ประวัติศาสตร์ชาติไทย - หน่วยที่ 3 Flipbook PDF

ประวัติศาสตร์ชาติไทย - หน่วยที่ 3
Author: 

3 downloads 312 Views 9MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

43

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย สาระสาคัญ มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย เรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และวรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม ศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรม การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์ และดนตรี โบราณวัตถุ โบราณสถานในสมัยสุโขทัย ในเรื่อง ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ ลายสือไทย ไตรภูมิพ ระร่วง เครื่องสังคโลก ประเพณี กินสี่ถ้วย ดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านสมัยสุโขทัย สถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมสมัยสุโขทัย และแนวทางในการสืบสานวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย ตัวชี้วัด 1. บอกและยกตัวอย่างวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยได้อย่างน้อย 3 เรื่อง 2. บอกแนวทางในการสืบสานวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย 3. แสดงความคิดเห็นในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย สู่การปฏิบัติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย 1.1 ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ 1.2 พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ 1.3 ลายสือไทย 1.4 ไตรภูมิพระร่วง 1.5 เครื่องสังคโลก 1.6 ประเพณีกินสีถ่ ้วย (ไข่กบ นกปล่อย มะลิลอย อ้ายตื้อ) 1.7 ดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านสมัยสุโขทัย

44

1.8 สถาปัตยกรรมและประติมากรรมสมัยสุโขทัย 1) เจดีย์สมัยสุโขทัย 2) พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เรื่องที่ 2 แนวทางในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย เวลาที่ใช้ในการศึกษา 30 ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ 1. ชุดวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย รหัสรายวิชา สค12024 2. สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา

45

เรื่องที่ 1 มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย ที่สะท้อนถึงวิถีชี วิต และความเป็นอยู่ สภาพ บ้านเมืองในสมัยสุโขทัย ในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและวรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม ศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรม การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์และดนตรี โบราณวัตถุ โบราณสถาน เป็นต้น มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยที่น่าสนใจ มีดังนี้ 1.1 ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สมั ย สุ โ ขทั ย ได้ รับ อิ ทธิ พ ลทางวั ฒ นธรรมจากอารยธรรมขอม มี ก ารพบภาพ จาหลักที่ปราสาทบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีรูปบุคคลกาลังลอยวัสดุในน้า ซึ่งน่าจะมี ความเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องการลอยประทีปในสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ ยังพบชามสังคโลก สมัยสุโขทัย ที่มีรูปกระทง เป็นลายบนชามสังคโลกอีกด้วย สมัยสุโขทัย ไม่ได้เรียกว่า ลอยกระทง แต่ใช้คาว่า เผาเทียน เล่นไฟ เป็นถ้อยคา ที่ปรากฎในศิลาจารึก หลักที่ 1 ด้านที่ 2 กล่าวถึง ประเพณีและพิธีกรรมในสมัยพ่อขุนรามคาแหง มหาราช ประชาชนมีการทาพิธีกรานกฐินตามวัดต่าง ๆ แล้วพากันมายัง เมืองสุโขทัย ทางประตู เมืองทั้ง 4 ด้าน ที่กลางเมืองสุโขทัยมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ผู้คนต่างมากราบไหว้ และเผาเทียน เล่นไฟ ซึ่งเผาเทียน หมายถึง การจุดเทียนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ การจุดธูป ส่วนเล่นไฟ หมายถึง การจุดดอกไม้ไฟ จากศิลาจารึก หลักที่ 1 คาว่า เผาเที ยน เล่ นไฟ คงหมายถึ ง ประเพณี และ พิธีกรรมในงานเฉลิมฉลองไหว้พระในศาสนสถานสาคัญที่อยู่กลางเมืองสุโขทัย เชื่อมโยงกับ ประเพณีกรานกฐิน ที่มีวันขึ้น 15 ค่า เดือน 12 เป็นวันสุดท้าย ตามพุทธบัญญัติ 1.2 พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ พนมเบี้ย พนมหมาก และพนมดอกไม้ เป็นคาที่ปรากฎในศิลาจารึก หลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 13 – 17 จารึกไว้ดังนี้ “เมื่อออกพรรษา กรานกฐิน เดือนณึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนม หมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทาน แล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐิน ถึงอรัญญิกพู้น” จากข้อความในศิลาจารึก แสดงให้ทราบว่า พนมเบี้ ย พนมหมาก และพนม ดอกไม้ เป็ น เครื่ อ งไทยธรรมส าหรั บ ถวายพระสงฆ์ ใ นพิ ธี ก รานกฐิ น หรื อ พิ ธี ถ วายผ้ า กฐิ น ตามประเพณีในพุทธศาสนา ภายหลังเทศกาลออกพรรษาแล้ว

46

พนมเบี้ย พนมหมาก และพนมดอกไม้ คือ เบี้ย หมาก และดอกไม้ ที่จัดแต่งเป็น เครื่องไทยธรรมสาหรับถวายพระภิกษุ หรือพระสงฆ์ตามธรรมเนียม โดยนาเบี้ย หมาก ดอกไม้ จัดแต่งบนภาชนะ ให้มีรูปทรงลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัว หรือทาเป็นรูปกรวยยอด เรียวแหลม

(ที่มาภาพ : https://board.postjung.com/929339.html)

ปัจจุบัน พนมเบี้ย พนมหมาก ได้หมดบทบาทตามความศรัทธาประเพณีนิยม ในพุทธศาสนา เนื่องจากเบี้ยไม่ได้เป็นวัตถุกลางในการซื้อขาย หมากพลูไม่ได้เป็นเครื่องขบเคี้ยว ในความนิยมสาหรับคนปัจจุบัน ส่วนพนมดอกไม้ ยังพอติดอยู่กับความเชื่อ และความนิยมในคน ปัจจุบันพอสมควร แต่ก็ได้ปรับเปลี่ยนในส่วนวัสดุ วิธีการทา และโอกาสที่ใช้ไปจากขนบนิยม และธรรมเนียมเดิม ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป 1.3 ลายสือไทย ลายสื อ ไทย หมายถึ ง ตั ว หนั ง สื อ ไทย หรื อ อั ก ษรไทย ซึ่ ง พ่ อ ขุ น รามค าแหง มหาราช กษัต ริย์พ ระองค์ที่ 3 แห่ ง อาณาจั ก รสุ โ ขทั ย ทรงคิ ดประดิ ษ ฐ์ขึ้ น ในปี พ.ศ. 1826 ดังปรากฏในจารึก หลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8 – 11 ความว่า “เมื่อก่อนลายสือไทยนั้นบ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคาแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้...” ความในจารึกดังกล่าว สื่อชัดเจนว่า ก่อน พ.ศ. 1826 ยังไม่มีลายสือไทย หรือ อักษรไทยปรากฏใช้

47

ลายสือไทยที่พ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรงคิดประดิษฐ์ ขึ้นนั้น ลักษณะรูปสัณฐานของเส้นอักษร และอักขรวิธีที่ใช้ เป็นเอกลักษณ์ มีปรากฏเฉพาะในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึก พ่อขุนรามคาแหงมหาราชเป็นหลักแรก ลักษณะของลายสือ ไทย แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคาแหง มหาราชที่ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ทรงวินิจฉัย และทรงปรุงแต่งรูปแบบอักษรให้มีลักษณะบ่งบอกความเป็น (ที่มาภาพ : https://www.baanjomyut.com/ ไทยอย่ างแท้จ ริง และเป็น แบบอย่างให้ คนในชาติ ไ ด้ เรี ยนรู้ library_2/king_ramkhamhaeng_inscription ศึกษา และใช้สืบทอดต่อมา / พ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรงกาหนดให้มี วิธีเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ อยู่ในบรรทัดเดียว เป็นอักษรตัวตรง คือ เส้นอักษรลากขึ้นลงเป็นเส้นตรง ส่วนเส้นลากขวางโค้ง มนเล็กน้อย รูปอักษรจึงมีทรงสี่เหลี่ยม หรือที่เรียกว่า อักษรตัวเหลี่ยม

(ที่มาภาพ : https://www.dek-d.com/board/view/1237110/)

อิทธิพลของลายสือไทย ได้เผยแพร่ไปสู่อาณาจักรข้างเคียงเพียงช่วงระยะเวลา สั้น ๆ ประมาณหนึ่งศตวรรษ จากนั้นลักษณะของรูปแบบอักษรก็ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตาม การใช้ภูมิภาคนั้น ๆ จนปรากฏเป็นรูปอักษรแบบใหม่ขึ้นแทนลายสือไทย เช่น ในอาณาจักร ล้านนาได้เปลี่ยนไปเป็นอักษรไทยล้านนา หรืออักษรฝักขาม และในอาณาจักรศรีอยุธยาได้ เปลี่ยนไปเป็นอักษรไทยอยุธยา และสืบต่อมาเป็นอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

48

1.4 ไตรภูมิพระร่วง ไตรภูมิพระร่วง เป็นชื่อที่สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่ อไว้ จึงรู้จักแพร่หลาย และเรียกชื่อนี้มากกว่าจะเรียกชื่ อว่า ไตรภูมิกถา ตามที่ระบุไว้ในบานแพนก หรือสารบาญเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไท เมื่อปี พ.ศ. 1888 ครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นเวลา ถึง 6 ปี เนื่องจากเป็นหนังสือที่ศึกษาและเรียบเรียงสาระสาคัญจากคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์ ได้รจนาไว้ มีจานวนถึง 32 คัมภีร์ แสดงถึงพระจริยาวัตรในการศึกษาพระธรรมและพระราช อุตสาหะที่ฝักใฝ่ในธรรมะของพระพุทธองค์ ไตรภู มิ พ ระร่ ว งจึ ง มี ธ รรมะที่ ค รอบคลุ ม พระไตรปิ ฎ ก ทั้ ง พระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ทรงพระราชนิพนธ์โดยเรียบเรียงให้เห็น “ความเป็นจริง” ในทุกแง่ทุกมุม จึงได้รับยกย่องว่าเป็นวรรณคดีชิ้นเอกของไทย มีคุณค่าและมีอิทธิพลต่อคนไทย และสั ง คมไทยมากว่ า 700 ปี สะท้ อ นให้ เห็ น ว่ า พระมหาธรรมราชาลิ ไ ท ทรงเป็ น กษั ต ริ ย์ นักปราชญ์ และนักปกครองแห่งกรุงสุโขทัย คนไทย และสังคมไทย มีความสงบสุข ด้วยเหตุ ปัจจัยจากอิทธิพลของไตรภูมิพระร่วง และมีอิทธิพลต่อด้านภาษา ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ การหล่อหลอมค่านิยม อุดมคติ อุดมการณ์ และศีลธรรมจริยธรรม พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงมีพระราชประสงค์ในการแต่งเรื่องนี้ ดังที่ระบุไว้ใน บานแพนกว่ า “ไตรภู มิ ก ถานี้ มูน ใส่ เพื่ อ ใดสิ้ น ใส่ เพื่ อ มี อ รรถพระอภิ ธ รรมจะใคร่เทศนาแก่ พระมารดาท่านอันหนึ่ง เมื่อจาเริญพระธรรมโสด” สรุปได้ว่า 1. เพือ่ เผยแพร่พระอภิธรรม ซึ่งเป็นหลักการสาคัญในทางพระพุทธศาสนา 2. เพื่อเป็นบทเรียนพระอภิธรรมแก่พระราชมารดาของพระองค์ อนึ่ ง นัก วิ ชาการได้ ศึก ษาวิ เคราะห์ไ ตรภูมิ พ ระร่ว งเชิ งประวั ติศ าสตร์ และมี ความเห็นว่า จุดประสงค์ของการแต่ง คือ เพื่อสร้างบารมีก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และแสดงให้ ประจักษ์ว่าทรงเป็น “จักรพรรดิราช” 1.5 เครื่องสังคโลก สังคโลกหรือเครื่องสังคโลก เป็นคาที่ชาวไทยรู้จักกันดีในนามของวัตถุโบราณที่มี คุ ณ ค่ า ยิ่ ง มี ลั ก ษณะเป็ น ถ้ ว ยชามสิ่ ง ของเครื่ อ งใช้ เครื่ อ งประดั บ สถาปั ต ยกรรม สิ่ ง ผลิ ต

49

อันเนื่องมาจากความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขี้เถ้าที่ผลิตขึ้นใน สมัยสุโขทัย เครื่องสังคโลกที่จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันแบ่งตามเตาเผา มีอยู่ 3 แหล่ง ดังนี้ 1. เครื่องสังคโลกเตาสุโขทัยหรือเรียกว่า เตาทุเรียงสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตาบลเมืองเก่า อาเภอเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่แนวคูเมือง เรียกว่า แม่โจน เป็นเตาก่อด้วยอิฐ กว้าง 2 – 3 เมตร ยาว 5 – 6 เมตร ลักษณะเป็นเตาขุดลงไปในดิน ครึ่งหนึ่ง ก่อโค้งเป็นประทุนเกวียน แบ่งออกเป็น 3 ตอน เป็นที่ใส่ไฟตอนหนึ่ง ที่วางถ้วยชาม ตอนหนึ่ง และปล่องไฟตอนหนึ่ง เครื่องสังคโลกที่ได้จากเตาสุโขทัย เป็นภาชนะถ้วยโถโอชามที่เป็นของใช้สอย เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นจากเตาทุเรียงแหล่งนี้คือ เครื่องปั้นเคลือบลวดลาย สีดาหรือน้าตาล เนื้อดินค่อนข้างหยาบ ชุบน้าดินสีขาว ลวดลายสีเขียวอ่อน การเรียงถ้วยชาม เข้าเตาเผาแห่งนี้จะใช้กี๋ ซึ่งเป็นจานที่มีขาเป็นปุ่ม 5 ปุ่ม วางคั่นระหว่างชามต่อชาม ฉะนั้น ภายในชามของเตาสุโขทัย จึงมีรอย 5 จุดปรากฏอยู่เป็นส่วนมาก 2. เครื่องสังคโลกเตาทุเรียงป่ายาง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัยบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ายมเหนือแก่งหลวง ห่างจากกาแพงเมืองเพียง 500 เมตร เครื่องสังคโลกที่ได้จากเตาเผาแหล่งนี้เป็นสังคโลกดี ทั้งลวดลาย น้ายาเคลือบ สวยงาม รูปแบบพิเศษกว่าเตาเผาแหล่งอื่น แยกเป็นเตาเผารูปยักษ์ นาค มังกร และเตาเผารูป ตุ๊กตา สันนิษฐานว่าเตานี้จะเป็นเตาหลวงที่ทาขึ้นใช้เฉพาะบุคคลชั้นสูง 3. เครื่องสังคโลกเตาทุเรียงเกาะน้อย ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย ตาบลหนองอ้อ อาเภอศรีสัชนาลัย เตาเกาะน้อยนี้อยู่ถัดเตาป่ายางไปทางเหนือ ประมาณ 4 กิโลเมตร เครื่องสังคโลกที่ได้จากแหล่งนี้เป็นภาชนะถ้วยชาม จาน จานเชิง โถ ขวด สีของ เครื่องสังคโลกมีหลายสี เช่น สีน้าตาล สีเหลืองอ่อน สีเขียวไข่กา สีขาวมีลวดลายที่เขียนด้วย สีที่เข้มกว่า เขียนลงในภาชนะที่ยังดิบอยู่ ชุบเคลือบแล้วจึงเผา ซึ่งเชื่อกันว่าใช้เถ้าจากต้นก่อ (มะก่อตาหมูและไม้กอง) ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่มีในสุโขทัยและภาคเหนือ ชนิดและประเภทของเครื่องสังคโลก ถ้าพิจารณาวัสดุและความแข็ง อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเนื้ออ่อนหรือ เนื้อดินและชนิดเนื้อแข็งหรือเนื้อหิน

50

1. ชนิดเนื้ออ่อนหรือเนื้อดิน ได้แก่ ภาชนะที่เนื้อดินมีความพรุนตัวค่อนข้างมาก สามารถดูดซึมน้าได้ ใช้ความร้อนในการเผาด้วยอุณหภูมิ ต่ากว่า 600 องศาเซลเซียส มีเนื้อดิน สีส้มอมแดง ผิวด้านนอกไม่เคลือบ แต่บางชิ้นมีการขัดผิวให้มันแล้วชุบน้าดินสีแดง การตกแต่ง ลวดลายที่พบมากเป็นลายเชือกทาบ และลายขูดหรือลายขีดลงไปในเนื้อดิน 2. ชนิดเนื้อแข็งหรือเนื้อหิน ได้แก่ ภาชนะที่ มีเนื้อแน่น แข็ง น้าและของเหลว ไม่ ส ามารถไหลซึ ม ผ่ า นได้ เวลาเคาะมี เ สี ย งกั ง วาน ใช้ ค วามร้ อ นในการเผาด้ ว ยอุ ณ หภู มิ อยู่ระหว่าง 600 - 1,100 องศาเซลเซียส สังคโลกเนื้อหิน มีทั้งเคลือบขี้เถ้า การตกแต่งลายทั้ง ขูดขีดลายลงไปในเนื้อดินและการปะติดลวดลายลงไปบนผิ ว รูปทรงที่พบ ได้แก่ ครก สาก ไห ปากผายคอยาว โอ่งต่าง ๆ สังคโลกประเภทนี้พบมากที่เตาบ้านเกาะน้อย 2.1 ประเภทไม่ เ คลื อ บน้ ายา ส่ ว นมากมี เ นื้ อ ดิ น สี เ ทาและสี เ ทาอมม่ ว ง ผิวค่อนข้างด้าน มีบางชิ้นที่ผิวออกมันและมีร่องรอยคล้ายเคลือบน้ายาเป็นจุดประ ซึ่งเป็นการ เคลือบเองโดยธรรมชาติระหว่างการเผา ที่เรียกว่าเคลือบขี้เถ้า การตกแต่งลายมีทั้งขูดขีดลาย ลงไปในเนื้อดิน และการปะติดลวดลายลงไปบนผิว รูปทรงที่พบได้แก่ ครก สาก ไห ปากผาย คอยาว โอ่งต่าง ๆ สังคโลกประเภทนี้พบมากที่เตาบ้านเกาะน้อย 2.2 ประเภทผิวเคลือบน้ายา (อุณหภูมิการเผาเกิน 1,200 องศาเซลเซียส) แบ่งตามลักษณะของสีและการตกแต่งลวดลายได้ดังนี้ 2.2.1 ชนิดเคลือบน้ายาสีเขียว มีตั้งแต่สีเขียว สีฟ้า สีเงินอมฟ้า สีเขียว มรกต สีทั้งหมดนี้จัดอยู่ในตระกูล เซลาดอน มีทั้งลวดลาย และไม่มีลวดลาย พวกมีลวดลายก็คือ มีลวดลายบนภาชนะแล้วเอาไปเคลือบน้ายา ผลิตมากที่เตาป่ายาง และเตาเกาะน้อย 2.2.2 ชนิดเคลือบสีน้าตาล สีของน้ายาเคลือบมีสีน้าตาลอ่อน จนถึง น้าตาลเข้ม ใช้เคลือบภาชนะหลายชนิด เช่น ครก คณฑี ตะเกียง ไหขนาดเล็ก - ใหญ่ โอ่ง ตุ๊กตา ขนาดเล็ก ผลิตที่เตาป่ายางและเตาเกาะน้อย 2.2.3 ชนิดตกแต่งลวดลายด้วยการขูดลงไปในเนื้อดิน แล้วเคลือบสองสี ส่วนใหญ่เป็นลายพันธุ์ไม้เลื้อย แล้วนาไปชุบน้าละลายดินชั้นหนึ่ง ก่อนที่จะชุบน้าเคลือบ สีอ่อน เป็นพื้น เช่น สีครีมขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาชนะเขียนลายใต้เคลือบ คือ การเขียนลายก่อนชุบเคลือบ แล้วนาไปเผา ลวดลายที่เขียนจะมีสีน้าเงินเข้ม ดา น้าตาล สังคโลกชนิดนี้จะงดงามมาก และมี ราคาแพง

51

เครื่องสังคโลก เตาสังคโลก

ลวดลายที่ปรากฏในถ้วยชามสังคโลก เครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัย มีลวดลายเฉพาะตัว โดยเฉพาะลวดลายที่พบมากใน ถ้วย จาน ชาม ตามคาอธิบายของคุณบุญชู -น้าค้าง ทิมเอม กล่าวว่าลวดลายที่พบมาก ได้แก่ กงจั ก ร ปลา ดอกไม้ โดยเฉพาะลายปลา เป็น แบบเฉพาะของชาวสุ โ ขทั ย ไม่ ไ ด้ มี แ ต่ เพี ย ง แบบปลาอย่างเดียว มีลายสัตว์น้าทุกชนิด เช่น หอย กุ้ง ปู ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ เมืองสุโขทัยดังคาที่ว่า “ในน้ามีปลา ในนามีข้าว” เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย เป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยความยิ่งใหญ่ เป็นความงามที่ขึ้นอยู่ กับความวิจิตรบรรจง สีที่เด่นและถือว่ามีความงดงามมากของเครื่องเคลือบสุโขทัยก็คือ สีเขียว ไข่กาหรือที่เรียกว่าเซลาดอน ลวดลายจะเขียนด้วยสีดาหรือสีที่มีน้าหนักค่อนข้างแก่สีเดียวกับ ภาชนะ คุณสมบัติเช่นนี้ย่อมมีอยู่ในเครื่องปั้นดินเผาชั้นฝีมือโดยเฉพาะเท่านั้น เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยสามารถแข่งขันกับงานเครื่องปั้นดินเผาของจีนในตลาด ต่างประเทศได้อย่างดีในสมัยนั้น ประเทศญี่ปุ่นสะสมเครื่องปั้นดินเผาของไทยเราไว้มาก และถือ ว่าเป็นของชั้นสูงที่มีค่ายิ่ง แม้ในปัจจุบันก็ ยังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก หลักฐานที่ชี้ชัดว่าสุโขทัย ผลิตเครื่องปั้นดินเผาไปจาหน่ายต่างประเทศ จากการค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2518 พบเรือสินค้า สมัยสุโขทั ยบรรทุก เครื่องสั งคโลกจมทะเลลึก ที่อ่าวไทย พบเครื่ องสังคโลกเป็นจ านวนมาก ผู้ เ ชี่ ย วชาญโบราณคดี ข องรั ฐบาลเดนมาร์ ก และนั ก ประดาน้ าไทยได้ ล งไปส ารวจ มอบให้ กรมศิลปากรเก็บรักษาไว้ 2,000 กว่าชิ้น ล้วนแต่มีสภาพสวยงามและสมบูรณ์ เครื่องสังคโลกหรือเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย ปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูส่งเสริม ให้แพร่หลายและเจริญรุ่งเรือง โดยที่คนไทยควรจะอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนได้ชื่นชม และประจักษ์

52

ชัดถึ งความเฉลี ยวฉลาดของบรรพบุรุ ษ ที่ สื่อ ให้เห็น ถึง ดิน แดนแห่ง อารยธรรมยิ่ งใหญ่ ที่ เรา ภาคภูมิใจ 1.6 ประเพณีกินสี่ถ้วย (ไข่กบ นกปล่อย มะลิลอย อ้ายตื้อ) ตามประวัติศาสตร์ มีหลักฐานการจารึกชื่อขนมไทยในแท่งศิลาจารึก ขนมที่ปรากฏ คือ ไข่ ก บ นกปล่ อ ย มะลิ ล อย อ้ ายตื้ อ ซึ่ ง ไข่ก บ หมายถึ ง เม็ ด แมงลั ก นกปล่ อ ย หมายถึ ง ลอดช่อ ง มะลิล อย หมายถึง ข้าวตอก อ้ า ยตื้ อ หมายถึ ง ข้ า วเหนีย วดา ทั้ ง 4 ชนิ ด ใช้ น้ า กระสายอย่างเดียวกันคือน้ากะทิและน้าตาลโตนด มี ธ รรมเนี ย มที่ จ ะท าขนม 4 อย่ า งเลี้ ย งใน งานแต่ ง งาน เรี ย กว่ า ขนมสี่ ถ้ ว ย มี ชื่ อ เป็ น ปริ ศ นาว่ า “ไข่ ก บ นกปล่ อ ย มะลิ ล อย อ้ายตื้อ” ซึ่ง ไข่กบ ก็คือ ขนมเม็ดแมงลัก ที่มี รูปร่างเหมือ นไข่ก บ นกปล่อย คือ ลอดช่อ ง ไทย ซึ่งเวลากดลงจากพิมพ์จะเหมือนปล่อย นกจากกรง มะลิลอย คือ ข้าวตอกรูปร่างขาว ๆ (ที่มาภาพ : https://www.wongnai.com/restaurants/237377Tmเหมือนดอกมะลิ อ้ายตื้อ คือ ข้าวเหนียวดานึ่ง เสน่ห์จันทน์/photos/ 1e5018af6fae4c968601b75dcf138908) สุ ก กิ น แล้ ว อิ่ ม ตื้ อ หนั ก ท้ อ ง ขนมพวกนี้ ราดน้ากะทิเคี่ยวกับน้าตาลโตนด พิธี กรรมการสร้างครอบครั วใหม่ห รือ พิธี มงคลสมรสของชาวอาณาจัก รสุ โขทั ย แต่อดีตมีความละเอียดปราณีต ดังนี้ 1. ก่ อ นจั ด พิ ธี ม งคลสมรส เจ้ า ภาพจะต้ อ งขึ้ น ไปบนเรื อ นของญาติ ผู้ ใ หญ่ แล้ว นั่งพั บเพียบให้ เรีย บร้อย บอกวัต ถุป ระสงค์ ของการมาในครั้ง นี้ว่ า “ขอเรีย นเชิญไปนั่ ง การมงคลด้วยกัน ” ญาติผู้ใหญ่และสัมพันธชนก็จะทราบได้ทันทีว่า เจ้าภาพเชิญไปร่วมงาน มงคลสมรส พร้อมทั้ งถามวั น เดื อ นปี ที่จัด พิ ธี ถ้ าเป็ นการจั ด งานที่เรื อนหอของฝ่ า ยเจ้ าบ่ าว เรียกตามภาษาบาลีว่า อาวาหมงคล ถ้าเป็นการจัดงานที่เรือนหอของฝ่ายเจ้าสาว เรียกตาม ภาษาบาลีว่า วิวาหมงคล 2. เมื่อญาติผู้ใหญ่และสัมพันธชน จะบอกลูกหลานและเครือญาติมิตรสหายว่าจะ ไปไหน หรือมีคนถามว่าจะไปไหน จะมีคาตอบว่า “ไปกินสี่ถ้วย” หมายถึง ได้รับเชิญไปร่วมงาน มงคลสมรส เมื่อตรวจดูในหนังสือดรรชนีค้นคาศิลาจารึกสุโขทัยแล้ว ไม่มีคาว่า กินสี่ถ้วย แต่มิได้ หมายความว่า ไม่มีพิธีกรรมการมงคลสมรสแบบนี้ในสมัยสุโขทัย เพราะคาว่า กินสี่ถ้วยเป็น

53

ตัวชี้วัดหนึ่งของคนพูดภาษาไทยสยามสาเนียงสุโขทัย ในชุมชนที่อยู่นอกเหนือพื้นที่จั งหวัด สุโขทัย เช่น ตาบลสะเดียง อาเภอเมือง เพชรบูรณ์ ชุมชนรอบ ๆ วัดพระมหาธาตุเมืองฝาง สวางคบุรี ตาบลผาจุก อาเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ตาบลทุ่งยั้ง อาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งชุม ชนตัว อย่างนี้พูด ภาษาไทยสยามสาเนี ยงสุ โขทัย และมีพิธี กรรมมงคลสมรสที่ เรี ยกว่ า “กินสี่ถ้วย” ต่างไปจากพิธีมงคลสมรสของชาวล้านนา ชาวล้านช้าง หรือชาวจีน และชาวอินเดีย 1.7 ดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านสมัยสุโขทัย มีคาที่พบในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ด้านที่ 2 บรรทัด ที่ 18 – 19 กล่าวว่า “ด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ” ในกลุ่มคาคู่แรก คือ “เสียงพาดเสียงพิณ” แยกออกได้เป็น 2 คา คือ เสียงพาดหรือ เสียงพาทย์ เป็นเสียงเครื่องดนตรีประกอบเครื่องตี และเสียงพิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องดีด กลุ่มคาคู่หลัง คือ “เสียงเลื้อนเสียงขับ” แยกได้ออกเป็น 2 คา เช่นเดียวกัน หมายถึง การร้องเพลง 2 ประเภท กล่าวคือ เสียงเลื้อน หมายถึง การเล่นเพลงตอบโต้โดยใช้ไหวพริบ ปฏิภาณ และความรู้รอบตัว สร้างบทเพลงแบบกลอนสด ร้องตอบโต้กัน มีลูกคู่ในฝ่ายของ คนร้องประกอบ ไม่ต้องการเครื่องดนตรีนอกจากการให้จังหวะโดยการปรบมือ ส่วน เสียงขับ หมายถึง การร้องเพลงร่วมกับดนตรีที่เรียกกันทั่วไปในปัจจุบันว่า ร้องส่ง นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ให้ความหมายว่า เลื้อน หมายถึง ร้องเอื้อน หรือ ขับ หมายถึง ร้องเป็นเนื้อ เครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย ได้แก่ วงแตรสังข์ ที่ใช้ บรรเลงในพระราชพิธีต่าง ๆ ประกอบด้วย แตรงอน ปี่ ไฉนแก้ว กลองชนะ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดนตรี เช่น พิณ และ ซอสามสาย อยู่ในสมัยนั้นอีกด้วย

(ที่มาภาพ : https://thaimusicyoume.wordpress.com)

54

มังคละเภรี สันนิษฐานว่า มังคละเภรี คงเข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรสุโขทัย สมัยพญาลิไท (ประมาณ 600 ปีที่ผ่านมา) โดยมาพร้อมกับชาวศรีลังกา มังคละเภรี เป็นวงดนตรีที่ชาวศรีลังกา ใช้ประโคมบาเรอ พระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวแก้วของพระพุทธองค์ อันเป็นปูชนียวัตถุสาคัญที่สุด ของศรีลังกา ดนตรีพื้นบ้านมังคละ เป็นการละเล่นพื้นบ้าน มาตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นราชธานี เป็น ดนตรีที่สืบทอดทางพระพุทธศาสนาจากศรีลังกา เข้าสู่นครศรีธรรมราชและสุโขทัย การละเล่น มังคละมีหลักฐานในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า “เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนม ดอกไม้... ไปสูดญัติกฐินเถิงอรัญญิกพู้น... เท้าห้อลานดบงคกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ...” คาว่ า “ด บงคกลอง” (อ่า นว่ า ดาบง คากลอง) เป็ นค าโบราณที่มี ใช้ ตั้ง แต่ สมั ย สุโขทัย แปลว่า เป็นการประโคม หรือตีกลองที่ขึงด้วยหนัง ค าว่ า “มั ง คละ” แปลว่ า มงคล หรื อ สิ่ ง ที่ เจริญก้าวหน้า ก ล อ ง มั ง ค ล ะ จึ ง เ ป็ น ด น ต รี ที่ เ ป็ น ม ง ค ล เครื่อ งดนตรีมัง คละประกอบด้ว ย กลองสองหน้ า จานวน 2 ใบ กลองมังคละ (จ๊กโกร๊ด) 1 ใบ ฆ้องโหม่ง จานวน 3 ใบ ปี่ชวา 1 เลา ฉาบเล็ก 1 คู่ ฉาบใหญ่ 1 คู่ และอาจจะมีกรับไม้อีก 1 คู่ ก็ได้ (ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/ watkungtaphao/kitchakam/mungkala/ ปัจจุบัน มังคละ มักใช้แห่ในงานมงคล เช่น sawangkabury) งานบวช ทอดกฐิ น เป็ น ต้ น “วงกลองมั ง คละ” ถ้าใช้ในงานศพ เช่น ประโคมศพ แห่อัฐิธาตุ จะใช้เฉพาะปี่ กลองสองหน้า และฆ้อง เรียกว่า “วงปี่กลอง”เป็นต้น 1.8 สถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมสมัยสุโขทัย สุโขทัยเป็นรัฐ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 18 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพระพายหลวง ต่อมาในสมัยพ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ได้มีการย้ายเมืองมา ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นเมืองโบราณสุโขทัยที่รู้จักกันในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางคือวัดมหาธาตุ

55

จากหลักฐานด้านจารึกให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่าเมืองสาคัญในแคว้นสุโขทัย มีทั้ง หมด 5 เมื อง คือ เมื องศรีสั ชนาลัย เมื องสร ลวง สองแควหรือ พิษ ณุโลก เมือ งสุโ ขทั ย เมืองชากังราว (กาแพงเพชร) และเมืองพิชัย โดยมีเมืองสุโขทัยเป็นเมืองของผู้นาที่จะเข้ามา ปกครองดินแดนเหล่านี้ ศิลปะสุโขทัยเริ่มตั้งแต่เมื่อแคว้นสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา ตั้งแต่ สมัยพ่อขุนรามคาแหงเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะสุโขทัยจัดได้ว่าเป็นศิลปะไทยที่งดงามที่สุด และมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะพระพุทธรูปสุโขทัยซึ่งมีลักษณะเด่นคือ พระรัศมีเป็น เปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์ อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายจีวรเป็น ลายเขี้ยวตะขาบ นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยยังนิ ยมทาพระพุทธรูปตามอิริยาบททั้งสี่คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน ศิลปะสุโขทัยไม่เพียงแต่ทากันในแคว้นสุโขทัยเท่านั้นแต่ได้ส่งอิทธิพลให้แก่ศิลปะ อยุธยา แม้ว่าจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาแล้วก็ตาม สุ โ ขทั ย นอกจากจะมี พ ระพุ ท ธรู ป ที่ มี ลั ก ษณะเฉพาะของตั ว เองแล้ ว ยั ง มี สถาปั ต ยกรรมที่ มี ลั ก ษณะเฉพาะตั ว เองอี ก ด้ ว ยคื อ เจดี ย์ ท รงพุ่ ม ข้ า วบิ ณ ฑ์ หรื อ เจดี ย์ ท รง ดอกบัวตูม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์พบโดยทั่วไปในเมืองสาคัญ สมัยสุโขทัย เช่น ที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบที่วัดสวนดอก จัง หวัด เชีย งใหม่ ซึ่ ง ขึ้น ไปพร้อมกั บพุ ทธศาสนานิ กายเถรวาทที่พ ระมหาธรรมราชาลิไ ทส่ ง พระสุมนเถระขึ้นไปเผยแผ่ศาสนา 1) เจดีย์สมัยสุโขทัย เจดีย์สมัยสุโขทัย ได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจากแหล่งต่าง ๆ กัน เช่น อินเดีย ลังกา ขอม มอญ และช่างจากสกุลช่างทางใต้ คื อเมืองนครศรีธรรมราช และไชยา ช่างสุโขทัย ได้พยายามดัดแปลงรูปแบบ ให้มีลักษณะแบบอย่างผสมกลมกลืนเป็นของตนเอง คือถือหลัก รู้จักรับและปรับปรุง จึงเป็นผลให้ศิลปกรรมสุโขทัยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นที่รู้จักของชาวโลก ทั่วไป ซึ่งบ่งบอกถึงศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนา และแนวความคิดสร้างสรรค์ ในทางสถาปัตยกรรมที่ไม่ซ้าแบบกับของชนชาติใด เจดี ย์ สุ โ ขทั ย จ าแนกได้ ต ามลั ก ษณะของรู ป ทรงดั ง ที่ มะลิ โคกสั น เที ย ะ ได้จาแนกไว้ ดังนี้ 1. เจดีย์ทรงดอกบัวตูม 2. เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา

56

3. เจดีย์ผสมแบบลังกาและศรีวิชัย 4. เจดีย์แบบลังกาผสมปรางค์ 5. เจดีย์ทรงมณฑปภายในตั้งพระพุทธรูปองค์เดียว และพระพุทธรูป 4 อิริยาบท 6. เจดีย์แบบเบ็ดเตล็ด ในบรรดาเจดีย์ทั้งหมดเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นเจดีย์ที่มีปรากฏในสมัยสุโขทัย เป็นจานวนมาก เป็นเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสุโขทัย เจดีย์ทรงดอกบัวตูม เจดี ย์ ท รงดอกบั ว ตู ม มี รู ป ทรงเด่ น สง่ า งาม ฐานชั้นล่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ลดหลั่นกัน 3 หรือ 4 ชั้น ถัดขึ้น ไปเป็ น ฐานแว่ น ฟ้ า ซ้ อ นกั น ค่ อ นข้ า งสู ง รองรั บ เรื อ นธาตุ โดยเฉพาะพระเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ สุโขทัย มีฐานสูงใหญ่ การจัดแผนผังพิเศษผิดกับเจดีย์องค์อื่น ๆ และวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนยอดของดอกบัวตูม บางแห่งยังมีร่องรอย ของกลี บ บั ว ปั้ น 8 กลี บ เหลื อ อยู่ เช่ น เจดี ย์ วั ด ตระพั ง เงิ น เจดีย์วัดช้างล้อม และเจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย ลวดลายประดับตรงส่วนฐานของดอกบัวทั้ง 4 ทิศ ของพระเจดีย์ บางองค์ ล ายหน้ า ราหู หรือ หน้ ากาล หรื อ เกี ย รติ มุ ข ปรากฏอยู่ (ที่มาภาพ : https://www.bloggang.com/ ทาเป็นซุ้มเล็ก ๆ ประดิษ ฐานพระพุท ธรูป ทั้ง 4 ทิศ เช่น เจดีย์ mainblog.php?id=chubbylawyer&mon th=29-06-2016&group=44&gblog=6) รายวัดมหาธาตุ สุโขทัย ส่วนทางดอกบัวตูมองค์ประธานใน วัดเจดีย์เจ็ดแถวนั้น ตรงมุขของดอกบัวตูมมีกลีบบัวมุมละ 3 กลีบ เรียงอยู่ระหว่างหน้าราหู ที่กลีบบัวมีรูปครุฑปั้นปูนประดับอยู่ทุกกลีบและยังอยู่ในสภาพชัดเจนดี แสดงให้เห็นว่ารูปครุฑ พาหนะของพระนารายณ์ซึ่งเคยพบเห็นประดับเป็นครุฑแบกอยู่ตามมุม พระปรางค์สุโขทัยนั้น ได้นามาใช้ประดับยอดเจดีย์ทรงดอกบัวตูมมุมละ 3 ตัว รวม 12 ตัว นั ก โบราณคดี และนั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ย กย่ อ งว่ า เจดี ย์ ท รงดอกบั ว ตู ม เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ (Pure Sukhothai Style) ที่ศิลปินสุโขทัยคิดแบบอย่าง ของตนขึ้น เจดีย์แบบนี้นิยมสร้างไว้ตามเมืองต่าง ๆ ในสุโขทัยเท่านั้น ไม่มีการสร้างต่อในสมัย กรุงศรีอยุธยา แสดงว่าศิลปะแบบนี้ได้สิ้นสุดลงพร้อมกับการสิ้นอานาจของอาณาจักรสุโขทัย

57

2) พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสุโขทัยอาจแบ่งได้เป็น 4 หมวด ด้วยกันคือ 1. หมวดใหญ่ 2. หมวดกาแพงเพชร 3. หมวดพระพุทธชินราช 4. หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน 1. พระพุทธรูปหมวดใหญ่

(ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/wadsakhayniprathesthiy/home/wad-tirmitr-withya-ram-wrwihar)

พระพุ ทธรูป สุ โ ขทั ย หมวดใหญ่ มี อ ยู่ ทั่ว ไป เป็ น ลั ก ษณะศิ ล ปะสุ โ ขทั ย โดยเฉพาะ มีลักษณะคือ พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม (ตามแบบลักษณะมหาบุรุษจากอินเดีย) พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ นิยมสร้างแบบ ปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง

58

2. พระพุทธรูปหมวดกาแพงเพชร

(ที่มาภาพ : http://gotoknow.org/blog/vatin-history/334463)

มีลักษณะพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม อยู่เป็นจานวนมาก แต่ค้นพบน้อย รูปตัวอย่างเป็นเศียรพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑ์สถานพระนคร กรุงเทพมหานคร 3. พระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราช

(ที่มาภาพ : http://gotoknow.org/blog/vatin-history/334463)

พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน มีลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการอยู่มาก หมวดนี้เชื่อกันว่าคงเริ่มสร้างครั้งแผ่นดินพระเจ้า ลิไท ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 หรือหลังกว่านั้น

59

4. พระพุทธรูปหมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดวัดตะกวน

(ที่มาภาพ : http://gotoknow.org/blog/vatin-history/334463)

หมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดวัดตะกวน เป็นหมวดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่มีศิลปะ แบบล้านนาและลังกาเข้ามาปะปนอยู่มาก บางองค์ มีลักษณะชายสังฆาฏิหรือจีวรสั้นพระนลาฏ แคบ แต่ พ ระองค์ แ ละฐานมั ก เป็ น แบบสุ โ ขทั ย ที่ เ รี ย กว่ า แบบวั ด ตะกวนนั้ น เพราะได้ พ บ พระพุ ทธรูปแบบสุ โขทั ยและแบบแปลก ๆ เหล่ า นี้ที่วัด ตะกวนในเมือ งสุโ ขทั ย เป็ นครั้ งแรก พระพุทธรูปแบบนี้บางองค์อาจเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกของศิลปะแบบสุโขทัยก็เป็นได้

กิจกรรมท้ายเรือ่ งที่ 1 มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย (ให้ผู้เรียนทากิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 ในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)

60

เรื่องที่ 2 แนวทางในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย ค าว่ า “สื บ สาน” มี ทั้ ง สื บ และสาน ค าว่ า สื บ ในความหมายหนึ่ ง หมายถึ ง สืบสาว คือ ย้อนลงไปในความเป็นมาเพื่อหาเหตุปัจจัยในอดีต และการย้อนลงไปหาที่เรียกว่า สืบสาว นั้น มี 2 ด้าน ด้านหนึ่ง คือ สืบสาวในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อหาความเป็นมาในอดีต ว่าวัฒนธรรมนี้เกิดสืบเนื่องมาจากอะไร ต้นตออยู่ที่ไหน สืบต่ อกันมาอย่างไร ทุกอย่างที่มีอยู่ มีความเป็นมาที่สืบสาวไปในอดีตได้ ถ้าชนชาติใดมีปัญญา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรากฐาน ที่มาในประวัติศาสตร์แห่งวัฒนธรรมของตน ชาตินั้นก็มีทางที่จะทาให้วัฒนธรรมของตนเจริญ งอกงามได้ แต่ในบางสังคม คนมีความมืดมัวไม่รู้จักสืบสาว หาความเป็นมาแห่งวัฒนธรรมของ ตนในอดีต ก็จะทาให้วัฒนธรรมมืดมัวไปด้วย วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทาความเจริญ งอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น ความมุ่งหมายของมรดกทางวัฒนธรรม 1. เพื่อปลูกฝังมรดกทางวัฒนธรรม 2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มรดกทางวัฒนธรรม 3. เพื่อเป็นการส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม 4. เพื่อเป็นการฝึกให้สามารถนาไปปฏิบัติได้ แนวทางการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม 1. ค้นคว้า วิจัย ศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การอนุรักษ์โดยการปลูกจิตสานึก และสร้างจิตสานึกที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์ 3. การฟื้ น ฟู โ ดยเลื อ กสรรมรดกทางวั ฒ นธรรมที่ ก าลั งสู ญ หาย หรื อ ที่ สู ญ หายไป แล้วมาทาให้มีคุณค่า และมีความสาคัญต่อการดาเนินชีวิต 4. การพั ฒ นาโดยริเริ่ม สร้ างสรรค์ และปรั บ ปรุ งมรดกทางวัฒ นธรรมในยุ คสมั ย ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจาวัน 5. การถ่ายทอดโดยนามรดกทางวัฒนธรรมมาเลือกสรร กลั่นกรอง ด้ว ยเหตุและผล อย่างรอบคอบ และรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมรับรู้ 6. การส่งเสริมกิจกรรมโดยการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานมรดก ทางวัฒนธรรม

61

7. การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนโดยการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการเผยแพร่และ แลกเปลี่ยนมรดกทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ

กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 แนวทางในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย (ให้ผู้เรียนทากิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 ในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.