแล้วนำข้อมูล 3 เดือน มารวมกันเพื่อเสนอข้อมูลเป็นรายไตรมาส และได้มีการปรับอายุผู้อยู่ในกำลังแรงงานจาก 13 ปีขึ้นไปเป็น 15 ปีขึ้นไป เพื่ อให้ สอดคล้ องกั บกฎหมายแรงงานเด็ ก ปรับปรุงการจั ดจำแนกประเภทของอาชี พ อุ ตสาหกรรม และสถานภาพ การทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลกันได้ และการเสนอผลตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เป็ นต้ นไป จะนำเสนอปี ละ 4 ฉบั บ เป็ น รายไตรมาส สำหรับผู้ ที่ ต้ องการใช้ ข้ อมู ลเป็ นรายเดื อนในลั กษณะเดิ ม ยังสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร รายงานผลการสำรวจฉบับนี้ เป็นการนำเสนอผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของจังหวัด ยโสธร ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 ซึง่ ได้ทำการสำรวจระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 โดยได้ใช้ข้อมูลจากการ คาดประมาณประชากรของประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2553 – 2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพั ฒ นาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นฉบับที่ปรับปรุงใหม่ นำมาเป็นฐานข้อมูลในการประมวลผลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2557 เป็ น ต้น ไป มีผ ลทำให้ จำนวนประชากรแตกต่างจากการใช้ข้อมูล การคาดประมาณประชากรของ ประเทศไทย พ.ศ. 2543 – 2573 (ฉบับเดิม) เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการสำรวจด้วยระเบียบวิธี ตัวอย่าง ซึ่งอาจจะมี ความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่างและคลาดเคลื่อนอื่นๆ รวมอยู่ด้วย จึงขอให้ผู้ใช้ข้อมู ลได้คำนึงถึงเรื่องนี้ ในการใช้ตัวเลขด้วย

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 แผนผังการจำแนกประชากรตามสถานภาพแรงงาน การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 (มกราคม – มีนาคม 2563) ผลจากการ สำรวจ พบว่า จังหวัดยโสธร มีจำนวนประชากร อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 387,285 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมทำงาน จำนวน 268,137 คน ประกอบด้ ว ยผู้ มี งานทำ จำนวน 260,660 คน ผู้ ว่ างงาน จำนวน 3,644 คน ผู้ ที่ รอฤดู กาล จำนวน 3,833 คน ส่ วนผู้ ที่ ไม่ อยู่ ใน กำลังแรงงานมีจำนวน 119,148 คน

ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 387,285 คน

ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 268,137 คน

ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 119,148 คน

ผู้มีงานทำ 260,660 คน

ทำงานบ้าน 18,743 คน

ภาคเกษตร 146,736 คน

ผู้ว่างงาน 3,644 คน

เรียนหนังสือ 31,157 คน

นอกภาคเกษตร 113,924 คน

ผู้ที่รอฤดูกาล 3,833 คน

อื่นๆ 69,248 คน

แผนภูมิ 1 เปรียบเทียบร้อยละของผู้มงี านทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 กับ 2563 อุตสาหกรรม อืน่ ๆ 2.3 3.4

การศึกษา

5.5 6.0

ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563

7.7 7.4 4.8 3.6 11.4 10.3 7.1 6.9 7.7 6.1

บริ หารราชการฯ โรงแรม ขายส่งขายปลีก การก่อสร้ าง การผลิต

53.5 56.3

เกษตรกรรม

0

10

20

30

40

50

60

70

80

90 100

ร้อยละ

สำหรับผู้มีงานทำประกอบด้วย ผู้ที่ทำงาน ในภาคเกษตรกรรม มีร้อยละ 56.3 และนอกภาค เกษตรกรรม มี ร้อยละ 43.7 เมื่ อเปรี ย บเที ย บ ร้อยละของผู้ มีงานทำไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 กั บ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 พบว่ า ผู้ มี งานทำ มี จำนวนลดลง ร้ อยละ 3.1 (จากร้ อยละ 70.4 เป็นร้อยละ 67.3) ผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม มีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 (จากร้อยละ 53.5 เป็น ร้อยละ 56.3) ส่วนผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม มี จำนวนลดลง ร้ อยละ 2.8 (จากร้ อยละ 46.5 เป็น ร้อ ยละ 43.7) โดยลดลงในแต่ละประเภท อุตสาหกรรม ดังนี้ สาขาการผลิ ต ลดลง ร้อยละ 1.6 กิจกรรมโรงแรมและอาหารลดลง ร้อยละ 1.2 สาขาการขายส่ง การขายปลีกลดลง ร้อยละ 1.1 สาขาการบริ ห ารราชการและการป้องกัน ประเทศลดลง ร้อ ยละ 0.3 สาขาการก่ อสร้าง ลดลง ร้อ ยละ 0.2 สำหรับสาขาที่ เพิ่มขึ้น คือ สาขาการศึ ก ษาเพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 1.1 และ สาขาอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5

iv แผนภูมิ 2 เปรียบเทียบร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพ การทำงาน ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 กับ 2563

ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562

ร้อยละ 44.9 43.0

ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563

28.7 26.9 13.0 15.8

12.4 13.7

สถานภาพ การทำงาน

การ รวม กลม ุ่

ลกู จ า้ งเอ กช น ทา งาน สว่ น ตวั ชว่ ย ธุรก จิ คร วั เรอื น

0.1 0.1

0.9 0.5 าล ลกู จ า้ งร ฐั บ

นา ยจา้ ง

50.0 45.0 40.0 35.0 30.0 25.0 20.0 15.0 10.0 5.0 0.0

แผนภูมิ 3 เปรียบเทียบร้อยละของผู้มงี านทำ จำแนกตามระดับการศึกษา ที่สำเร็จ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 กับ 2563 ร้อยละ

11.6 0.1

มห าวทิ ยาล ยั

มธั ยมศ กึ ษ า



ระดับการศึกษา ปร ะถม ศกึ ษ

0.0

14.3

ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563

28.2

28.4

31.0

30.5 26.4

29.5

ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562

ไมม่ กี าร ศกึ ษา ต่า กวา ่ ปร ะถม ศกึ ษา

50.0 45.0 40.0 35.0 30.0 25.0 20.0 15.0 10.0 5.0 0.0

แผนภูมิ 4 อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2560 – ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 ร้อยละ

2.2 2.0 1.8 1.6 1.4 1.2 1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0.0

1.36

1.15 0.60 0.63

0.58 0.00

0.16

0.16

0.38 0.00

4_60 1_61 2_61 3_61 4_61 1_62 2_62 3_62 4_62 1_63

ไตรมาส

เมื่ อ พิ จ ารณาจำนวนผู้ มี ง านทำตาม สถานภาพการทำงานในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 พบว่า ผู้ มี ง านทำส่ ว นใหญ่ เป็ น ผู้ ที่ ทำงานส่ ว นตั ว ลดลง ร้ อ ยละ 1.9 (จากร้ อ ยละ 44.9 เป็ น ร้อยละ 43.0) รองลงมาคือ ผู้ที่ช่วยธุรกิจครัวเรือน ลดลง ร้อยละ 1.8 (จากร้อยละ 28.7 เป็นร้อยละ 26.9) ลูกจ้างเอกชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 (จากร้อยละ 13.0 เป็ นร้ อยละ 15.8) ลู กจ้ างรั ฐบาลเพิ่ มขึ้ น ร้อยละ 1.3 (จากร้อยละ 12.4 เป็นร้อยละ 13.7) นายจ้างลดลง ร้อยละ 0.4 (จากร้อยละ 0.9 เป็น ร้อยละ 0.5) และการรวมกลุ่ม มีสัดส่วนเท่าเดิม คือ ร้อยละ 0.1 ด้านการศึกษาของผู้มีงานทำในไตรมาส ที่ 1 พ.ศ. 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 พบว่ า กลุ่ ม ผู้ มี ง านทำส่ ว นใหญ่ สำเร็จการศึกษาในระดับ ประถมศึกษามีจำนวน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 (จากร้อยละ 30.5 เป็นร้อยละ 31.0) รองลงมาคื อ กลุ่ ม ผู้ มี ง านทำที่ สำเร็ จ การศึ กษาระดั บ มั ธยมศึ กษาลดลง ร้ อยละ 0.2 (จากร้อยละ 28.4 เป็นร้อยละ 28.2) กลุ่มผู้มีงาน ทำที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษามี จำนวนลดลง ร้อยละ 3.1 (จากร้อยละ 29.5 เป็น ร้อยละ 26.4) กลุ่ มผู้ มีงานทำที่ สำเร็จการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 (จากร้ อยละ 11.6 เป็ นร้ อยละ 14.3) และกลุ่ ม ผู้ มี งานทำที่ ไม่ มี การศึ กษาเพิ่ มขึ้ น ร้ อยละ 0.1 (จากร้อยละ 0.0 เป็นร้อยละ 0.1) สำหรับอัตราการว่างงาน ในไตรมาส ที่ 1 พ.ศ. 2563 เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562 พบว่ า มี อั ต ราการว่ างงานเพิ่ ม ขึ้ น ร้อยละ 0.73 (จากร้อยละ 0.63 เป็นร้อยละ 1.36) ………………………………….

สารบัญ คำนำ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร สารบัญแผนภูมิ สารบัญตาราง บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ 2. คุ้มรวม 3. สัปดาห์แห่งการสำรวจ 4. คำอธิบายศัพท์ แนวคิด คำจำกัดความ บทที่ 2 สรุปผลการสำรวจ 1. ลักษณะของกำลังแรงงาน 2. อัตราการมีงานทำ 3. ผู้มีงานทำ 3.1 อาชีพ 3.2 อุตสาหกรรม 3.3 สถานภาพการทำงาน 3.4 ระดับการศึกษาของผู้มีงานทำ 3.5 ชั่วโมงทำงาน 4. การว่างงาน

หน้า i iii vii ix 1 1 2 2 2 7 7 8 9 9 9 10 11 11 12

ภาคผนวก ภาคผนวก ก ระเบียบวิธี ภาคผนวก ข ตารางสถิติ

15 19

สารบัญแผนภูมิ หน้า แผนภูมิ 1 จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงานและเพศ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 แผนภูมิ 2 อัตราการมีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 แผนภูมิ 3 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงาน ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563

7 8 10

สารบัญตาราง หน้า ตาราง ก จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงาน และเพศ ตาราง ข จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพและเพศ ตาราง ค จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรมและเพศ ตาราง ง จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จและเพศ ตาราง จ จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ และเพศ ตาราง ฉ จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ

8 9 10 11 12 12

บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ สำนั ก งานสถิ ติ แ ห่ งชาติ ได้ ท ำการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากรทั่ ว ประเทศอย่ า ง ต่อ เนื่อ งเป็น ประจำทุก ปี เริ่ม ตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2506 โดยในช่ว งแรกทำการสำรวจปีล ะ 2 รอบ และใน พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ. 2540 ได้ท ำการสำรวจปีล ะ 3 รอบ โดยรอบที่ 1 ทำการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงหน้าแล้งนอกฤดูการเกษตร รอบที่ 2 สำรวจ ในเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่กำลังแรงงานใหม่ที่เพิ่ง สำเร็จ การศึก ษาเริ่ม เข้า สู่ต ลาดแรงงาน รอบที่ 3 สำรวจในเดื อ นสิ ง หาคม เป็ น ช่ ว งฤดู ก ารเกษตร และต่อมาใน พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ได้เพิ่มการสำรวจ อีก 1 รอบรวมเป็น 4 รอบ โดยทำการสำรวจในเดือน พฤศจิ กายนของทุ ก ปี ซึ่ งเป็ น ช่ ว งฤดู ก ารเก็ บ เกี่ ย ว ผลผลิ ต ทางการเกษตร ทั้ ง นี้ เพื่ อ เป็ น การนำเสนอ ข้อ มูล ที่ ส ะท้ อ นถึงภาวะการมี งานทำ การว่างงาน และการประกอบกิ จ กรรมต่ า งๆ ของประชากร ทั้ งประเทศเป็ นรายไตรมาสและต่ อเนื่ องครบทุ กช่ วง เวลาของปี เนื่ อ งจากความจำเป็ น ต้ อ งการใช้ ข้ อ มู ล เพื่อใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายในระดับ จั ง หวั ด มี ม ากขึ้ น สำนั ก งานสถิ ติ แ ห่ ง ชาติ จึ ง ได้ กำหนดขนาดตั ว อย่ า งเพิ่ ม ขึ้ น โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้เพื่อ ให้ส ามารถนำเสนอข้อมูล ในระดับ จังหวัดได้ โดยเสนอเฉพาะรอบการสำรวจของเดือน กุมภาพันธ์และเดือนสิงหาคมเท่านั้น การสำรวจรอบ ที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ซึ่งจัดทำเป็น ครั้งแรกได้เสนอผลในระดับจังหวัดด้วย และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็น ต้นมา ผลการสำรวจทั้ง 4 รอบได้ เสนอผลในระดับจังหวัด

หลังจากเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจกลาง ปี 2540 ความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนและ กำหนดนโยบายด้านแรงงานมีมากขึ้นและเร่งด่วนขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 จึง ได้เ ริ่ม ดำเนิน การสำรวจเป็น รายเดือ นแล้ว นำข้ อ มูล 3 เดือ นรวมกัน เพื่อ เสนอ ข้อมู ล เป็น รายไตรมาส โดยข้อมูล ที่ส ำคัญ สามารถ นำเสนอในระดั บ จั ง หวั ด สำหรั บ ข้ อ มู ล ของเดื อ น ที่ ต รงกั บ รอบการสำรวจเดิ ม คื อ ข้ อ มู ล เดื อ น กุ ม ภาพั น ธ์ พฤษภาคม และ สิ ง หาคม ได้ จั ด ทำ สรุปผลการสำรวจเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเพื่อสามารถ เปรียบเทียบกับข้อ มูล แต่ล ะรอบของปี ที่ผ่ านมาได้ และการสำรวจตั้ง แต่เ ดือ นกัน ยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา สามารถนำเสนอผลของการสำรวจเป็ น รายเดือนทุกเดือนโดยสามารถเสนอผลในระดับภาค เท่ านั้ น เนื่ อ งจากตั ว อย่ างไม่ ม ากพอที่ จ ะนำเสนอ ในระดับย่อยกว่านี้ และในขณะเดียวกันได้มีการปรับ อายุผู้อ ยู่ ในกำลัง แรงงานจาก 13 ปีขึ้นไปเป็น 15 ปีขึ ้น ไป เพื ่อ ให้ส อดคล้อ งกับ กฎหมายการใช้ แรงงานเด็ก ปรับปรุงการจัดจำแนกประเภทของอาชีพ อุตสาหกรรมและสถานภาพการทำงานให้สอดคล้อง กั บ มาตรฐานสากลในปั จ จุ บั น เพื่ อให้ ส ามารถ เปรียบเทียบข้อมูลกันได้ ปรับเขตการปกครองจาก เดิ ม เขตสุ ข าภิ บ าลถู ก นำเสนอรวมเป็ น นอกเขต เทศบาล มารวมเป็ น ในเขตเทศบาล เนื่ อ งจาก พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็น เทศบาล พ.ศ. 2542 วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการสำรวจภาวะการ ทำงานของประชากรเพื่ อ ประมาณจำนวนและ ลั ก ษณะของกำลั ง แรงงานภายในประเทศและ ในจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละไตรมาสของข้อมูลสถิติที่ได้ จากการสำรวจ

2 1. จำนวนประชากรในวัยทำงาน (อายุ 15 ปี ขึ้นไป) และจำนวนประชากรนอกวัยทำงานจำแนก ตามเพศ 2. จำนวนประชากรในวัย ทำงาน จำแนก ตามสถานภาพแรงงาน อายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษาที่สำเร็จ 3. จำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามลักษณะที่ น่ าสนใจ เช่ น อายุ เพศ การศึ ก ษาที่ ส ำเร็ จ อาชี พ อุตสาหกรรม สถานภาพการทำงาน ชั่วโมงทำงาน ค่าจ้าง เงินเดือน และผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับจาก การทำงาน 4. จำนวนผู้ ว่ างงาน จำแนกตามลั ก ษณะ บางประการที่น่าสนใจ เช่น ระยะเวลาในการหางานทำ งานที่ทำครั้งสุดท้าย สาเหตุการว่างงาน เป็นต้น

2. คุ้มรวม ประชากรที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคล และครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทคนงาน

3. สัปดาห์แห่งการสำรวจ หมายถึง ระยะเวลา 7 วัน นับ จากวันก่อน วัน สั มภาษณ์ ย้ อนหลั งไป 7 วัน เช่น วัน สั มภาษณ์ คือ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 “ ระหว่าง 7 วัน ก่อนวันสัมภาษณ์ ” คือ ระหว่างวันที่ 2 ถึง วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

4. คำอธิบายศัพท์ แนวคิด คำจำกัดความ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ปรับปรุงแนวคิด และคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของ ประชากรหลายครั้ ง โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงทางสังคมและเศรษฐกิจ ของประเทศตลอดจนความต้องการของผู้ ใช้ข้อมูล และสอดคล้ อ งกั บ มาตรฐานสากลขององค์ ก าร แรงงาน ระห ว่า งป ระเท ศ (ILO) กับ อ งค์ก าร สหประชาชาติ (UN) แนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการ สำรวจไตรมาสนี้ ได้เริ่ ม ใช้ม าตั้งแต่ร อบที่ 1 พ.ศ. 2526 มี ก ารปรั บ ปรุ ง บ้ า งตามลำดั บ และตั้ ง แต่

ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2544 ได้กำหนดอายุขั้นต่ำของ ประชากรวัยทำงานเป็น 15 ปี

คำนิยามที่สำคัญ ๆ ที่ใช้ในการสำรวจ มีดังนี้

ผู้มีงานทำ ผู้มีงานทำ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในสั ป ดาห์ แห่ งการสำรวจมี ลั กษณะอย่ างหนึ่ ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับ ค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลค่าตอบแทนที่มี ลักษณะอย่างอื่นสำหรับผลงานที่ทำ เป็นเงินสด หรือ สิ่งของ 2. ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่ เป็ น บุ ค คลที่ มี ลั ก ษ ณ ะอ ย่ า งห นึ่ งอ ย่ า งใด ดังต่อไปนี้ (ซึ่งจะถือว่าเป็น ผู้ที่ปกติมีงานประจำ) 2.1 ยังได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือ ผลประโยชน์ อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิ จ ในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน 2.2 ไม่ได้ รับ ค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือ ผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจ ในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะ กลับไปทำ 3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับ ค่ า จ้ า งในวิ ส าหกิ จ หรื อ ไร่ น าเกษตรของหั ว หน้ า ครัวเรือนหรือของสมาชิกในครัวเรือน

ผู้ว่างงาน ผู้ว่างงาน หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในสั ป ดาห์ แห่ งการสำรวจมี ลั กษณะอย่ างหนึ่ ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. ไม่ ได้ ท ำงานและไม่ มี งานประจำ แต่ ได้ หางาน สมัค รงานหรือรอการบรรจุ ในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ 2. ไม่ได้ทำงานและไม่มีงานประจำ และไม่ได้ หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ แต่พร้อม ทีจ่ ะทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ

3

กำลังแรงงานปัจจุบัน กำลังแรงงานปัจจุบัน หมายถึง บุคคลที่ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงาน ทำหรือว่างงาน ตามคำนิยามที่ได้ระบุข้างต้น

กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล กำลั ง แรงงานที่ ร อฤดู ก าล หมายถึ ง บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในสัปดาห์แห่งการสำรวจ เป็นผู้ไม่เข้าข่ายคำนิยามของผู้มีงานทำหรือผู้ว่างงาน แต่เป็นผู้รอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำงาน และ เป็นบุคคลที่ตามปกติจะทำงานที่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทน ในไร่นาเกษตร หรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาล โดยมี หั ว หน้ า ครั ว เรื อ น หรื อ สมาชิ ก คนอื่ น ๆ ใน ครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ

กำลังแรงงานรวม กำลังแรงงานรวม หมายถึง บุคคลทุกคน ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้น ไป ในสั ป ดาห์ แห่ งการสำรวจเป็ น ผู้อยู่ในกำลังแรงงานปัจจุบัน หรือเป็นผู้ถูกจัดจำแนก อยู่ในประเภทกำลังแรงงานที่รอฤดูกาลตามคำนิยาม ที่ได้ระบุข้างต้น

ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน หมายถึง บุคคลที่ ไม่ เข้ า ข่ า ยคำนิ ย ามของผู้ อ ยู่ ใ นกำลั ง แรงงานใน สัปดาห์แห่งการสำรวจ คือ บุคคลซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีอายุ 15 ปี ขึ้ น ไป แต่ ไม่ ได้ ท ำงาน และไม่ พ ร้ อ มที่ จ ะทำงาน เนื่องจากเป็นผู้ที่ 1. ทำงานบ้าน 2. เรียนหนังสือ 3. ยังเด็กเกินไป หรือชรามาก 4. ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากพิการทาง ร่างกายหรือจิตใจ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง 5. ไม่สมัครใจทำงาน 6. ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ผลกำไร ส่วน แบ่ ง หรื อ สิ่ ง ตอบแทนอื่ น ๆ ให้ แ ก่ บุ ค คลซึ่ ง มิ ได้ เป็นสมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน

7. ทำงานให้ แ ก่ อ งค์ ก าร หรื อ สถาบั น การ กุศลต่างๆ โดยไม่ได้รับค่าจ้างผลกำไรส่วนแบ่งหรือ สิ่งตอบแทนอย่างใด 8. ไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากเหตุผลอื่น

งาน งาน หมายถึง กิจการที่ ทำที่ มีลักษณะอย่างหนึ่ ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. กิจการที่ทำแล้วได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่ งของค่ าตอบแทนที่ เป็ นเงิ น อาจจ่ ายเป็ น ราย เดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือรายชิ้น 2. กิจการที่ทำแล้วได้ผลกำไร หรือหวังที่จะ ได้รับผลกำไร หรือส่วนแบ่งเป็นการตอบแทน 3. กิ จ การที่ ท ำให้ กั บ ธุ ร กิ จ ของสมาชิ ก ใน ครัวเรือนโดยไม่ได้ รับค่าจ้างหรือผลกำไรตอบแทน อย่างใดซึ่งสมาชิกในครัวเรือนที่ประกอบธุรกิจนั้นจะ มี ส ถานภาพการทำงานเป็ น ประกอบธุรกิจส่ วนตั ว หรือนายจ้าง

อาชีพ อาชีพ หมายถึง ประเภทหรือชนิดของงาน ที่ บุ ค คลนั้ น ทำอยู่ บุ ค คลส่ ว นมากมี อ าชี พ เดี ย ว สำหรั บ บุ ค คลที่ ในสั ป ดาห์ แ ห่ งการสำรวจมี อ าชี พ มากกว่า 1 อาชีพให้นับอาชีพที่มีชั่วโมงทำงานมาก ที่สุด ถ้าชั่วโมงทำงานแต่ละอาชีพเท่ากันให้นับอาชีพ ที่ มี ร ายได้ ม ากกว่ า ถ้ า ชั่ ว โมงทำงานและรายได้ ที่ ได้ รับ จากแต่ล ะอาชี พ เท่ ากั น ให้ นับ อาชีพ ที่ผู้ ตอบ สั ม ภาษณ์ พ อใจมากที่ สุ ด ถ้ าผู้ ต อบสั ม ภาษณ์ ต อบ ไม่ได้ให้นับอาชีพที่ได้ทำมานานที่สุด การจัดจำแนก ประเภทอาชีพ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2554 ปรับใช้ ต า ม International Standard Classification of Occupation, 2008 (ISCO – 08) ขององค์ ก าร แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ก่ อ น พ.ศ. 2553 การจั ด ประเภทอาชี พ จำแนกตามความเหมาะสมกั บ ลั กษณะอาชี พ ของ ประเทศไทย โดยอ้างอิง International Standard Classification of Occupation, 1988 (ISCO – 88)

4

อุตสาหกรรม

ลูกจ้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

อุ ต สาหกรรม หมายถึ ง ประเภทของ

4.1 ลูก จ้างรัฐบาล หมายถึง ข้าราชการ

กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ที่ ได้ ด ำเนิ น การโดยสถาน ประกอบการที่ บุ ค คลนั้ น กำลั ง ทำงานอยู่ หรื อ ประเภทของธุรกิจ ซึ่งบุ คคลนั้น ได้ดำเนิ นการอยู่ใ น สัปดาห์แห่งการสำรวจ ถ้าบุคคลหนึ่งมีอาชีพมากกว่า หนึ ่ง อย่า ง ให้บ ัน ทึก อุต สาหกรรมตามอาชีพ ที ่ บันทึกไว้ การจัดจำแนกประเภทอุตสาหกรรม ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ 2554 ปรั บ ใช้ ต าม Thailand Standard Industrial Classification, (TSIC 2009) ก่อน พ.ศ. 2553 การจัดประเภทอุตสาหกรรม จำแนกตามความเหมาะสมกับลักษณะอุตสาหกรรม ของประเทศไทย โดยอ้างอิง International Standard

พนั ก งานเทศบาล พนั ก งานองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จั ง หวั ด ตลอดจนลู ก จ้ า งประจำ และชั่ ว คราวของ รัฐบาล 4.2 ลู ก จ้า งรัฐ วิส าหกิจ หมายถึง ผู้ที่ ทำงานให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 4.3 ลูก จ้า งเอกชน หมายถึง ผู้ที่ท ำงาน ให้กับเอกชน หรือธุรกิจของเอกชน รวมทั้งผู้ ที่รับจ้าง ทำงานบ้าน 5. การรวมกลุ่ ม หมายถึ ง กลุ่ ม คนที่ ม า ร่วมกันทำงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพึ่งตนเอง และ ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น สมาชิ ก แต่ ล ะคนมี ค วาม เท่ าเที ย มกั น ในการกำหนดการทำงานทุ ก ขั้ น ตอน ไม่ว่าเป็นการลงทุน การขาย งานอื่นๆ ของกิจการที่ทำ ตลอดจนการแบ่งรายได้ให้แก่สมาชิ กตามที่ตกลงกัน (การรวมกลุ่มดังกล่าวอาจจดทะเบียนจัดตั้งในรูปของ สหกรณ์หรือไม่ก็ได้)

Industrial Classification of All Economic Activities, (ISIC : 1989)

สถานภาพการทำงาน สถานภาพการทำงาน หมายถึง สถานะ ของบุ ค คลที่ ท ำงานในสถานที่ ที่ ท ำงานหรื อ ธุ ร กิ จ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. นายจ้าง หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิ จของ ตนเองเพื่ อ หวั งผลกำไร หรื อ ส่ ว นแบ่ ง และได้ จ้ าง บุคคลอื่นมาทำงานในธุรกิจในฐานะลูกจ้าง

2. ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจของตนเองโดยลำพังผู้เดียว หรื ออาจมี บุ คคลอื่ น มาร่ ว มกิจ การด้ว ยเพื่ อหวังผล กำไร หรื อ ส่ ว นแบ่ ง และไม่ ได้ จ้ า งลู ก จ้ า งแต่ อ าจมี สมาชิกในครัวเรือนหรือผู้ฝึกงานมาช่วยทำงานโดย ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนอย่างอื่นสำหรับงาน ที่ทำ

3. ช่ ว ยธุ รกิ จ ในครัว เรือ นโดยไม่ ได้ รั บ ค่าจ้าง หมายถึง ผู้ที่ช่วยทำงานโดยไม่ได้รับค่า จ้าง ในไร่นาเกษตร หรือในธุรกิจของสมาชิกในครัวเรือน 4. ลู ก จ้ าง หมายถึง ผู้ ที่ ท ำงานโดยได้ รั บ ค่าจ้างเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชิ้น หรือเหมาจ่าย ค่าตอบแทนที่ได้รับ จากการทำงาน อาจจะเป็นเงิน หรือสิ่งของ

การจัดจำแนกประเภทสถานภาพการทำงาน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2544 ใช้ตาม International Classification of Status in Employment, 1993

(ICSE – 93) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีสถานภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอีก 1 กลุ่ม คือ การรวมกลุ่ม (Member of Producers’ Cooperative)

ชั่วโมงทำงาน ชั่ ว โมงทำงาน หมายถึ ง จำนวนชั่ ว โมง ทำงานจริงทั้งหมด ในสัปดาห์แห่งการสำรวจ สำหรับ บุ ค คลที่ มี อ าชี พ มากกว่ าหนึ่ งอาชี พ ชั่ ว โมงทำงาน หมายถึ ง ยอดรวมของชั่ ว โมงทำงานทุ ก อาชี พ สำหรับผู้ที่มีงานประจำซึ่งไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่ง การสำรวจให้บันทึกจำนวนชั่วโมงเป็น 0 ชั่วโมง การสำรวจก่ อ นปี พ.ศ.2544 ผู้ ที่ มี ง าน ประจำซึ่งไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ให้ นับจำนวนชั่วโมงทำงานปกติต่อสัปดาห์ เป็นชั่วโมง ทำงาน

5

รายได้ของลูกจ้าง รายได้ของลูกจ้าง หมายถึง รายได้ของผู้ที่ มีส ถานภาพการทำงานเป็ น ลูกจ้าง ที่ได้รับมาจาก การทำงานของอาชีพที่ทำในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ซึ่งประกอบด้ว ยค่าจ้างและผลประโยชน์ ตอบแทน อื่นๆ สำหรับลูกจ้าง

ระยะเวลาของการหางานทำ ระยะเวลาของการหางานทำ หมายถึ ง ระยะเวลาที่ผู้ว่างงานได้ออกหางานทำ ให้นับตั้งแต่ วันที่เริ่มหางานทำจนถึงวันสุดท้ายก่อนวันสัมภาษณ์

คาบการแจงนับ คาบการแจงนั บ หมายถึ ง ระยะเวลาที่ พนักงานออกไปสัมภาษณ์บุคคลในครัวเรือนตัวอย่าง ซึ่งโดยปกติเป็นวันที่ 1 - 12 ของทุกเดือน

ประเภทของครัวเรือนที่อยู่ในขอบข่ายการสำรวจ

ระดับการศึกษาที่สำเร็จ ได้จำแนกการศึกษาตามระดับการศึกษาที่ สำเร็จดังนี้

1. ไม่มีการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ไม่เคย เข้าศึกษาในโรงเรียน หรือไม่เคยได้รับการศึกษา

2. ต่ำกว่าประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สำเร็ จ การศึ ก ษาต่ ำ กว่ า ชั้ น ประถมปี ที่ 6 หรื อ ชั้นประถมปีที่ 7 หรือชั้น ม.3 เดิม

3. สำเร็จประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สำเร็ จ การศึ ก ษาตั้ ง แต่ ชั้ น ประถมปี ที่ 6 หรื อ ชั้ น ประถมปี ที่ 7 หรือชั้ น ม.3 เดิม ขึ้น ไป แต่ ไม่ส ำเร็จ ระดับการศึกษาที่สูงกว่า

4. สำเร็จมัธยมศึก ษาตอนต้น หมายถึง บุคคลที่ส ำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.3 ม.ศ.3 หรือ ม.6 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า

ครัวเรือนที่อยู่ในขอบข่ายการสำรวจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ

5. สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ หมายถึง บุคคลที่

1. ครั ว เรื อ นส่ ว นบุ ค คล ประกอบด้ ว ย

สำเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.6 ม.ศ.5 หรื อ ม.8 เดิ ม ขึ้ น ไป แต่ ไ ม่ ส ำเร็ จ ระดั บ การศึกษาที่สูงกว่า

ครัวเรือนหนึ่งคน คือ บุคคลเดียวซึ่งหุงหาอาหารและ จัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพโดย ไม่เกี่ยวกับผู้ใดซึ่งอาจพำนักอยู่ในเคหสถานเดียวกัน หรือครั วเรื อนที่มีบุ คคลตั้งแต่ส องคนขึ้น ไปร่วมกัน จั ด หา และใช้ สิ่ ง อุ ป โภคบริ โ ภคที่ จ ำเป็ น แก่ ก าร ครองชีพร่วมกัน ครัวเรือนส่วนบุคคลอาจอาศัยอยู่ใน เคหะที่เป็ นเรือนไม้ ตึกแถว ห้ องแถว ห้ องชุด เรือแพ เป็นต้น

2. ครัวเรือนกลุ่มบุคคล 2.1 ประเภทคนงาน ได้แก่ ครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย บุคคลหลายคนอยู่กินร่วมกันในทีอ่ ยู่ แห่งหนึ่ง เช่น ที่พักคนงาน เป็นต้น 2.2 ประเภทสถาบัน หมายถึง บุคคล หลายคนอยู่ ร่ ว มกั น ในสถานที่ อ ยู่ แ ห่ ง หนึ่ ง เช่ น สถานที่ กั กกั น วั ด กรมทหาร โดยไม่ แยกที่ อ ยู่ เป็ น สัดส่วนเฉพาะคนหรือเฉพาะครัวเรือนนั กเรียนที่อยู่ ประจำที่ โ รงเรี ย นหรื อ ในหอพั ก นั ก เรี ย น เป็ น ต้ น ไม่อยู่ในคุ้มรวมของการสำรวจนี้

5.2 อาชีวศึกษา หมายถึง บุคคล ที่สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาหรือวิชาชีพที่ เรียนต่อจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า โดยมี ห ลั ก สู ต รไม่ เ กิ น 3 ปี และไม่ ส ำเร็ จ ระดั บ การศึกษาที่สูงกว่า

5.3 วิ ช าการศึ ก ษา หมายถึ ง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาการศึกษา (การ ฝึ ก หั ด ครู ) ในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายหรื อ เทียบเท่าขึ้นไปแต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า

6. อุดมศึกษา 6.1 สายวิชาการ หมายถึง บุคคล ที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาประเภทสามั ญ ศึ ก ษาหรื อ สาย วิ ช าการ โดยได้ รั บ วุ ฒิ บั ต รระดั บ อนุ ป ริ ญ ญ า ปริญญาตรี โท เอก

6

6.2 สายวิชาชีพ หมายถึง บุคคล

7. อาชีวศึกษาระยะสั้ น หมายถึง บุคคล

ที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาประเภทอาชี ว ศึ ก ษา หรื อ สาย วิช าชี พ ที่ ได้รั บ ประกาศนี ย บั ต รวิช าชีพ ชั้ น สู ง หรือ เทียบเท่าอนุปริญญา ปริญญาตรี

ที่ สำเร็ จ การศึ กษาหรื อ การฝึ กอบรมประเภ ท อาชี ว ศึ ก ษาที ่มี ห ลั ก สูต รไม่เ กิน 1 ปี และได้รั บ ประกาศนีย บัต รหรือใบรับรองเมื่อสำเร็จการศึกษา พื้นความรู้ของผู้ เข้าเรียนได้กำหนดให้ แตกต่างตาม วิช าเฉพาะแต่ ล ะอย่ างที่ เรี ย น แต่ อ ย่ างต่ ำ ต้ อ งจบ ประถมปีที่ 4 หรือเทียบเท่า

6.3 สายวิชาการศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาการศึกษา และ ได้รับประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี

8. อื่นๆ หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษา ที่ไม่สามารถเทียบชั้นได้

บทที่ 2 สรุปผลการสำรวจ การสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากร จั ง หวั ด ยโสธร ได้ ด ำเนิ น การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ระหว่าง วันที่ 1 – 12 ของเดือนมกราคม กุมภาพั นธ์ และมีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็ นการสำรวจไตรมาส ที่ 1 ของปี จากผลการสำรวจทำให้ ทราบถึง ภาวะ การมี ง านทำ การว่ า งงาน และลั ก ษณะที่ ส ำคั ญ บางประการของกำลังแรงงานในจังหวัดยโสธร

15 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวน 119,148 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.8 ซึ่ งเป็น ผู้ที่ ทำงานบ้าน 18,743 คน เรียนหนังสือ 31,157 คน และอื่นๆ 69,248 คน สำหรับกลุ่มผู้ ที่อยู่ในกำลั งแรงงานทั้งหมด 268,137 คน แยกได้ดังนี้ 1. ผู้มีงานทำ จำนวน 260,660 คน คิดเป็น ร้อยละ 97.2 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 2. ผู้ว่างงาน จำนวน 3,644 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 3. ผู้ที่รอฤดูกาล หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน และไม่ พร้อมที่ จะทำงาน ในไตรมาสนี้มี ผู้ รอฤดู กาล จำนวน 3,833 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 ของผู้อยู่ใน กำลังแรงงาน

1. ลักษณะของกำลังแรงงาน ผ ล ก ารส ำรว จ ภ าว ะก ารท ำงาน ข อ ง ประชากร ในไตรมาสที่ 1 : มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2563 พบว่า จังหวัด ยโสธร มีจำนวนประชากรที่มี อายุ 15 ปี ขึ้ น ไป ซึ่ ง อยู่ ในกำลั งแรงงานประมาณ 268,137 คน คิดเป็ น ร้ อยละ 69.2 ของผู้ ที่มีอ ายุ

แผนภูมิ 1 จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงาน และเพศ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563

จานวนคน 400,000 350,000 300,000 250,000 200,000 150,000 100,000 50,000 -

ผ ู้อ ยู่ใน ก าลัง แรงงาน 268,137

ก าลังแรงงาน ป ัจ จุบ ัน 264,304

ผ ู้มีงาน ท า

ผ ู้ว่างงาน

ผ ู้ท ี่รอฤด ูกาล

รวม

ผ ู้มีอ ายุ ป ี ขึ้น ไป 387,285

ท างาน บ ้าน

เรียน ห น ังสือ

อื่น ๆ

3,833

ผ ู้ไม่อ ยู่ใน ก าลัง แรงงาน 119,148

260,660

3,644

ชาย

187,374

141,639

140,551

139,712

839

18,743

31,157

69,248

1,088

45,735

296

17,741

ห ญิง

199,911

126,498

123,753

120,948

2,805

30,698

2,745

73,413

18,447

16,416

38,550

8 ตาราง ก จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงานและเพศ สถานภาพแรงงาน ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 1.1 กำลังแรงงานปัจจุบัน 1.1.1 ผู้มีงานทำ 1.1.2 ผู้ว่างงาน 1.2 ผู้ที่รอฤดูกาล 2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 2.1 ทำงานบ้าน 2.2 เรียนหนังสือ 2.3 อื่นๆ

รวม

ชาย

จำนวน ร้อยละ

จำนวน ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

387,285 268,137 264,304 260,660 3,644 3,833 119,148 18,743 31,157 69,248

187,374 141,639 140,551 139,712 839 1,088 45,735 296 14,741 30,698

199,911 126,498 123,753 120,948 2,805 2,745 73,413 18,447 16,416 38,550

100.0 63.3 61.9 60.5 1.4 1.4 36.7 9.2 8.2 19.3

อัตราการว่างงาน

100.0 69.2 68.2 67.3 0.9 1.0 30.8 4.8 8.1 17.9

1.36

หญิง

100.0 75.6 75.0 74.6 0.4 0.6 24.4 0.1 7.9 16.4

0.59

2.22

หมายเหตุ : อัตราการว่างงาน = จำนวนผู้ว่างงาน X 100 ผูอ้ ยูใ่ นกำลังแรงงาน

2. อัตราการมีงานทำ ส่ ว นระดั บ ต่ ำ กว่ า ประถมศึ ก ษาและระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น มี อั ต ราการมี งานทำน้ อยกว่ า เนื่องจากกำลังแรงงานส่วนนี้มีโอกาสที่จะศึกษาต่อ มากกว่าระดับการศึกษาอื่นๆ

เมื่ อ พิ จ ารณาอั ตราการมี งานทำกั บ ระดั บ การศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ผู้ที่เข้าสู่กำลังแรงงานส่วนใหญ่ จบการศึ กษาในระดั บอุ ดมศึ กษา ประถมศึ กษา และ มัธยมศึกษาตอนปลาย

แผนภูมิ 2 อัตราการมีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 ร้อยละ 100.0 90.0 80.0 70.0 60.0

81.4 67.3

77.3

84.7

61.1 51.9

50.0 40.0 30.0 20.0 10.0 0.0

14.5

รวม

ไม่มกี ารศึ ก ษา

ต่ าก ว่ าประถมศึ ก ษา

ประถมศึ ก ษา

มัธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น มัธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย

มหาวิ ท ยาลัย

ระดับการศึกษา

9

3. ผู้มีงานทำ 3.1 อาชีพ ประชากรของจั งหวั ด ยโสธรที่ มี งานทำ จำนวน 260,660 คนนั้น พบว่า เป็น ชายประมาณ 139,712 คน และหญิง ประมาณ 120,948 คน หรื อคิ ดเป็ นร้ อยละ 53.6 และร้ อยละ 46.4 ของผู้ มี งานทำ ตามลำดับ จากผลการสำรวจในไตรมาสที่ 1 พบว่า ประมาณ 142,686 คน หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อยละ 54.7 ของผู้ มี ง านทำเป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านที่ มี ฝี มื อ ในด้ า น การเกษตรและการประมง โดยสัดส่ วนของชายสู งกว่า หญิงเล็กน้อย (ชายร้อยละ 55.6 และหญิงร้อยละ 53.7) รองลงมาคือ พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าและ ตลาด ประมาณ 34,394 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.2 โดยสั ดส่ วนของหญิ งสู งกว่ าชาย (หญิ งร้ อยละ 16.5 และชายร้อยละ 10.3) ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถ

ทางฝี มื อ และธุ ร กิ จ การค้ า ที่ เกี่ ย วข้ อ ง ประมาณ 25,745 คน หรือร้อยละ 9.9 โดยสัดส่ว นของชาย สูงกว่าหญิง (ชายร้อยละ 12.7 และหญิ งร้อยละ 6.6) อาชี พ ขั้ น พื้ น ฐานต่ า งๆ ในด้ า นการขายและการ ให้บริการ ประมาณ 18,263 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.0 โดยสัดส่วนของหญิงสูงกว่าชาย (หญิงร้อยละ 7.4 และชายร้ อยละ 6.7) ผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ด้ านต่ างๆ ประมาณ 12,408 คน หรื อคิ ดเป็ นร้ อยละ 4.8 โดย สัดส่วนของหญิงสูงกว่าชาย (หญิงร้อยละ 6.6 และชาย ร้ อยละ 3.2) ผู้ บั ญ ญั ติ ก ฎหมาย ข้ า ราชการระดั บ อาวุโ ส และผู้จัด การ ประมาณ 9,836 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 3.8 โดยสัดส่วนของชายสูงกว่าหญิ ง (ชายร้อยละ 5.8 และหญิ งร้อยละ 1.5) นอกนั้ นเป็ น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ ปฏิ บัติการโรงงานและเครื่องจักร และ ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ และเสมียน ซึ่งมีสัดส่วน รวมกันประมาณ ร้อยละ 6.6 ของผู้มีงานทำทั้งสิ้น

ตาราง ข จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพและเพศ รวม จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 100.0 347,095 10- 260,660 100.0 1.ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ 9,836 3.8 2.ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ 12,408 4.8 3.ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง 8,162 3.1 4.เสมียน 4,427 1.7 5.พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด 34,394 13.2 6.ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง 142,686 54.7 7.ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง 25,745 9.9 8.ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 4,739 1.8 9.อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย และการให้บริการ 18,263 7.0 อาชีพ

3.2 อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรมหรือ ลั กษณะของการประกอบกิ จ กรรม ของผู้ มี งานทำ ในเชิงเศรษฐกิจ จากผู้มีงานทำทั้งสิ้น 260,660 คน พบว่ า เป็ น ผู้ มี งานทำในภาคเกษตรกรรม จำนวน 146,736 คน หรื อ ร้ อ ยละ 56.3 และนอกภาค เกษตรกรรม จำนวน 113,924 คน หรือร้อยละ 43.7 โดยส่วนใหญ่ทำงานในสาขาการขายส่ง การขายปลีก จำนวน 26,721 คน หรือร้อยละ 10.3 รองลงมา

ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 193,905 153,190 139,712 100.0 120,948 100.0 8,050 5.8 1,786 1.5 4,441 3.2 7,967 6.6 2,982 2.1 5,180 4.3 2,612 1.9 1,815 1.5 14,377 10.3 20,017 16.5 77,730 55.6 64,956 53.7 17,820 12.7 7,925 6.6 2,387 1.7 2,352 1.9 9,313 6.7 8,950 7.4

สาขาการบริหารราชการและป้องกันประเทศ จำนวน 19,397 คน หรือ ร้อ ยละ 7.4 สาขาการก่อ สร้า ง จำนวน 17,931 คน หรือร้อยละ 6.9 สาขาการผลิ ต จำนวน 16,019 คน หรือร้อยละ 6.1 สาขากิจกรรม โรงแรมและอาหาร จำนวน 9,293 คน หรือร้อยละ 3.6 สาขาการศึ ก ษา 8,974 คน หรื อ ร้ อ ยละ 3.4 สาขาสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ จำนวน 6,920 คน หรือร้อยละ 2.7 และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ

10 ตาราง ค จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรมและเพศ อุตสาหกรรม ยอดรวม ภาคเกษตรกรรม 1.เกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง นอกภาคเกษตรกรรม 2.การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน 3.การผลิต 4.การไฟฟ้า ก๊าซ และไอน้ำ 5.การจัดหาน้ำ บำบัดน้ำเสีย 6.การก่อสร้าง 7.การขายส่ง การขายปลีก 8.การขนส่งที่เก็บสินค้า 9.กิจกรรมโรงแรมและอาหาร 10.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 11.กิจการทางการเงินและการประกันภัย 12.กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 13.กิจกรรมทางวิชาชีพและเทคนิค 14.การบริหารและการสนับสนุน 15.การบริหารราชการและป้องกันประเทศ 16.การศึกษา 17.สุขภาพและสังคมสงเคราะห์ 18.ศิลปะความบันเทิง นันทนาการ 19.กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 20.ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล

รวม ชาย จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 260,660 100.0 139,712 100.0 146,736 56.3 80,110 57.3 146,736 56.3 80,110 57.3 113,924 43.7 59,602 42.7 16,019 6.1 6,626 4.7 58 -58 -157 0.1 17,931 6.9 15,176 10.9 26,721 10.3 13,120 9.4 1,264 0.5 1,264 0.9 9,293 3.6 3,343 2.4 173 0.1 86 0.1 835 0.3 302 0.2 582 0.2 205 0.2 385 0.2 320 0.2 19,397 7.4 12,870 9.2 8,974 3.4 2,870 2.1 6,920 2.7 1,551 1.1 869 0.3 815 0.6 3,203 1.2 996 0.7 1,143 0.4 -

หญิง จำนวน ร้อยละ 120,948 100.0 66,626 55.1 66,626 55.1 54,322 44.9 9,393 7.8 157 0.1 2,755 2.3 13,601 11.3 5,950 4.9 87 0.1 533 0.4 377 0.3 65 0.1 6,527 5.4 6,104 5.0 5,369 4.4 54 0.1 2,207 1.8 1,143 0.9

หมายเหตุ : - - หมายถึง มีข้อมูลจำนวนเล็กน้อย

3.3 สถานภาพการทำงาน เมื่อพิจารณาสถานภาพการทำงานของผู้มี งานทำในไตรมาสนี้ พบว่า ส่วนใหญ่เป็ น ผู้ที่ทำงาน ส่ว นตัว มีจ ำนวน 112,166 คน หรือร้อยละ 43.0 รองลงมาคือ ช่วยธุรกิจครัวเรือน มีจำนวน 70,165 คน หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 26.9 ลู ก จ้ า งเอกชน จำนวน 41,087 คน หรื อ ร้ อ ยละ 15.8 ลู ก จ้ า งรั ฐ บาล 35,823 คน หรื อ ร้ อ ยละ 13.7 นายจ้ า ง จำนวน 1,163 คน หรื อร้ อยละ 0.5 และเป็ น การรวมกลุ่ ม จำนวน 256 คน หรือร้อยละ 0.1

แผนภูมิ 3 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตาม สถานภาพการทำงาน ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 26.9

0.1 0.5

13.7 15.8

43.0 นายจ้าง ทางานส่ วนตั ว

ลู ก จ้างรัฐบาล ช่ วยธุรกิ จครัวเรือ น

ลู ก จ้างเอกชน การรวมกลุ่ ม

11

3.4 ระดับการศึกษาของผู้มีงานทำ สำห รั บ ระดั บ การศึ กษ าที่ สำเร็ จ ขอ ง ผู้มีงานทำ พบว่า ผู้มีงานทำส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษา ระดั บ ประถมศึ ก ษา ร้ อ ยละ 31.0 รองลงมาคื อ การศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษา ร้อยละ 26.4

ร ะ ดั บ มั ธ ย ม ศึ ก ษ า ต อ น ต้ น ร้ อ ย ล ะ 1 6 .0 ระ ดั บ อุ ด ม ศึ ก ษ า ร้ อ ย ล ะ 1 4 .3 แ ล ะ ระ ดั บ มัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 12.2

ตาราง ง จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จและเพศ ระดับการศึกษาที่สำเร็จ ยอดรวม 1. ไม่มีการศึกษา 2. ต่ำกว่าประถมศึกษา 3. ประถมศึกษา 4. มัธยมศึกษาตอนต้น 5. มัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ 5.2 สายอาชีวศึกษา 5.3 สายวิชาการศึกษา 6. อุดมศึกษา 6.1 สายวิชาการ 6.2 สายวิชาชีพ 6.3 สายวิชาการศึกษา 7. อื่นๆ 8. ไม่ทราบ

รวม จำนวน ร้อยละ 100.0 347,095 10- 260,660 100.0 300 0.1 68,842 26.4 80,719 31.0 41,626 16.0 31,850 12.2 29,107 11.2 2,743 1.0 37,323 14.3 14,705 5.6 15,202 5.8 7,416 2.9 -

3.5 ชั่วโมงทำงาน ข้อมูลเกี่ยวกับ ชั่วโมงการทำงาน พิ จารณา จากชั่วโมงการทำงานของผู้มีงานทำ รวมทั้งผู้ที่มีงาน ทำแต่ ไม่ ได้ ท ำงานในสั ป ดาห์ แ ห่ ง การสำรวจ คื อ จำนวนชั่ วโมงการทำงานต่อสั ป ดาห์ เป็ น 0 ชั่ว โมง และข้อมูลชั่วโมงการทำงานได้รวมชั่วโมงการทำงาน ในทุกอาชีพ สำหรั บ ชั่ ว โมงการทำงานของผู้ มี ง านทำ ต่อสัปดาห์ของไตรมาสนี้ พบว่า ผู้มีงานทำส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่ทำงาน 35 - 49 ชั่วโมง มีจำนวน 174,174 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 66.8 โดยสั ด ส่ ว นของชายสู งกว่ า หญิง (ชายร้อ ยละ 69.0 และหญิง ร้อ ยละ 64.3) รองลงมาคือ ผู้ที่ทำงาน 10-34 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ มี จ ำนวน 69,330 คน หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 26.6

ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 193,905 153,190 139,712 100.0 120,948 100.0 300 0.2 34,762 24.9 34,080 28.2 45,921 32.9 34,798 28.8 22,955 16.4 18,671 15.4 17,868 12.8 13,982 11.6 15,703 11.2 13,404 11.1 2,165 1.6 578 0.5 18,206 13.0 19,117 15.8 8,769 6.3 5,936 4.9 7,282 5.2 7,920 6.5 2,155 1.5 5,261 4.4 -

โดยสั ดส่ วนของหญิ งสู งกว่ าชาย (หญิ งร้อยละ 29.0 และชายร้ อ ยละ 24.6) ผู ้ที ่ท ำ งา น 0 ชั ่ว โม ง หมายถึง ผู้ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจแต่มีงาน ประจำ มีจำนวน 13,956 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.4 โดยสัดส่วนของชายสูงกว่าหญิง (ชายร้อยละ 5.6 และหญิงร้อยละ 5.0) ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมง ขึ้ นไป มี จำนวน 3,200 คน หรื อคิ ดเป็ นร้ อยละ 1.2 โดยสั ดส่ วนของหญิ งสู งกว่าชาย (หญิง ร้อยละ 1.7 และชายร้อยละ 0.8)

12 ตาราง จ จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ และเพศ ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์

รวม

ชาย

หญิง

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

260,660

100.0

139,712

100.0

120,948

100.0

1. 0 ชั่วโมง1/

13,956

5.4

7,857

5.6

6,099

5.0

2. 1-9 ชั่วโมง

-

-

-

-

-

-

3. 10-34 ชั่วโมง

69,330

26.6

34,265

24.6

35,065

29.0

4. 35-49 ชั่วโมง

174,174

66.8

96,450

69.0

77,724

64.3

3,200

1.2

1,140

0.8

2,060

1.7

ยอดรวม

5. 50 ชั่วโมงขึ้นไป หมายเหตุ :

1/

หมายถึง ผู้ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ แต่มีงานประจำ

4. การว่างงาน สำหรั บ จำนวนของผู้ ว่ า งงาน หมายถึ ง ผู้ไม่มีงานทำและพร้อมที่จะทำงาน ในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 (มกราคม – มีนาคม) พบว่า จังหวัดยโสธร

มี ผู้ ว่ า งงาน จำนวน 3,644 คน คิ ดเป็ นอั ต รา การว่างงาน ร้อยละ 1.36

ตาราง ฉ จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ยอดรวม ชาย หญิง

387,285 187,374 199,911

อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100 ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน

ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 268,137 141,639 126,498

ผู้ว่างงาน จำนวน 3,644 839 2,805

อัตรา 1.36 0.59 2.22

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก ระเบียบวิธี

ภาคผนวก ก ระเบียบวิธี 1. วิธีการสำรวจ การสำรวจนี้ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ครัวเรือนส่วนบุคคลและครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงาน ที่อาศัย อยู่ ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลทุกจังหวัดทั่ว ประเทศ ยกเว้น ครัวเรือนชาวต่างชาติที่ ทำงานใน สถานทูตหรือองค์การระหว่างประเทศที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูต การสำรวจแต่ละเดือน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แผนการเลือก ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ เ ป็ น แบบ Stratified Two-stage Sampling โดยหน่ ว ยตั ว อย่ า งขั้ น ที่ ห นึ่ ง คื อ เขตแจงนั บ (Enumeration Area : EA) จำนวน 1,990 EA ตัวอย่าง จากทั้งสิ้นจำนวน 127,460 EA และหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง คือ ครัวเรือนส่วนบุคคลและสมาชิกในทุกครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงาน จำนวน 27,960 ครัวเรือน ตัวอย่าง หรือคิดเป็นจำนวนประชาชนตัวอย่างประมาณ 95,000 คน ซึ่งขนาดตัวอย่างในแต่ละเดือนสามารถนำเสนอ ผลการสำรวจในระดับภาค (กรุงเทพมหานคร และ 4 ภาค) โดยจำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และ นอกเขตเทศบาล แต่ไม่เพียงพอสำหรับนำเสนอผลการสำรวจในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ย่อยกว่านี้ สำหรับการนำเสนอ ผลการสำรวจในระดับจังหวัดได้ใช้ข้อมูลของการสำรวจ จำนวน 3 เดือน เพื่อให้ได้ขนาดตัวอย่างเพียงพอ เช่น กรณี สรุปรายงานผลการสำรวจระดับจังหวัดในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2563 ก็ได้นำข้อมูลของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2563 มารวมกัน เป็นต้น สำหรับขนาดตัวอย่างของจังหวัดยโสธร ใช้หน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง จำนวน 72 EA ตัวอย่าง หน่วยตัวอย่าง ขั้นที่สอง จำนวน 1,008 ครัวเรือนตัวอย่าง วิ ธี ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ใช้ วิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ หั ว หน้ า ครั ว เรื อ นหรื อ สมาชิ ก ในครั ว เรื อ นตั ว อย่ า ง โดยเจ้ า หน้ า ที่ ข องสำนั ก งานสถิ ติ แ ห่ ง ชาติ / สำนั ก งานสถิ ติ จั ง หวั ด โดยผู้ ท ำการสั ม ภาษณ์ ทุ ก คนจะมี คู่ มื อ การปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานไปในทางเดียวกัน ส่วนการประมวลผลข้อมูลนั้นดำเนินการในส่วนกลางตามหลักวิชาการสถิติ โดยนำข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างมา ประมาณ ค่ า โดยมี การถ่ วงน้ ำหนั ก (Weighty) ซึ่ งค่ าถ่ ว งน้ ำหนั กคำนวณ ได้ จากสู ตรการประมาณ ค่ า ที่สอดคล้องกับวิธีการเลือกตัวอย่าง เพื่อให้ได้ค่าประมาณประชากรใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริง

2. คาบการเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจได้ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ ในระหว่างวันที่ 1 – 12 ของเดือน มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2563

3. การปัดตัวเลข ข้ อ มู ล ในตารางสถิ ติ ที่ น ำเสนอในรายงานฉบั บ นี้ เป็ น ค่ า ประมาณที่ ไ ด้ จ ากการถ่ ว งน้ ำ หนั ก ซึ่งผลรวมจากยอดย่อยในแต่ละรายการอาจไม่เท่ากับยอดรวม ทั้งนี้เนื่องจากการปัดเศษทศนิยมโดยอิสระจากกัน

ภาคผนวก ข ตารางสถิติ

ตารางสถิติ หน้า

ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงาน และเพศ

23

ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จและเพศ

24

ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาสำเร็จและเพศ

25

ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพและเพศ

26

ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรมและเพศ

27

ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงานและเพศ

28

ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์และเพศ

29

23 ตารางที่ 1 จานวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จาแนกตามสถานภาพแรงงานและเพศ สถานภาพแรงงาน

รวม

ชาย

หญิง

จานวน ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

387,285

187,374

199,911

1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงำน

268,137

141,639

126,498

264,304

140,551

123,753

1.1.1 ผู้มีงำนทำ

260,660

139,712

120,948

1.1.2 ผู้ว่ำงงำน

3,644

839

2,805

1.2 ผู้ที่รอฤดูกำล

3,833

1,088

2,745

119,148

45,735

73,413

2.1 ทำงำนบ้ำน

18,743

296

18,447

2.2 เรียนหนังสือ

31,157

14,741

16,416

2.3 อื่นๆ

69,248

30,698

38,550

ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

100.0

ร้อยละ 100.0

100.0

1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงำน

69.2

75.6

63.3

68.2

75.0

61.9

1.1.1 ผู้มีงำนทำ

67.3

74.6

60.5

1.1.2 ผู้ว่ำงงำน

0.9

0.4

1.4

1.2 ผู้ที่รอฤดูกำล

1.0

0.6

1.4

30.8

24.4

36.7

2.1 ทำงำนบ้ำน

4.8

0.1

9.2

2.2 เรียนหนังสือ

8.1

7.9

8.2

17.9

16.4

19.3

1.1 กำลังแรงงำนปัจจุบัน

2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงำน

1.1 กำลังแรงงำนปัจจุบัน

2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงำน

2.3 อื่นๆ

24 ตารางที่ 2 จานวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จาแนกตามระดับการศึกษาที่สาเร็จและเพศ ระดับการศึกษาที่สาเร็จ ยอดรวม 1. 2. 3. 4. 5.

ไม่มีการศึกษา ต่ากว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ 5.2 สายอาชีวศึกษา 5.3 สายวิชาการศึกษา 6. มหาวิทยาลัย 6.1 สายวิชาการ 6.2 สายวิชาชีพ 6.3 สายวิชาการศึกษา 7. อืนๆ 8. ไม่ทราบ ยอดรวม 1. 2. 3. 4. 5.

ไม่มีการศึกษา ต่ากว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ 5.2 สายอาชีวศึกษา 5.3 สายวิชาการศึกษา 6. มหาวิทยาลัย 6.1 สายวิชาการ 6.2 สายวิชาชีพ 6.3 สายวิชาการศึกษา 7. อืนๆ 8. ไม่ทราบ

รวม

ชาย

หญิง

387,285

จานวน 187,374

199,911

2,068 132,624 99,180 68,119 41,217 34,884 6,333 44,077 17,449 16,264 10,364 -

954 75,658 44,411 34,859 21,196 18,382 2,814 22,833 6,582 8,909 7,342 -

100.0

1,114 56,966 54,769 33,260 20,021 16,502 3,519 21,244 10,867 7,355 3,022 ร้อยละ 100.0

0.5 34.3 25.6 17.6 10.6 9.0 1.6 11.4 4.5 4.2 2.7 -

0.6 30.4 29.2 17.8 10.7 8.8 1.9 11.3 5.8 3.9 1.6 -

0.5 37.9 22.2 17.4 10.6 9.2 1.4 11.4 3.3 4.4 3.7 -

100.0

25 ตารางที่ 3 จานวนและร้อยละของผู้มีงานทา จาแนกตามระดับการศึกษาที่สาเร็จและเพศ ระดับการศึกษาที่สาเร็จ ยอดรวม 1. 2. 3. 4. 5.

ไม่มีการศึกษา ต่ากว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ 5.2 สายอาชีวศึกษา 5.3 สายวิชาการศึกษา 6. มหาวิทยาลัย 6.1 สายวิชาการ 6.2 สายวิชาชีพ 6.3 สายวิชาการศึกษา 7. อืนๆ 8. ไม่ทราบ ยอดรวม 1. 2. 3. 4. 5.

ไม่มีการศึกษา ต่ากว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ 5.2 สายอาชีวศึกษา 5.3 สายวิชาการศึกษา 6. มหาวิทยาลัย 6.1 สายวิชาการ 6.2 สายวิชาชีพ 6.3 สายวิชาการศึกษา 7. อืนๆ 8. ไม่ทราบ

รวม

ชาย

260,660

จานวน 139,712

300 68,842 80,719 41,626 31,850 29,107 2,743 37,323 14,705 15,202 7,416 100.0

34,762 45,921 22,955 17,868 15,703 2,165 18,206 8,769 7,282 2,155 ร้อยละ 100.0

0.1 26.4 31.0 16.0 12.2 11.2 1.0 14.3 5.6 5.8 2.9 -

24.9 32.9 16.4 12.8 11.2 1.6 13.0 6.3 5.2 1.5 -

หญิง 120,948 . 300 34,080 34,798 18,671 13,982 13,404 578 19,117 5,936 7,920 5,261 100.0 0.2 28.2 28.8 15.4 11.6 11.1 0.5 15.8 4.9 6.5 4.4 -

26 ตารางที่ 4 จานวนและร้อยละของผู้มีงานทา จาแนกตามอาชีพและเพศ อาชีพ ยอดรวม 1. ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง 4. เสมียน 5. พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด 6. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง 7. ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 8. ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 9. อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย และการให้บริการ 10. คนงานซึ่งมิได้จาแนกไว้ในหมวดอื่น

ยอดรวม 1. ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง 4. เสมียน 5. พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด 6. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง 7. ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 8. ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 9. อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย และการให้บริการ 10. คนงานซึ่งมิได้จาแนกไว้ในหมวดอื่น

รวม

ชาย

หญิง

260,660

จานวน 139,712

120,948

9,836

8,050

1,786

12,408 8,162

4,441 2,982

7,967 5,180

4,427 34,394 142,686

2,612 14,377 77,730

1,815 20,017 64,956

25,745

17,820

7,925

4,739

2,387

2,352

18,263

9,313

8,950

-

-

-

100.0

ร้อยละ 100.0

100.0

3.8

5.8

1.5

4.8 3.1

3.2 2.1

6.6 4.3

1.7 13.2 54.7

1.9 10.3 55.6

1.5 16.5 53.7

9.9

12.7

6.6

1.8

1.7

1.9

7.0

6.7

7.4

-

-

-

27 ตารางที่ 5 จานวนและร้อยละของผู้มีงานทา จาแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ อุตสาหกรรม ยอดรวม ภาคเกษตรกรรม 1. เกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง นอกภาคเกษตรกรรม 2. การทาเหมืองแร่ เหมืองหิน 3. การผลิต 4. การไฟฟ้า ก๊าซ และไอนา 5. การจัดหานา บาบัดนาเสีย 6. การก่อสร้าง 7. การขายส่ง การขายปลีก 8. การขนส่งที่เก็บสินค้า 9. กิจกรรมโรงแรมและอาหาร 10. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 11. กิจการทางการเงินและการประกันภัย 12. กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 13. กิจกรรมทางวิชาชีพและเทคนิค 14. การบริหารและการสนับสนุน 15. การบริหารราชการและป้องกันประเทศ 16. การศึกษา 17. สุขภาพและสังคมสงเคราะห์ 18. ศิลปะความบันเทิง นันทนาการ 19. กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 20. ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 21.องค์การระหว่างประเทศ 22. ไม่ทราบ

ยอดรวม

ภาคเกษตรกรรม 1. เกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง นอกภาคเกษตรกรรม 2. การทาเหมืองแร่ เหมืองหิน 3. การผลิต 4. การไฟฟ้า ก๊าซ และไอนา 5. การจัดหานา บาบัดนาเสีย 6. การก่อสร้าง 7. การขายส่ง การขายปลีก 8. การขนส่งที่เก็บสินค้า 9. กิจกรรมโรงแรมและอาหาร 10. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 11. กิจการทางการเงินและการประกันภัย 12. กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 13. กิจกรรมทางวิชาชีพและเทคนิค 14. การบริหารและการสนับสนุน 15. การบริหารราชการและป้องกันประเทศ 16. การศึกษา 17. สุขภาพและสังคมสงเคราะห์ 18. ศิลปะความบันเทิง นันทนาการ 19. กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 20. ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 21.องค์การระหว่างประเทศ 22. ไม่ทราบ

หมายเหตุ : - - หมายถึง มีข้อมูลจานวนเล็กน้อย

รวม 260,660 146,736 146,736 113,924 16,019 58 157 17,931 26,721 1,264 9,293 173 835 582 385 19,397 8,974 6,920 869 3,203 1,143 100.0 56.3 56.3 43.7 6.1 -0.1 6.9 10.3 0.5 3.6 0.1 0.3 0.2 0.2 7.4 3.4 2.7 0.3 1.2 0.4 -

ชาย จานวน 139,712 80,110 80,110 59,602 6,626 58 15,176 13,120 1,264 3,343 86 302 205 320 12,870 2,870 1,551 815 996 ร้อยละ 100.0 57.3 57.3 42.7 4.7 -10.9 9.4 0.9 2.4 0.1 0.2 0.2 0.2 9.2 2.1 1.1 0.6 0.7 -

หญิง 120,948 66,626 66,626 54,322 9,393 157 2,755 13,601 5,950 87 533 377 65 6,527 6,104 5,369 54 2,207 1,143 100.0 55.1 55.1 44.9 7.8 0.1 2.3 11.3 4.9 0.1 0.4 0.3 0.1 5.4 5.0 4.4 0.1 1.8 0.9 -

28 ตารางที่ 6 จานวนและร้อยละของผู้มีงานทา จาแนกตามสถานภาพการทางานและเพศ สถานภาพการทางาน

รวม

ชาย

หญิง

จานวน ยอดรวม

260,660

139,712

120,948

1,163

900

263

2. ลูกจ้างรัฐบาล

35,823

18,293

17,530

3. ลูกจ้างเอกชน

41,087

25,635

15,452

4. ทางานส่วนตัว

112,166

63,724

48,442

70,165

31,160

39,005

256

-

256

100.0

ร้อยละ 100.0

100.0

0.5

0.6

0.2

2. ลูกจ้างรัฐบาล

13.7

13.1

14.5

3. ลูกจ้างเอกชน

15.8

18.4

12.8

4. ทางานส่วนตัว

43.0

45.6

40.1

5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน

26.9

22.3

32.2

0.1

-

0.2

1. นายจ้าง

5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน 6. การรวมกลุ่ม ยอดรวม 1. นายจ้าง

6. การรวมกลุ่ม

29 ตารางที่ 7 จานวนและร้อยละของผู้มีงานทา จาแนกตามชั่วโมงการทางานต่อสัปดาห์และเพศ ชั่วโมงการทางาน

รวม

ชาย

หญิง

จานวน ยอดรวม 1/

260,660

139,712

120,948

13,956

7,857

6,099

1.

0 ชั่วโมง

2.

1-9 ชั่วโมง

-

-

-

3. 10-19 ชั่วโมง

5,795

2,957

2,838

4. 20-29 ชั่วโมง

51,752

24,523

27,229

5. 30-34 ชั่วโมง

11,783

6,785

4,998

6. 35-39 ชั่วโมง

61,431

32,703

28,728

7. 40-49 ชั่วโมง

112,743

63,747

48,996

3,200

1,140

2,060

8. 50 ชั่วโมงขึ้นไป

ร้อยละ

ยอดรวม

100.0

100.0

100.0

5.4

5.6

5.0

1/

1.

0 ชั่วโมง

2.

1-9 ชั่วโมง

-

-

-

3. 10-19 ชั่วโมง

2.2

2.1

2.4

4. 20-29 ชั่วโมง

19.9

17.6

22.5

5. 30-34 ชั่วโมง

4.5

4.9

4.1

6. 35-39 ชั่วโมง

23.6

23.4

23.8

7. 40-49 ชั่วโมง

43.2

45.6

40.5

8. 50 ชั่วโมงขึ้นไป

1.2

0.8

1.7

หมายเหตุ : 1/ หมายถึง ผู้ไม่ได้ทางานในสัปดาห์การสารวจ แต่มีงานประจา

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.