รวมมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร Flipbook PDF

รวมมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร โดย โครงการออกแบบและพัฒน
Author:  h

3 downloads 208 Views 2MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รวมมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับ

ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ทุนสนับสนุนโครงการ สานัก 8 (สานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



โครงการพัฒนาและปฏิบัติการ

โครงการออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริม การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ผลผลิต กิจกรรม 2 : การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ที่คาดหวังจำแนกตามรูปแบบ  บทความแนวคิดการสร้างศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้  รายงานผลการพัฒนาองค์ประกอบและตัวชีว้ ัดคุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ที่คาดหวังจำแนกตามรูปแบบ

รวมมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้และ เครือข่ายศูนย์เรียนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ทุนสนับสนุนโครงการ สำนัก 8 (สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้รับทุน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่รับทุน พ.ศ. 2564-2566

รหัสโครงการ: 64-00145

โครงการออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริม การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร รหัสโครงการ: 64-00145 ผู้รับผิดชอบโครงการ ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช กิจกรรม 2 : การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้ที่คาดหวังจำแนกตามรูปแบบ ผลผลิตที่ 2.4 รวมมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ผู้จัดทำรายงาน ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ พ.ศ. 2564 หมายเหตุ : บทความหรือบทสัมภาษณ์เป็นความคิดและมุมมองมองของผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูลซึ่ง เป็นอิสระจากโครงการ แหล่งทุน สำนัก 8 (สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้รับทุน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา พิมพ์ที่ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำนำ โครงการ “ออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริม สุขภาวะองค์กร” ได้รับทุนสนับสนุนโครงการจากสำนัก 8 (สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร) สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระยะเวลา 2 ปี ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 รายงานฉบั บ นี ้ เ ป็ น ผลการดำเนิ น งานในกิ จ กรรมที ่ 2 ของโครงการฯ คื อ การพั ฒ นา องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ที่คาดหวังจำแนกตาม รูปแบบ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ พัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่าย ผลการดำเนินงานทำให้สามารถสังเคราะห์แนวคิดการสร้างศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ สำหรับรายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับ การทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร/ชุมชน ตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างศูนย์เรียนรู้และ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ข้อมูล ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์บุคคลผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุข ภาวะองค์กร และมาจากผลการประชุมอภิปรายกลุ่มบุคคลที่เป็นภาคี ผู้รับทุนในโครงการของสำนัก 8 และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง หวั ง ว่ า รายงานฉบั บ นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ ก ั บ สำนั ก 8 ในการใช้ เ ป็ น ฐานคิ ด ในการพั ฒ นา ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรที่มีประโยชน์และประสบผลสำเร็จ

คณะผู้จัดทำ





สารบัญ หน้า ก ค 1 3

คำนำ สารบัญ รวมแนวคิดมุมมองเชิงปฏิบัติ บทสัมภาษณ์ 1 รศ.ดร.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ชัยยุทธ กลีบบัว ธนพล ว่องวาณิช

บทสัมภาษณ์ 2

ผศ.ดร. อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ ครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ดวงเนตร ธรรมกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล

8

บทสัมภาษณ์ 3

ดร.ชวลี บุญโต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผศ.ดร.น.ต.วัชราพร เชยสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาล กองทัพเรือ

ปิยพงษ์ คล้ายคลึง ธนพล ว่องวาณิช

11

บทสัมภาษณ์ 4

บทเรียนจากการฝึกประสบการณ์การสร้าง เสริมสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล

ชวลี บุญโต

14

บทสัมภาษณ์ 5

พระมนัส อิ่มรัตน์ วัดโพธิ์ทอง จังหวัดจันทบุรี

สุดประนอม สมันตเวคิน

24

บทสัมภาษณ์ 6

พระครูโฆษิตสมนคุณ วัดแม่ห่าง

เพียรกิจ นิมิตรดี

27

บทสัมภาษณ์ 7

คุณสุชล สุขเกษม ศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี

สุดประนอม สมันตเวคิน

31

บทสัมภาษณ์ 8

คุณจิรายุ อุปเสน ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

ชัยยุทธ กลีบบัว และคณะ

34

ง หน้า สุภาพร เทียมบุญประเสริฐ 36 กษิดิศ ครุฑางคะ

บทสัมภาษณ์ 9

คุณรัชดาพร จันทบุตร ศูนย์อนามัย 10 อุบลราชธานี

บทสัมภาษณ์ 10

คุณอังคณา ภิญโญกุล มูลนิธิเครื่องนุ่งห่มไทย

สุภาพร เทียมบุญประเสริฐ 40

บทสัมภาษณ์ 11

คุณยุพาภรณ์ ตันติจิตรอารีย์ สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย

สุภาพร เทียมบุญประเสริฐ 42

บทสัมภาษณ์ 12

ผศ.วัลยา ตูพานิช วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์

กฤดิญาดา เกื้อวงศ์ กษิดิศ ครุฑางคะ

44

บทสัมภาษณ์ 13

ดร.พิทักษ์ โสตยาคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน

กษิดิศ ครุฑางคะ

48

บทสัมภาษณ์ 14

คุณน้ำเพชร มาตาชนก โรงพยาบาลบางพลี

กษิดิศ ครุฑางคะ

52

บทสัมภาษณ์ 15

คุณวีระวัฒน์ อัศวสัมฤทธิ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า

กษิดิศ ครุฑางคะ

55

บทสัมภาษณ์ 16

คุณปารณีย์ แก้วเกิดศรี วัดจากแดง

กษิดิศ ครุฑางคะ

57

บทสัมภาษณ์ 17

คุณบุสดี ขุนศิริ ศูนย์เรียนรู้ชุมขน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์

กษิดิศ ครุฑางคะ

60

บทสัมภาษณ์ 18

คุณปฏิพัทธ์ อุกอาจ องค์การบริหารส่วนตำบลตาคลี

กษิดิศ ครุฑางคะ

63

บทสัมภาษณ์ 19

คุณนพรัตน์ มุณีรัตน มูลนิธิสถาบันพัฒนาการเรียนรู้

กษิดิศ ครุฑางคะ

65

บทสัมภาษณ์ 20

คุณพรทิพย์ ธีระกาญจน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

กษิดิศ ครุฑางคะ

68



บทสัมภาษณ์ 21

อาจารย์จารุวรรณ ไทยบัณฑิต สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

กษิดิศ ครุฑางคะ

หน้า 70

ผลสรุปจากการประชุมอภิปรายกลุ่ม กลุ่ม 1 ผู้แทนองค์กรภาครัฐ

73 75

กลุ่ม 2

ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน

78

กลุ่ม 3

ผู้แทนองค์กรศาสนา/สงฆ์/คุณธรรม

80

กลุ่ม 4

ผู้แทนองค์กรชุมชน/มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

81

กลุ่ม 5

ผู้แทนองค์กรกองทัพ/ตำรวจ/การพยาบาล

84

ภาคผนวก

การจัดประชุมอภิปรายกลุ่ม กำหนดการ บันทึกเชิญประชุม รายชื่อผู้เข้าประชุม แบบเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนางค์ประกอบ และตัวชี้วดั ศูนย์/เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ เอกสารประกอบการประชุม หลักฐานการประชุม

87 89 90 91 93

คณะผู้จัดทำ

98 100 102

รวมแนวคิดมุมมองเชิงปฏิบัติ

2

3

1

มุมมองของ รศ.ดร. ขวัญเมือง แก้วดำเกิง (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ ▪ องค์ความรู้ที่อยู่ในศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรเป็นองค์ความรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร และสถานการณ์ สามารถเข้าถึงได้ง่าย อาจเป็นองค์ความรู้ทั่วไปด้านสุขภาวะและองค์ความรู้ที่มีของ สำนัก 8 โดยเฉพาะ ลักษณะของเนื้อหาควรมีความหลากหลายและเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละระดับ เช่น บุคคลทั่วไป นักวิชาการ พนักงานในองค์กร ผู้ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนสุขภาวะ ผู้สนใจรับทุนของ สสส. ▪ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรมีช่องทางรับข้อมูล (input) สำหรับองค์กรในเครือข่ายและนอกเครือข่าย ผู้เคย รับทุน และนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สนใจหรือมีพื้นที่ในการขับเคลื่อนสุขภาวะในองค์กร เช่น การรับฟังความคิดเห็น การเสนอแนวทางการขับเคลื่อนสุขภาวะ ปัญหาสุขภาวะที่เกิดขึ้นในองค์กร

บทบาทหน้าที่และกิจกรรม ▪ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรมีหน้าที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล/องค์ความรู้อยู่เสมอ ๆ ตั้งแต่ระหว่าง การดำเนินการโครงการ จนสิ้นสุดการดำเนินการของโครงการ โดยสถานที่/แหล่งเก็บข้อมูลควรอยู่ที่ สำนัก 8 หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานเครือข่าย และควรทำหน้าที่ค้นหาและเก็บรวบรวมรายชื่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาวะหรือบุคคลที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำงานด้านสุขภาวะขององค์กร เพื่อเป็น ฐานข้อมูลในการดำเนินงานต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรมีบทบาทในการเป็นพี่ เลี้ยงให้คำแนะนำกับผู้รับทุนของสำนัก 8 หรือองค์กรที่สนใจในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ ▪ กิจกรรมการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ ต้องมี dynamic มีกิจกรรมมากกว่าการจัดอบรม ควรนำ platforms การเรี ย นรู ้ ต ่ า ง ๆ เช่ น Zoom Webinar Google meet Team มาใช้ ใ นการ ดำเนินงานและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม ควรมีกิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญ โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนที่หลากหลายกับสมาชิกทุกระดับ (เช่น พนักงานงาน HR ผู้รับทุน นักวิชาการ) นอกจากนี้ เนื้อหาของกิจกรรมไม่ควรจำกัดแต่ในประเด็น เรื่องสุขภาวะในองค์กร ควรครอบคลุมถึงประเด็นที่ จะช่วยทำให้ การทำงานด้านสุขภาวะประสบ ความสำเร็จด้วย เช่น การบริหารจัดการโครงการ การประเมินผล การเขียนโครงการรับทุน การ ถ่ายทอดการทำแผนการบริหารงาน

4

กระบวนการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร กระบวนการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร ควรนำแนวคิด ของทฤษฎีเชิงระบบ (system theory) และแนวคิด health literate organization (HLO) มาใช้ใน การวางแผนการดำเนิ น งาน โดยในขั ้ น ต้ น สำนั ก 8 ต้ อ งกำหนดและนิ ย ามปั จ จั ย นำเข้ า ( input) กระบวนการ (process) และระดับความคาดหวังของผลผลิต (output) ที่ต้องการจากศูนย์การเรียนรู้ และเครือข่ายสุขภาวะให้ชัดเจน รายละเอียดดังนี้ ปัจจัยนำเข้า (Input) ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าหน่วยงานใดควรทำหน้าเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ และต้องให้สิ่งใดให้กับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ใช้ที่ชัดเจน รวมทั้งต้อง เข้าใจความต้องการ/ความคาดหวังที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการ (Process) ศูนย์การเรียนรู้ต้องมีลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีองค์ความรู้และเนื้อหาที่ง่ายต่อการใช้ มีสื่อที่เหมาะสมกับบุคคลทุกระดับ (ไม่ควรจำกัดแค่หนังสือ) มี ระบบการบริหารจัดการความรู้ที่เข้มแข็ง (knowledge management: KM) มีผู้รับผิดชอบในการ บริหารจัดการ/ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เก็บสะสมในศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ โดยสามารถนำหลักการ health literate organization (HLO) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ และเครือข่าย ซึ่งรายละเอียด ของ HLO ตามแนวคิดของ (Brach et al., 2012) 10 attributes of health literate health care organizations มีดังนี้ 1. ผู ้ น ำได้ บ ู รณาการเรื ่ องความรอบรู ้ ด ้ า นสุ ข ภาพ (health literacy) เข้ า ไปใน พั น ธกิจ โครงสร้าง และการดำเนินการขององค์กรหรือไม่ 2. บูรณาการเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพเข้าไปในการวางแผน การวัดผลการดำเนินการ ความปลอดภัยของผู้ป่วย และเรื่องการปรับปรุงคุณภาพ 3. เตรียมบุคลากรเพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ รวมถึงการวัดความก้าวหน้าของการ ดำเนินการ 4. รวมเรื ่ อ งการตอบสนองในระดั บ ประชากรเข้ า ไปในขั ้ น ตอนของการออกแบบ การ ดำเนินการ และประเมินผลทั้งระบบข้อมูลข่าวสารและการบริการ 5. ตอบสนองความต้องการที่มีความหลากหลายของระดับของความรอบรู้ด้านสุขภาพโดย หลีกเลี่ยงการตีตรา (ปฏิบัติเหมือน ๆ กัน เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าตนอยู่ในกลุ่มที่มีความรอบรู้ด้าน สุขภาพต่ำ) 6. ใช้กลยุทธ์สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิ ภาพ และแน่ใจได้ว่าจะเกิดความเข้าใจในทุกจุดสัมผัสของการบริการ

5

7. จัดเตรียมระบบข้อมูลข่าวสารและบริการที่ง่ายต่อการเข้าถึง และมีระบบช่วยในการนำทาง ไปรับบริการในจุดต่างๆ 8. ออกแบบและกระจายสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงวิดีโอ หรือ social media ที่ง่ายต่อการเข้าใจและ เน้นการปฏิบัติ 9. เน้นหนักในเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นพิเศษในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในช่วงรอยต่อของการบริการ หรือการสื่อสารเกี่ยวกับการรับยา 10. สื่อสารให้เข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับการครอบคลุมของชุดสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ และ ค่าบริการที่ต้องจ่ายนอกเหนือจากสิทธิการรักษา นอกจากนี้ ในลักษณะของข้อมูลองค์ความรู้ด้านสุขภาวะและการสร้าง dynamics ให้เกิด ขึ้นกับศูนย์การเรียนรู้ฯ สามารถนำหลักการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) มาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1. การเข้าถึงข้อมูลและบริการ (access) ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน เครือข่ายและนอกเครือข่าย ผู้ใช้สามารถค้นหา กลั่นกรอง และตรวจสอบข้อมูลได้ มีข้อมูลที่สามารถ เปรียบเทียบผลการวิจัย/กิจกรรมได้ในการส่งเสริมสุขภาวะ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์การ เรียนรู้ฯ ต้องมีความน่าเชื่อถือที่ทำให้บุคคลสามารถนำไปใช้อ้างอิงข้อมูลได้ 2. ความเข้าใจ (understand) ข้อมูลต้องง่ายต่อความเข้าใจ มีสื่อที่เหมาะสมกับบุคคลทุกกลุ่ม มีเครื่องมือในการขับเคลื่อนสุขภาวะที่หลากหลาย กลุ่มเป้า หมายสามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเองได้ง่าย และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ใช้ข้อมูลของศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรใช้หลักการ การตั ้ งคำถาม (questioning) โดยการสร้ างกิ จ กรรมหรื อช่ องทางที ่ ทำให้ เกิ ดปฏิ ส ั มพั นธ์ ระหว่ า ง ผู้เชี่ยวชาญกับผู้ใช้ 3. การประเมิน (evaluation) ข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ (make decision) กล่าวคือ ข้อมูลมีสารสนเทศที่เหมาะสมที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้ใช้ 4. การประยุกต์ใช้ (apply) ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้มีทักษะที่สามารถ นำองค์ความรู้จากศูนย์ไปประยุกต์ได้ เช่น ทักษะ self-monitoring และ self-management ผลผลิต (Output) ของศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรนำความพึงพอใจเป็นตัวชี้วัด ต้องเหนือกว่านั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ขึ้นอยู่กับลักษณะของ กลุ่มเป้าหมายของศูนย์การเรียนรู้ฯ การสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กรให้มีคุณลักษณะตามที่ คาดหวังดังที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น สำนัก 8 ควรมีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนดังนี้

6

▪ กำหนดขอบเขตของประเด็นสุขภาพที่จะขับเคลื่อนในองค์กรหรือบริบทต่าง ๆ ให้ชัดเจน รวมทั้ง การกำหนดเครื่องมือหลักของสำนัก 8 ที่ต้องการให้องค์กรต่าง ๆ นำไปใช้สำหรับการขับเคลื่อนสุขภาวะใน องค์กร เพื่อสะสมความเชี่ยวชาญที่เฉพาะเจาะจงและเป็นการสร้างแบรนด์ดิ้ง (branding) สำหรับการสื่อสาร ถึงความเชี่ยวชาญของสำนัก 8 ต่อองค์กรต่าง ๆ ภายนอก ▪ นำโครงสร้างและคุณลักษณะของศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะที่คาดหวังของสำนัก 8 รวมถึงผลลัพธ์ ที่ต้องการจากการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ มาระบุในกรอบการดำเนินงาน/สัญญาทุนของผู้รับทุน ▪ ด้านนโยบาย สำนัก 8 ต้องสร้างความตระหนักแก่ผู้รับทุนถึงความสำคัญของการเรียนรู้ การ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้รับทุนด้วยกันหรือสมาชิกเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การสร้างค่านิยมการเก็บ สะสมองค์ความรู้แก่ผู้รับทุนของสำนัก 8 ในอนาคต นอกจากนี้ควรสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้แก่ผู้รับทุน เพื่อทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ▪ สำนัก 8 ควรจัดทำ/พัฒนาระบบการบริหารจัดการความรู้ (knowledge management: KM) ที่มีอยู่ นอกจากนี้ในการค้นหาผู้รับทุน สำนัก 8 อาจพิจารณาคุณสมบัติด้านความสามารถในการ บริหารจัดการความรู้ (ระดับเชี่ยวชาญ) ของผู้รับทุนเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ควรศึกษา/ถอดบทเรียน การบริหารจัดการด้านเครือข่ายสุขภาวะของสำนักอื่นใน สสส. เช่น สำนัก 3

สรุปการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ 1. ต้องทำให้ศูนย์เรียนรู้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 2. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะในด้านต่าง ๆ ที่นำองค์ความรู้ของสำนัก 8 มาประยุกต์ใช้ 3. ให้ความสำคัญกับแนวคิด ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยบุคลากรของศูนย์เรียนรู้การทำ หน้าที่และอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 3.1 การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) หากประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในศูนย์การเรียนรู้ ของ สสส. ก็ จ ะสามารถนำข้ อ มู ล ที ่ เ ป็ น ประโยชน์ ใ ช้ ไ ด้ ดั ง นั ้ น ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ จ ึ ง ควรได้ รั บ การปรับปรุงให้เป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ด้วยวิธีการค้นหา กลั่นกรอง ตรวจสอบ 3.2 ความเข้าใจ (understand) การกำหนดวิธีใช้เครื่องมือ การนำเสนอวิธีการตั้งคำถาม และวิเคราะห์ข้อมูล และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการเสริมสร้างสุขภาวะ 3.3 การตั้งคำถาม (questioning) การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง User and Expert โดยการ ตั้งคำถาม ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่การสอนวิธีตั้งคำถามให้ตรงประเด็น เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสมใน การแก้ปัญหา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน (evaluation) ด้วยการตั้งคำถามซ้ำ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า ความรู้ที่ได้มาถูกต้อง ครบถ้วน

7

3.4 การตัดสินใจ (critical decision making) กระบวนการเรียนรู้ภายในสำหรับผู้รับทุนโครงการ ของสำนัก 8 เพื่อวางแผนงานและใช้เครื่องมือในการกำหนดทิศทางดำเนินงานขององค์กร 3.5 การรู้ลึก-รู้จริง (apply) การเรียนรู้องค์ความรู้ของสำนัก 8 เมื่อได้รับทุนจากสำนัก 8 แล้ว ผู้รับทุนควรมีองค์ความรู้ในภาพรวมของสำนัก 8 เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ 4. การทำให้องค์กรเป็น health literate organization ด้วยขั้นตอน 1-5 เพื่อนำไปสู่การ เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ

คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ในอุดมคติ 1. ผู้ทำงานมีแนวความคิดเชิงบวกต่อการทำงาน 2. ความเชื่อว่าทำแล้วประสบความสำเร็จ 3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4. เป็นมากกว่า การจัดการความรู้ไม่ใช่เฉพาะแค่บุคลากรในองค์กร แต่ควรเป็นการแบ่งปัน ความรู้ระหว่าง สสส. องค์กรเครือข่าย และประชาชนทั่วไป 5. กิจกรรมใหม่ ๆ ที่ศูนย์เรียนรู้ดำเนินการ เช่น การใช้ระบบออนไลน์ในการติดต่อศูนย์เรียนรู้ และ สสส. รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ จัดเก็บข้อมูล และถ่ายทอดเผยแพร่ความรู้ และให้ความสำคัญกับ Actual Essential Skill หรือทักษะที่เสริมสร้างสุขภาวะองค์กรที่ใช้ได้จริง 6. สำนัก 8 จะต้องกำหนด Key Message ในการวางแผนการดำเนินงาน เช่น การสร้างความ สมดุลระหว่าง Happy 8 ทุกด้าน 7. ในสภาพความเป็นจริง ศูนย์เรียนรู้แต่ละแห่งมีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเฉพาะด้าน เช่น ด้าน Happy Workplace ด้านการส่งเสริมอาชีพ ฯลฯ ซึ่งศูนย์เรียนรู้เหล่านี้ไม่มีการบูรณาการ ระหว่างกัน และไม่มีศูนย์เรียนรู้ที่จะสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในทุกด้าน 8. แนวทางที่เป็นไปได้ที่จะทำให้มีศูนย์เรียนรู้ของสำนัก 8 เช่น 1) ศูนย์เรียนรู้ของสำนัก 8 ทำ หน้าที่ประสานงานเท่านั้น ไม่ต้องดำเนินการเอง หรื อ ทำหน้าที่คัดเลือกองค์กรที่มีศักยภาพที่จะเป็น ศูนย์เรียนรู้ และส่งเสริมศักยภาพให้สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนัก 8 2) สร้างแกนนำใน การอบรมผู้อื่นให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของสำนัก 8 3) หาภาคีใหม่, รักษา ภาคีเดิม, สร้าง/ผลิต KM, พัฒนาศักยภาพ, จัดทำฐานข้อมูลที่มีการปรับปรุงให้เหมาะสม ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว นางสาวธนพร ว่องวาณิช วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

8

2

มุมมองของ ผศ.ดร.อธิวฒ ั น์ เจี่ยวิวรรธน์กุล (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล) ผศ.ดร. ดวงเนตร ธรรมกุล (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)

คุณลักษณะหรือองค์ประกอบที่คาดหวังของศูนย์การเรียนรู้ 1. องค์กร/หน่วยงานมีองค์ความรู้และความสามารถในการเป็นต้นแบบด้านสุขภาวะองค์กรได้ โดยต้องมีความพร้อมด้านกำลังคน เงินหรืองบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการขับเคลื่อน รวมถึงสื่อและวัสดุอุปกรณ์/นวัตกรรมใหม่ ๆ 2. พัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่ อให้ทันต่อเหตุการณ์และการ เปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล 3. การทำงานเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงจากระดับบนลงล่าง หรือระดับล่างขึ้นบน โดยมี กลุ่มคนคอยให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานแบบเชื่อมโยงดังกล่าว 4. มีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (human resource management: HRM) มีวิธีการ ต่าง ๆ หรือกลยุทธ์ในการจัดการบุคลากรในองค์กร ให้บุคลากรสามารถดำเนินการทำงานตามหน้าที่ของ ตนเองจนเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความสำเร็จขององค์กรที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย 5. การพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์กร โดยการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ (human resource planning: HRP) ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อกำหนดวิธีการจัดการและ ฝึกอบรมต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนด้านกำลังคน ให้เหมาะสมกับการทำงานที่ได้รับมอบหมาย 6. การพัฒนาความรู้และทักษะการทำงานของคนในหน่วยงาน ตั้งแต่เรื่องทักษะในการทำงาน องค์ความรู้ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องที่มีส่วนทำให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีการขับเคลื่อน และเป็นแหล่งการ เรียนรู้ต้นแบบ ให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ต่อยอดได้

การบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ต้องให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คาดหวัง และถอดบทเรียน ความสำเร็จในการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสุขภาวะ พยายามใช้ปัญหาหน้างานสู่การพัฒนา งานวิจัย (routine to research: R2R) และเกิดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ได้

9

ปัจจัยความสำเร็จ 1. มีการเสริมพลังอำนาจและให้ความรู้กับคนในองค์กร หรือกลุ่มบุคคลจนมีความตั้งใจและ มุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน ทำให้หน่วยงานนั้นเป็นหน่วยงานต้นแบบคุณภาพมีสามารถ ผลิตผลงานได้ตลอดเวลา 2. มีแรงเสริมทางบวก เมื่อมี ความตั้งมั่นผูกพันในการทำงานที่ตนเองชื่นชอบ จะสามารถ ขับเคลื่อนและโน้มน้าวให้ผู้อื่นในหน่วยงาน พัฒนาไปด้วยกัน 3. ที ม งานมี การช่ ว ยเหลื อสนั บ สนุ น การทำงานร่ ว มกั น เมื ่ อมี การทำงานเป็ น ที ม มี การ แลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับใช้ผลงานวิจัยมาช่วยขับเคลื่อนกระบวนการ ทำงาน ย่อมสามารถทำให้หน่วยงานมีผลงานและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถถอดบทเรียนแห่ง ความสำเร็จและเผยแพร่ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ 4. ผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ดี และร่วมลงมือไปกับผู้ใต้บังคับบัญชา จะทำให้หน่วยงานหรือศูนย์ การเรียนรู้ฯ สามารถดำเนินการต่อได้ โดยมีโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนา ชุมชน บุคคลสำคัญคือ นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เป็นบุคคลที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนคนทำงาน โดย พยายามทำความเข้าใจคน ลักษณะของคน รู้ความสามารถของคน โดยส่งเสริมคนในองค์กรก่อน แล้ว ไปขยายผลต่อในชุมชน

องค์กรที่ทำงานได้ผล องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายทางด้านการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรคือ กระทรวงสาธารณสุข ยกตัวอย่างเช่น ระบบสาธารณสุข โรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ (primary care) โรงพยาบาลสาธารณสุขประจำตำบล (รพ.สต.) เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ถือว่าเป็นกลไกสำคัญในระบบสาธารณสุข ในการช่วยเหลือคนชุมชน โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ พยาบาลวิชาชีพหรือนักสาธารณสุขประจำจังหวัด ซึ่งมีรูปแบบการทำงานในลั กษณะเครือข่ายในพื้นที่ สามารถข้ามระหว่างพื้นที่ได้ มุมมองที่เสนอคือ อสม. สามารถทำงานให้ สสส. ได้หรือไม่ ทั้งนี้ในการทำงานของ อสม. ได้มี การเก็บข้อมูลสุขภาพของคนในชุมชนอยู่แล้ว ประกอบด้วย ข้อมูลสุขภาพทั่วไป การดื่มสุราและบุหรี่ ยาเสพติด ซึ่ง อสม. สามารถเก็บข้อมูลได้ค่อนข้างละเอียด โดย สสส. ต้องการคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ ประสานงานให้กับสำนัก 8 แต่ อสม. ควรมีกลุ่มคนที่คอยควบคุมกำกับติดตามการทำงานให้ถูกต้อง สำหรับอีกตัวอย่างคือ รปภ. ในโรงพยาบาล เป็นผู้ให้การบริการด้วยใจรักองค์กรและทำหน้าที่ เกินบทบาทหน้าที่ของ รปภ. ทำให้ผู้รับบริการตอบสนองและประเมินความพึงพอใจในการบริการของ

10

โรงพยาบาล ซึ่ง รปภ. นี้ได้รับการฝึกอบรมผ่านโครงการสร้างเสริมบุ คลิ กภาพในการบริการของ โรงพยาบาลมุ่งเน้นความเป็นคน ซึ่งการดำเนินโครงการภายใต้การนำของ นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ให้บุคคล/บุคลากรทางสาธารณสุขเข้ารับการสมัครด้วยตนเอง และมีเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมอบรมใน โครงการ

แนวคิดที่ทำให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีความยั่งยืน มีนักวิชาการได้เสนอแนวคิด 7C เพื่อกำหนดคุณลักษณะของศูนย์การเรียนรู้การสร้างเสริมสุข ภาวะองค์กร ซึ่งสามารถนำไปเป็นกรอบแนวคิดหรือปรับใช้ในการกำหนดต้นแบบได้ ประกอบด้วย Construction (โครงสร้าง) รู้บริบทของหน่วยงาน มีคนทำงานที่ชัดเจน มีบทบาทหน้าที่ ชัดเจน ควรมีอย่างน้อย 2-3 คน ช่วยในเรื่องของการดูแลเรื่องวิชาการ เนื้อหา การบริหารจัดการกับ เครือข่าย ประสานเครือข่าย รวมถึงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ Context รับรู้รายละเอียดของพื้นที่แต่ละภาคที่หน่วยงานตั้งอยู่ในพื้นที่ Concept แนวคิดในการส่งเสริมต้องชัดเจน เป็นเจ้าของความรู้เอง หรือนำแนวคิดคนอื่นมา ประยุ กต์ ใช้ ยกตั ว อย่ า งเช่น happy8 จะทำครบค่ อนข้ างยาก เพราะแต่ ล ะหน่ ว ยงานอาจไม่ครบ happy8 อาจมี happy money, happy soul เช่น องค์กรเอกชน จะมุ่งเน้น happy money Contact/Communication/Commitment/Connection การสื ่ อ สารระหว่ า งหน่ ว ยงาน องค์กร Contribution มุ ่ ง เน้ น 4M (Man, Money, Material, Machine) ซึ ่ ง ถื อ ว่ า มี ค วามสำคั ญ หากมีข้อนี้จะเป็นต้นแบบเครือข่ายได้ โดยมองที่ผู้บริหารองค์กรและพนักงานในองค์กร สมมุติให้เงินมา ก้อนหนึ่ง 100,000 เขาสามารถจัดสรรทุนเล็กๆ ทุนละ 5,000 หรือ 10,000 บาท ให้กับสมาชิกที่อยู่ ใกล้เคียง สามารถเอาไปทำกิจกรรมสร้างสุขได้ Control การควบคุม การกำกับติดตามของศูนย์คืออะไร จะต้องมีตัวชี้วัด ใครเป็นคนควบคุม ซึ่งสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Monitoring การกำกับดูแลศูนย์ ในเรื่องของการติดตามและตรวจสอบ Continue ความต่อเนื่องของศูนย์ยังอยู่ เพื่อขยายเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ได้ ซึ่งความต่อเนื่อง ความยั่งยืน ต่อให้เปลี่ยนคณะทำงาน เปลี่ยนทีมงาน โครงสร้าง ก็คือความต่อเนื่องของ ศูนย์นี่ยังอยู่แล้ว สามารถเห็นการเติบโตและการพัฒนา ถ้ามีเครือข่ายก็สามารถขยายเครือข่ายใหม่ได้ ดร. ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล วันที่ 22 กรกฎาคม 2564

11 3

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนผ่านอาจารย์พยาบาล กับนักศึกษาพยาบาล1 ดร.ชวลี บุญโต (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา) ผศ.ดร.วัชราพร เชยสุวรรณ (วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์ กองทัพเรือ)

ลักษณะการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน มหาวิทยาลัยมีศักยภาพที่จะทำงานร่วมกับชุมชน โดยฐานะเป็นภาคีหุ้นส่วนซึ่งกระบวนการ ทำงานต้องเป็นการเข้าใจปัญหาของชุมชนเกี่ยวกับสุขภาวะ ทำให้ชุมชนมีความตระหนักปัญหาสุขภาวะ และชุมชนจะต้องเป็นผู้ที่ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ ซึ่งบุคคลในชุมชนที่สะท้อนปัญหาคื อ ประชาชนในชุมชนผ่านประธานชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ซึ่งตัวแทนเหล่านี้จะนำไปสู่ ประชาชนในชุมชน การสำรวจความต้องการและการจัดประชุมเพื่อให้ประชาชนทราบถึงปัญหาสุข ภาวะ และการสำรวจจะมีการดำเนินการทุกปี ทั้งนี้ในการเข้าชุมชนอาจหาข้อมูลทุติยภูมิก่อน แล้วค่อ ย ให้นักศึกษาเข้าชุมชนในการสำรวจข้อมูลเชิงลึกเมื่อนักศึกษาลงพื้นที่ชุมชนจากการสร้างความคุ้นเคย และความเคยชิน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาจากประสบการณ์พบว่า มีความสำเร็จต่อเนื่อง การดำเนินงานเน้น เรื่องการดูแลตนเอง การปฏิบัติตนเองเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น เช่น การออกกำลังกายยามว่าง ซึ่งข้อมูลนี้ได้ จากการกำกับติดตาม และประเมินผลหลังจากการดำเนินงานชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่า การดำเนินงาน ต่อเนื่องจะมีพยาบาลอนามัยที่เยี่ยมบ้านชุมชน รวมถึงการอบรมของ อสส. ที่จะมีการดำเนินงาน ต่อเนื่อง การทำงานของชุมชนร่วมกัน ได้แก่ อาสาสมัครชุมชน ศูนย์อนามัย มหาวิทยาลัย และพยาบาล ชุมชน ทั้งนี้การเข้าชุมชนจะประสบความสำเร็จของชุมชนเมือง เช่น กรุงเทพฯ สำหรับการสร้างความ ต่อเนื่องจะใช้การลงพื้นที่แบบภาคการศึกษา ขึ้นอยู่กับลักษณะของชุมชน บางครั้งขึ้นอยู่กับศูนย์อนามัย ตัวอย่างที่เคยไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว จะไปในชุมชนมุสลิม ชุมชนกองขยะ เป็นชุมชนที่ชาวบ้านเก็บขยะกวาด ถนน และการเข้าถึงชุมชนจะยาก ทั้งนี้การแสดงตัวของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าชุมชนจะต้องแสดงถึง ความจริงใจ และต้องไม่กระทบต่อการทำงาน และปรับให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ทั้งนี้การ ถอดจากการสัมภาษณ์กลุ่มทางออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom วันที่ 1 สิงหาคม 2564 ผู้ดำเนินการอภิปราย : ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช 11

12

วิเคราะห์ชุมชนจะทำให้เกิดการปรับการทำงานของพยาบาลให้เกิดความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นจะส่งผล ต่อความยั่งยืน

ความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน การวัดความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน พิจารณาจากการบรรลุปัญหา เช่น ผู้ป่วย มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดไข้เลือดออก การเข้าศึกษาชุมชนโดยมหาวิทยาลั ย จะให้นักศึกษาเข้า พิจารณาและศึกษาสาเหตุของปัญหา เช่น การขาดความรู้ การขาดความร่วมมือ จากนั้นให้นักศึกษา จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชน สำหรับการวัดจะดำเนินการวัดก่อนและหลัง เช่น การวัด ความรู้ก่อนหลัง ความร่วมมือ ทั้งนี้การจัดกิจกรรมไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน แต่จะได้รับการ สนับสนุนจากคอร์สรายวิชา นอกจากนี้ความสำเร็จจะสามารถเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการประชุมร่วมกันระหว่าง นักศึกษากับชุมชน ทั้งนี้สิ่งสำคัญต้องสร้างให้เกิดความไว้วางใจ ซึ่งนักศึกษาแต่ละปีการศึกษาจะเจอ ปัญหาที่แตกต่างกัน อาจเจอได้ทั้ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ จากนั้นจะเป็นการสอบถามชุมชนว่า ทำ อย่างไร ซึ่งความถี่ของการดำเนินงานตั้งแต่การเข้าถึงชุมชน การสำรวจปัญหา สำหรับบริบทของชุมชน ที่เข้าไปส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุกับวัยทำงาน บางครั้งผู้ที่ให้ข้อมูลที่เป็นวัยทำงานจะนัดเสาร์อาทิตย์

การสร้างเสริมสุขภาพชุมชนผ่านหลักสูตรรายวิชาพยาบาล การทำงานมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 การสร้างบุคลากรการแพทย์ นักศึกษาพยาบาลที่เป็น พยาบาล พันธุ์ใหม่ กลุ่ม 2 ผู้สูงอายุในชุมชน และกลุ่ม 3 กลุ่มเปราะบาง นอกจากนี้กลุ่มนักศึกษายังมี รายวิชาเรียนเรื่องของสุขภาพครอบครัว อาชีวอนามัย (Occupational Health) ซึ่งกลุ่มนักศึกษา พยาบาลก็ยังศึกษาเรื่องที่ส่งผลประกอบการของสถานประกอบการ ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของพยาบาลที่เป็น ส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร และผ่านหลักสูตรของนักศึกษาพยาบาล

แนวทางการสร้างเครือข่ายผ่านพยาบาล การสร้างศูนย์เรียนรู้เชิง Know How ที่คล้ายเป็นเครือข่ายตัวแม่ในการสร้างเครือข่ายของการ สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ทั้งนี้น่าจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้ รู ป แบบที ่ 1 การประสานเครื อข่ า ยผ่ า นชุ มชนเป็ นฐานในการเป็ นศู นย์เรี ย นรู ้ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งผู้รับผิดชอบหรือบริหารศูนย์เรียนรู้ควรจะเป็น คนในชุมชนและประธานชุมชน ซึ่งแนวทางที่เป็นไปได้ ควรส่งเสริมให้ชุมชนบริหารเอง เช่น ศูนย์เรียนรู้ สุขภาวะเกษตรกรรมที่สร้างรายได้ แล้วขยายเป็นผู้สูงอายุ การขับเคลื่อนผ่านอาชีพ การเลือกชุมชนที่มี

13

ประธานชุมชนที่มีความรู้ความสามารถและมีความเข้มแข็งเป็นตัวขับเคลื่อน โดยลักษณะประธานชุมชน ควรมีความสามารถในการประสานงาน ไม่ยึดติดกับประธาน การมีความเป็นอาสาสมัครของชุมชน รูปแบบที่ 2 แม่ข่ายของศูนย์เรียนรู้ ที่จะทำหน้าที่จับมือศูนย์เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็ง อาจต้องจับมือกับศูนย์เรียนรู้ที่มีการส่งเสริมสุขภาวะที่ต่างกัน ซึ่งต้องทำให้เกิด well-being ซึ่งทำได้ ยาก ต้องเกิดจาก Health literacy ทั้งนี้ต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ โดยอาจเริ่มจากฐานของประเด็นสุขภาพ ใดประเด็นหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีสโลแกนแบบองค์รวม และต้องมีจุดมุ่งเน้นของชุมชน และให้มีระบบส่ง ต่อของมหาวิทยาลัยอื่นส่งต่อให้รุ่นพี่รุ่นน้องหรืออาจส่งต่อที่ประธานชุมชนหรือสาธารณสุข รูปแบบที่ 3 การให้ สสส. เป็นภาคีร่วมกับหน่วยงานรับทุนอื่น โดยหน่วยงานรับทุนอื่น อาจจะเสนอการดำเนินงานอื่น ที่นอกเหนือจาก สสส. ดำเนินการได้ รูปแบบที่ 4 คณะพยาบาลจะมีเครือข่ายกับศูนย์อนามัย นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายโรงเรียน และเครือข่ายผู้ปกครอง ทั้งนี้โรงเรียนก็จะดำเนินงานร่วมกับชุมชน สำหรับพยาบาลทหารยังมีวัดเป็น ส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาวะ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน รูปแบบที่ 5 การสร้างฐานข้อมูลการลงชุมชนของคณะพยาบาล เพื่อส่งผ่านความรู้การ ส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน ซึ่งจะเป็นข้อมูลกลางที่จะให้นักศึกษาพยาบาลลงพื้นที่ชุมชน เพื่อลดความ ซับซ้อน ถ้าหากมีข้อมูลเกี่ยวกับว่าแต่ละชุ มชนมีการดำเนินงานข้อมูลสุขภาวะใดก็จะให้พยาบาล สามารถเป็นตัวส่งผ่านในการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน รูปแบบที่ 6 การบูรณาการทำงานกับมหาวิทยาลัยเดียวกันผ่านนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ สุขภาพ/ข้ามมหาวิทยาลัยแต่คณะเดียวกัน /อาจารย์สายพยาบาลชุมชน เช่น พยาบาลดูองค์กรเน้น สุขภาพ รวมถึงการประเมินสุขภาพในเชิงให้ความรู้ประเมินให้ความรู้ สหเวชศาสตร์จะใช้แพทย์แผน ไทย การนวด สำหรับประโยชน์ของศูนย์เรียนรู้ มีหน้าที่ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ ทั้งนี้ ศักยภาพของศูนย์เรียนรู้จะพิจารณาจากประชาชนและความร่วมมือของมหาวิทยาลัยผ่านคณะพยาบาล โดยศูนย์เรียนรู้ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมสุขภาพเรื่องเดียวกัน ดร.ปิยพงษ์ คล้ายคลึง ธนพร ว่องวาณิช วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

14 4

บทเรียนจากการฝึกประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ของนักศึกษาพยาบาล1 ดร.ชวลี บุญโต

การทำงานในชุมชนเป็นเรื่องท้าทาย แม้จะมีตำราที่บอกเล่าวิธีการทำงานในชุมชน เช่น การ ประเมิ น ชุ ม ชน การเข้ า หาชุ ม ชนและการจั ด ทำโครงการกั บ ชุ ม ชน แต่ ถึ ง อย่ า งไรแต่ ล ะชุ ม ชนก็มี ลักษณะเฉพาะในแต่ละที่ ผู้ที่ทำงานจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการตลอดเวลาเพื่อให้การทำงานสัมฤทธิ์ผล จากการประชุมของ World Health Organization (WHO) ที่เมือง Alma-Ata เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เกิดนโยบายที่ให้ทุกประเทศเน้นการให้การบริการสุขภาพที่ ระบบบริการปฐมภูมิ (primary care) และเน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเริ่มที่จุดเล็กที่สุดคือ ตนเอง และครอบครัว ชุมชน เมื่อชุมชนสามารถดูแลตนเอง ส่งเสริมสุขภาพให้มีสุขภาพดี ก็ขยายให้คนในประเทศมีสุขภาพดี รัฐบาลก็จะไม่ต้องเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลคนไข้ที่เจ็บป่วย

การเรียนการพยาบาลชุมชน 1. การเตรียมการของหลักสูตร วิชาการพยาบาลชุมชนได้มีการบรรจุในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียน ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในวิชาภาคทฤษฎีนักศึกษาจะต้องมีความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับชุมชนเพื่อเป็น ความรู้พื้นฐานให้นักศึกษาได้เข้าใจชุมชนก่อนที่จะเข้าไปทำงานกับชุมชน ซึ่งได้แก่ แนวคิ ดพื้นฐานการ พยาบาลชุมชน บทบาทหน้าที่พยาบาลชุมชน รูปแบบการบริการการพยาบาล พยาบาลอนามัยชุมชน สถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประเทศในปัจจุบัน อนามัยสิ่งแวดล้อม ระบบการดูแลสุขภาพระดับปฐม ภู ม ิ การปฏิ รู ประบบสุ ขภาพ ระบบการดู แลสุขภาพของประเทศไทย แนวคิ ด การสร้ างนวัต กรรม สาธารณสุขโดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำงานกับชุมชน การสร้างความ เข้มแข็งของชุมชน นโยบายสุขภาพแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สุขภาพครอบครัว ทันตสุขภาพ วิทยาการระบาด อนามัยโรงเรียน อาชีวอนามัย เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และกฎหมาย สาธารณสุข 1

บทความนี้จัดทำขึ้นสืบเนื่องจากการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้เขียนได้ถอดบทเรียนในการฝึกประสบการณ์ในการนำ นักศึกษาพยาบาลทำงานด้านการพยาบาลในชุมชน มีแง่มุมมที่น่าสนใจในการสร้างสุขภาวะชุมชนผ่านการ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาลแก่นักศึกษา

15

สำหรับวิชาภาคปฏิบัติ นักศึกษาจะต้องเรียนรู้การทำงานกับชุมชนโดยใช้กระบวนการพยาบาล ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน การวิเคราะห์ปัญหา การวินิจฉัยปัญหา การวางแผนแก้ไขปัญหา ภาวะสุขภาพชุมชน การออกแบบกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพชุมชน การประเมินผล การสร้างเครื่องมือในการประเมินภาวะสุขภาพชุมชน การทำงานร่วมกันแก้ปัญหากับชุมชน 2. แนวทางในการจัดการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ในการจัดการฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชนในกรุงเทพมหานคร คณะพยาบาลศาสตร์จะต้อง ประสานงานกับสำนักอนามัย และศูนย์สาธารณสุขที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ศูนย์ฯจะมีข้อมูลของชุมชนต่าง ๆ และจะช่วยเสนอแนะลักษณะของชุมชน เพื่อที่ทางคณะฯ จะได้เลือก พานักศึกษาไปฝึกในชุมชนซึ่งนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่คณะฯ กำหนด บุคคลที่ทางคณะฯจะต้องไปประสานงานเพื่อให้นักศึกษา ฝึกปฏิบัติงานในชุมชน คือ หัวหน้า พยาบาล พยาบาลประจำศู น ย์ ส าธารณสุ ข ซึ ่ ง ดู แลชุ ม ชนในเขตรั บ ผิ ด ชอบ ประธานชุ ม ชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขที่ประจำอยู่ในแต่ละชุมชน

บทบาทของผู้เกี่ยวข้องในการฝึกงานในชุมชน หัวหน้าพยาบาลจะมีบทบาทสำคัญในการเลือกชุมชนที่จะให้นักศึกษาไปฝึก ประสานงานกับ ประธานชุมชนและสมาชิกในชุมชน เพื่อที่นักศึกษาจะได้รับความร่วมมือในการเข้าหาชุมชน รวมทั้งร่วม สอนนักศึกษาและแนะแนวทางในการทำงานในชุมชนด้วย ดังนั้น หัวหน้าพยาบาลจะต้องมีความเป็น ผู้นำ เป็นแบบอย่าง (role model) มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาชุมชน และมีความสามารถในการเพิ่มพลัง อำนาจ (empower) ส่งเสริมให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถดำเนินงานได้ด้วยตนเองในการส่งเสริม สุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของคนในชุมชน สามารถวิเคราะห์ปัญหา แก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว สำหรับพยาบาลสาธารณสุขก็จะช่วยประสานงานให้นักศึกษาได้รู้จักและทำงานร่วมกับคนใน ชุมชน ซึ่งพยาบาลสาธารณสุขจะต้องมีลักษณะเป็นผู้นำ มีความเป็นมิตร เป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจ สามารถบริหารจัดการในการเยี่ยมบ้านและครอบครัวในชุมชน มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอด ความรู้ในการดูแลสุขภาพให้เหมาะสมตามสภาพของคนในชุมชนที่เจ็บป่วย มีความกระตือรือร้นในการ ทำงาน และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว พยาบาลสาธารณสุขจะช่วยสนับสนุนให้ข้อมูลใน การเยี่ยมบ้าน และพานักศึกษาไปแนะนำเพื่อให้คนในชุมชนมีความวางใจและเต็มใจให้ข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สำคัญสามารถใช้วิเคราะห์และนำเสนอเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน

16

ประธานชุมชนเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการประสานงานกับชุมชนให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่ นักศึกษามาฝึกปฏิบัติงาน จำนวนวันและเวลาของการฝึก และขอให้คนในชุมชนให้ความร่วมมือแก่ นักศึกษาในการร่วมกิจกรรมที่จะจัดขึ้น บุคคลสุดท้ายที่ช่วยให้การฝึกงานในชุมชนของนักศึกษาประสบความสำเร็จคืออาสาสมัคร สาธารณสุข ซึ่งในแต่ละชุมชนจะมีประมาณ5-6 คน ซึ่งจะอาสาเข้ามาทำงานด้วยความเต็มใจ จะเป็นคน ที่มีความเป็นมิตร มีสัมพันธภาพที่ดีและเป็นที่รู้จักอยางดีของชุมชน กลุ่มบุคคลนี้จะได้รับการอบรมจาก ศูนย์สาธารณสุขที่ดูแลในชุมชนนั้น ๆ อาสาสมัครสาธารณสุขจะมีการประชุมสรุปงานและปัญหากับ หัวหน้าพยาบาลสาธารณสุขและพยาบาลสาธารณสุขทุกเดือน

ข้อสังเกตในการฝึกปฏิบัติงานในชุมชน 1. บทบาทของประธานชุมชนที่มีต่อการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ประธานชุมชนเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากคนในชุมชน ดังนั้น ประธานชุมชนจะต้องเป็นผู้ที่มี สัมพันธภาพที่ดีกับคนในชุมชน มีลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นนักพัฒนามีความรู้และกระตือรือร้นใน การทำงาน เปิดกว้างในการรับความคิด เห็นจากผู้ อื่น พร้อมที่จะแก้ปัญหาร่ว มกับคนใน ชุมชน มี เครื อข่ า ยกั บ หน่ ว ยงานที ่ ด ู แลสุ ขภาพ หน่ ว ยงานศาสนา ถ้ า ประธานชุ ม ชนให้ ความร่ ว มมื อ ช่ ว ย ประสานงานกับคนในชุมชนและอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาก็จะช่วยให้นักศึกษาทำงานง่ายขึ้น ในบางชุมชนประธานชุมชนจะกระตือรือร้นในการติดต่อประสานงานให้คนในชุมชนรับรู้ ล่วงหน้า ต้อนรับนักศึกษาด้วยความประทับใจ อำนวยความสะดวก เอื้อเฟื้อ จัดหาสถานที่ให้นักศึกษา ได้พัก และทำงานรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากชุมชน เตรียมพัดลม โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อให้นักศึกษาได้ พักผ่อนคลายร้อนหลังจากการไปเยี่ยมบ้านในชุมชน นอกจากนี้ยังจัดเตรียมอุกรณ์เครื่องเสี ยงและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นักศึกษาจะใช้เมื่อต้องมีประชุมและร่วมกิจกรรมกับคนในชุมชน แต่ในบางชุมชนที่ประธานชุมชนแม้จะมีความรู้ระดับอุดมศึกษาแต่ไม่เห็นความสำคัญของการ ทำงานร่วมมือกับสถาบันการศึกษาก็จะไม่สนใจ จะมาพบนักศึกษาเพื่อต้อนรับ แนะนำให้ชุมชนรู้จักและ ร่วมงานในวันสุดท้ายที่นักศึกษานำเสนอผลงานที่ทำร่วมกับชุมชน จะช่วยประสานงานกับชุมชนบ้างเมื่อ นักศึกษาขอความช่วยเหลือ นอกจากนั้นปล่อยให้นักศึกษาประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน ประธานชุมชนในบางชุมชนมีอาชีพประจำที่ต้องทำ ต้องทำงานเป็นกะและมีงานพิเศษเสริม ต้องออกทำงานตั้งแต่เช้าและกลับบ้านมืดค่ำ ไม่มีความพร้อมในการทำงานเพื่อชุมชน แต่ถูกเลือกให้ทำ หน้าที่ เนื่องจากไม่มีใครต้องการจะทำ คิดว่าการทำหน้าที่นี้เป็นภาระ และตัวประธานเองก็ไม่มีความรู้ ไม่เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ไม่เข้าใจว่าสมาชิกในครอบครัวแต่ ละครอบครัวเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในชุมชน ถ้าทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพดี มีสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี ชุมชน

17

ก็จะไม่มีปัญหา ทุกคนในชุมชนจะอยู่ร่วมกันด้วยความสุข ประธานชุมชนประเภทนี้จะยกหน้าที่ทั้งหมด ในการดูแลให้อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผู้ประสานงานระหว่างนักศึกษาและคนในชุมชน รวมทั้งอำนวย ความสะดวกให้กับนักศึกษา เช่นหาสถานที่สำหรับทำงานให้นักศึกษา ซึ่งอาจเป็นที่ทำการของศูนย์ สุขภาพในชุมชน หรือพื้นที่ว่างหรือห้องว่างในบ้านของคนในชุมชน ประธานจะไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับ นักศึกษาตลอดการฝึกไม่เคยมาร่วมรับฟังปัญหาในชุมชน 2. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีต่อการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุขจะมารอรับนักศึกษาในวันแรกของการฝึกที่ศูนย์สาธารณสุขเพื่อพาไป ยังชุมชนของตนเอง อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนในชุมชนเป็นอย่างดี จะพาไป พบประธานชุมชน แนะนำให้รู้จัก คนในชุมชนและสถานที่ที่คนในชุมชนมักจะมารวมกัน เช่นร้านค้า สะดวกซื้อในชุมชน ร้านขายอาหาร แนะนำถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของชุมชน พาไปดูอาณาเขตของชุมชน และไปเยี่ยมบ้านคนในชุมชนกับนักศึกษาจนกว่านักศึกษาสามารถไปเยี่ยมบ้านด้วยตนเองและคนใน ชุมชนวางใจยอมให้สัมภาษณ์ นอกจากนี้อาสาสมัครสาธารณสุขยังอำนวยความสะดวก ประสานงาน และติดต่อจัดหาอุปกรณ์ให้กับนักศึกษาตลอดการฝึกในชุมชน

การเตรียมการก่อนการฝึกงานในชุมชน การฝึกงานของนักศึกษาในชุมชนจะเริ่มด้วยการปฐมนิเทศทั้งที่มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์ สาธารณสุข เพื่อนักศึกษาจะได้รู้ถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การนำเอากระบวนการพยาบาลมาใช้ในการ ฝึกงานในชุมชน ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน การวิเคราะห์ปัญหา การวินิจฉัยปัญหา การ วางแผนแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพชุมชน การออกแบบกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพ ชุมชน การประเมินผล ขอบเขตของการฝึกปฏิบัติงาน การทำงานในชุมชนจะต้องตระหนักว่า ชุมชนเป็นหุ้นส่วนไม่ใช่ผู้ที่มารับความช่วยเหลือ และมี บทบาทในการเสนอความต้ อ งการ ความคิ ด เห็ น และมี ส ่ ว นร่ ว มในการแก้ ป ั ญ หาของชุ ม ชนเอง นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องทราบถึงกิจกรรมที่ต้องทำ รายละเอียดและลักษณะของชุมชน เช่น วิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และสิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ หลังจากนั้นหัวหน้าพยาบาลสาธารณสุข อาจารย์ ได้พานักศึกษาไปในพื้นที่ชุมชน พบประธาน ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และเดินสำรวจชุมชน หากชุมชนมีพื้นที่กว้างสามารถนั่งรถสำรวจ (walking and windshield surveys) เพื่อดูลักษณะและขอบเขตของชุมชนว่ามีสถานที่ใดบ้างในชุมชน เช่น วัด มัสยิด โรงเรียน คลอง โรงงาน ศูนย์สุขภาพ ศูนย์เด็กเล็ก นักศึกษาวางแผนการฝึกงาน แบ่งกลุ่ม ทำตารางแผนงานตามกิจกรรมที่จะต้องทำตลอดเวลา การฝึกงาน รวมทั้งนัดหมายอาสาสมัครสาธารณสุขในการพาไปรู้จักคนในชุมชน โดยเฉพาะผู้อาวุโสที่

18

ชุมชนให้ความเคารพ หรือผู้นำทางศาสนาซึ่ง สามารถช่วยประสานงานกับคนในชุมชนและสนับสนุน การฝึกงานของนักศึกษาให้สำเร็จได้

การฝึกงานในชุมชน 1. การสำรวจชุมชน กิจกรรมแรกที่นักศึกษาต้องทำคือ การทำแผนที่เดินดินของชุมชน วัตถุประสงค์ของการทำคือ ช่วยให้นักศึกษาได้เห็นภาพของชุมชนทั่วถึงครบถ้วนและเข้าใจความหมายทางสังคมของลักษณะทาง กายภาพ เช่นลักษณะบ้าน บ่อนำ พื้นที่สีเขียว และช่วยให้ได้ข้อมูลมากในระยะเวลาสั้น และข้อมูลที่ได้ มีความน่าเชื่อถือ เพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง ในการทำแผนที่นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มในการทำ เพื่อช่วยให้งานเสร็จสิ้นเร็วขึ้น ในการเดินสำรวจทำแผนที่นักศึกษาใช้การนับเก้าเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เช่นระยะความ กว้างยาวของบ้านแต่ละหลัง ความกว้างยาวของถนนในซอย และนำมาเทียบกับเสกล เช่น 1 ซม. เท่ากับ 1 กม. เพื่อให้สามารถวาดแผนที่ทั้งหมดของชุมชนลงในกระดาษได้พอดี และใช้เข็มทิศในการ เดิน ซึ่งในปัจจุบันใช้เข็มทิศดิจิทัล นักศึกษาต้องกำหนดที่ตั้งของบ้านที่แน่นอนแต่ละหลังในแผนที่ใส่ หมายเลขบ้าน รวมทั้งจำนวนบ้านทั้งหมดที่ต้องเข้าไปสำรวจและสัมภาษณ์ นอกจากนี้ นักศึกษาถือโอกาสทำความรู้จักกับคนในชุมชน ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารและ นำ เจ้าของบ้านเช่าซึ่งสถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนต้องมาใช้บริการและเจ้าของกิจ การ สามารถเป็นแหล่งข้อมูลให้นักศึกษาได้สอบถาม ขั้นตอนการทำแผนที่ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน หลังจาก นั้นนักศึกษาต้องนำข้อมูลการสำรวจพื้นที่ทางกายภาพของชุมชนมาวาดแผนที่คร่าว ๆ เพื่อใช้ในการ เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินชุมชนและสัมภาษณ์ ในขั้นตอนการประเมินและสัมภาษณ์ชุมชน นักศึกษาประเมินชุมชนโดยใช้แนวคิดการให้ ชุมชนเป็นหุ้นส่วน (Community as a Partner) โดยเริ่มจากการประเมินที่ตัว คนในชุมชนและระบบที่ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีผลต่อสุขภาพของคนในชุมชนซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะรวบรวมอยู่ในแบบ ประเมิน และแบบประเมินนี้จะประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของคนในแต่ละครอบครัวในชุมชนด้วย 2. การสร้างความไว้วางใจก่อนการประเมินชุมชน การไปทำงานในชุมชนเป็นเรื่องของความอดทน นักศึกษาต้องเดินสำรวจและสัมภาษณ์หา ข้อมูลของชุมชนในแต่ละครอบครัวท่ามกลางอากาศที่ร้อนแสงแดดแรง ในครั้งแรกที่นักศึกษาจะเข้า เยี่ยมครอบครัวในชุมชน นักศึกษาต้องแต่งเครื่องแบบนักศึกษาที่คล้ายกับพยาบาลสาธารณสุข เพื่อคน ในชุมชนได้เชื่อถือและวางใจ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายความสามารถของนักศึกษา

19

ในการเข้าถึงและสัมภาษณ์ เพราะคนในชุมชนยังไม่รู้จัก บางครอบครัวไม่ไว้ใจและไม่ให้เข้าบ้านแม้ว่ามี การบอกกล่าวจากประธานชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขแล้ว นักศึกษาแนะนำตัวและยืนสัมภาษณ์ นอกรั้วบ้าน บางครอบครัวปิดบ้านไม่ต้อนรับ บางครอบครัวให้ตัวแทนออกมาบอกว่าเจ้าของบ้านไป ทำงานกลับบ้านมืดไม่มีเวลาให้สัมภาษณ์ บางครอบครัวแจ้งว่าไม่ว่างต้องเตรียมของไปขายตอนบ่าย แต่ บางครอบครัวก็เปิดให้เข้ามานั่งสัมภาษณ์ ดื่มนำ และพักคลายร้อน 3. การปรับวิธีการเข้าถึงชุมชนเพื่อให้การประเมินสำเร็จ เมื่อเสร็จจากการเยี่ยมบ้านในแต่ละวันนักศึกษาต้องนำปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้มาวิเคราะห์และ หารือในกลุ่มเพื่อหาทางแก้ปัญหา เพราะนักศึกษาต้องเยี่ยมบ้านและเก็บข้อมูลให้ได้ ร้อยละ 80 ของ จำนวนครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนนั้น ๆ ซึ่งนักศึกษามีหลายวิธีในการแก้ปัญหาเพื่อการเข้าถึงชุมชน นักศึกษาสามารถขอให้อาสาสมัครสาธารณสุ ขไปเยี่ ยมบ้านด้วย ซึ่งครอบครัวเหล่านั้น ยินยอมให้ นักศึกษาสัมภาษณ์ หรือขอให้ประธานชุมชนช่วยประสานงานให้ และบางครั้งนักศึกษาอาจทำความรูจ้ กั กับเจ้าของร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร โดยซื้อของ นำ ขนม และเมื่อมีคนในชุมชนมาซื้อของ บุคคล เหล่านี้จะแนะนำให้รู้จักนักศึกษาและขอความร่วมมือให้สัมภาษณ์ในสถานที่นั้น ๆ เลย บางครั้งเมื่อ นักศึกษาเดินสวนกับคนในชุมชนสามารถเดินตามและขออนุญาตสัมภาษณ์ในขณะนั้น หรือเดินตามไปที่ บ้าน หรือขอนัดวันและเวลาเพื่อสัมภาษณ์ซึ่งบุคคลนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้ 4. การเข้าใจชุมชน: ความเชื่อทางศาสนา วิถีการดำเนินชีวิต บางชุมชนคนในชุมชนส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม นักศึกษาต้ องเรียนรู้ถึงความเชื่ อทาง ศาสนา กิจวัตรที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรมและความเชื่อของคนในชุมชน ในช่วงถือศีลอด คนในชุมชนจะต้อง ตื่นแต่เช้าเพื่อมาทำกับข้าวและรับประทานอาหารแต่เช้ามืด นอนและตื่นในตอนบ่าย ดังนั้นนักศึกษา ต้องปรับการเยี่ยมบ้านเป็นตอนบ่ายและปรับการทำงานในช่วงเช้าเป็นการเตรียมการเยี่ยมบ้าน จัดการ รวบรวมข้อมูล มิฉะนั้นนักศึกษาจะไม่ได้ข้อมูลเลย บางชุมชน ชาวบ้านต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้ามืดประมาณสี่นาฬิกา และกลับบ้านนอนหลัง เที่ยง และตื่นออกมานอกบ้านเพื่อซื้ออาหารตอนบ่าย ชาวบ้านกลุ่มนี้จะไม่ให้ความร่วมมือในการเยี่ย ม บ้านและสัมภาษณ์ นักศึกษาต้องปรับกระบวนการทำงานโดยดักพบเพื่อสัมภาษณ์ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารและนำ เมื่อพบประจันหน้ากัน ชาวบ้านไม่กล้าปฏิเสธ บางครั้งเมื่อนักศึกษาไปเยี่ยมบ้าน ต้องเริ่มแนะนำตัวและพูดคุยถามถึงเรื่องสุขภาพก่ อน เสนอวัดความดันให้เพื่อสร้างคว ามคุ้น เคย ต่อจากนั้นจึงสัมภาษณ์เก็บข้อมูลได้

20

5. การประเมินสุขภาพของครอบครัว: หน่วยเล็กที่สุดของชุมชน นอกจากนี้นักศึกษาต้องเลือกหนึ่งครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหรือมีปัญหาอื่นที่เกี่ยว โยงกับสุขภาพมาเป็นกรณีศึกษา นักศึกษาต้องไปเยี่ยมบ้านของครอบครัวที่เลือกนี้อย่างน้อ ย 3 ครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ปัญหา ส่วนมากคนไข้ที่เป็นกรณีศึกษามักมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด และมักขาดความรู้ความเข้าใจในการ ปฏิบัติตัว เช่น การกินยาไม่ครบปริมาณ ไม่รู้จักการออกกำลังกายที่เหมาะสม กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ คนไข้บางคนป่วยนอนติดเตียงเคลื่อนไหวไม่ได้และผู้ดู แลไม่รู้จักการฟื้นฟูร่างกายให้คนไข้ นักศึกษาจะ ให้ความรู้กับคนไข้ที่เป็นกรณีศึกษาเหล่านี้ 6. ความสำเร็จในการเข้าถึงชุมชน การเยี่ยมบ้านครั้งหลัง ๆ นักศึกษาจะเป็นที่ไว้วางใจจากคนในชุมชนยอมให้เข้านอกออกใน บ้านได้ และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเนื่องจากคนในชุมชนรู้จักนักศึกษาและรู้วัตถุประสงค์ว่ามา ชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ท่าทีที่นักศึกษาแสดงออกถึงความเป็นมิตรให้ความเคารพ ไม่ดูถูก หรือแสดงตนว่ามีความรู้เหนือกว่าคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนประทับใจ บางครั้งที่นักศึกษากลับจาก เยี่ยมบ้านมักได้รับของฝาก เช่น ผลไม้ ขนม นักศึกษาจะใช้เวลาในการประเมินชุมชน เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ประมาณ 3 สัปดาห์หรือมากน้อยกว่านี้ตามขนาดของชุมชน

การจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และลำดับความสำคัญของปัญหาในชุมชน เมื่อได้ข้อมูลของชุมชนครบถ้วน นักศึกษาจะแบ่งกลุ่มเพื่อจัดการกับข้อมูลและทำแผนที่โดยใช้ โปรแกรมสำเร็ จ รู ป หลั ง จากนั ้ น จึ ง ประชุ ม วิ เคราะห์ ข้ อมู ล หาปั ญ หาของชุ ม ชน และ ถกปั ญ หา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาจะถูกนำเสนอโดยเขียน แผนผังการเชื่อมโยงปัจจัย ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพนั้น ๆ (web of causation) ตามที่ได้เรียนมา กิจกรรมต่อมาคือการเชิญสมาชิกในชุมชนมาประชุมเพื่อนำเสนอปัญหาสุขภาพของคนใน ชุมชน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ งปรึกษาถามถึงความต้องการของชุมชนในการแก้ปัญหาในระยะ สั้น ในการดำเนินการจัดประชุมนี้ก็เป็นอีกขั้นตอนที่ท้าทายความสามารถของนักศึกษา นักศึกษาต้อง ประชุมวางแผนการทำงานโดยแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ ในการรับผิดชอบงาน เช่น ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่าย วิชาการ ฝ่ายศิลป์และฝ่ายสถานที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ต้องหาวิธีจูงใจให้คนออกจากบ้านมาร่วมประชุม ถึงแม้ว่านักศึกษามี ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนแต่ก็ไม่อาจทำให้คนส่วนมากออกจากบ้านมาร่วมประชุมได้ บางคนอ้าง ว่าต้องไปโรงพยาบาล บางคนต้องเลี้ยงหลาน บางคนต้องขายของ และบางคนต้องไปทำงาน เป็นต้ น นักศึกษาต้องวางแผนประสานงานกับประธานชุมชนเพื่อขอความร่วมมือจากคนในชุมชนให้มาร่วม

21

ประชุมเพื่อลำดับความสำคัญ ของปัญ หาที ่พบในชุ มชน หากประธานสนใจและสนับสนุนงานของ นักศึกษาจะช่วยประชาสัมพันธ์และประกาศเสียงตามสายไปในหมู่บ้านทุกวันเพื่อชักชวนให้คนมาร่วม กิจกรรม รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ที่นักศึกษาต้องใช้ แต่ประธานชุมชนบางคนไม่สนใจและไม่มาร่วมงาน ก่อนวันประชุมฝ่ายประชาสัมพันธ์จะประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขในการไปเยี่ยมบ้านแต่ละ บ้าน อีก 1-2 ครั้ง เพื่อบอกวัตถุประสงค์ของการประชุมและเชิญให้มาร่วมประชุมโดยทำบัตรเชิญซึ่ง หางบัตรสามารถนำมารับรางวัลได้ รางวัลที่เตรียมไว้ให้ก็มักเป็นของใช้ในบ้านหรือในครัวเรือน ก่อนวัน ประชุมหนึ่งวันมีการใช้เครื่องขยายเสียงประกาศเชิญชวนให้ชาวชุมชนออกมาร่วมประชุม ในวันประชุม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ก็จะเตรียมนำและของว่าง รวมทั้งของแจกไว้ให้ผู้มาร่วมกิจกรรม และมีการให้ผู้ที่มา ประชุมลงทะเบียนเพื่อจะได้ทราบจำนวนว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของคนในชุมชนทั้งหมด สำหรับฝ่ายวิชาการ ต้องเตรียมอธิบายถึงปัญหาที่มีในชุมชนซึ่งจะมีประมาณ 4 ปัญหา และให้ ชุมชนประเมินว่าต้องการแก้ปัญหาใดก่อนและอันดับรองลงมา ฝ่ายวิชาการจะต้องอธิบายการประเมิน ปัญหาโดยดูจาก เปอร์เซ็นต์ของขนาดของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา ความยากง่ายในการแก้ปัญหา และ ความสามารถในการแก้ปัญหาของชุมชน คนในชุมชนที่มาประชุมจะออกเสียงให้คะแนนโดยการ ยกมือ สำหรับฝ่ายศิลป์และสถานที่ก็ต้องเตรียมโปสเตอร์แสดงเพื่อให้ผู้ลงคะแนนเข้าใจสำ หรับนับ คะแนนจากการออกเสียง เตรียมโต๊ะเก้าอี้ให้เพียงพอสำหรับคนชุมชนที่จะมาร่วมประชุม รวมทั้งเตรียม ไมโครโฟน ปากกาเขียนบนกระดาน ในวันประชุมนักศึกษาเป็นกังวลว่าชาวชุมชนจะมาร่วมประชุม หรือไม่ บางครั้งนักศึกษาอาจต้องเตรียมรถไปรับที่บ้าน ถ้าหากคนในชุมชนมามากก็ถือ ว่าการออกเสียง เป็นเสียงส่วนมากของชุมชนในการแก้ปัญหา ถ้ามาน้อยก็ไม่ถือว่าเป็นเสียงของชุมชนและการฝึกงานครัง้ นี้ไม่ประสบความสำเร็จและชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปชาวชุมชนก็จะมากันมาก เมื่อการออกเสียงเสร็จสิ้นและทราบความ ต้องการว่าชุมชนต้องการแก้ปัญหาใดเป็นอันดับหนึ่งและรองลงมาแล้ว นักศึกษาก็จะปรึกษาชาวชุมชน ว่าต้องการทำกิจกรรมใดร่วมกับนักศึกษาในการแก้ปัญหาที่ลงคะแนนไป ส่วนมากปัญหาสุขภาพของ ชาวชุมชนที่พบคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) ขาดความรู้ในการตรวจเต้านมเพื่อป้องกันมะเร็ง โรคไตและ ภาวะ หลอดเลือดในสมองแตก

การทำโครงการและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชน 1. การเตรียมการก่อนทำกิจกรรม กิจกรรมสุดท้ายในการฝึกปฏิบัติงานในชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คือ การทำโครงการแก้ปัญหา สุขภาพ ซึ่งนักศึ กษาจะปรึ กษาอาจารย์ หัวหน้าพยาบาลสาธรณสุ ข และประธานชุ มชนถึงกิ จกรรมที่

22

เหมาะสมกับลักษณะของคนในชุมชน นัดวันและเวลาในการทำกิจกรรมเพื่อให้คนในชุมชนมาร่วมกิจกรรมให้ ได้มากที่สุด ต่อจากนั้นนักศึกษาจะแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบ ส่วนมากเป็นกลุ่มเดิม ซึ่งกลุ่มจะประชุมและ วางแผนงาน สิ่งที่นักศึกษายังคงกังวลคือจำนวนคนในชุมชนที่มาร่วมทำกิจกรรม กลุ่มประชาสัมพันธ์ต้อง วางแผนเชิญชวนคนมาร่วมงานเช่นเดียวกับเมื่อครั้งประชุมนำเสนอและลำดับความสำคัญของปัญหา และสิ่ง สำคัญที่จะต้องเตรียมคือของแจกและของรางวัลที่แจกให้ผู้มาร่วมกิจกรรม กลุ่มวิชาการเขียนโครงการ หาอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมและประสานงานกับประธานชุมชนเพื่อขอ สนับสนุนในการหาสถานที่จัดกิจกรรม อุปกรณ์เครื่องเสียง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม ประสานงานกับหัวหน้าพยาบาลสาธารณสุขและพยาบาลสาธารณสุขในการมาตรวจร่างกาย ส่วนมากพื้นที่ จัดกิจกรรมต้องเลือกพื้นที่กว้าง และคนในชุมชนมาสะดวก กิจกรรมที่จัดต้องสอดคล้องกับปัญหา 2. กิจกรรมให้ความรู้ในการแก้ปัญหาชุมชน นักศึกษาแบ่งกิจกรรมเป็นฐานและมีนักศึกษาคอยบริหารจัดการในแต่ละฐาน ประกอบด้วย ฐานตรวจร่างกาย ฐานให้ความรู้การตรวจเต้านม ฐานให้ความรู้และสาธิตการทำอาหาร และ ฐานสาธิต การออกกำลังกาย สำหรับฐานการตรวจร่างกายมีการตรวจนำตาล วัดความดันโลหิต เอกซเรย์ปอด ฐานให้ความรู้เรื่องการตรวจเต้าน มีหุ่นจำลองเต้านมมาให้คนในชุมชนฝึกการคลำและตรวจหาก้อนเนื้อ งอกในเต้านมทั้งผู้ชายและผู้หญิง ฐานให้ความรู้เรื่องอาหารก็จะอธิบายถึงอาหารที่มีประโยชน์ และ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีน้ ำตาลสูงไม่แหมาะกับคนที่เป็นเบาหวาน นักศึกษาแสดงค่า ระดับน้ำตาลจริงที่มีอยู่ในเครื่องดื่ม อาหารที่มีโซเดียมสูงซึ่งไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีอาการโรคหัวใจ ความ ดันโลหิตสูงและโรคไต นักศึกษาหารูปภาพหรือตัวอย่างอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีปริมาณโซเดียมสูง รวมทั้งสาธิตการทำอาหารแบบง่ายและมีประโยชน์และให้ชาวชุมชนที่มาร่วมกิจกรรมร่วมลงมือทำด้วย และร่วมรับประทานอาหารไปด้วยกัน ฐานออกกำลังกาย มีการสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัย และสามารถทำได้ขณะที่นั่งอยู่ว่าง ๆ และให้ร่วมออกกำลังกายด้วย เมื่อกลับไปบ้านแล้วชุมชนสามารถ ทำได้

การประเมินผลโครงการ ก่อนทำกิจกรรมในแต่ละฐานนักศึกษาให้คนที่มาร่วมกิจกรรมทำการประเมินความรู้ก่อนทำ กิจกรรม (pre-test) และหลังทำกิจกรรม (post-test) โดยให้ตอบคำถามแบบเป็นกลุ่ม (focus group) เมื่อ เสร็จกิจกรรมทั้งหมดแล้ว นักศึกษาส่งต่อปัญหาและผลการประเมินความรู้จากกิจกรรมการแก้ปัญหาให้กับ ประธานชุมชน หัวหน้าพยาบาลสาธารณสุข และพยาบาลสาธารณสุข เพื่อดำเนินการการทำงานและเพิ่ม พลังอำนาจ (empower) ให้ชุมชนได้แก้ปัญหาของตนเองในระยะยาวต่อไป

23

ข้อเสนอแนะในการสนับสนุนเพิ่มพลังอำนาจ (empowerment) ให้กับชุมชน การได้ เข้ า มาทำงานในชุ ม ชนทำให้ ได้ เห็ นความสำคั ญ ของชุม ชน ซึ ่ ง ในแต่ ล ะชุ มชนจะมี ลักษณะเฉพาะและมีสมาชิกในชุมชนเป็นพันจนถึงหมื่น หากบุคคลภายนอกไม่ได้เข้ามาร่วมทำงานก็จะ ยากที่เข้าใจ ดังนั้นหากชุมชนเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมและสนับสุนเพิ่มพลังอำนาจ (empower) ให้คน ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนไม่ใช่เพียงแค่ผู้อาศัย และชุมชนมีความสามารถส่งเสริมตนเองให้ มีสุขภาพดี รู้จักวิธีป้องกันโรค บริหารจัดการกับสังคมสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้อยู่ในสภาพที่ดี และ สามารถบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ทุกคนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสุขใน วิถีชีวิตใหม่ หน่วยงานมีบทบาทสำคัญที่สามารถให้การสนับสนุเพิ่มพลังอำนาจ (empower) ให้กับชุมชน ในด้านความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนน่าจะเป็นเครือข่ายที่เป็นสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะคณะ พยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีหลักสูตรการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและแนวคิดเกี่ ยวกับชุมชน และมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน เข้าใจวิถีชีวิต ความเชื่อ และลักษณะของชุมชนเป็นอย่างดี และมีการฝึกปฏิบัติงานในชุมชนทุกปี ซึ่ งทำให้การสนับสนุนในด้านความรู้นี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและ ยั่งยืน การเริ่มดำเนินการเพื่อสนับสนุนการเพิ่มพลังอำนาจ (empower) ให้กับชุมชนนี้ ควรเริ่มจาก การเลือกชุมชนที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งชุมชนน่าจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่มาก ประธานชุมชนมีความ ต้องการพัฒนาชุมชนของตนเองให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีความกระตือรือร้น มีความเป็นผู้นำ รวมทั้ง ต้องมีทีมอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้มแข็งและต้องการพัฒนาชุมชนของตนเอง มีกรรมการในชุมชนที่ ต้องการเข้าร่วมพัฒนาชุมชน รวมทั้งคนในชุมชนเองมีความต้องการพัฒนา นอกจากนี้ ต้ อ งมี เ ครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ คื อ หั ว หน้ า พยาบาลสาธารณสุ ข ประจำศู น ย์ สาธารณสุขภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร มีส่วนในการรับผิดชอบดูแลสุขภาพของคนใน ชุมชนและเป็นที่ไว้ใจของคนในชุมชนด้วย หากเป็นชุมชนในจังหวัดอื่น ๆ ก็ควรมีความร่วมมือระหว่าง ชุมชน สถาบันการศึกษาพยาบาลที่มีในจังหวัดนั้น ๆ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งมีหน้าที่ รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภู มิให้กับชุมชน และเมื่อชุมชนที่เลือกเป็นต้นแบบสามารถ ดำเนินการประสบความสำเร็จจึงค่อยเริ่มขยายไปทำในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งวิธีนี้ทำให้ชุมชนสามารถ บริหารจัดการให้มีสุขภาวะที่ดี ในวิถีชีวิตใหม่ได้

24

5

มุมมองของพระมนัส อิ่มรัตน์ วัดโพธิ์ทอง จังหวัดจันทบุรี

บริบทการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ แนวคิด “ เป็นธนาคารชุมชน ” เกิดขึ้นโดยชุมชน กำไรเป็นของชุมชน มีที่มาจากชาวบ้านเป็นหนี้ ไม่มีเงินออม ไม่มีเงินหมุนเวียน หาเงินได้เท่าไหร่ ก็ใช้หนี้ที่มีดอกเบี้ยให้ธนาคารหมด (ธนาคารกำไร 9 เท่า 10 เท่า) จะทำอะไรก็ไม่คล่องตัว ซื้อปุ๋ย ซื้อเมล็ดพันธุ์ เครื่องมือไปประกอบอาชีพไม่ได้ เดือดร้อนไปถึงรายจ่ายใน ครอบครัว มีแต่ความทุกข์ พระมีหน้าที่ต้องช่วยเหลือชุมชน วัดกับบ้านต้องอยู่ด้วยกัน เกื้อกูลกัน ก็ไปศึกษา กับพระอาจารย์สุบิน วัดทับลาน จ.จันทบุรี ท่านทำเรื่องสัจจะออมทรัพย์ช่วยปลดหนี้ให้ชาวบ้าน ตั้งแต่ปี 2532 จากนั้นปี 2542 ก็หาทีมงาน ปรึกษาหารือกัน ทำเรื่องสัจจะออมทรัพย์ โดยสมาชิกต้องผ่านการอบรม หลักสูตรออมทรัพย์ อบรมการมีสัจจะ ศีลธรรม ไม่ก่อหนี้ รวมทั้งมาวัดสวดมนต์ ทำบุญเดือนละ 1 ครั้ง ชาวบ้านไม่เป็นหนี้ มีเงินเก็บ ส่วนกำไรของธนาคารที่ธนาคารพาณิชย์กำไร 9 เท่า 10 เท่าก็เอา มาใช้ประโยชน์แก่ชุมชน ชาวบ้านมีสวัสดิการ เงินใช้ เงินต่อยอดทำอะไรก็ได้ ความทุกข์ก็น้อยลง มาวัด แบบสบายใจ มาคุยกัน ต่างคนต่างมีเรื่องมาเล่า ถ้าเรื่องไหนความคิดไปด้วยกัน ก็ไปช่วยกัน ใช้วัดเป็นศูนย์กลาง เป็นที่สาธารณะ ใคร ๆ ก็มาได้ มาแล้วสบายใจ สบายกาย เป็นกันเอง ไม่ จำกัดบุคคล พระให้ข้อคิด ความรู้ สนับสนุนและประสานงานผูเ้ กี่ยวข้อง มอบหมายให้ชาวบ้านทำให้ถูก งาน เช่น ใครเป็นนักบัญชีก็ทำบัญชีการเงิน ใครเก่งการตลาดก็ติดต่อที่ขาย อาตมาจะช่วยไปติดต่อ บริษัทคนจีนให้ทำ MOU ซื้อขายทุเรียน ตอนนี้คนจีนที่มีฐานะจะซื้อทุเรียนออแกนิค อาตมาก็ไปหา เกษตรอินทรีย์ให้มาช่วย ค่อย ๆ ทำไป ตลาดทุเรียนมีกำไร เอาเงินมาหมุนเวียน กำไรกลับคืนสู่สมาชิก พระไม่จำเป็นต้องลงมือ แต่คิดหาอุบาย สร้างกิจกรรมให้ชาวบ้านทำ เขาเห็นประโยชน์ ก็มาร่วมทำ ที่ สำคัญต้องสร้างความเข้าใจเข้าถึงชาวบ้าน เขาจะไม่ต่อต้าน สร้างระบบและกลไก ต้องมีทีมงาน ต้องเป็นคนในพื้นที่ ถ้าเป็นคนนอก จะไม่ยั่งยืน มีหลาย ๆ วัดมีตัวอย่างหลาย ๆ ที่เอาคนกรุงเทพมา ไม่นานก็กลับไป คนเปลี่ยนบ่อยก็ไม่ดี ตัวอย่างหลวงตาแชร์ ท่านทำงานหนัก ไม่มีทีมงานช่วย ก็เหนื่อย อาจไม่ยั่งยืน ทีมงานมาประชุมวางกลไก กำหนดระเบียบต่าง ๆ เช่น การเป็นสมาชิก การกู้ยืมเงิน การจ่ายคืนด้วยดอกเบี้ยราคาถูก การรับสวัสดิการ ฯลฯ ชุมชนมีส่วนร่วม มีหลากหลายอาชีพมาช่วยกัน ทำเอง ใช้เอง เก็บออมเอง คนที่นี่เขาไม่ยอม ออกจากสมาชิก เพราะออกก็ไม่ได้สวัสดิการ ไม่ได้ผลประโยชน์ คิดดูเอาเงินที่ธนาคารทั่วไปกำไรเป็น 9 เท่า 10 เท่ามาหมุนเวียนให้สมาชิก

25

พระต้องคิดสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์ร่วมกัน สามัคคีรวมพลัง กิจกรรมก็พัฒนาไป เกิดการ เรียนรู้ อาตมาก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเหมือนคนอื่น พระต้องมีองค์ความรู้ที่จะช่วยสนับสนุนสมาชิก คน ที่มาวัดมาคุยกันก็แลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องที่เขา สนใจเหมือนกันก็จะถามไถ่กันเอง ตัวอย่าง ทำตลาดทุเรียนให้ราคาดี เรื่องความเสี่ยง ไม่ค่อยมี ตอนนี้มีเงินกองทุน เกือบ 3,000 ล้าน ร้อยละ 90 ถูกนำไปหมุนเวียน เช่น กู้ดอกเบี้ยต่ำ จ่ายสวัสดิการการรักษาพยาบาล ใครเป็นสมาชิกก็ได้สิทธิ ไม่มีใครลาออกเลย ตอนนี้ มีคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นสมาชิก ทุกคนที่เข้ามาต้องได้รับการอบรมและต้องให้สัจจะ เริ่มงานตั้งแต่ปี 2542-43 พอปี 2547-8 สสส.มาให้ทุนพัฒนาเครือข่าย มีวัดอื่นมาดูงาน หลาย ๆ แห่งเอา Idea กลับไปทำ และพลิกแพลงตามเหตุปัจจัย ตอนนี้มีโรคระบาดโควิด มีคนติดประมาณ 40 คน ตาย 1 คน ก็มาคุยกัน มีหมอ เภสัช แพทย์แผน ไทย แพทย์พื้นบ้าน มาหาวิธีใช้สมุนไพร อาตมาก็กำลังศึกษา มีสมุนไพร 6 ตัวประกอบกัน มีทั้งฟ้าทะลาย โจร กระชาย หอมแดง ฯ ช่วยกันปลูก ทำตำรับยาแจกให้ไปกิน ก็ดีคนที่ติดก็ไม่ป่วยถึงกับไปโรงพยาบาล

ปัจจัยความสำเร็จของศูนย์เรียนรู้ 1. สถานที่ เป็นที่สาธารณะ ที่คนมาแล้วสบายใจ สบายกาย สะดวกเป็นกันเอง ไม่จำกัดบุคคล ศูนย์นี้เรียนรู้นี้ใช้วัดเป็นศูนย์กลาง ใครก็มาได้ มีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข ถ้าทำเองไม่ได้หรือได้บางส่วนก็ไป ติดต่อคนที่รู้เรื่องมาช่วย (Convenient place) 2. มีทีมงานซึ่งเป็นคนในชุมชน ถ้าเป็นคนต่างถิ่น จะไม่ยั่งยืน ตัวอย่าง วัดป่ามหาวันมีแต่คน กรุงเทพฯไปปฏิบัติธรรมแล้วก็กลับบ้าน จึงมีปัญหาเรื่องไฟไหม้ ไฟป่า ไม่มีคนในชุมชนมาช่วยกันเฝ้าป่ า ต้องใช้กลยุทธ์ทำความเข้าใจ และเข้าถึงคนในชุมชนให้ได้ 3. ชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ลงมือทำเอง เป็นเจ้าของ ทำจริง ได้จริง (Cooperation) 4. มีองค์ความรู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คนในชุมชนมาแล้วแลกเปลี่ยนความคิด ไม่เจาะจง ไม่ได้ ตั้งเป้าหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่หลายคนเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกันแก้ปัญหา (Co-working) 5. มีกิจกรรมที่ทำแล้ว สมาชิกได้ประโยชน์ร่วมกัน มีเมตตา กรุณา สามัคคี รวมพลัง 6. มีการสื่อสารที่ดี ทำความเข้าถึง เข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน (Communication) 7. สร้างระบบและกลไก สร้างระบบสมาชิก (ผ่านการอบรมหลักสูตร) แบ่งงาน แบ่งหน้าที่ วางระเบียบและวินัยร่วมกัน คนสร้างงาน งานสร้างคน เป็นวงจรและเกิดวงจรที่พัฒนาต่อ ๆ ไป 8. มีงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

26

9. มีเครือข่าย แม่ข่ายลูกข่าย ที่ติดต่อถึงกัน ตอนนี้มีเจ้าอาวาส 7 วัดในจันทบุรี ระยอง ที่ร่วม เป็นเครือข่าย และขยายไปอีก 5 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และลพบุรี 10. ผู้นำ (พระ) สร้างศรัทธา ให้ข้อคิด สอดแทรกหลักธรรม และสนับสนุนช่วยเหลืออย่าง จริงใจไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ คน ตลาด เครื่องมือ จนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองและเรียนรู้ต่อยอด (Constructed) กลุ่มพระที่ร่วมเครือข่ายเป็นพระที่ผ่านการอบรมธรรมทายาทของวัดปัญญานันทาราม 11. มีการติดตามตรวจสอบ อย่างเคร่งครัด จะได้ช่วยกันแก้ไข ช่วยกันพัฒนา

อุปสรรคที่มีต่อความยั่งยืนในการทำงาน อุปสรรคที่มีต่อความยั่งยืน ของการดำเนินงาน ประกอบด้วย ระบบจัดการและกลไก ไม่เหมาะสม การให้คนนอกพื้นที่มาทำงาน ขาดระบบติดตาม การตรวจสอบ ไม่มีงบประมาณสนับสนุน และไม่สามารถสร้างเครือข่ายได้สำเร็จ ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

27

6

พระครูโฆษิตสมนคุณ วัดแม่ห่าง ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

ลักษณะการทำงานของวัดแม่ห่างกับชุมชน วัดแม่ห่างได้ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาวะของบุคคลในชุมชนโดยกำหนดเป้าหมายพัฒนา สุขภาวะทางจิตให้กับคนในชุมชนพื้นที่ ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และสามเณรในวัดซึ่ง เป็นผู้เรียนในโรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย วัดแม่ห่างมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชนเป็นแบบ ความยึ ด มั ่ น ผู กพั น ทางสั ง คม วั ด แม่ ห ่ า งตั ้ ง อยู่ ใ นสภาพแวดล้ อ มของชุ ม ชนซึ ่ ง มี ค วามศรั ท ธาใน พระพุทธศาสนา สมาชิกในชุมชนมีความเคารพนับถือพระสงฆ์ มีวัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ และยึดมั่นใน จารีตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ใช้วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีศาสนกิจ ทุก ๆ วันพระและ วันสำคัญทางศาสนาผู้สูงอายุจะเข้าวัดเพื่อสวดมนต์ ทำวัตรเย็น และทำบุญ การทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนจะมีมัคทายกเป็นผู้ประสานงาน และมีคณะกรรมการวัดซึ่ง ประกอบด้วยตัวแทนของผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนจากเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนครู ตัวแทนจากโรงพยาบาลประจำตำบล ตัวแทนจากหน่วยงานเอกชนในพื้นที่ การทำงานของวัดแม่ห่างเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของชุมชนยังมีในลักษณะภาคีเครือข่าย โรงเรียนพระปริยัติธรรม ในระดับจังหวัดเชียงรายมีเครือข่าย 21 โรงเรียน ในระดับภาคเหนือมีเครือข่าย 60 โรงเรี ย น โรงเรี ย นภาคี เ ครื อ ข่ า ยมี เป้ า หมายร่ ว มกั น ในการพั ฒ นาสุ ข ภาวะของสามเณรตาม ยุทธศาสตร์งานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีฐานข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนด้าน ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ น้ำหนัก และส่วนสูงตามเกณฑ์ ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนักส่วนสูงของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา เรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม เรื่องอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม การเป็นศูนย์การเรียนรู้นำองค์ความรู้ของโรงเรียน ไปสู่ชุมชน นอกจากนี้วัดแม่ห่างยังเป็นที่พึ่งให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ทางภาคเหนือโดยเฉพาะ สามเณรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์

28

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน คณะทำงานของวัดแม่ห่างมีแนวคิดเชื่อมโยง บ้าน วัด โรงเรียน เข้าด้วยกัน ออกแบบกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะโดยบูรณาการเข้ากับกิจของสงฆ์ สอดแทรกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เข้ า กั บ สื ่ อกลางที ่ ใช้ ส ื ่ อสารกั บ กลุ ่ ม เป้ า หมาย เช่ น การให้ ความรู ้ เรื ่ องศี ล 5 ในขั ้ น ตอนการผลิต เครื่องปั้นดินเผาถ้วยกาแฟ ขั้นตอนที่ติดส่วนหูเข้ากับตัวแก้ว ต้องมีความสมดุลกันทั้งความหนื ด ความชื้นและแห้ง จึงทำให้ส่วนหูและส่วนตัวแก้วติดกันได้ เปรียบเหมือนการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ต้องมีศีลที่เสมอกันหรือทำความดีร่วมกัน เรื่องอิทธิบาท 4 : พอใจทำ (ฉันทะ) แข็งใจทำ (วิริยะ) ตั้งใจทำ (จิตตะ) เข้าใจทำ (วิมังสา) วิสัยทัศน์ของผู้นำโครงการที่มีต่อการจัดการความรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาพสะท้อน การส่งเสริมสุขภาวะผ่านสื่อกลางลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเวียงกาหลงซึ่งมีจำนวน 174 ลาย นำมาสร้างมูลค่า ให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผ้าทอ และมีดทำมือ โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น วิทยากรชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างแหล่งเรียนรู้ ผู้เข้าร่ว มกิจกรรมได้แก่ชาวบ้านในชุมชน ผู้ที่ไม่มีงานประจำ และสามเณรในโรงเรียนวัดหนองบัวพิทยาจะได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะอาชีพ ตามกลยุทธ์ “อิ่มท้อง อิ่มสมอง อิ่มใจ” และ“ขาดทุน คือกำไร” สมาชิกในการดำเนินงานประกอบด้วย ทีมฝ่ายฆราวาส ได้แก่ คุณครูที่เกษียณแล้ว เด็กเยาวชนที่ทำงานอยู่ที่บ้าน ทีมพระ และทีมสามเณร เจ้าอาวาสวัดแม่ห่างทำหน้าที่บริหารโครงการ สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้เกิดจากความ สมัครใจ เต็มใจ ในการฝึกฝนทักษะอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผา ทีมทำงานวัยผู้ใหญ่ผู้ซึ่งไม่มีทักษะ ในการวาดลวดลายโดยใช้พู่กันได้รับกำลังใจจากครอบครัวและแรงกระตุ้นจากทีมทำงานวัยเด็ก ทำให้ ประสบความสำเร็จในการเขียนลวดลาย นอกจากนี้ผู้นำโครงการมีการบริหารจัดการให้คณะทำงานมี ส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน สะท้อนคิดการทำงาน มีการถอดบทเรียนหลังเลิกงานทุกครั้งภายในกลุ่ม ทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานในวัดถัดไปและใช้ข้อมูลวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคตระยะยาว

ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการทำงาน /ความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ความสำเร็ จ ในการเสริ ม สร้า งสุขภาวะชุ ม ชนพิ จารณาจากผลผลิ ต และผลลั พธ์ ที ่ เกิดขึ้น ตัวอย่างโครงการทำวัตรเดลิเวอรี่ซึ่ งเกี่ยวข้องกับงานสุขภาวะของ สสส. สำนัก 8 ในฐานะลูกข่ายของ โครงการ ได้ผลผลิต คือนวัตกรรมรูปแบบการทำกิจกรรมทางศาสนาให้กับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ ่งพิง พระสงฆ์และสามเณรไปทำวัตรเย็นที่บ้านญาติโยมซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสร้างเสริมสุขภาวะ ในชุมชนได้มากถึง 200 หลัง คาเรือน เกิดผลลัพธ์ คือความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชนยังคงอยู่อย่าง แน่นแฟ้น ชุมชนยังสามารถพึ่งพาวัดได้ วัดยังเป็นสัญลักษณ์หลอมรวมจิตใจของชุมชน

29

ตัวอย่างอีกหนึ่งโครงการที่ทางวัดดำเนินงาน คือการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลวดลาย เฉพาะของเวียงกาหลงบนผลิตภัณฑ์ ได้ผลผลิต คือวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นสถานที่ฝึกทักษะอาชีพให้กบั ชุมชน มีหลักสูตรเพื่อการมีอาชีพของสามเณร เกิดผลลัพธ์คือผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความภาคภูมิใจใน ตัวเอง เห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของเวียนกาหลงให้ดีที่สุด ชุมชนเวียงกาหลงมีชื่อเสียงเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่น วัดแม่ห่างมีเครือข่ายในเรื่องงบประมาณสนับสนุนการทำงาน มีแหล่งสนับสนุนงบประมาณที่ เกิดจากผลงานที่ทำในอดีตส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจต่อผู้ให้ทุนได้รับการเสนองบประมาณในการ ทำงานอย่างต่อเนื่อง มีผู้นำโครงการที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีความสามารถใน การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว

เครือข่ายการทำงานของวัดแม่ห่าง เครือข่ายการทำงานของวัดแม่ห่างเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ตามสถานที่ตั้งของวัดที่อยู่ใกล้ ชุมชน ใกล้กับหน่วยงานราชการได้แก่ โรงพยาบาลประจำตำบล ที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วน ท้องถิ่น โรงเรียนในสังกัดระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายที่ เกิดจากความสัมพันธ์กับหน่วยงานเอกชน กลุ่มวิสากิจชุมชน เนื่องจากในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้ามี โรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรหลายโรงงาน วัดได้เข้าร่วมทำกิจกรรม Happy Workplace กับ โรงงานเอกชนเหล่านั้น เช่น การตักบาตร การจัดลานธรรม การบรรยายธรรมะ เครือข่ายที่เกิดจากกิจของสงฆ์คือเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม ทำงานร่วมกับกลุ่มของคณะสงฆ์ทำ กิจกรรมกับชุมชนเรื่องเหล้า บุหรี่ การพนัน เครือข่ายที่เกิดจากบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าอาวาส วัดแม่ห่างในการเป็นคณะกรรมการการศึกษาในระดับจังหวัด ขับเคลื่อนการศึกษาของโรงเรียนพระ ปริ ย ั ต ิ ธ รรมจั ง หวั ด เชี ย งราย เครื อ ข่ า ยที ่ เ กิ ด จากความผู ก พั น ในฐานะศิ ษ ย์ เ ก่ า ของ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยในการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ การทำวิจัย ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานของวัดแม่ห่างคือ ผลการทำงานที่เป็นแนว ปฏิบัติที่ดี (best practice) ทำให้ชุมชนอื่น ๆ ติดต่อวัดเพื่อศึกษาเรียนรู้การทำงาน เช่น โรงเรียนในสังกัด สพฐ.จากต่างจังหวัดมาศึกษาดูงาน ดูกระบวนการที่ประสบผลสำเร็จ ผลงานเครือข่ายของกลุ่มสังฆะเพื่อ สังคมสามารถเป็นต้นแบบในระดับประเทศ โครงการทำวัตรเดลิวเวอรี่ที่ดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 25572558 เป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนปริยัตธิ รรมทุกโรงเรียนนำไปใช้ นำไปขยายให้กับชุมชนข้างวัด นอกจากนี ้ ท างวั ด แม่ ห ่ า งมี โ อกาสในการสร้ า งเครื อ ข่ า ยผ่ า นการใช้ ส ื ่ อ ที ่ ม ี ช ื ่ อ เสี ย งเช่ น สถานีโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอสช่วยประชาสัมพันธ์ผลงานเรื่อง เครื่องชามเวียงกาหลง มรดกล้านนา ผ่าน รายการฟังเสียงประเทศไทย ออกอากาศในวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 การเผยแพร่กิจกรรมทำวัตรเดลิ

30

เวอรี่ หัวข้อข่าวบ้านฉันวันนี้ ในรายการข่าววันใหม่ไทยพีบีเอส ออกอากาศในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 การ ใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ผลงานผ่านช่องยูทูปสามเณรชาแนลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาโดยทำ กิจกรรมนักข่าวพลเมือง สื่อคุณธรรม สื่อชุมชนของตำบลเวียงกาหลง แล้ว ขยายไปสู่การนักข่าว พลเมืองให้กับสถานีไทยพีบีเอส

ดร. เพียรกิจ นิมิตดี วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

31

7

มุมมองของคุณสุชล สุขเกษม ศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี (นวัตกรรมเกษตรสร้างรายได้) จังหวัดสมุทรสงคราม

บริบทชุมชน ที่ตั้ง ตำบลจอมปลวก อ.บางคนฑี จ.สมุทรสงคราม ต้นทุนทรัพยากร มีพื้นที่ที่เอื้อต่อเกษตรกรรม มีแหล่งน้ำและสภาพดินอุดมสมบูรณ์ เกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพหลัก มีที่ดินเป็นของตัวเอง คนในชุมชนมีพื้นฐานจิตใจโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

จุดเริ่มต้น ผู้นำชุมชน ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง “ทำประโยชน์อะไร ขอให้ได้หลายอย่าง” มีที่ดิน 1 ไร่ ปลูกพืชผลแล้ว เลี้ยง ปลา เลี้ยงไก่ฟักไข่ และอื่น ๆ ด้วย เช่น ปลูกมะพร้าว ส้มโอ แบ่งพื้นที่เลี้ยงปลาดุกปลานิล ทำกระเช้า เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ให้เป็นชั้นๆ ประหยัดพื้นที่เพื่อทำหลาย ๆ อย่าง ได้ปุ๋ยมารดต้นไม้ จึงมีแนวคิดอยากจะ พัฒนานวัตกรรมสร้างรายได้จากเดิม 1 ไร่ 1 แสนบาท/ปี มาต่อยอดเป็น 1 ไร่ 2 แสน/ปี

บทเรียนจากการพัฒนา 1. ความรู้พื้นฐานของการพัฒนา เราต้องมีความรู้ หาคนช่วย พอดีได้อาจารย์วิทยา เมฆขำ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา (ปี 2552) มาศึกษาพื้นที่หาจุดอ่อน จุดแข็ง และรวบรวมความรู้มาถ่ายทอด ลองทำแล้วได้ผล อาจารย์ นำความรู้เรื่องการแปรรูปสินค้าเกษตรมาช่วย เช่น ไข่เค็มสมุ นไพรหลายรส รสกาแฟทำให้มาปลูกต้น กาแฟ ทำน้ำตาลปึก ผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ฯลฯ มีอาจารย์จากสวนสุนันทามาแนะนำเรื่อง packing และการตลาด ขายได้ราคา พอทำสำเร็จมีความคิดขยายผลไปยังบ้านอื่น ๆ โดยยึดหลัก 1) เข้าใจ (รู้ วิธีการทำ) 2) เข้าถึง (ลงมือทำ) และ 3) พัฒนา (เพิ่มพูนสิ่งที่หาย สิ่งที่ขาดให้มีและมีมากขึ้น) 2. วิธีการและกลยุทธ์ ประชุมคนในชุมชน 7 หมู่บ้าน คนในชุมชนปลูกมะพร้าวอย่างเดียว จึงมีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ เราจึงแบ่งคนเป็น 3 ประเภท คือ 1) คนเชื่อ เพราะเราทำต้นแบบให้ดู ก็มาดูงานและไปทดลองทำ 2) คนเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ให้คนที่ทำแล้วได้ผลไปชักชวนมาลองดู แล้วกลับไปทดลองทำ 3) คนที่ไม่เชื่อเลย ให้คนที่เชื่อ/ไม่เชื่อทำจนได้ผลแล้วไปชักชวนมา

32

3. บุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา ที่สำเร็จเพราะไปหาผู้เชี่ยวชาญ เช่น เลี้ยงไก่ไปหาปศุสัตว์ เลี้ ยงปลาไปหาประมง ไปหากรม พัฒนา ที่ดินมาช่วย ต่อมาคิดต่อยอด ทำ Solar cell อาจารย์คณะเทคโนฯ เอาวิธีการทำมาบอกและทำ จนเป็นต้นแบบนวัตกรรมชุมชน ถ่ายทอดไปสู่ชุมชนอื่นๆ 4. องค์ความรู้ สำคัญมากเพราะเอาไว้ถ่ายทอด เราเรียนจบแค่ ป.4 ได้อาจารย์มาช่วยทำวิจัยรวบรวมให้เป็น คู่มือสำหรับแจกผู้ที่สนใจเรียนรู้ 5. รางวัลที่ภาคภูมิใจ ปี 2558 พระเจ้าอยู่หัว ร.9 ประชวรพักอยู่ที่ รพ.ศิริราช ทอดพระเนตร T.V. จึงให้มหาดเล็ก 4 คนมาที่บ้าน ถามว่า “ทำอย่างไรได้ 2 แสนต่อไร่ พระองค์ทรงได้ 1 แสนต่อไร่” ปี 2560 อาจารย์มาชี้แนะเรื่องการปลูกมะลิลา ตอนนั้นมะลิได้ราคาดีมาก ได้ผลอะไรก็บอกต่อ ให้ไปทำกัน ต่อมามูลนิธิศูนย์คุณธรรม มอบรางวัลดีเด่น เป็น 1 ใน 77 จังหวัด ปี 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาส่งประกวด “ชุมชนวิจัยดีเด่น” ปี 2564 ได้รับพระราชทานรางวัล “ปราชญ์แห่งแผ่นดิน” เดินทางเป็นวิทยากรทั่วประเทศ 6. การสร้างเครือข่าย การได้รางวัลของจังหวัด มาส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชนอื่นๆ มีชุมชนจังหวัดอื่น ๆ มา ศึกษาอบรม ได้แก่ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี อีกหลายจังหวัดจำไม่ได้ จนคนเรียกเราว่า “อาจารย์” แต่คนในหมู่บ้านเรียก “อ้ายชล พี่ชล ” ต่อมาเขาเปลี่ยนสรรพนามตามคนอื่น เป็นอาจารย์แล้วครับ 7. การต่อยอดพัฒนาสู่ความยั่งยืน สร้างคนรุ่นใหม่ ให้เด็กในโรงเรียนมาดูงาน และกลับไปบอกต่อที่บ้าน เชื่อมโยงบ้าน วัด โรงเรียนและยึดแนวพระราชดำริ นิมนต์พระจะช่วยสอนเด็ก และมาเทศน์โปรดญาติโยม พระท่านมาทำ “หมู่บ้านศีลห้า”คนที่นี่ชอบทำบุญ มีกำลังก็ทำต่อไปตอบแทนคุณแผ่นดิน เรื่องยั่งยืนคิดว่านอกจากผม แล้ว น่าจะมีคนมาทำต่อเช่นเดียว กับวัด มีเจ้าอาวาสองค์นี้ก็ต้องมีเจ้าอาวาสองค์ต่อไป การคิดให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี จึงริเริ่มกิจกรรม “กินอยู่อย่างไร จึงปลอดภัย ” ขอเชิญ อาจารย์มากันครับ มาให้ความรู้แก่เด็ก คนสูงอายุ ให้กลุ่มสูงอายุได้ออกกำลังกายแข็งแรงเป็นร่มโพธิ์ร่ม ไทรของชุมชน 8. การเป็นจิตอาสา การสมัครเป็น อสม.ของชุมชน ช่วยงานด้านสุขภาพของชุมชนร่วมกับ รพ.สต.และรพอ.นภาลัย ตอนนี้มีการระบาดของเชื้อ โควิด 19 ช่วยคัดกรองเชื้อ ไปเคาะประตูบ้าน จัดที่ เช่น ศาลาวัด โรงเรียน

33

ให้คนติดเชื้อกักตัว มีจิตอาสาไปรับยาให้ และช่วยกันทำกับข้าวไปส่ง กักตัวครบ 14 วันให้พยาบาลมา ตรวจเชื้อ ยาที่ไปรับมี Favipiravior ส่วนยาอื่นใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้มสุกดื่มกิน และให้ยาขมเม็ด โพธิ์ทอง หายกลับบ้านได้ มีตายเพียง 1 คน เป็นเบาหวาน ความดันสูง อายุ 70 แล้ว ตอนนี้ช่วยกันเฝ้า ระวัง มีติดเชื้อ 6 หมู่บ้าน ยกเว้นหมู่ที่ 7 ทุกบ้านจะปลูกฟ้าทะลายโจร และกระชาย 9. การติดต่อสื่อสาร มีทั้ง Line, Facebook โทรศัพท์สื่อสารกันตลอด

บทสรุป : ปัจจัยแห่งความยั่งยืน 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

ผู้นำต้นแบบ คิดต่อยอด ทดลองทำและทำสำเร็จ การมีส่วนร่วมของชุมชน เห็นประโยชน์ร่วมกัน แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีวิธีการและกลยุทธ์ (ระบบและกลไกจัดการ) พัฒนาเครือข่าย และการสื่อสาร ถ่ายทอดองค์ความรู้ มีทุนสังคมและงบประมาณ

ผศ.ดร. สุดประนอม สมันตเวคิน วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

34

8

มุมมองของคุณยงจิรายุ อุปเสน ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

ลักษณะศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กรที่พึงประสงค์ ลักษณะศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร ควรมีลักษณะหรือองค์ประกอบที่ สำคัญพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ คน ระบบ ระบบนิเวศ 1. คน เป็นหัวใจสำคัญ ทำให้ขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ ทำให้งานสำเร็จ เป็นรูปธรรม เป็น role model สัมพันธ์กับความรู้ และต้องมีคุณภาพ ศูนย์ต้องมีบุคคลสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้ 2. ระบบ ต้องมีระบบรองรับสิ่งที่กำลังทำอยู่ เช่น ข้อตกลง สภาพแวดล้อม มาตรการต่างๆ ทำ ให้เกิดพฤติกรรมที่อยากได้/อยากให้เกิด เช่นระบบสุขภาพที่ดีคืออะไร เช่น เสียงตามสาย ให้ความรู้ เรื่องการรับประทานอาหาร การให้เวลาในการพักผ่อน คลายความเครียดในการทำงาน ที่ทำงานทำ เรื่องวินัยต้องมีระบบวินัยมารองรับ เช่น กรณีโรงงานอยากให้คนเป็นระเบียบ ก็จะมีการตีเส้น ทำให้คน เป็นระเบียบ 3. ระบบนิเวศที่อยู่รอบตัวองค์การ องค์กรต้องมีเครือข่ายกับบุคคล/องค์กรอื่น ๆ ถึงจะยกมา เป็นแหล่งเรียนรู้/องค์กรต้นแบบได้ ต้องมีอิทธิพลต่อคนรอบ ๆ สามารถร่วมมือในการนำแนวคิดไป ขยายผลต่อ ไม่ได้ทำเพียงคนเดียวแต่คนรอบ ๆ ข้างก็ต้องทำด้วย หากองค์กรใดมีองค์ประกอบครบ 3 อย่างนี้ องค์กรนั้นถึงสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป ได้ การเป็นแหล่งเรียนรู้มีรายละเอียดมากขึ้น ประเด็นที่ควรพิจารณามีดังนี้ 1. ความรู้ที่ใช้ในการถ่ายทอด ต้องจับต้องได้ มีแบบอย่างความสำเร็จ ได้จากการปฏิบัติ มี ผลกระทบต่อคนอื่น/สิ่งแวดล้อมได้ เป็นศูนย์การเรียนรู้เป็นแหล่งปฏิบัติ เป็นฐานความรู้ในประชาชน เข้ามาเรียนรู้ได้ 2. ศูนย์ฯ ต้องมีผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งคนถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร ควรเป็น บุคคลที่มีประสบการณ์จริงที่ประสบความสำเร็จได้ผลดีกว่า ซึ่งความรู้จากผู้ปฏิบัติจริงนี้ควรยกมาเป็น จุดยืนของศูนย์ฯ แล้วนักวิชาการค่อยนำกรอบทางวิชาการมาจับในภายหลัง 3. เครื่องมือ/สื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน จำเป็น ต้องเหมาะสมกับองค์กรนั้น ๆ ต้อง เป็นวิธีการสอนที่ทำให้ความรู้อยู่ในความทรงจำของผู้ใช้ที่มาเรียนรู้ ทำให้เกิดประโยชน์ องค์ความรู้ที่มี ในศูนย์ควรถูกพัฒนาเป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น เช่น poster banner video clip 4. สถานที่ ศูนย์ฯ ต้องมีบรรยากาศ สัปปายะ สะดวกปลอดภัย สร้างการเรี ยนรู้ได้ทั้งหมด มี บรรยากาศที่เอื้อให้คนอยากพูดคุย เช่น มีสวน มีต้นไม้ ดีกว่ามีแต่ปูน เช่น ลานกิจกรรม แปลงปลูกผัก

35

ลานฟังธรรม เพราะฉะนั้นต้องดูว่าพื้นที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมของศูนย์ฯ เอื้อให้คนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ที่สุด

กระบวนการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร องค์กรสุขภาวะ เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรสามารถทำได้ แต่ถ้ายกเป็นแหล่งเรียนรู้ต้องพิจารณาว่า มี องค์กรใดอยู่ในเครือข่ายบ้าง ขับเคลื่อนประเด็นใด องค์กรใดที่สามารถยกระดับได้ ซึ่งบุคคลในเครือข่าย (แม่ข่าย) จะมีบทบาทสำคัญกับ สสส. ในการพิจารณาหาศูนย์ต้นแบบ โดยให้แม่ข่าย/ผู้รับทุนจาก สสส./ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาวะในบริบทต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมกันว่าองค์กรใดในเครือข่ายมีศักยภาพที่ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาวะ โดย สสส. อาจกำหนดเกณฑ์การพิจารณาร่วมกันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุก ๆ ฝ่ายหรือใช้แนวทางการจัดประเภทขององค์กรคุณธรรมที่แบ่งองค์กรเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับ ส่งเสริม 2) ระดับมาตรฐาน 3) ระดับต้นแบบ และถ้าองค์กรใดสามารถพัฒนาได้มากกว่า 3 ระดับ กล่าวคือ องค์กรที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ มีผู้ให้ความรู้ได้ มีบรรยาย/ สถานที่เอื้ออำนวย ก็พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ต่อไป หรือผลักดันนำองค์กรที่อยู่ในระดับ 3 (องค์กร ต้นแบบ) ที่มีความสนใจที่ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ศูนย์การเรียนรู้ ให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ต่อไป ซึ่งศูนย์เรียนรู้ฯ ไม่จำเป็นต้องทำ H8 ได้ครบทั้ง 8 ตัว สามารถดำเนินการเฉพาะประเด็นที่องค์กรโดด เด่น/เนื้อหาที่ทำสำเร็จ เนื่องจากแต่ละศูนย์ฯ ประสบความสำเร็จไม่เท่ากัน ไม่สามารถเปรียบเทียบกัน ได้ เพราะบางองค์กรมีปัญหา/ข้อจำกัดที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ การที่กำหนดให้ต้นแบบ/แหล่งเรียนรู้ ต ้ อง สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ทำให้ผู้รับทุนเกิดปัญหาหาก สสส. ถอนตัวออกไป ถ้าองค์การนั้นยังไม่ได้เป็น ศูนย์การเรียนรู้ที่แท้จริง ผู้รับทุนอาจต้องล้มเลิกโครงการที่ทำไปหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานไป ตามแหล่งทุนใหม่ ดังนั้น ในการพิจารณาองค์กรที่จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรพิจารณาอย่างละเอียดถึง ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง หรือ สสส. อาจมีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง 5-10 ปี การให้ทุนต่าง ๆ อาจออกแบบให้ผู้รับทุนสามารถหารายได้หรือสร้างทุนขึ้นมาเองได้ ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน นางสาวศิริรัตน์ เอี่ยมประไพ นางสาวสุภสร อยู่วรรณกุล วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564

36

9

มุมมองของคุณรัชดาพร จันทบุตร ศูนย์อนามัย 10 จังหวัดอุบลราชธานี

การดำเนินงานที่ผ่านมา ศู น ย์ อนามั ย 10 เป็ น หน่ ว ยงานของกรมอนามั ย ที ่ ม ุ ่ ง สร้ า งระบบส่ ง เสริ ม สุ ขภาวะให้ กั บ คนทุกกลุ่มวัย และการสร้างอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุม 5 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน และการส่งเสริมสุขอนามัยในที่ทำงาน (happy workplace) และการป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงาน โดยมีสถานประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ ประมาณ 8,800 แห่ง มีสถานประกอบการที่ร่วมดำเนินการกับศูนย์อนามัย 10 ประมาณ 30 แห่ง และ เป็นสถานประกอบการต้นแบบ 5 แห่ง ศูนย์อนามัย 10 จึงเป็นเสมือนตัวกลางที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ของกรมอนามั ยสู่ระดับพื้นที่คือ สถานประกอบการ โดยใช้ 10 ชุดกิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพของกรมอนามัยมาดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง การนำ 10 ชุดกิจกรรม ของกรมอนามัยมาสู่การปฏิบัติจำแนกเป็น 2 ส่วน คือการสร้างชุด ความรู้และชุดกิจกรรมมาสู่ระดับต่าง ๆ

ขั้นตอนการดำเนินการ 1. การวิเคราะห์นโยบายของกรมอนามัย เนื่องจากศูนย์อนามัย 10 เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด กรมอนามัย การกำหนดนโยบายหลักจึงขึ้นอยู่กับนโยบายของกรมอนามัย ซึง่ มีนโยบายในการสร้าง 10 ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย หุ่นดี สุขภาพดี, จิตสดใส ใจเป็นสุข, ครอบครัวสดใส ใส่ใจดูแล, สุดยอดคุณ แม่, เตรียมเกษียณอย่างมีคุณค่า พาชีวายืนยาว, พิชิตออฟฟิศซินโดรม, สถานประกอบการก้าวไกล ต้อง ใส่ใจแรงงานต่างชาติ, สถานประกอบการดี ชีวีสดใส ไร้แอลกอฮอล์ บุหรี่, โรงอาหารปลอดภัย ใส่ใจ สุขภาพ และสถานประกอบการปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี มีสมดุลชีวิต โดยในแต่ละแพคเกจ มีแนวทาง ปฏิบัติและเป้าหมายการดำเนินงานโดยสังเขปไว้ หน้าที่ของศูนย์คือการวิเคราะห์นโยบายเหล่านั้นเพื่อให้เข้าใจถึงเจตานารมณ์และความมุ่ง หมายของแต่ละชุดกิจกรรม สามารถนำไปขยายผลการดำเนินงานต่อไป 2. การจัดทำชุดความรู้และชุดกิจกรรม ที่สอดคล้องกับ 10 ชุดกิจกรรม ดังกล่าว เป็นการถอด หลักการหรือนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จริง โดยศูนย์จะต้องออกแบบกิจกรรมให้หลากหลาย เพื่อให้ หน่วยงานที่สนใจนำไปใช้หรือการจัดกิจกรรมด้วยศูนย์เองมีประสิทธิภาพ เหมาะสมผู้เข้ารับบริการ 3. การประเมินระดับความเสี่ยงของสุขภาวะในที่ทำงานของสถานประกอบการในพื้นที่ มีการ ประเมินที่ให้สถานประกอบการประเมินตนเองและการลงตรวจเยี่ยมในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง

37

ต่าง ๆ โดยเน้นหนักที่การดูแลสุขภาวะของผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ ว่ามีคุณภาพชีวิตดีหรือไม่ และมีประเด็นใดที่จะต้องพัฒนาปรับปรุง 4. กำหนดพื้นที่ดำเนินการและการสร้างแกนนำให้ความรู้ในสถานประกอบการ เมื่อนำข้อมูลที่ ได้จากการตรวจ ติดตาม และการรายงานผลการประเมินตนเองของแต่ละสถานประกอบการ ก้าวต่อไป คือการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ตัวอย่างที่จะต้องทำงานร่วมกับสถานประกอบการ เพื่อเป็นเป้าหมายใน การทำงานของศูนย์ โดยขอความร่วมมือและพิจารณาถึงความตระหนักของผู้ บริหาร เพราะหากเป็น สถานประกอบการที่ผู้บริหารไม่สนใจในเรื่องสุขภาวะภายในองค์กรย่อมไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น เมื่อเลือกเป้าหมายเชิงพื้นที่แล้ว จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริหารขององค์กร 5. การสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับแกนนำและบุคลากร โดยมีหลักการว่าแกนนำและ บุคลากรต้องเป็นต้นแบบในองค์กรก่อน ต้องสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (health literacy) และสร้าง ความตระหนักให้แกนนำและบุคลากรให้เห็นความสำคัญ เมื่อเรานำบุคลากรมาอบรมแล้ว ต้องหา บุคลากรที่มีความตั้งใจและมีศักยภาพเข้ามาเป็นแกนนำในการทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่าง สถานประกอบการกับศูนย์ 6. การสร้ า งความร่ ว มมื อระหว่ า งภาคี ที ่ ไม่ ได้ รั บผิ ด ชอบด้ า นสุ ขภาพโดยตรง อาทิ กรม สวัสดิการแรงงาน สำนักงานประกันสังคม สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อให้สถานประกอบการ เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงาน

บทบาทของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ 1. การสร้างเครือข่ายในสถานประกอบการ มีแกนนำที่อยู่ในสถานประกอบการในการรวบรวม ข้อมูล ความต้องการ ปัญหา อุปสรรคในการทำงานในสถานประกอบการ ต้องมีการพัฒนาแกนนำ เหล่านี้ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการทำงาน 2. การประสานงานกับเครือข่ายหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ หน่วยงานของกระทรวงแรงงาน ซึ่ง เป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ที่รับผิดชอบในการดำเนินงานเรื่อ งสวัสดิการ คุณภาพชีวิต และการจัดการ แรงงานในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมอนามัย ดังนั้น เราต้องหาพันธมิตรในการ ดำเนินงานกับหน่วยงานที่มีเป้าหมายเดียวกันมาร่วมดำเนินการ

อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร มุ่งเน้นพัฒนาให้ศูนย์การเรียนรู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่เด่นชัดเพื่อให้เกิดทักษะเฉพาะ และเป็นจุดแข็งของแต่ละศูนย์ พร้อมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยมีทีมงานที่เข้าใจบทบาท เป้าหมายและมีประสบการณ์ด้านสุขภาวะองค์กรอย่างแท้จริงคอยสนับสนุน และบุคลากรต้องได้รับการ

38

พัฒนาและศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและได้รับการฝึกฝนทดลองเป็นวิทยากรในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาวะองค์กรอย่างต่อเนื่อง จะได้เกิดความมั่นใจและเป็นมืออาชีพ

โอกาสในการดำเนินงาน 1. การดำเนิ น งานในช่ ว งที ่ ม ีการแพร่ระบาดของเชื ้ อไวรั สโคโรนา 2019 เป็ น โอกาสที่ดี เนื่องจากสถานประกอบการจะตระหนักในความสำคัญของการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการ รักษาสุขอนามัยของบุคลากรในสถานประกอบการ จึงเป็นโอกาสในการดำเนินงานที่ดีของศูนย์เรียนรู้ 2. การดำเนินงานภายใต้โครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 จังหวัด ที่มีการบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมความ ปลอดภัย ดังนั้น หากในอนาคตมีศูนย์บริหารจัดการด้านการส่งเสริมสุขภาวะที่เป็นเอกภาพในระดับ พื้นที่ย่อมทำให้ เกิด ความสำเร็ จในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นศูนย์กลางในการ ดำเนินงาน

ปัจจัยความสำเร็จ 1. นโยบายที่ชัดเจนของกรมอนามัย ที่มุ่งเน้นการสร้างสุขภาวะด้วยการสร้าง 10 ชุดกิจกรรม 2. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ดีในพื้นที่ โดยไม่มีการกำหนดว่าใครเป็นเจ้า ภาพ เนื่องจาก ต้องสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน 3. ผู้บริหารในสถานประกอบการที่เป็นศูนย์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญ 4. แกนนำในสถานประกอบการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งโดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบท และวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละหน่วยงาน

ลักษณะศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะองค์กรที่พึงประสงค์ ควรเป็นศูนย์รวมความรู้ one stop service ที่สามารถให้ข้อมูลถามมาตอบไปได้ แบบรวดเร็ว (real time) โดยมีลักษณะการดำเนินงาน รายละเอียด ดังนี้ 1. มีการส่งเสริมเครือข่ายด้านสุขภาวะในสถานประกอบการและการสร้างแกนนำในสถาน ประกอบการให้เป็นบุคคลต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างโมเดลต้นแบบเรื่องสุขภาวะในสถาน ประกอบการและในโรงงาน เช่น การทำโรงอาหารปลอดภัย การออกกำลังกาย การสร้างสุขภาพวัย ทำงาน เป็นต้น มีฐานข้อมูลทางวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพที่พร้อมให้บริการแก่หน่วยงาน/ภาคี เครือข่ายต่าง ๆ และเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ในการทำงานที่เป็นมาตรฐานทางวิชาชีพ 2. มีแกนนำในสถานประกอบการที่มีความเข้มแข็ง มีกลยุทธ์ในการประสานงานที่ดี มีการ ทำงานที่ต่อเนื่อง/เข้าใจบริบทเชิงพื้นที่

39

3. มีบุคลากรทำงานร่วมกันเป็นทีมที่รู้และเข้าใจกัน 4. มีระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย 5. ผู้นำขององค์กรมีนโยบายและกลยุทธ์เชิงรุกด้านสุขภาพและความมั่นคงทางการเงิน/ ครอบครัวและสังคม

กระบวนการการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร การดำเนินงานของ สสส. ควรมีกระบวนการในการสร้างศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. ระดับนโยบายต้องให้ความสำคัญและผลักดันให้ผู้บริ หารระดับ สูงให้ ความสำคัญ และ สนับสนุนพร้อมทั้งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมในเชิงพื้นที่อย่างจริงจัง 2. ฝ่ายสนับสนุนต้องจัดสรรและส่งเสริมช่วยเหลือเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ ให้เกิดความรับรู้ในวงกว้างเพิ่มขึ้น โดยปรับรูปแบบสื่อ อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ เป็นต้น 3. ภารกิจด้านสุขภาวะองค์กรต้ องสนับสนุนและสอดรับกับเป้าหมายผลผลิตของหน่วยงาน เครือข่าย เพื่อส่งผลให้เกิดการสานพลังและเกิดความสำเร็จร่วมกัน 4. เน้นการทำงานเชิงรุกและพร้อมประสานวิสาหกิจในพื้นที่และอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับสำนัก 8 5. เนื่องจากสถานการณ์โควิ ด-19 ทำให้การจัดกิจกรรมที่มารวมตัวกันไม่สามารถจัดได้ ทาง ศูนย์ฯ จึงออกแบบแพลตฟอร์มการสร้างเครือข่ายและการจัดกิจกรรมทางออนไลน์แทน ทำให้ต้อง ปรับเปลี่ยนตารางการทำงานใหม่ ให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาและบุคคล

ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการดำเนินโครงการเป็นส่วนหนึ่งของงานหลักของหน่วยงานให้ชัดเจน นอกจากนี้ยัง เป็นกลไกการส่งเสริมการทำงานที่ทำให้เกิดการยอมรับจากสมาชิกในหน่วยงานนี้ว่าเป็นการทำงานหลัก ให้หน่วยงาน ไม่ใช่งานเสริม 2. ควรมีการ MOU มาที่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในงาน สสส. ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ได้นวัตกรรมเชิงพื้นที่มากขึ้น นางสุภาพร เทียมบุญประเสริฐ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

40

10

มุมมองของคุณอังคณา ภิญโญกุล มูลนิธิเครื่องนุ่งห่มไทย

ลักษณะศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะองค์กรที่พึงประสงค์ ลักษณะตัวชี้วัดคุณลักษณะตามที่กำหนดเป็นไปได้หมด แต่การที่จะทำจริงให้เกิดผล ทำได้ยาก ระดับเริ่มต้นของศูนย์เรียนรู้ หลาย ๆ องค์กร ประสบปัญหาในการเข้าถึงกัน ปัจจุบันการประชุม ออนไลน์แพลตฟอร์มมีความจำเป็น การเตรียมคน คือ การเป็นศูนย์เรียนรู้ควรมีคนจำนวนเท่าใดจึงจะ ถือว่าเพียงพอ ควรมีอะไรที่เป็นพื้นฐานที่สามารถบอกได้ว่านี่คือศูนย์เรียนรู้ ทำอย่างไรจึงจะเป็นศูนย์ เรียนรู้ได้ พื้นที่ในการทำอยากให้ มี ความชัด เจน และอยากให้มี การสนับสนุน และต้องได้รั บ การ สนับสนุนจากผู้บริหาร ศูนย์เรียนรู้ในบริษัท ผู้บริหารต้องทำจริง และตั้งใจ ทีมงาน ต้องเป็นคนที่มี อำนาจในการ บริหารงาน คนที่สามารถควบคุมคนส่วนใหญ่ได้ คนที่สามารถบริหารจัดการคนได้ คนที่เข้าถึงคนมาก ที่สุด คือคนหลักในการขับเคลื่อน ต้องเป็นคนที่มีใจรัก เป็นผู้ให้ มีความรักในงาน รักในองค์กรที่อยู่ ไม่ใช่การทำงานเฉพาะในกลุม่ HR ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ หรือข้อมูลทางสถิติ คนกลุ่มนี้ไม่สามารถขับเคลือ่ น ได้ ระบบบริหารจัดการศูนย์ควรมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถเข้าใจได้ง่าย การเป็นศูนย์เรียนรู้ในวัฒนธรรมองค์กร คนมีความสุข งานต้องสำเร็จ คนก็ต้องการเงินมาใช้ ของตนเอง องค์กรก็ต้องการกำไร คนอยู่รอด บริษัทอยู่รอด คนต้องมีความเข้าใจ หาคนที่ช่วยขับเคลื่อน ขับเคลื่อนทางด้านจิตใจ เมื่อเกิดคำถาม เกิดความท้อสำหรับคนไม่เห็นด้ วย เพื่อมาพูดคุยให้มีความรู้ ความเข้าใจให้เป็นไปในทางเดียวกัน งบประมาณขึ ้ น อยู ่ ก ั บ การประยุ ก ต์ ใ ช้ องค์ ก รมี ก ารระดมทุ น ภายใน การทำ Happy workplace ใช้งบประมาณมาก แต่บางแห่งไม่ใช้เงินมาก เอกสารความรู้หรือข้อมูลต่างในเว็บไซต์ของสำนัก 8 เกี่ยวกับการทำงานของภาคีเครือข่าย แต่ละแห่ง สามารถทำให้มีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น

กระบวนการการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร การทำเครือข่ายเริ่มจากการทำในบุคคลก่อน เช่น การทำกับ การสร้างคนต้นแบบ ทำให้ บุคลากรมีจิตสาธารณะ ถ้าเราเอาคนกลุ่มนี้มาอบรม มีจิตสาธารณะ มีองค์ความรู้ แล้วเชิญบุคลากรมา เป็นวิทยากร การที่ บุคลากรได้มาการแสดงความสามารถของตัวเอง พอเชิญครั้งที่ 1 ก็จะมีครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะมีการต่อยอดกลุ่มศูนย์เรียนรู้ไปได้ต่อเนื่อง และขยายใหญ่ขึ้นไปแบบทวีคูณ

41

จุดเริ่มต้นควรมาจากเครือข่ายบุคคล พอบุคคลมาทำเป็นองค์กร องค์กรก็จะเป็นเครือข่าย ขยายงานต่ อ ไป การดำเนิ น งานควรประสานกั บ ผู้ บ ริ ห าร ทำให้ ม ี เ ครื อ ข่ า ยมากขึ ้ น แต่ บ างแห่ ง หากผู้บริหารไม่เห็นด้วยการ ก็ดำเนินการได้ยาก ถ้าทำให้เครือข่ายยั่งยืน ควรมีการทำสัญญาข้อตกลงเบื้องต้นก่อน เหมือนกับทำ MOU ร่วมกัน ให้เป็นที่รับรู้ของผู้บริหารในเบื้องต้น หากมีต้องขออนุญาตคนในองค์กรมาให้ความรู้ หรือทำกิจกรรมใด จะสามารถออกมาทำงานนอกองค์กรได้ง่ายตามข้อตกลง ถ้ามาทำสัญญาทีหลัง อาจจะทำให้พนักงานไม่ สนใจเท่าที่ควร อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 1. คิดบวก ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ให้อยู่ในฐานของการคิดแก้ไขแบบคิดทางบวก 2. มีใจรัก และมีใจที่ต้องการแบ่งปัน 3. การมีวัฒนธรรมในลักษณะของครอบครัว ในองค์ กร การใช้ชีวิตของคนทำงานอยู่รอด ความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขกายสุขใจ ในส่วนขององค์กรหรือบริษัทก็สามารถอยู่รอดได้เช่นกัน นางสุภาพร เทียมบุญประเสริฐ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564

42

11

มุมมองของคุณยุพาภรณ์ ตันติจิตรอารีย์ สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมไทย

ลักษณะศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะองค์กรที่พึงประสงค์ คาดหวั ง ศู น ย์ เรี ย นรู ้ องค์ กรสุ ขภาวะที ่ เป็ น ลั กษณะ Virtual Health Center กล่ า วคื อใช้ เทคโนโลยีการเข้าถึงศูนย์เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ แทนการเข้าไปเยี่ยมชมยังสถานที่จริง ซึ่งจะตอบ โจทย์ในช่วงโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี การเข้ า ไปเยี ่ ย มชมสถานประกอบการณ์ หรื อสถานที ่ ในปั จ จุ บ ั น ช่ ว งนี ้ ค่ อนข้ า งลำบาก ปัจจุบันเว็บของสำนัก 8 ก็มีข้อมูลให้ความรู้มากมาย และอาจนำองค์ความรู้จากที่ต่าง ๆ ในภาคี เครือข่ายมาใส่ในเว็บไซต์ของสำนัก 8 เพื่อเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้ ศูนย์เรียนรู้ฯ ต้องมีแกนนำองค์กรสุขภาวะในองค์กรและพร้อมจะถ่ายทอดประสบการณ์ และ องค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะของตนให้แก่องค์กรอื่นๆได้เรียนรู้ และต่อยอดได้ เครือข่าย น่าจะมีคนที่มีจิตอาสา มีวัฒนธรรมองค์กรถึงแม้ไม่มีทุนก็ต้องให้มีการทำต่อไป มีการ รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน และควรเปิดกว้าง ยอมรับ มีการขยายตัวไปยังสถานที่อื่น ๆ วิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารระดับสูง ต้องเห็นด้วย การขับเคลื่อนจะเป็นไปได้สูง การ ขับเคลื่อนของ Happy workplace จะเป็นไปได้มาก ประสบการณ์ แ ละความสำเร็ จ ตามบริ บ ทของบริ ษ ั ท นั ้ น ๆ รู ป แบบของแต่ ล ะองค์ กรไม่ เหมือนกัน แต่ละบริษัทมีจุดแข็งที่ไม่เหมือนกัน ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละบริษัท

กระบวนการการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายสุขภาวะในองค์กร เห็นว่าจากสถานการณ์โควิด -19 ในปัจจุบันควรเน้นการสร้าง Virtual Health Center หรือ ศูนย์เรียนรู้แบบออนไลน์ ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งทางสำนัก 8 มีการจัดทำเว็บไซต์ Happy Workplace อยู่แล้วก็ สามารถเป็นช่องทางหนึ่งที่รวบรวมศูนย์เรียนรู้แบบ Virtual ไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าว เพื่อให้องค์กรอื่น ๆ ที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ข้อมูลการพัฒนาองค์กรสุขภาวะจากศูนย์เรียนรู้แต่ละแห่งที่ได้แชร์ข้อมูล เอาไว้ เพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลไปต่อยอดในองค์กรของตนเอง ลดความเสี่ยงในการเข้าไปเยี่ยมชม ยังสถานที่จริง ซึ่งปัจจุบัน สถานประกอบการก็ไม่สะดวกที่จะเปิดเป็นลักษณะสาธารณะให้มีเข้าไปเยี่ยม ชม ดังนั้นการจัดทำศูนย์เรียนรู้แบบ Virtual จึงตอบโจทย์อย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ในปั จ จุ บ ั น ถื อว่ า ใช้ ว ิ กฤติ ให้ เป็ น โอกาส โดยส่ ว นตั ว เห็ น ว่ า เครื อข่ า ยจากเดิ ม อาจมี การ ติดต่อสื่อสารกันน้อยลงเนื่องจากถ้าพื้นที่ที่อยู่ไกลก็จะมีการพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันน้อย ได้เจอกัน

43

เฉพาะในพื้นที่ไม่ไกลมาก แต่ปัจจุบันที่สถานการณ์แบบนี้ทำให้เราได้พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาก ขึ้น ระยะทางไกลก็สามารถติดต่อการได้ผ่านทางออนไลน์ ล่าสุด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้ ควรมีรูปแบบองค์กรที่เป็นศูนย์รวม องค์กร หรือกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายไว้ด้วยกันจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันตามที่สำนัก 8 ได้ทำโครงการ ร่ ว มกั บ ทางสมาคมธุ รกิ จต่าง ๆ สภาอุ ต สาหกรรมฯ สภาหอการค้า ฯลฯ ซึ ่ ง เป็นรู ปแบบตัวคูณที่ เหมาะสม เพื่อขยายเครือข่ายไปยังวงกว้าง และเกิดผลกระทบในวงกว้างต่อไป นางสุภาพร เทียมบุญประเสริฐ

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564

44

12

มุมมองของ ผศ.วัลยา ดูพานิช วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์

การดำเนินงานที่ผ่านมาของวิทยาลัยพยาบาล วิ ท ยาลั ย พยาบาลเกื ้ อ การุ ณ ย์ เป็ น สถาบั น การศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาอยู ่ ภ ายใต้ ส ั ง กัด กรุงเทพมหานคร ที่มุ่งผลิตบุคลากรทางสาธารณสุขประเภทพยาบาลเพื่อให้เข้าทำงานกับโรงพยาบาล ของกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลอื่น ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือการปฏิบัติงานในศูนย์ อนามัยในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาวิทยาลัยมีการดำเนินการในการจัดส่งนักศึกษาพยาบาลไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ซึ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญที่เป็นกำลังในการทำงานร่วมกับประชาชนในชุมชนเพื่อสร้างสุขภาวะใน ภาพรวม วิทยาลัยดำเนินการในสร้างสุขภาวะในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับวิทยาลัยที่มีบริบท เป็ นชุ มชนเมื อง แต่ ประชาชนที ่ อยู ่ ในพื ้ นที่ ม ั กเป็ นประชาชนที ่ อ ยู ่อาศั ยมาเป็ นเวลานานและมีความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน โดยมากกลุ่มเป้าหมายหลักในการดำเนินการมักเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้าน

ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะในชุมชน การขับเคลื่ อนงานด้านสุ ขภาวะในชุ มชน จากประสบการณ์การดำเนินงานที่ผ ่านมาของ วิทยาลัยที่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1. นักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัย ที่ทำหน้าที่การเป็นนักส่งเสริมสุขภาพ (health promoter) ที่สำคัญในชุมชน เป็นเสมือนกลไกในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งการทำงานในพื้นที่ในนามของวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษานั้น ทำให้นักศึกษาได้รับการยอมรับ และสร้างความน่าเชื่อถือในการดำเนินงาน 2. ความต่อเนื่องสอดคล้องของการดำเนินงาน วิทยาลัยวางแผนการดำเนินงานในแต่ละชั้นปี ให้มีความสอดคล้องต่อเนื่อง โดยกำหนดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ให้มีองค์ความรู้เ บื้องต้น โดยกำหนดให้ เรียนรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนเมือง ปีที่ 3 มีการปฏิบัติงานในชุมชน และปีที่ 4 มีการวินิจฉัยชุมชน ดังนั้นการดำเนินงานของนักศึกษาจะต้องต่อเนื่องในพื้นที่ 3. การสร้างความร่วมมือกับชุมชน วิทยาลัยทำหน้าที่เสมือนเป็นแม่ข่ายในการดำเนินงาน โดย มีหน่วยในพื้นที่เป็นศูนย์อนามัย หรือคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่ในการ “วิเคราะห์พื้นที่และชี้เป้า” เพื่อให้การขับเคลื่อนตรงกับปัญหาหรือความต้องการในพื้นที่

45

4. ฐานข้อมูล เป็นฐานข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ การดำเนินการ และการวินิ จฉัยชุมชนของ นั กศึ กษา ซึ ่ ง เป็ น พื ้ น ฐานในการดำเนิ นงานของนั กศึ กษาและวิ ท ยาลั ย เป็ น ข้ อมู ล ที ่ เกี ่ ย วข้ องกับ สถานการณ์ด้านสุขภาวะของคนในชุมชน 5. งบประมาณในการดำเนิ น การ ได้ ร ั บ งบประมาณสนั บ สนุ น จากวิ ท ยาลั ย และจาก กรุงเทพมหานคร 6. การแบ่งปันผลประโยชน์ การดำเนินงานในชุมชน จะต้องสร้างประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน ในกรณีการดำเนินงานของวิทยาลัย เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่ให้กรรมการชุมชนและคนในชุมชน สามารถขึ้นทะเบียนเข้ารับการพยาบาลจากสถานพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ภายใต้การดูแลกับ วิทยาลัย 7. การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการ ส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนโดยวิทยาลัย ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง 6 ส่วน ดังนี้ ศูนย์อนามัย วิทยาลัย

มหาวิทยาลัย

การ เสริมสร้าง สุขภาวะ ผู้นาชุมชน

ชุมชน นักศึกษา

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. สร้างองค์ความรู้ในวิทยาลัย โดยพัฒนารายวิชา การวิจัย หรือองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อให้นักศึกษาในฐานะที่เป็นแกนนำในการดำเนินงานในชุมชนได้มีเครื่องมือและ องค์ความรู้พื้นฐานเพียงพอในการดำเนินการ

46

2. กำหนดพื้นที่เป้าหมาย โดยร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ และฐานข้อมูลที่ได้จากการ วินิจฉัยเพื่อร่วมกันกำหนดพื้นที่เป้าหมายและประเด็นการดำเนินนการที่ตอบสนองต่อปัญหา ความ ต้องการ และความคาดหวังของคนในพื้นที่ 3. ขยายพื้นที่ เมื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการแล้ว วิทยาลัยได้กำหนดแนว ทางการดำเนินงานและตามนโยบายของผู้บริหารวิทยาลัยที่มุ่งขยายผลไปยังชุมชนอื่น และนำบทเรียนที่ ได้จากการดำเนินงานที่ผ่านมา มากำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานในชุมชนต่อไป

ปัญหาที่ประสบในการดำเนินงาน 1. การดำเนินงานที่ผ่านมา บางครั้งยังพบว่า การขาดความต่อเนื่อง และขาดการแลกเปลี่ยน ส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินงานในแต่ละปีการศึกษา นักศึกษาต้องเก็บข้อมูลและ วินิจฉัยชุมชนใหม่ ทั้งนี้ เป็นการฝึกฝนนักศึกษาในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ย่อมทำให้ชุมชนต้องให้ข้อมูล บ่อย ๆ ซึ่งหากมีการส่งต่อข้อมูลระหว่างกันและระหว่างชั้นปี น่าจะขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะได้อย่าง มีประสิทธิภาพ 2. การขับเคลื่อนผ่านศูนย์อนามัยหรือหน่วยงานด้านสุขภาพในชุมชนที่ผ่านมา พบว่า ศูนย์ อนามัยชุมชนนั้น มักมีภารกิจด้านอื่นมากและมักเป็นนโยบายที่มีความเร่งด่วน จึงทำให้การดำเนินการ อาจเกิดความไม่ต่อเนื่อง 3. ลักษณะประชากรในกรุงเทพมหานครมีความหลากหลายอย่างมาก เนื่องจากมีทั้งประชากร ที่อยู่อาศัยในพื้นที่มานาน ย้ายที่อยู่อาศัยมาเพื่อทำงาน และกลุ่มประชากรแฝงที่ไม่มีที่พักเป็นหลัก แหล่ง และมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาวะที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นจะต้องใช้แนวทางการสร้างเสริมสุข ภาวะที่มีความหลากหลาย

โอกาสในการขับเคลื่อนในอนาคต 1. การวางระบบเพื่อต่อยอดในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างชั้นปีต่าง ๆ ของวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องดำเนินการและเกิดการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาวะในชุมชนในเชิงลึกมากขึ้น 2. วิทยาลัยมีจุดเน้นในการเสริมสร้างสุขภาพของคนเมือง ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญสำหรับคนเมือง เหล่านั้นมีการออกแบบรายวิชาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพคนเมืองโดยเฉพาะ และให้นักศึกษาได้เรียนรู้องค์ ความรู้เหล่านี้ ซึ่งเป็นโอกาสดีในการต่อยอดการดำเนินงานในส่วนนี้ต่อไป โดยมีกลุ่ม เป้าหมายในการ ดำเนินการในชุมชน 3 ลักษณะ ประกอบด้วย ชุมชนแออัด ชุมชนตึกสูง และชุมชนที่เป็นหมู่บ้าน เพื่อให้ ดำเนินการครอบคลุมทุกช่วงวัย

47

3. วิทยาลัยเป็นสถาบันที่อยู่ในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษที่มีทรัพยากรในการดำเนินงาน และมีหน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบภารกิจที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ดีในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการขยายผลการสร้างสุขภาวะในชุมชนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ.กฤดิญาดา เกื้อวงศ์ นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

48

13

มุมมองของ ดร.พิทักษ์ โสตยาคม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

เป้าหมายในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน การดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะให้กับประชาชน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะการ พัฒนาสุขภาวะของคนแต่ละคนในพื้นที่ต่าง ๆ นั้น เกี่ยวข้องสัมพันธ์ในทุกมิติทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข และอื่น ๆ ซึ่งหากต้องการตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ เรา จำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินการ

หลักการในการขับเคลื่อนการดำเนินการ การขับเคลื่อนโครงการในระดับพื้นที่จากบทเรียนการขับเคลื่อนที่ผ่านมา พบว่าที่ผ่านมาขาด ความยั่งยืน เนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิ แกนนำในพื้นที่ชุมชนยุติการดำเนินงาน บุคลากรในหน่วยงาน ส่วนกลางไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ หรือผู้นำองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสำคัญกับ นโยบายที่มีอยู่ เดิม การขั บ เคลื ่ อ นภารกิ จ ให้ เ กิ ด ความยั ่ ง ยื น จึ ง จำเป็ น ต้ อ งวางอยู ่ บ นพื ้ น ฐาน 3 หลั ก การ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ ่นที่ เข้ามามีส่วนร่ว มในการดำเนินการร่ว มกันตั้ง แต่ การกำหนด เป้าหมาย การดำเนินการ และการติดตามผล หลักการต่อมาคือความมีอิสระในการจัดการตนเองในระดับพื้นที่ การพิจารณาพื้นที่นั้น อาจ พิจารณาจากพื้นที่จังหวัดเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อน โดยแต่ละจังหวัดต้องมีแนวทางการบริ หาร จัดการที่เหมาะสม ควรมีกลไกในการดำเนินงานที่บูรณาการร่วมกันในจังหวัด อาจอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีนโยบาย แนวทางและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนตั้งแต่ระยะสั้น กลาง และยาว และให้อิสระกับแต่ละพื้นที่ชุมชนสามารถออกแบบกลไกการดำเนินงานได้เองเพื่อขับเคลื่อน ภารกิจภายใต้เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน หลักการสุดท้าย คือ หลักการขับเคลื่อนโดยใช้ความรู้พื้นฐาน ในจังหวัดจำเป็นจะต้องมีหน่วย ที่ทำหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ และส่งเสริม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้และการต่อยอด ความรู้ระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่ บทเรียนที่ได้จากการขับเคลื่อนเหล่านี้จะเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ ใช้เป็นฐานหรือเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนต่อไป

49

วิธีการ กาหนดเป้าหมายร่วมกัน แผนระยะสั้น-กลาง-ยาว กาหนดภาคีที่เกี่ยวข้อง มีหน่วยนโยบายระดับจังหวัด มีหน่วยปฏิบัติการประสานงาน มีหน่วยจัดการความรู้ในพื้นที่ สร้างแกนนาระดับชุมชน ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ สร้างแรงจูงใจในการทางาน การระดมทรัพยากรที่พึ่งตนเอง

หลักการ การมีส่วนร่วมของพื้นที่ อิสระในการจัดการพื้นที่ ขับเคลื่อนโดยใช้ความรู้เป็นฐาน

เป้าหมาย การส่งเสริมสุขภาวะของคนใน พื้นที่ที่ครอบคลุมทุกมิติ

วิธีการขับเคลื่อนการดำเนินการ การขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้หลักการในการดำเนินงานทั้ง 3 หลักการ นำมาสู่วิธีการใน การขับเคลื่อน 10 ประการ ประกอบด้วย 1. การกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงาน การออกแบบเป้าหมายนั้น จะต้องมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน อาจมาระดมความคิดด้วยกัน แล้วให้รู้สึกว่าประเด็นที่ตั้งเป้าหมาย รู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่วมที่เรา มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องร่วมกันผลักดัน ต้องเป็นภาพของการทำเพื่อส่วนรวม เป็ นเจ้าของร่วมกันในการ เคลื่อนสุขภาวะของคน ทั้ง สาธารณสุข การศึกษา การศึกษา อนามัย ต้องพัฒนาร่วมกันได้ 2. การจัดทำแผนระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมี เป้าหมายร่วมกันแล้ว ควรมีแผนการดำเนินงานทั้งในระยะสั้น และระยะยาวที่ชัดเจน ในกรณีพื้นที่นวัตกรรม ทางการศึกษากำหนดระยะเวลาประมาณ 7 ปีที่กำหนดให้ ถ้าเราทำเป็นโครงการย่อย ๆ จะไม่เกิดผลกระทบ ในระดับพื้นที่ ถ้าต้องการที่จะทำให้การทำงานในระดับพื้นที่ ต้องมองในเชิงพื้นที่ ต้องเสนอในเชิงยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องกับจังหวัด เพื่อให้เห็นความสอดคล้องประสานงานกันของหน่วยงานในจังหวัด การทำในแต่ละ หน่วยต้องเป็นส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมที่ออกแบบร่วมกันของคนในพื้นที่ 3. การกำหนดภาคีที่เกี่ยวข้อง ถ้าเรามองในเชิงของพื้นที่จังหวัดก็อาจนำเสนอให้ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจารณาผู้ที่เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษา ท้องถิ่น ประชาสังคม เอกชน มาร่วมกัน แล้วมาร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดเป้าหมายร่วมกันจริง ๆ อาจกำหนดให้เห็นว่าเด็กหรือคนในชุมชนใน พื้นที่ของเรามีสุขภาวะที่ดี

50

4. มีหน่วยนโยบายระดับจังหวัด อีกประการต้องมีความอิสระในการบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้ ติดกรอบการดำเนินงานของหน่วยย่อย ๆ อาจอยู่ในลักษณะของหน่วยนโยบาย คณะทำงานหรือศูนย์ที่ ได้รับอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นหน่วยที่มีอำนาจในการบริหารจัดการ และการส่งเสริมสุขภาวะ มีการกำหนดกิจกรรมในการรณรงค์หรือ การสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็ง ระดับชุมชนเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายของจังหวัด ทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งเกิดขึ้น ซึ่งมีหน่วย งานที่ คอยเสริมพลังการดำเนินงานให้กับชุมชนเหล่านั้น ไม่ให้ชุมชนรู้สึกโดดเดี่ยวในการดำเนินงาน 5. มีหน่วยปฏิบัติการประสานงานกลไกที่กระจายลงไปอย่างชัดเจน อาจเป็นหน่วยปฏิบัติ การ เคลื่อนที่เร็วในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงการปฏิบัติ (implementation unit) ที่เข้าไปส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในพื้นที่ อาจจะเป็น สสส.ประจำจังหวัด สาธารณสุข ซึ่งเป็นการดำเนินงานในนามของยุทธศาสตร์ จังหวัด เป็นเสมือนฝ่ายเลขาของทุกหน่วย เพื่อขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการเข้าถึงพื้นที่ บูรณาการทุกหน่วย นำเสนอข้อเสนอให้คณะทำงานระดับจังหวัด รับฟัง ความต้องการปัญหาอุปสรรคของแต่ละชุมชน 6. มีหน่วยจัดการความรู้ในพื้นที่มีหน่วยงานในการสร้างความรู้ เอาความรู้ในการปฏิบัติม า แลกเปลี่ยนการดำเนินงาน เป็นการขับเคลื่อนภารกิจและพื้นที่โดยใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อขยายผล ต่อยอดในการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ 7. สร้างแกนนำระดับชุมชน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายของจังหวัด ไปสู่ระดับพื้นที่ที่มีอิสระในการบริหารจัดการและออกแบบการดำเนินงานภายในชุมชนตนเอง 8. ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ในระดับพื้นที่ เชิญสื่อสารมวลชนเข้ามา เพื่อสร้างการรับรู้ทั้ง ภายในหน่วยงานในจังหวัดและการสร้างความรับรู้ระดับประเทศในวงกว้าง 9. สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การสร้างแรงจูงใจของหน่วยที่มีการปฏิบัติที่ดีเลิศ อาจมอบ รางวัล ออกสื่อ ผูกโยงกับการให้รางวัลของหน่วยงานกลางที่มีการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน ของแต่ละจังหวัด 10. ระดมทรัพยากรแบบพึ่งตนเอง นอกจากจังหวัดมีแผนการดำเนินงานแล้ว จึงต้องมีการ ระดมงบประมาณในระดับพื้นที่มาระดมทรัพยากรร่วมกันในการดำเนินงาน เพื่อทำให้เกิดพันธสัญญาใน การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

51

บทบาทของ สสส. เมื่อคนในพื้นที่ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน การรับการสนับสนุน ต้องแสดงให้เห็นถึงการเป็น เจ้าของและการจัดการตนเอง เป็นผู้รับผิดชอบ มีกลไกการทำงานร่วมกันที่ชัดเจน มีแผนการพัฒนา ระยะสั้น กลาง ยาวซึ่งทุกคนต้องร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ต้องมีกลไก แผน ยุทธศาสตร์ และทุก คนต้องตกลงร่วมกันในการดำเนินงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน สสส. ต้องดำเนินการแบบระยะยาว การจัดสรรงบประมาณเชิงผูกพันที่ให้อย่างต่อเนื่องระยะ ยาวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสมทบกับงบประมาณที่จังหวัดระดมทรัพยากรสนับ สนุนการ ดำเนินงานภายในจังหวัดเอง นอกจากนี้ สสส. จะต้องมีกลไกรองรับการดำเนินงานตั้งแต่ระดับส่วนกลาง เพื่อกำกับติดตาม การดำเนินงานของแต่ละจังหวัด นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

52

14

มุมมองของคุณน้ำเพชร มาตาชนก โรงพยาบาลบางพลี

การดำเนินงานที่ผ่านมา โรงพยาบาลบางพลีมีการดำเนินการในการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมสุขภาวะของบุคลากรภายในโรงเรียน โดยมีการจัดตั้ง Wellness Center ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในองค์กร

ขั้นตอนการดำเนินงานภายในศูนย์ ศูนย์การส่งเสริมสุขภาวะ เป็นศูนย์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนภารกิจในการสร้างเสริมสุขภาวะของ คนในองค์กร มีจุดเน้น 3 ประการ คือ การตรวจสุขภาพ การลดภาวะความเสี่ยงจากโรคความดัน โลหิต สูง เบาหวาน และโรคอ้วน และการลดภาวการณ์ติดบุหรี่ของบุคลากร โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การคัดกรองสุขภาพของบุคลากรและจำแนกกลุ่ม โดยวัดความดัน ภาวะเบาหวาน และ ภาวะโรคอ้วน แล้วนำผลการคัดกรองมาจำแนกบุคลากรออกเป็นกลุ่ม ๆ คือกลุ่มดี เสี่ยง และป่วย เพื่อ กำหนดเป้าหมายและปัญหาในการดำเนินการ 2. ออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม โดยมีการออกแบบกิจ กรรมลดอ้วนลดพุง ใน กลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย มีการจำแนกระดับว่าเป็นภาวะอ้วนในระดับ 1 หรือภาวะอ้วนใน ระดับ 2 กิจกรรมที่ออกแบบจะเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายทั้งการให้ความรู้ กิจกรรมตามฐานการ เรียนรู้ การเล่มเกม ฯลฯ มีการวิเคราะห์แนวโน้มหรือหาแนวทางการจัดกิจกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ 3. แสวงหาเครือข่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กร การลดภาวะความเสี่ยงจากโรคเหล่านี้ โรงพยาบาลมีนโยบายสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับบุคลากร และมุ่งสร้างความเข้มแข็งจาก ภายในองค์กร ศูนย์ฯ จึงขับเคลื่อนด้วยการสร้างความร่วมมือ เพื่อมาร่วมดำเนินการในการลดภาวะ ความเสี่ยงจากโรค ซึ่งจากการออกแบบกิจกรรมพบว่า ความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ นั้น เกิดจากหลักการ 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ จึงสร้างเครือข่ายบุคลากรประกอบด้วย นักโภชนาการที่ เชี่ยวชาญเรื่องอาหาร นักกายภาพบำบัด ที่เชี่ยวชาญด้านออกกำลังกาย และนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญ เรื่องอารมณ์ ซึ่งล้วนเป็นบุคลากรในโรงพบาบาลทั้งสิ้น

53

ออกกาลัง กาย (นักกายภาพ บาบัด)

อาหาร (นัก โภชนาการ)

อารมณ์ (นักจิตวิทยา)

4. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ด้วยการเจาะน้ำตาล วัดน้ำหนัก โดยมีการดำเนินการ อย่างสม่ำเสมอ ในรอบ 1 เดือน 3 เดือน เพื่อติดตามทั้งระหว่างและหลังการดำเนินกิจกรรม 5. การสร้างแรงบันดาลใจ Healthy Idol เมื่อมีการติดตามประเมินผล ผู้ที่มีสุขภาวะเพิ่มสูงขึน้ มากที่สุด ศูนย์จะยกย่องบุคลากรดังกล่าวเป็น Healthy Idol เพื่อมาร่วมเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรม และการถ่ายทอดองค์ความรู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรอื่นในโรงพยาบาลต่อไป 6. ขยายผลการดำเนิ นการสู ่ ส ถานประกอบการ หรื อชุ ม ชนโดยใช้ บทเรี ย นที ่ ได้ จ ากการ ดำเนินการภายในโรงพยาบาลนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไปโดยโรงพยาบาลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการ ดำเนินการ

ปัจจัยความสำเร็จ 1. ความร่วมมือของบุคลากร ในลั กษณะคล้ายกับทีมสหวิชาชีพ ที่นำประสบการณ์ ความ เชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาวะไม่อาจที่จะดำเนินการคนเดียวได้ 2. การจั ด ทำฐานข้ อมู ล ที ่ ครบถ้ ว น ครอบคลุ ม เพื ่ อให้ การวางแผนการจั ด กิ จ กรรมอย่ า ง เหมาะสม 3. การแสวงหาข้อมูลการดำเนินการ เกี่ยวข้องกับวิธีการ แนวทางการจัดกิจกรรม รวมทั้ง ความรู้ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสม 4. มี หน่ ว ยในการดำเนิ น งานที ่ ช ั ด เจน มี โ ครงสร้ า งรั บ ผิ ด ชอบโดยโรงพยาบาลใช้ ห น่ ว ย อาชีวกรรมเป็นหน่วยขับเคลื่อน โดยใช้พยาบาลทีท่ ำงานในหน่วยเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ

54

5. การติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการรวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรม 6. ความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรม ทั้งการจัดกิจกรรมภายในโรงพยาบาล และการขยายผล การดำเนินงานสู่สถานประกอบต้องพิสูจน์ให้เห็นความไว้ วางใจและความจริงใจในการช่วยเหลือหรือ ส่งเสริมสถานประกอบการ

อัตลักษณ์การดำเนินงาน การที่ สสส. กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานเป็น Happy 8 ถือว่าครอบคลุมการดำเนินงาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน โดยมักจะมาคู่กับการติดตามประเมินผลผ่านเครื่องมือ Happinometer เพื่อวัดระดับความสุขและสุขภาวะของคนในองค์กร นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

55

15

มุมมองของคุณวีระวัฒน์ อัศวสัมฤทธิ์ (โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า)

บทบาทของศูนย์เรียนรู้ในปัจจุบัน ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์มีบทบาทการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างสติเป็นแนวทางที่นำไปใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานอื่น แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงไม่มีการถ่ายทอดความรู้ใน ลักษณะดังกล่าว แต่ยังมีการดำเนินการตามปกติ การจัดกิจกรรมในปัจจุบันยังมีการส่งเสริมให้มีการทำสมาธิก่อนการประชุม การตรวจสอบ สุขภาพจิตก่อนและหลังทำงาน (check in, check out) กิจกรรมระฆังสติ และการใช้การฝึกสติให้กับ คนไข้ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีการให้คำแนะนำคนไข้ ให้ฝึกสติและฝึกทำสมาธิ และยืดหยุ่นกล้ามเนื้อตลอด ทั้งวัน

เป้าหมายการดำเนินงาน การส่งเสริมสุขภาวะของคนในองค์กรปัจจุบันมุ่งเน้นการเป็นโรงพยาบาลสร้างสุข ที่ได้รับการ สนับสนุนจาก สสส. โดยมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และในปี 2558 โรงพยาบาลได้ถอดบทเรียนการ สร้างโรงพยาบาลสร้างสุข และสร้างเป็นโมเดลการดำเนินงานโดยเน้นการสร้างสติในการทำงาน มีการ วางแผนเป็นระยะที่ชัดเจน

ขั้นตอนการดำเนินการ การดำเนินงานของโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลสร้างสุข จำแนกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เป็นการสร้างองค์ความรู้ มีการดำเนินการภายในองค์กร โดยใช้เวลาการดำเนิน ประมาณ 2-3 ปี เพื่อสั่งสมองค์ความรู้และจัดทำเป็นแนวทางการดำเนินงานเบื้องต้น เพื่อให้โรงพยาบาล เป็นองค์กรต้นแบบ ระยะที่ 2 คือ เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากระยะที่ 1 มาต่อยอด ยกระดับการเป็นศูนย์เรียนรู้ และสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกอำเภอ ประกอบด้วย โรงเรียน องค์กร สถาบันการศึกษา สถาน ประกอบการเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน นอกพื้นที่มีจังหวัดต่าง ๆ เข้ามาเรียนรู้การดำเนินงานของโรงพยาบาล และมีโรงพยาบาลในเครือข่ายกว่า 10 โรง เพื่อทดลองนำโมเดล องค์ความรู้ และการถอดบทเรียนของ ศูนย์ไปทดลองใช้และนำมาปรับปรุงโมเดลหรือองค์ความรู้ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ระยะที่ 3 คือ การร่วมถอดบทเรียนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่อยู่ในเครือข่าย เป็นเวที ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในเครือข่ายเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

56

ปัจจัยความสำเร็จ 1. ผู้นำ/ผู้บริหารขององค์กรที่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพอย่าง ลึกซึ้งและตระหนักในความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับบุคลากร 2. การมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3. มีโครงสร้างรองรับภารกิจ เนื่องจากเป็นภารกิจที่นอกเหนือภารกิจหลักของโรงพยาบาลจึง ต้องมีโครงสร้างบุคลากรที่ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะซึ่งมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการ ปฏิบัติงานเพื่อบริหารจัดการในเครือข่าย 4. บุคลากรที่ปฏิบัติงานมีความรู้และทักษะเพียงพอ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5. การประชุมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานระหว่างบุคลากรในโรงพยาบาลและภายในเครือข่าย อย่างสม่ำเสมอ 6. การติดตามประเมินผลที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ มีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน และนำมา ประเมินความดีความชอบให้กับบุคลากรที่รับผิดชอบ นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

57

16

มุมมองของคุณปารณีย์ แก้วเกิดศรี (วัดจากแดง)

การดำเนินงานที่ผ่านมา วัดของเราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนภารกิจในการสร้างสุขภาวะที่ดี ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และมุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงตระหนักในความสำคัญและมี ความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันได้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีผู้สนใจเข้ารับ การถ่ายทอดความรู้และมีเครือข่ายร่วมดำเนินการในพื้นที่ชุมชนในบริเวณวัด เป็นศู นย์เรียนรู้ที่ได้รับ การสนับสนุนจากวัดและชุมชนรอบข้าง มีลักษณะการดำเนินงานที่ชัดเจน มีโครงสร้างรองรับการ ดำเนินงานในวัด มีเจ้าหน้าที่บุคลากรทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ และเจ้าหน้าที่จิตอาสา

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. กำหนดเป้าหมายในการทำงานของหน่วยงานตนเอง ด้วยการแสวงหาแนวทางว่าต้องการ ดำเนินการอย่างไร ในทิศทางใด มีความถนัดและสนใจในประเด็นใด ในส่วนของวัดจากแดง ตั้งแต่อดีต มา เจ้าอาวาสและบุคลากรในวัดมีความสนใจและถนัดในเรื่องการบริหารจัดการขยะด้วยการส่งเสริมให้ ประชาชนในพื้นที่แยกขยะ มีความเชื่อว่าหากมีการแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นทาง จะทำ ให้สิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากขยะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น 2. กำหนดกลยุทธ์ในการจัดกิจ กรรม ในช่วงแรกเป็นการดำเนินการที่เน้นการแจก ทั้งสื่อการ เรียนรู้ อุปกรณ์ในการแยกขยะ ถังขยะประเภทต่าง ๆ โดยใช้กลยุทธ์การแจก เพื่อซื้อใจคนในพื้นที่ แต่ พบว่า ไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งของที่แจกก็หาย หรือเอาไปทำอย่างอื่นที่ผิดวัตถุประสงค์ 3. การถอดบทเรียนจากประสบการณ์การดำเนินงานที่ผ่านมา เมื่อการทำงานในระยะแรก ไม่ ประสบความสำเร็จ ทีมงานจึงช่วยกันวิเคราะห์และถอดบทเรียนว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เราได้ เรียนรู้ร่วมกัน ว่า สิ่งที่จะประสบความสำเร็จคือ ต้องสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน เขาได้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาของชีวิตเขา และประการสำคัญคือการดำเนินงานของเราต้องสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของชาวบ้าน เพราะถ้าเราขวางวิถี ชีวิตหรือพฤติกรรมจริง ๆ ของเขา ย่อมเกิดการปฏิเสธ และทำให้ไม่เกิดความสำเร็จ 4. การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง จากการถอดบทเรียน ความผิดพลาดของเรา คือการทำอะไรที่ขวางวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ดำเนินการอยู่แล้ว หรือบางทีอาจไม่เหมาะกับวัฒนธรรม การใช้ชีวิตของเขาเอง และเขาไม่เห็นประโยชน์ในการทำตามแนวทางของเรา ดังนั้น เราต้องวิเคราะห์ ให้เห็นว่าปัญหา ความต้องการของเขาคืออะไร แล้วพยายามที่จะแก้ไขปัญหาให้ได้ และให้เขาได้

58

ประโยชน์ด้วย ต่อมาค่อยส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะแล้วก็เอามาแลกสิ่งของที่วัด หรือเอามา ทำบุญกับวัด คือเชื่อมไปกับการใช้ชีวิตเลย เพราะคนแถวนี้คือคนที่ใกล้วัด เข้ามาทำบุญมาก ก็เชื่อมเข้า ไปเลยกับการทำบุญที่ปกติต้องซื้อข้าวของมา ก็เปลี่ยนเป็นการเอาขยะมาทำบุญแทน นอกจากทำบุญ ก็ ยังเอาขยะมาแลกเป็นสินค้า หรืออาหารสดกลับบ้านไปได้ด้วย 5. การออกแบบชุดกิจกรรม เมื่อเริ่มวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้ว ทีมงานเอาข้อมูลส่วนนั้นมา วิเคราะห์ว่าเรามีเป้าหมายกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องจัดกิจกรรมอะไร และกิจกรรมเหล่านั้นมีวิธีการจัด อย่างไรให้เหมาะสม ใช้สื่ออะไร บทบาทของแกนนำดำเนินการอย่างไร เช่น ถ้าเป็นเด็กเราต้องเน้น กิจกรรมที่เป็นเกม สนุกสนาน ถ้าเป็นวัยทำงานต้องมีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติที่สนุกและต้องแสดงให้ เห็นว่ามันก่อให้เกิดประโยชน์จริง ๆ ยิ่งถ้าเป็น การลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มรายได้จะมีประสิทธิภาพมาก ถ้าเป็นคนสูงอายุมากอาจเป็นกิจกรรมที่สามารถใช้เวลาได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ด้วยความที่เราเป็น ศูนย์ในวัด เราเลยออกแบบกิจกรรมให้พระเข้ามามีส่วนร่วม เพราะเราเห็นว่าการให้พระถ่ายทอดความรู้ สิ่งที่พระถ่ายทอดไปเหมือนเป็นคำสอน ที่ทำให้คนที่เข้ามาทำงานกับเรายึดถือและยึดมั่นในสิ่งที่พระ สอนหรือได้ทำสัญญากับพระไว้ 6. การสร้างแกนนำในชุมชน หลายคนอาจคิดว่าการสร้างแกนนำประโยชน์สูงสุดคือการที่แกน นำเข้ามาทำงานกับศูนย์หรือหน่วยงานของเรา แต่จริง ๆ แล้ว การสร้างแกนนำมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะแกนนำในอีกมุมมองหนึ่งเขาคือชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น การสร้างแกนนำ คือการที่ให้แกนนำรู้จักเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามแนวทางที่ศูนย์ได้กำหนด เช่น แกนนำที่เราสร้างในรุ่นแรก เราเอาเขาเข้ามาเป็นแกนนำในศูนย์ข องเรา แต่ตอนแรกคือพฤติกรรมที่ บ้านเขาก็ไม่เปลี่ยนแปลง เขามาแค่อบรมกับเรา เป็นแกนนำให้คนอื่นที่มาอบรมกับเราทำตาม แต่พอถึง บ้านก็ยังทำเหมือนเดิม เราใช้เวลานาน ประมาณ 1-2 ปี กว่าแกนนำเหล่านั้นจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม เวลาอยู่ที่บ้าน แล้วเมื่อเขาเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ที่บ้านของเขา เพื่อนบ้านของเขาเปลี่ยนแปลงได้ด้วย 7. พึ่งพาตนเองได้ ขั้นตอนสำคัญหลังจากที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ระยะหนึ่งแล้ว ศูนย์เรียนรู้ ต้องหาแนวทางในการพึ่งพาตนเอง อย่างกรณีของศูนย์วัดจากแดง เราทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกั บ สิ่งแวดล้อมเพื่อจำหน่ายและแจกให้ กับชาวบ้านที่นำขยะมาแลก และเงินที่จำหน่ายส่วนนี้ก็นำมาเป็น ค่าใช้จ่ายในศูนย์ทั้งการจ้างบุคลากรมาทำงาน การจัดหาสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ 8. ความต่อเนื่องในการทำงานเพื่อพิสูจน์ความตั้งใจในการทำงาน มุมมองหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ส่วนใหญ่ศูนย์เรียนรู้ หน่วยงาน หรือวัดที่ดำเนินงานต่าง ๆ พอเราเข้าไปทำงานตอนแรก ๆ ชาวบ้านจะ มองว่าที่เราเข้าไปทำงานเพราะเราได้รับงบประมาณมา และเมื่องบประมาณหมดเราก็จะหยุดการ ทำงาน เป็นแค่การทำงานเพื่อจุดกระแสให้ติด แล้วก็ออกจากพื้นที่ไป ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ

59

ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อแสดงให้ชาวบ้านในพื้นที่เห็นว่าเรามีความตั้งใจในการทำงาน และยังคงทำงาน ต่อแม้ว่าไม่ได้รับงบประมาณ หรือไม่เป็นไปตามที่มุ่งหวังไว้

ปัจจัยความสำเร็จ 1. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2. การดำเนินการอย่างสอดคล้องในทิศทางเดียวกันทั้งภาคี โดยหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรม ต้องมีเป้าหมายร่วมกันเป้าหมายเดียว ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ถ้าเรามีเป้าหมาย ไม่ ชัดเจนจะทำให้การทำงานแบบไร้แบบแผนหรือไร้ทิศทาง อาจไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดไว้ 3. การได้รับสนับสนุนจากวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากทั้งการสนับสนุนทรัพยากร สถานที่และบุคลากร ซึ่งวัดจากแดงเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม มีพระสงฆ์หมุนเวียนมาเข้าศึกษา จำนวนมาก ทำให้มีกำลังของพระสงฆ์ในการช่วยเหลือขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว และเจ้าอาวาสเป็นผูท้ ี่ มุ่งมั่นในการดำเนินงาน สิ่งที่ศูนย์กำหนด ท่านพร้อมที่จะเอาไปใช้ในวัดเช่นกัน เช่น การจัดเวรพระสงฆ์ ในการจัดการขยะ ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์เรียนรู้ 4. การสร้างการรับรู้ ให้กับสาธารณะ ในระยะแรกตอนที่เราทำงานมาสักระยะหนึ่ง วัดได้ ร่วมกับโรงงานในพื้นที่ทำผ้าไตรจีวรจากขวดพลาสติก ทำให้ศูนย์เรามีชื่อเสียง และคนภายนอกเริ่มรู้ข่าว และเข้ามาร่วมงานกับเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้เหมือนเป็น “แบรนด์” ของศูนย์เรียนรู้ด้วย 5. การผนวกเข้ากับความเชื่ อของชาวบ้ าน โดยให้ พ ระเข้ ามามีส่ วนร่ วมทั้ งตอนต้น และ ตอนท้ายของการอบรม การให้พระเข้ามามีส่วนร่วมทำให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมเชื่อถือและสิ่งที่พระสอนก็ เป็นคำมั่นสัญญาที่มีน้ำหนักมากขึ้น 6. การจัดชุดกิจกรรมที่เหมาะสม หลากหลาย มีชุดให้เลือกกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติจริง ๆ ใน ชีวิตประจำวัน มีการให้เลือกทำ โดยใช้เวลาในการพัฒนากิจกรรม 7. แกนนำต้ องเป็นชาวบ้ านที ่อยู่ ในชุ ม ชน เข้ า ใจบริ บทอย่า งลึ กซึ้ ง ไม่ ไ ด้ เข้า มาเพราะมี ผลประโยชน์แต่เข้ามาเพราะต้องการพัฒนาร่วมกัน มักเป็นคนที่มีอายุที่เข้ามาดำเนินการร่วมกัน จิตอา สามีจุดดีตรงที่ประหยัด แต่จุดอ่อนคือความไม่แน่นอนในการเข้ามาดำเนินงาน 8. ความต่อเนื่องในการทำงาน ต้องพิสูจน์ให้ชาวบ้านเห็นว่า ศูนย์มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำ ตามเป้าหมายไว้ แม้ว่าเราจะพบปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

60

17

มุมมองของคุณบุสดี ขุนศิริ (ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.สุรินทร์ โคก หนอง นา ดารา โมเดล)

การดำเนินงานที่ผ่านมา ศูนย์เรียนรู้นี้เป็นศูนย์ที่ต่อยอดและขยายผลมาจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ของ ดร.วิวัฒน์ ศั ล ยกำธร มี เป้ า หมายหลั กในการกระจายองค์ ความรู ้ ให้ กั บ ชาวบ้ า นให้ เข้ า ร่ ว มมาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการดำเนิ น งานเพื ่ อทำการเกษตรแบบพอเพี ย ง ให้ ช าวบ้ า นในพื ้ น ที ่ ต ่ า ง ๆ ได้ เข้ า มาฝึ กอบรม โดยได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาชุมชนในด้านการสนับสนุนพื้นที่และการดำเนินการต่าง ๆ

ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ศึกษาหาความรู้วางเป้าหมายในการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย การวางแผนการดำเนินงานออกเป็น 9 ขั้นตอน ตามแนวทางที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องได้น้อม นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็นแนวทาง

61

2. เตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการเริ่มลงมือทำด้วยตัวเอง ทำให้เห็นผลจริง ใช้ได้จริง แล้วค่อย บอกต่อ มีการจัดหา ดูแล และบริหารในพื้นที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 โดยทำให้เกิดความพอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น นำแนวทางปลูกป่า 5 ระดับ โคก หนอง นา มาใช้ จนเกิดเป็น “องค์ความรู้เฉพาะ” ของศูนย์ฯ ที่ตกตะกอนจากการลงมือทำด้วยตัวเอง ในช่วงต้นนี้ต้อ ง เข้ารับการอบรม และการฝึกปฏิบัติจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้ องซึ่ง เป็นศูนย์กลางในการ ถ่ายทอดองค์ความรู้

3. สร้างความร่วมมือ “เอามื้อสามัคคี” เป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อรวบรวมและสร้าง เครือข่ายแบบไม่เป็นทางการในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายผล 4. พัฒนาพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับการเป็นศูนย์เรียนรู้ ด้วยการพัฒนาโรงอาหาร ที่พัก ที่ อบรม ห้องน้ำ ให้เหมาะสมเพียงพอ ซึ่งที่ผ่านมาทางศูนย์ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนอ ย่างดี จากวัดและพระสงฆ์ที่ให้การสนับสนุน และชาวบ้านที่ร่วมมือดำเนินการ 5. เตรียมการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์และการลงมือทำ ด้วยการเตรียม สื่อ เนื้อหาหลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ถอดบทเรียนมาจากศูนย์ฯ มาบเอื้องและนำมาปรับให้เหมาะสม กับบริบท โดยการสร้าง 3 ขุมพลังสำคัญให้กับชุมชนคือ ใจ สมาธิ-ปัญญา และ กาย เป็นการสร้างเสริม ทั้ง 3 ขุมพลังไปพร้อมกัน 6. เตรียมบุคลากรที่เพียงพอในการถ่ายทอดโดยการสร้างแกนนำพื้นที่ที่เข้ามามีส่วนร่วมใน การเป็นครูพาทำ ครูประจำชั้น และเครือข่ายสนับสนุน 7. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนให้ร่วมดำเนินการและสร้างความยั่งยืน ในการเป็นเครือข่ายร่วมกัน 8. ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ การสร้างศูนย์เรียนรู้ย่อยในชุมชน อาจนำผู้ที่มีชื่อเสี ยงที่ ศรัทธาและพร้อมดำเนินการตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแกนนำเพื่อสร้าง ศรัทธาและเป็นตัวอย่างการดำเนินงานในชุมชน

62

ปัจจัยความสำเร็จ 1. การดำเนินการใด ๆ ในชุมชน ต้องให้ชุมชนได้ประโยชน์และเกิดความสุขด้วยการสร้าง รายได้ ลดหนี้ และอยู่อย่างพอเพียงถึงจะเกิดความสุข และรู้จักแบ่งปันสร้างสังคมที่ดี 2. ผู้นำศูนย์ต้องเริ่มทำจริง และทำด้วยตนเอง ในระยะแรกนั้นผู้นำต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกฝน สั่งสมประสบการณ์ในการทำด้วยตนเอง เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างความเชื่อถือให้กับชุมชน 3. การดำเนินงานต้องค่อยเป็นค่อยไป มีการกำหนดแผนเป็นขั้นตอน โดยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

63

18

มุมมองของคุณปฏิพัทธ์ อุกอาจ (องค์การบริหารส่วนตำบลตาคลี)

การดำเนินงานที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลตาคลี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่รับผิดชอบ ชาวบ้านมี วิถีชีวิตแบบสังคมดั้งเดิม ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามแนวทาง happy 8 ของ สสส. โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเป็นหน่วยประสานหลัก ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของ อบต. โดยผู้บริหารมีนโยบายในการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรขององค์กร

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. นโยบายของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและความเห็นชอบของสมาชิกสภา ท้องถิ่นที่เห็นตรงกันว่าต้องพัฒนาความเป็นอยู่และการทำงานของบุคลากรในองค์กร เพราะหากขาด ความเห็นชอบของฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายสภา ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้ 2. การสื่อสารภายในองค์กร เมื่อผู้บริหารและสภาท้องถิ่นเห็นชอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต จากนั้นผู้บริหารต้องมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบทำหน้าที่ในการสื่อสารทำความเข้าใจว่าแนวทางที่ จะทำ คืออะไร จะทำอะไร ช่วงไหน เพื่ออะไร และอย่างไร และให้ทุกคนเห็นภาพเป้าหมายเป็นภาพ เดียวกัน 3. สร้างกลไกในการดำเนินงาน เมื่อมีการสื่อสารแล้ว ปลัดในฐานะข้าราชการประจำ จึงต้อง มอบหมายให้หน่ วยงานใดภายในองค์กรเป็ นหน่ว ยรั บผิด ชอบ และถ้ าประสบความสำเร็จ จะต้อง มอบหมายให้เห็นถึงตัวเจ้าหน้าที่ว่าใครเป็นคนดำเนินการ และใครเป็นคนติดตาม กำกับการดำเนินงาน และรายงานต่อฝ่ายประจำ ฝ่ายการเมือง และฝ่ายสภา 4. การขอความร่วมมือจากบุคลากรจากทุกฝ่ายในองค์กร มีการแบ่งความรับผิดชอบ ให้แต่ละ ฝ่ า ยดำเนิ น การแตกต่ า งกั น ให้ อิ ส ระและสนั บ สนุ น การทำงานของแต่ ล ะหน่ ว ยงาน เพราะคนใน หน่วยงานย่อมมีความเข้าใจและเห็นปัญ หาอุปสรรคในการทำงานของตนเอง ถ้าสนับสนุน ในการ ดำเนินงานย่อมสามารถแก้ปัญหาได้ เช่น ถ้าเราตั้งจุดอ่านหนังสือตามใจคนรับผิดชอบหรือจากมุมมองที่ เราวิเคราะห์เอง ก็อาจไปตั้งในจุดที่ไม่มีใครสนใจ หรือไม่มีใครไปใช้ แต่ถ้าเราให้อิสระกับหน่วยงาน ดำเนินการเอง เขาย่อมเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทำงานในหน่วยงานนั้น ๆ 5. งบประมาณและทรัพยากร เนื่องจากเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น งบประมาณ ต่าง ๆ แม้ว่ามีการจัดสรรจากรัฐมาดำเนินการ แต่การดำเนินงานขององค์กร จำเป็นต้องได้รับความ

64

เห็นชอบจากผู้บริหารท้องถิ่น จากนั้นเสนอไปยังสภาท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณ บรรจุใน แผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานแตกต่างจากหน่วยงานประเภทอื่น ดังนั้น อาจใช้การ สนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เช่น สสส. ประกอบไปด้วยเพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ให้การสนับสนุน การดำเนินงานมีการส่งบุคลากรมาเก็บข้อมูล มาฝึกงาน และช่วยในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนว ทางการดำเนินงาน และเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กร นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

65

19

มุมมองของคุณนพรัตน์ มุณีรัตน์ (มูลนิธิสถาบันพัฒนาการเรียนรู้)

การดำเนินการที่ผ่านมา มูลนิธิสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ เริ่มต้นจากกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ การเรียนรู้ การศึกษาได้มารวมตัวกัน และวางแผนการแล้วดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แหล่ง เรี ย นรู ้ ผ ่ า นทุ ก แพลตฟอร์ ม และรู ป แบบ ทั ้ ง ที ่ เ ป็ น การดำเนิ น งาน ณ สำนั ก งาน (on-site) และ การดำเนินงานทางออนไลน์ (online) ที่ผ่านมาได้ดำเนินการร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ ขับเคลื่อนในการก่อตั้ง การทำกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ให้กับอุทยานการเรียนรู้ให้กับจังหวัดต่าง ๆ โดยมีการดำเนินการมาอย่าง ต่อเนื่องกว่า 10 ปี มีการดำเนินการในพื้นที่ต ่างกั น อาทิ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา นครราชสีมา ปราจีนบุรี เป็นต้น แต่เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในการดำเนินงาน มีการพัฒนา บุคลากรที่สามารถดำเนินการได้เอง มูลนิธิจึงออกมาจากพื้นที่ ต่อมาจึงได้ดำเนินการร่วมกับ สสส. ใน การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทางออนไลน์

ขั้นตอนการดำเนินงาน กรณีตัวอย่างที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้ (ศ.อบต.) เห็นตัวอย่างการดำเนินงานของจังหวัดยะลา ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ได้ และเป็น ส่วนสำคัญในการสร้างสันติสุข จึงได้ประสานการดำเนินงานมายังมูลนิธิร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ที่เข้า มาสนับสนุนงบประมาณ 1. คุยกับคนในพื้นที่ ทำการประชุมกลุ่ม (focus group) ศึกษาบริบท ความต้องการและการ แสวงหาองค์ความรู้ในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยและเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการทำงานใน พื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ จำเป็นต้องตระหนักในวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และต้นทุนทางสังคมอย่างลึกซึ้ง เพื่อ เป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน 2. จัดสร้างและพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3. การสร้างองค์ความรู้ ในการสร้างศูนย์เรียนรู้ที่อื่น มักให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งปลูก สร้าง อาคารสถานที่สวยงาม แต่สิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาไปควบคู่กัน คือ “เนื้อหา” ที่อยู่ในศูนย์นั้น ๆ ต้องมีเนื้อหาที่เป็นจิตวิญญาณของเนื้อหานั้น ๆ

66

บทเรียนของเครือข่าย มูลนิธิ ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายประสานงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทำหน้าที่ในการเป็น พี ่ เลี ้ ย งเพื ่ อส่ ง เสริ มสนั บสนุ น การทำงาน ทั ้ ง ระดั บ พื ้ นที ่และระดั บนโยบาย โดยร่ ว มมื อกั บ ศู น ย์ อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศ.อบต.) อุทยานการเรียนรู้ ชุมชนในพื้นที่ และองค์กรที่ เกี่ยวข้อง โดยมีบทบาทสำคัญต่อไปนี้ 1. กำหนดเป้ า หมายในการดำเนิ น งานว่ า จะดำเนิ น การในพื ้ น ที ่ ใ ด และมี ผ ู ้ ท ี ่ เ กี ่ ย วข้ อง ประกอบด้วยใครหรือหน่วยงานใดบ้าง เพื่อ เชิญชวนให้หน่วยงานเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารงานและกำหนดเป้าหมาย 2. เรียนรู้ร่วมกันในการวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเข้าใจพื้นที่อย่างลึกซึ้งว่า มีจิต วิญญาณอย่างไร วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตเป็นอย่างไร 3. พัฒนาแกนนำที่จะเข้ามาร่วมดำเนินงานต่อไปในอนาคต 4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ ชิด ประชาชน และมีทรัพยากรในการบริหารจัดการในพื้นที่เพียงพอ เพราะหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาร่วมมือในการดำเนินงานเมื่อทีมผู้ดำเนินงานหลักออกจากพื้นที่ หรือถอยมาเป็นพี่เลี้ยงในการ ดำเนินงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานหลัก 5. ถอยบทบาทให้ศูนย์เรียนรู้ที่ตั้งขึ้นสามารถดำเนินการได้เอง โดยถอยบทบาทของมูลนิธิและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นเพียงหน่วยงานให้คำปรึกษาและการสนับสนุนเครื่องมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ

ปัจจัยความสำเร็จ 1. ในระยะที่มีการดำเนินงานร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ บทบาทของศูนย์คือการดำเนินการ ร่วมกับพื้นที่โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงความต้องการของประชาชน ประกอบกับมีงบประมาณในการดำเนินงานจึงเป็นกลไกสำคั ญ ในการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเห็นความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรทั้ง งบประมาณ บุคลากร การสนับสนุนในพื้นที่ ไม่ใช่การสนับสนุนเชิงนโยบายเท่านั้น แต่ผู้บริหารต้อง เข้าใจและให้ความสำคัญในเชิงปฏิบัติด้วย 2. การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในท้องถิ่น เครือข่ายความรู้ของท้องถิ่น ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้ ต้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยคนในพื้นที่ต้องรับรู้ว่าประชาชนคือเจ้าของแหล่งเรียนรู้ที่ตอ้ งมี ส่วนร่วมในการคิด ตั้งเป้าหมาย ตั้งชื่อ กำหนดแนวทางการดำเนินงาน

67

3. การสร้างต้นแบบการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จและเกิดความยั่งยืน ให้เป็นแหล่ง เรียนรู้สำคัญให้กับศูนย์ที่ต้องการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน

การจัดศูนย์เรียนรู้ทางออนไลน์ การจั ด ศู น ย์ เรี ย นรู ้ท างกายภาพเริ ่ ม ต้ น ด้ ว ยการสอบถามว่ ากลุ ่ม เป้ าหมายต้ องการอะไร เช่นเดียวกับการดำเนินงานกับ สสส. ต้องเริ่มจากการวิจัยทำ social listening อ่านงานวิจัยเพื่อทำ ความเข้าใจว่าลูกค้าหรือคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเราต้องการอะไร มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไ ร ต้องการ หรือคาดหวังที่จะรับทราบอะไร สิ่งที่สื่อสารไปต้องเป็นสิ่งที่เขาต้องการทราบ กุญแจสำคัญคือ ต้องตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น เรา ต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุด ทั้งจากการเก็บข้อมูลโดยตรง การสังเกตพฤติกรรม การพิจารณาเนื้อหา หรือรูปแบบโดยทั่วไปในสังคมออนไลน์ รวมทั้งการวิจัยการตลาด ที่ผ่านมาเราร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในการแสวงหาและการทำความ เข้าใจพื้นที่ทางออนไลน์ เช่น ที่ผ่านมาเราวิจัยพบว่า Happy Body มีเนื้อหาจำนวนมาก แต่เราพบว่า Happy Family มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เราจึงต้องออกแบบเนื้อหาไปทางนั้น เราต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเราต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องเข้าถึงคือข้อมูลเชิงลึ กของคนที่ติดตาม เพจของเรา ว่าเป็นใคร ทำอะไร สนใจอะไร มีส่วนร่วมในแบบไหน การมีส่วนร่วมจะเกิดขึ้นในลักษณะ ใด เราต้องเข้าไปดูข้อมูลเชิงลึก (insight data) เพื่อทำความเข้าใจกับเขา และนำการวิจัยการตลาดและ แนวโน้มในโลกออนไลน์เข้ามาร่วมดำเนินงาน เมื่อเป็นการดำเนินการทางออนไลน์ การสร้างความ ร่วมมือจะเปลี่ยนเป็นแบบการร่วมมือแบบหลวม ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมกัน

โอกาสในการดำเนินงาน ศูนย์เรียนรู้ในอนาคตต้องคิดทั้ง 2 แพลตฟอร์ม คือ แบบที่มีที่ตั้งและแบบที่เป็นออนไลน์ผ่าน ทางอินเทอร์เน็ต ศูนย์จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อต่าง ๆ ศูนย์เรียนรู้ที่เป็ น สถานที่เราย่อมใช้ประโยชน์ได้น้อย คนไม่ได้อยู่ในที่ทำงาน แต่ถ้าดำเนินการบนโลกของเว็บไซต์ในโลก ออนไลน์ย่อมทำอะไรได้มากกว่า หากมีการดำเนินการในพื้นที่ใดก็ตาม เจ้าของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน ผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามเป้าหมายนี้ โดยเฉพาะหน่วยงาน ของรัฐ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารใหม่ ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิง นโยบายและเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

68

20

มุมมองของคุณพรทิพย์ ธีระกาญจน์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ)

การดำเนินงานที่ผ่านมา การปฏิบัติงานที่ผ่านมา มีประสบการณ์ทั้งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในส่วนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการส่งเสริมสุขภาวะให้กับบุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนจาก สสส. อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนของ กิจกรรมนักศึกษา ส่วนการดำเนินงานของโรงพยาบาลมีการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่ง ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เช่นกัน

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. หน่วยงานกำหนดประเด็นการดำเนินงานที่ชัดเจน ว่าจะส่งเสริมด้านใด และกลุ่มเป้าหมาย อยู่ที่ใด จะดำเนินการในช่วงใด ควรวางแผนให้มีการแบ่งระยะการดำเนินงานเพื่อสะดวกต่อการติดตาม ประเมินผล 2. การวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและกำหนดประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อน อาทิ การขับเคลื่อนเรื่ องการส่ง เสริมสุ ขภาพด้ วยการปั่นจั กรยาน การส่งเสริมสุขภาวะทางจิต เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบต้องไปศึกษา วิเคราะห์พฤติกรรมของนักศึกษาและบุคลากรว่าเป็นอย่างไร และ ส่วนใดที่ควรส่งเสริมหรือแก้ปัญหา 3. การระบุหน่วยงานภาคีเครือข่ายรับผิดชอบ ทั้งที่เป็นหน่วยงานในและนอกมหาวิทยาลัย ซึ่ง เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามเป้าหมานนั้น ๆ 4. ระดมทรั พ ยากรสนั บ สนุ นทั ้ งงบประมาณ อุ ป กรณ์ บุ คลากร และหน่ ว ยงานที ่ ให้ การ สนับสนุน 5. สร้างทีมดำเนินงาน เนื่องจากบริบทขององค์กรเป็นสถาบันทางการศึกษาที่มีหน่วยงานทั้ง สายสุขภาพ (หน่วยงานทางด้านสุขภาพ อาทิ คณะแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาล ศาสตร์ รวมทั้งโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย) และสายสังคมศาสตร์ ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องพัฒนา ไปด้วยกัน มุมมองด้านสังคมจะเห็นถึงความลึกซึ้งของวิถีชีวิตและชุมชน ส่วนมุมมองด้านสุขภาพจะ มุ่งเน้นความรู้เฉพาะด้านในการส่งเสริมสุขภาวะ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องดำเนินการร่วมกัน

69

คณะสาย สุขภาพ

องค์กร ปกครองส่วน ท้องถิ่น

คณะสาย สังคมศาสตร์

โรงพยาบาล

ผู้นาชุมชน

ชุมชน

หน่วย สนับสนุน (สสส.)

6. สร้างความร่วมมือในระดับชุมชนท้องถิ่น ด้วยการนำแกนนำ/ผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งบทบาทของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน ในการสร้างเสริมสุขภาวะ 7. มีระบบติดตาม ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงานเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับภาคีรว่ ม ดำเนิ น การ ผู ้ ส นั บ สนุ น และผู ้ ท ี ่เกี ่ ยวข้ องเพื ่ อนำผลการดำเนิ นงานเหล่ านั ้ นมาถอดบทเรี ย นเพื่อ พัฒนาการดำเนินงานต่อไป

ปัจจัยความสำเร็จ 1. เป้าหมายการดำเนินงานขององค์กรที่ชัดเจน วัดประเมินผลได้อย่างต่อเนื่อง 2. เป้าหมายของภาคีเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินการต้องชัดเจนและรู้ถึงบทบาทที่ต้องรับผิดชอบใน การดำเนินการ 3. การถอดบทเรียน เพื่อนำผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเพื่อพัฒนาการ ดำเนินงานต่อไป นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

70

21

มุมมองของ อาจารย์จารุวรรณ ไทยบัณฑิต (สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย)

บทบาทของศูนย์เรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ ควรมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้โดยเน้นการให้บริการใน รูปแบบเชิงรุก เนื่องจากช่องทางการเข้าถึงข้อมูลมีหลากหลาย การที่ศูนย์ทำหน้าที่ในการสร้างองค์ ความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้รวมทั้งการสนับสนุนสื่อการเรียนรู้และการอบรมจะทำให้เกิดความรู้ ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ต้องสำรวจความต้องการสภาพปัญหา เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และพิจารณาดูว่า ต้องการในด้านใดเพื่อนำสภาพปัญหาหรือความต้องการนั้นมาออกแบบการให้บริการในรูปแบบของ ความรู้ การอบรม หรือการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความร่วมมือกับ ศูนย์และ ได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมโดยตรง นอกจากนี้ ควรมีการติดตามประเมินผลการให้บริการของศูนย์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็น ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาปรับปรุงการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีความพร้อมที่ให้ คำปรึกษาหรือคำแนะนำกับประชาชนได้ตลอดเวลา

ขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทางการดำเนิ น งานควรใช้ ว งจร PDCA (Plan-Do-Check-Act) เป็ น พื ้ น ฐานในการ ดำเนินการ ดังนี้ 1. สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้รับบริการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากำหนดพื้นที่ และประเด็นเป้าหมายที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมาย 2. นำปัญหามากำหนดเป้าหมายและสร้างเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการวางแผนหรือออกแบบ กิจกรรมในการดำเนินงานเพื่อให้เหมาะสมกับประชาชนและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 3. ออกแบบการดำเนินงานในพื้นที่ ให้เป็นการดำเนินงานเชิงรุก เชิงการป้องกัน และสร้าง ภูมิคุ้มกัน ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาวะของพื้นที่เป้าหมาย ศูนย์เรียนรู้ต้องดำเนินการใน เชิงรับเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 4. สร้างความร่วมมือและเครือข่ายในการดำเนินงาน กับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ชุมชน หน่วยงานอื่น ๆ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นที่สนับสนุน งบประมาณ บุคลากร ทักษะ ความรู้

71

ปัจจัยความสำเร็จ 1. เนื่องจากการสร้างสุขภาวะของคน เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหลายมิติ เพราะสุข ภาวะเป็นสิ่งที่ต้องสร้างควบคู่ไปกับการกินดี อยู่ดี การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับความเป็นธรรมใน สังคม ดังนั้น การมีสุขภาวะที่ดีนั้นต้องเกี่ยวพันกับภารกิจของหน่วยงานจำนวนมาก ซึ่ งแต่ละหน่วยงาน มีความรู้เฉพาะด้าน มีความเข้าใจจากการปฏิบัติงาน และมีประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ใน การดำเนินงาน ศูนย์เรียนรู้จึงควรเป็น “เวทีแลกเปลี่ยนจุดแข็ง” ของบุคลากรที่เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน การดำเนิ น การด้ า นการสร้ า งเสริ ม สุ ขภาวะจำนวนมาก พบว่ า เป็ น การดำเนิ น งานแบบ หน่วยงานเดี่ยว ทำให้ขาดความยั่งยืน ขาดประสบการณ์ในการดำเนินงาน ซึ่งอาจไม่ประสบผลสำเร็จ ตามที่มุ่งหวังไว้ ดังนั้น การทำงานในเชิงพื้นที่หรือแม้กระทั่งการขับเคลื่อนภายในหน่วยงานก็ดี ต้องมีผู้ที่ มีความเชี่ยวชาญหลากหลายเข้ามาเป็นทีมทำงานร่วมกัน 2. หาคู่เทียบหรือหาศูนย์เรียนรู้ที่เป็นเลิศ (benchmarking) เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์สำหรับการ พัฒนาศูนย์ให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การหาคู่เทียบนี้อาจเป็นลักษณะการ ดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีภารกิจคล้ายคลึงกับศูนย์เรียนรู้ รวมถึงการนำแนวปฏิบัติท่ดี ี เลิศ (best practice) นำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน 3. การกำหนดแผนการดำเนินงานที่ดี เหมาะสม เป็นรูปธรรมสามารถวัดประเมินผลได้ ซึ่งเป็น แผนการดำเนินงานที่เกิดจากการกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง แผนการ ดำเนินงานนี้ เป็นเหมือนภาพฝันร่วมกันของคนที่ทำงาน ดังนั้นแผนการดำเนินงานที่วางร่วมกันต้องมี ความเป็นไปได้ ระบุถึงผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน และต้องเป็นแผนที่ไม่ระบุเนื้อหาที่กว้างหรือแคบ จนเกินไป จนทำให้ผู้ที่ร่วมดำเนินการรู้สึกอึดอัดและไม่สะดวกในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ต้องมีระบบ การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4. การพัฒนาบุคลากร เนื่องจากการส่งเสริมสุขภาวะของคนนั้นเป็นการดำเนินที่เกี่ยวข้อง หลายมิติ จึงต้องพัฒนาทักษะความรู้ของผู้ที่เข้ามาดำเนินการให้มีชุดความรู้พื้นฐานใกล้เคียงกันเพื่อเป็น แนวทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย 5. ทรั พ ยากร นอกจากทรั พ ยากรด้ า นงบประมาณ อุ ป กรณ์ การดำเนิ น งาน สถานที ่ การ ดำเนินงานแล้ว ในยุคปัจจุบันทรัพยากรที่มีความสำคัญ อีกประการคือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้า มามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในด้านการบริหารงานศูนย์ และการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงพัฒนา ระบบสารสนเทศเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย

72

การพัฒนาต่อยอดในอนาคต กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการในปัจจุบันนอกจากมีความแตกต่างด้า นสุขภาวะแล้ว ยังมี พฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการใช้ชีวิตในแต่ละวันที่แตกต่างกัน ดังนั้น การออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาวะ ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับ การเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือกลุ่มเปราะบางในชุมชน อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น นายกษิดิศ ครุฑางคะ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

73

ผลสรุปจากการประชุมอภิปรายกลุม่

74

75

การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร การประชุมอภิปรายกลุ่ม วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ในการพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะ องค์กร ได้จัดประชุมทางออนไลน์เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เมื่อวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 ดังกล่าว โดยเชิญตัวแทนบุคลากรจากหน่วยงานที่เป็นศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ จำนวน 71 คน เพื่อถอดบทเรียนและเก็บข้อมูลสำคัญในการดำเนินงาน ประกอบด้วย หน่วยงานของรัฐ หน่วยงาน เอกชน องค์กรทางศาสนา ตัวแทนองค์กรเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัย หน่วยงานกองทัพและองค์กรการพยาบาล โดยวิ เคราะห์ ม ู ลจำแนกเป็ น 4 ประเด็ น คื อ บทบาทหน้ าที่ คุ ณลั กษณะ อั ตลั กษณ์ และขั ้ นตอนการ ดำเนินงาน รายละเอียด ดังนี้

1. กลุ่มหน่วยงานของรัฐ (จำนวน 16 คน) 1) บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ บทบาทของศูนย์เรียนรู้สำคัญคือการเป็นตัวเชื่อมโยงกลุ่มเป้าหมายเข้ากับภารกิจของศูนย์ เรียนรู้และแม่ข่าย ด้วยการถ่ายทอดเป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาวะสู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยใช้ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุน 2) คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ในความเห็นของบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ จำแนกเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย (1) โครงสร้างศูนย์การเรียนรู้ โดยจะต้องมีบุคลากรประจำและคณะทำงานประสานงานเพื่อ รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องในการสร้างเสริมสุขภาวะ โดย บุคลากรในศูนย์เรียนรู้จะต้องยึดมั่นในพันธกิจหลักร่วมกันในการทำงาน (2) เครื่องมือในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย เครื่องมือในการวัดผลการดำเนินงาน ช่อง ทางการสื่อสารกับหน่วยงานและสาธารณชน โดยจะต้องมีการปรับปรุงเครื่องมือต่าง ๆ ให้ทันสมัยอย่าง สม่ำเสมอ

76

(3) กิ จ กรรมการดำเนิ น งาน จำแนกกิ จ กรรมออกเป็ น 2 ระดั บ คื อ กิ จ กรรมที ่ เป็ น การ แลกเปลี่ ยนเรี ยนรู้ ระหว่ างศูนย์เรีย นรู้ และภายในศู นย์ เรียนรู ้และกิ จกรรมในการยกระดับทักษะ (upskill) โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี (4) ฐานข้อมูล โดยเป็นฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังและเป็นพื้นฐาน ในการดำเนินงาน รวมทั้งฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญเพื่อให้ศูนย์เรียนรู้มีโอกาสต่อยอดที่จะพัฒนาไปเป็น เครือข่ายต่อไป (5) ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การระบุปัญหาของพื้นที่ ในความรับผิดชอบของศูนย์เรียนรู้ เพื่อขยายผลการดำเนินงานตามแนวคิด Happy 8 รวมทั้งแนวคิด อื่น ๆ (6) ระบบการทำงาน ใช้ระบบการทำงานด้วยระบบคุณภาพในการดำเนินงาน คุณลักษณะของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ตามความเห็นของบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ จำแนก เป็น 6 ประการ ประกอบด้วย (1) การมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยทำหน้าที่ในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างศูนย์เรียนรู้ ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมทั้งหน้าที่ในการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นซึ่งอาจไม่อยู่ในเครือข่ายที่มีอยู่ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการในการสร้างสุขภาวะในประเด็นที่กำหนดวัตถุประสงค์ (2) การกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำงาน โดยมีการนิยามความสำเร็จและวิสัยทัศน์ในการ ทำงานร่วมกัน และมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมและตอบสนองความต้องการของพื้นที่ และ จะต้องมีการวัดประเมินร่วมกับผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องตอบสนองเป้าหมายการ ทำงานร่วมกัน (แนวคิดบนลงล่าง: Top-down) และตอบสนองความต้องการจากพื้นที่ (แนวคิดล่างขึ้น บน: Bottom-up) ซึ่งเป้าหมายในการทำงานนี้ (3) ความเข้าใจบริบทของศูนย์เรียนรู้ในเครือข่าย โดยหน่วยงานที่ทำหน้าเป็นเครือข่ายนั้นควร มีความเข้าใจเกี่ยวกับบริบท ปัญหา ความต้องการของศูนย์เรียนรู้แต่ละแห่ง โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางในการตอบสนองและแก้ไขปัญหาจากฐานข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความ ศรัทธาของศูนย์เรียนรู้ต่อแม่ข่ายและมีการบริหารจัดการ จัดกลุ่มเครือข่าย (cluster) ที่มีศูนย์เรียนรู้ (node) หรือหน่วยประสานงาน (hub) กระจายให้ครอบคลุมในพื้นที่ (4) ความสามารถในการจัดการความรู้ โดยการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการปฏิบัติงาน ที่ นำไปสู่การถอดบทเรียนและจัดการความรู้ในศูนย์เรียนรู้และในเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ตามแนวคิดชุมชน นั กปฏิ บ ั ต ิ (community of practitioner: COP) และมี การวั ด ประเมิ น ผลโดยการเที ย บเคี ย งการ ดำเนินงานระหว่างศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ (benchmarking)

77

(5) การสนับสนุนจากผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงานของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ จะต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งจากภายในและภายนอกเครือข่าย ภายในเครือข่าย ควรได้รับ การสนับสนุนทั้งด้านนโยบายและงบประมาณจากผู้บริหารเครือข่าย รวมทั้งการได้รับการสสนั บสนุนจาก หน่วยงานภาคนอก อาทิ สสส. ที่ควรสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่าย ภาคเอกชน ที่มีจิตอาสา ในการช่วยเหลือสัคม 3) อัตลักษณ์ของเครือข่าย อัตลักษณ์การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้และการดำเนินงานของ สสส. อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ ตามความเหมาะสม โดยไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการครบองค์ประกอบตามแนวคิด Happy 8 หรืออาจ เพิ่มเติมกับแนวคิดการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน (work-life balance) แนวคิดการ ส่งเสริมคุณธรรม แนวคิดตามปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง แนวคิดกลยุทธ์การสร้างความหวัง (hoping strategy) การส่งเสริมด้านอารมณ์ (emotional promotion) 4) ขั้นตอนการเป็นศูนย์เรียนรู้ ขั้นตอนการเป็นศูนย์เรียนรู้โดยสรุปผลจากความคิดเห็นของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ มี ขั้นตอนการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การทำความเข้าใจบริบทพื้นที่ ด้วยการจัดทำฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ครบถ้วน สะท้อนความเป็นจริง ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมาย และการจัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานและแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 3 สร้างเครื อข่าย (cluster) หน่วยดำเนินการ (node) และหน่วยประสานงาน (hub) ที่มีอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และบุคลากรประจำในการดำเนินงาน ขั ้ น ตอนที ่ 4 ดำเนิ น กิ จ กรรมที ่ ม ี ค วามหลากหลาย โดยมุ ่ ง เน้ น การพั ฒ นาทั ก ษะในการ ปฏิบัติงานของแกนนำและบุคลากร เพื่อขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ ขั้นตอนที่ 5 กำกับติดตามการดำเนินงานด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

78

2. กลุ่มหน่วยงานเอกชน (จำนวน 17 คน) 1) บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ศู น ย์ เรี ย นรู้ เป็ นพื้ นที ่ สำหรั บการแลกเปลี่ ย น แบ่ ง ปั นกั น โดยใช้กิ จ กรรมหรือแนวทางที่ หลากหลายภายใต้เป้าหมายเดียวกันในการให้และการตอบแทนสังคมและจิตอาสา ด้วยการสร้าง วัฒนธรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี โดยใช้ทักษะหรือจุดเด่นของแต่หละหน่วยงานมาแบ่งปันกัน 2) คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ที่เหมาะสมตามความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยงานเอกชน ประกอบด้วย 6 ประการ ประกอบด้วย (1) การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน โดยมีการประเมินศักยภาพและความต้องการของบุคลากร องค์กร และกลุ่มเป้าหมาย แล้วมากำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากเป้าหมายที่ ศูนย์เรียนรู้มีความพร้อมและศักยภาพขององค์กร โดยควรเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม องค์กรของศูนย์เรียนรู้และเป็นเป้าหมายที่เป็นภารกิจประจำขององค์กรของศูนย์เรียนรู้ในองค์กรต่าง ๆ อยู่แล้ว (2) รูปแบบจัดกิจกรรมทางออนไลน์ เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและ พฤติกรรมการเรียนรู้ของประชาชน ศูนย์เรียนรู้จึงจะต้องพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้โดยใช้แพลตฟอร์ม ออกไลน์ เช่ น การพั ฒ นาศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ใ ห้ เ ป็ น ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ เ สมื อ นจริ ง ( Virtual Learning Center) การพัฒนาเว็บไซต์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม (3) ช่องทางการสื่อสาร เช่นเดียวกับรูปแบบการจัดกิจกรรม ดังนั้นศูนย์เรียนรู้ต้องพัฒนาช่อง ทางการสื่อสาร โดยใช้แพลตฟอร์มทางออนไลน์เช่นกัน (4) นโยบายการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กรของศูนย์เรียนรู้ ที่ให้ความสำคัญและให้การ สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ (5) ศักยภาพของทีมงาน โดยทีมงานของศูนย์จะต้องมีศักยภาพด้วยการผ่านการพัฒนาทักษะ การทำงาน สร้ า งความรั ก และภาคภู ม ิ ใจในองค์ ก ร จนเกิ ด ความรู ้ ส ึ กเป็ น เจ้ า ขององค์ กร และมี ความสามารถในการประสานความสัมพันธ์ได้กับทุกหน่วยงานภายในองค์กร และมีอำนาจในการ ตัดสินใจเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในองค์กร (6) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก อาทิ การได้รับการสนับสนุนด้านเนื้อหา องค์ความรู้ จาก สสส. การได้รับความช่วยเหลือ และการสนับสนุนวิทยากรจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นต้น คุ ณ ลั กษณะของเครือข่ ายศู นย์ เรี ยนรู ้ต ามความคิ ดเห็ นของบุคลากรในหน่ว ยงานเอกชน ประกอบด้วย 5 ประการ ประกอบด้วย

79

(1) เป้าหมายร่วมกันที่เหมาะสม โดยอาจดำเนินการแบบกึ่งเป็นทางการ ในลักษณะการทำ ข้อตกลง หรือสัญญาการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เป็นศูนย์เรียนรู้ (2) ความเข้มแข็งของเครือข่าย โดยเปิดกว้ างให้มีการร่วมตัวกันของศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ ที่อาสา เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยการขยายเครือข่ายผ่านหน่วยงานในองค์กรที่ทำหน้าที่แรงงานสัมพันธ์เพื่อ เชื่อมโยงองค์กรเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสร้างเครือข่ายรายบุคคล ไปสู่องค์กร และระหว่างองค์กร (3) ความพร้อมขององค์กร ประกอบด้วย ความพร้อมในการให้การสนับสนุนของผู้บริ หาร องค์กร นโยบายขององค์กรที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของเครือข่าย และมีสถานที่ในการดำเนินงาน ร่วมกัน (4) ช่ องทางการแลกเปลี ่ ย นเรี ย นรู ้ โดยมี ช ่ องทางหรื อกิ จ กรรมที ่ เป็ น พื ้ น ที ่ ส ำหรั บ การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ (5) การพัฒนาบุคลากรและศูนย์เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีระบบการยกย่องเชิดชูบุคลากรหรือ ศูนย์เรียนรู้ที่มีการดำเนินงานดีเด่น 3) อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรมการทำงานจิตอาสา การให้ต่อสังคม การแบ่งปันจุดแข็ง กาทำงานแบบครอบครัว 4) ขั้นตอนการเป็นศูนย์เรียนรู้ 1. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน โดยเป็นเป้าหมายที่ เหมาะสม สอดคล้องกับการดำเนิน งาน ตามปกติและสภาพบริบทของพื้นที่ 2. สร้างเครือข่าย โดยมุ่งสร้างเครือข่ายระดับบุคล สู่หน่วยงาน และสร้างเครือข่ายข้า ม หน่วยงาน ที่สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบจิตอาสาร่วมกันเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีในองค์กร 3. พัฒนาความพร้อมข้องศูนย์เรียนรู้ โดยพัฒนาความพร้อมด้านการสนับสนุนด้านนโยบาย จากผู้บริหาร ความพร้อมของอาคารสถานที่ และทรัพยากรในการดำเนินงาน 4. สร้างช่องทางการสื่อสาร กำหนดให้มีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายโดยเฉพาะการสื่อสาร ทางออนไลน์ 5. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยกระดับให้เป็นกิจกรรมทางออนไลน์ 6. ประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้และกำหนดแนวทางการยยกระดับการดำเนินงาน ให้เหมาะสมกับศักยภาพของศูนย์เรียนรู้

80

3. องค์กรทางศาสนา (จำนวน 13 คน) 1) บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความรู้เฉพาะที่สั่งสมมา ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ มี การจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง 2) คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ คุ ณ ลั ก ษณะของศู น ย์ เ รี ย นรู ้ แ ละเครื อ ข่ า ยศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ป ระกอบด้ ว ยองค์ ป ระกอบ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) การมีเป้าหมายที่เป็นทิศทางในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ที่ชัดเจน (2) มีแกนนำและบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์เรียนรู้ที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนในการ ขับเคลื่อนภารกิจของศูนย์เรียนรู้ (3) มีชุดความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศูนย์ตนเอง ที่เกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้และ ประสบการณ์ในการดำเนินงาน และจะต้องมีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อนำชุดความนำรู้ เหล่านี้ทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กร (4) ต้นทุนของศูนย์ที่จะต้องมีทรัพยากรเพียงพอในการขับเคลื่อนภารกิจของตนเอง อาทิ บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์หรือสิ่งของต่าง ๆ 3) อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ มีชุดความรู้เฉพาะทางของตนเองที่เป็นเอกลักษณ์ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือ พื้นที่เป้าหมาย และมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดชุดความรู้นั้นอย่างโดดเด่น 4) ขั้นตอนการเป็นศูนย์เรียนรู้ ขั้นตอนการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ตามความเห็นขององค์กรทางศาสนา ประกอบด้วยขั้นตอน หลัก 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาต้นทุนของศูนย์การเรียนรู้ ประกอบด้วย บุคลากรและทรัพยากรในการ ดำเนินการ และที่สำคัญคือการพัฒนาชุดความรู้ของศูนย์ที่เป็นองค์ความรู้ฉพาะทาง ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์บริบทความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในองค์กรของศูนย์เรียนรู้ หรือชุมชนรอบข้าง ขั้นตอนที่ 3 มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำและมีความมุ่งมั่นตั้งใจ และปรารถนาอยากจะทำ ขั้นตอนที่ 4 มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอในการทำงานทั้งงบประมาณจากภายในองค์กร และงบประมาณสนับสนุนจากภายนอก ขั้นตอนที่ 5 การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในเชิงจิตอาสา ที่เน้นการมีส่วนร่วม

81

4. ชุมชนและมหาวิทยาลัย (จำนวน 12 คน) 1) บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ (1) บทบาทการเป็นหน่วยงานในการสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ (2) เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีกระบวนการจัดการความรู้และการจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่เกิดจากการสั่งสมผ่านประสบการณ์และการจัดกิจกรรมในแต่ละศูนย์ (3) เป็นหน่วยสำคัญในการเชื่อม - แชร์ - ใช้ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูล ทรัพยากร และบุคลากร ระหว่างศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทรัพยากร ร่วมกันในการทำงาน เพื่อใช้ทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรเหล่านั้นในการทำงานร่วมกัน 2) คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ (1) การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน และเชื่อมโยงกับภารกิจหรือผลผลิตหลักของ แต่ละองค์กร โดยการกำหนดเป้าหมายนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นการดำเนินงานครบถ้วนตามหลัก Happy 8 อาจเลือกขับเคลื่อนบางเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของคนในองค์กร โดยจะต้อง เชื่อมโยงกับภารกิจของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เป็นงานประจำไม่ใช่งานเสริม พิเศษที่เพิ่มเข้ามา (2) การพึ่งพาตนเองได้ ในระยะการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ แต่ละหน่วยจะต้องพึ่งพาตนเองและ สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ก่อนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำงาน และเมื่อมีความเข้มแข็งแล้วจึง ขยายผลการดำเนินงานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่อไป (3) การสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การจัดเสวนา การจัดกิจกรรมต่าง ๆ (4) การสร้างการมีส่วนร่วมภายในองค์กรให้มีส่วนในการร่วมงานและร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมคิด ร่วมทำในองค์กร โดยมีเครือข่ายแกนนำในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนงาน (5) การมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ชุมชนและกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานในพื้นที่ที่เพียงพอ ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ ความต้องการของคนในพื้นที่ แกนนำ ภาคีเครือข่าย รูปแบบการดำเนินกิจกรรม เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และนำไปกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ของศูนย์ (6) ความพร้อมในการเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงาน/ศูนย์เรียนรู้ที่มีความสนใจ โดยจะต้องมี กระบวนการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ

82

(7) การถอดบทเรี ย นและการจั ด ทำหลั กสู ต รของศู นย์เรี ย นรู ้ โดยนำความรู ้ ที ่ ได้ รับจาก ประสบการณ์การดำเนินงานของศูนย์มาถอดบทเรียนเพื่อจัดทำหลักสูตรเพื่อขยายผลการดำเนินงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจต่อไป (8) การสร้ า งเครื อ ข่ า ยในแต่ ล ะพื ้ น ที ่ / หน่ ว ยงาน/องค์ ก รเพื ่ อ ขยายผลและต่ อ ยอดการ ดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ (9) ศักยภาพของแกนนำ โดยจะต้องมีความโปร่งใส ได้รับการยอมรับ ได้รับความศรัทธา และ มีความสามารถในการบริหารจัดการ บริหารงบประมาณ และบริหารทรัพยากรบุคคล การสื่อสาร การ ประสานประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง และจะต้องเข้าใจในบริบทของหน่วยงานและทำงานแบบยืดหยุ่น ในส่วนการสร้างความสามารถในการบริหารจัดการ การบริหารงบประมาณ สสส. อาจมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างองค์ความรู้ หรือการมีคณะทำงานหรือกลไกเพื่อช่วยเหลือแกนนำในการบริหารจัด การ ดังกล่าวให้ถูกต้อง เนื่องจากหากเกิดความไม่โปร่งใส หรือข้อสงสัยในการบริหารจัดการอาจเกิดความ ล้มเหลวและเสียศรัทธาของผู้ที่เกี่ยวข้อง (10) ความต่อเนื่องในการดำเนินงาน โดยจะต้องมีปฏิทินการดำเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจน มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และจะต้องสร้างแกนนำรุ่นต่อไปในการทำงานเพื่อไม่ให้เกิด การสะดุดเมื่อแกนนำจากไปหรือไม่ได้ดำเนินการแล้ว (11) การบริหารความเสี่ยงและการจัดแผนรองรับการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงที่ เกิดจากโรคระบาด ไวรัสโคโรนา-2019 ที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนิน กิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง (12) ระบบการประเมินติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ โดยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานของศูนย์ (13) การมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมและการบริหารของศูนย์เรียนรู้ 3) อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ อัตลักษณ์การดำเนินของศูนย์เรียนรู้ยังควรเป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิด Happy 8 เพื่อ สร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงานและขยายผลการดำเนินงานต่อไป นอกจากนี้ศูนย์เรียนรู้และ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ควรเป็นหน่วยงานที่เป็น “ผู้ให้และเป็นที่ พึ่ง” ในการให้องค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญใน การสร้างสุขลักษณะที่ดีในองค์กรและชุมชน ให้กับภาคีเครือข่ายที่มีความหลากหลาย 4) ขั้นตอนการเป็นศูนย์เรียนรู้ การสร้างศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้จำแนกออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกการก่อตั้ง ศูนย์เรียนรู้ และช่วงที่สองการขยายผลการดำเนินงาน

83

ช่วงแรกการก่อตั้งศูนย์ (1) เตรียมตัวเอง ด้วยการสร้างความเข้มแข็งในศูนย์เรียนรู้ด้วยการเริ่มลงมือทำ และสร้างองค์ ความรู้ที่ชัดเจนของศูนย์ โดยเลือกประเด็นในการขับเคลื่อนมาเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาอาจไม่ ครบทั้ง 8 องค์ประกอบ แต่เลือกจุดที่เหมาะสมมาเป็นเป้าหมายและขับเคลื่อนให้เห็นผล (2) เตรียมองค์ความรู้ เมื่อได้เป้าหมายในการทำและทำมาอย่างต่อเนื่องจนตกผลึกเป็น องค์ ความรู้เฉพาะด้านของศูนย์แล้ว จะต้องตกผลึกองค์ความรู้นั้น และแสวงหาแนวทางในการถ่ายทอด และ สื่อสารองค์ความรู้นั้นให้ชัดเจน โดยจะต้องมีเป้าหมายว่าการที่มีคนเข้ามาในศูนย์เรียนรู้จะต้องได้รับ ความรู้เรื่องอะไรเป็นหลัก และเน้นการให้ความรู้ในจุดนั้น ผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ การ อบรม การจัดกิจกรรมต่าง ๆ (3) เตรียมพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ ในการจัดศูนย์เรียนรู้ที่มีเป้าหมายในการดำเนินงานเป็น ชุมชนนั้น จะต้องมีการจัดสถานที่ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการรับรองผู้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ในศูนย์ ช่วงที่สอง การขยายผลการดำเนินงานและการสร้างเครือข่าย ต้องให้ความสำคัญกับการ สร้างความร่วมมือเชื่อมหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) สร้างกิจกรรม ปฏิทินกิจกรรม ชุดกิจกรรม หลักสูตร ชุดความรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการ ถ่ายทอดและสื่อสารองค์ความรู้ของศูนย์เรียนรู้ให้กับหน่วยงานที่สนใจ (2) สร้างแกนนำ ที่มีความสามารถและศักยภาพเพียงพอในการบริหารจัดการ โดยจำแนกเป็น แกนนำภายในองค์กรเพื่ อสร้างสุขภาวะในองค์กร และแกนนำภายนอกศูนย์เรียนรู้เพื่อสร้างความ ร่วมมือ ขยายผล และต่อยอดการดำเนินงาน (3) สร้างความร่วมมือกับชุมชน โดยจะต้องมีฐานข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์ศักยภาพ และ ความต้องการของชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และตอบสนองความต้องการของชุมชนให้มากที่สุด นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัย ชุมชนคือแหล่งฝึกประสบการณ์ ฝึกอาชีพ และฝึกทักษะต่าง ๆ ที่นิสิตสามารถเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยและการฝึกปฏิบัติในชุมชน (4) สร้ า งความร่ว มมื อกั บองค์ กรปกครองส่ วนท้องถิ ่น ที่ เป็ นหน่ว ยงานในระดั บพื ้น ที่ที่มี ความสำคัญ โดยอาจดำเนินงานในลักษณะการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรม การจัด กิจกรรมร่วมกัน การทำสหกิจร่วมกันที่มีการส่งบุคลากรหรือนิสิตเข้าไปทำงานในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ รวมทั้งการถอดบทเรียนที่เกี่ยวข้อง หรือการทำ MOU เพื่อร่วมกัน ขับเคลื่อนสุขภาวะในองค์กร โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณ บุคลากร และทรัพยากร เพียงพอในการขับเคลื่อน โดยมหาวิทยาลัยอาจเป็นกลไกที่เข้าไปช่วยเหลือ และส่งเสริมการสร้างสุข ภาวะ คุณภาพชีวิต และความสมดุลของชีวิตของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

84

5. หน่วยงานกองทัพและองค์กรการพยาบาล (จำนวน 13 คน) 1) บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม ถ่ายทอด และสนับสนุนการ สร้ า งองค์ ความรู ้ เกี ่ ยวกั บการพั ฒ นาสุ ขภาวะขององค์ กร และเป็ น หน่ วยเชื ่อมโยงข้ อมู ล และการ ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายที่สอดรับกับ Happy 8 และเชื่อมโยง สสส. (สำนัก 8) กับเครื อข่าย ของตน ศู น ย์ เรีย นรู้ มี บทยาทเฉพาะในการกำหนดนโยบายและแผนที ่ชั ดเจน มี กระบวนการการ ดำเนินงานที่เป็นระบบ การบริการวิชาการ และสร้างแนวปฏิบัติที่ดีของศูนย์เรียนรู้ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ มีบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุน และ จั ด หางบประมาณให้ กั บศู นย์ เรี ยนรู้ ต ่า ง ๆ ประชาสัม พัน ธ์ สร้ างการรั บรู ้ ติ ด ตามประเมิ นผลการ ดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ 2) คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ คุณลักษณะของศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) ศักยภาพของบุคลากร ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน บนพื้นฐานของหลักการครองตน ครองคน และครองงาน อาทิ มีจิตอาสา มีภาวะผู้นำ เป็นต้น (2) การวางแผนที่ชัดเจน โดยเป็นแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้อ งการของพื้นที่ หลักการของ สสส. (สำนัก 8) (3) การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนการดำเนินงาน และการดำเนินงานอย่าง ต่อเนื่อง มีการประเมินผลการดำเนินงานที่เป็นระบบ (4) โครงสร้างขององค์กรที่ชัดเจน มีการกำหนดรูปแบบ หรือแนวทางการบริหารงานที่ชัดเจน (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศูนย์เรียนรู้ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงาน นวัตกรรมการดำเนินงาน (6) การกำหนดพื้นที่รับผิดชอบที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คุณลักษณะของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ (1) การติดตามประเมินผลที่มุ่งเน้นการประเมิน ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดจากการ ดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ (2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง

85

3) อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ควรกำหนดให้สอดคล้องตามผลลัพธ์ของสำนัก 8 เพื่อให้ การติดตามและประเมินผลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยในแต่ละแห่ง อาจเลือกในประเด็นที่โดดเด่นใน Happy 8 เพียงส่วนเดียวหรือองค์ประกอบทั้งหมดในหลักการดังกล่างก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริ บท ความ เหมาะสมและตามศักยภาพของแต่ละแห่งที่สามารถทำได้ นอกจากนี้จะต้องมีความหลากหลายขององค์ ความรู้ มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป 4) ขั้นตอนการเป็นศูนย์เรียนรู้ ขั้นตอนการตั้งศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างพื้นที่ของศูนย์เรียนรู้ โดยจำแนกเป็น 2 ประเภท ขึ้นอยู่กับกลุ่ม คน ศักยภาพของศูนย์ คือ (1) ศูนย์แบบที่มีอยู่เดิม คือ เป็นศูนย์ที่คนสามารถเข้าถึงได้ เยี่ยมชมผลงาน มี การปรับปรุงสถานที่หรือใช้พื้นที่ให้เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ (2) ศูนย์แบบใหม่ คือ ไม่มีสถานที่ตั้งขึ้น ศูนย์ทางกายภาพ แต่เป็นศูนย์ที่อยู่บนออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลและยุคโควิดในปัจจุบัน มี การสร้างการเรียนรู้แบบใหม่ อาทิ การสร้างการเรียนรู้เสมือนจริง การสร้างห้องประชุมออนไลน์ เช่น clubhouse เพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับคนในองค์กรที่เป็นคนจริง ๆ คอยแก้ปัญหา หรือตอบคำถามอยู่เบื้องหลัง และนัดหมายเพื่อให้คำปรึกษาหรือพูดคุย ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำกฎหมายหรือยโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ชัดเจนและเป็น รูปธรรมในการสร้างสุขภาวะในองค์กร ขั้นตอนที่ 3 สร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรมีความรู้สึกร่วมกันที่เห็นถึงความสำคัญในการตั้ง ศูนย์เรียนรู้และร่วมกันพัฒนาศูนย์เรียนรู้ ขั ้ น ตอนที ่ 4 การจั ด ทำแผนการดำเนิ น งาน ออกแบบการดำเนิ น งานและโครงสร้ าง การ ดำเนินงานของศูนย์ โดยมีโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน อาจอยู่ในลักษณะของคณะกรรมการที่ รับผิดชอบโดยตรงทั้งในระดับเครือข่ายศูนย์เรียนรู้และศูนย์เรียนรู้ ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ที่เข้ามารับผิดชอบ (บุคลากรพันธุ์ใหม่) เข้ามา ดำเนินการเพือ่ ให้เกิดความต่อเนื่อง โดยมีบุคลากรสายสุขภาพเข้ามาร่วมดำเนินการ ขั้นตอนที่ 6 การประสานงานเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีการวางแผน หรือ MOU เพื่อกำหนดแนวทางในการขยายผลและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างศูนย์เรียนรู้ในเครือข่าย

86

87

ภาคผนวก

88

89

การกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของศูนย์การเรียนรู้และ เครือข่ายการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กร

วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 8:30-11:30 น โดยระบบออนไลน์ ZOOM

โครงการออกแบบและพัฒนากลยุทธ์สง่ เสริม การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร สำนัก 8 (สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้รับทุน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 8.30-9.00 น. 9.00-9.15 น. 9:15-9;30 ฯ 9.30-11.00 น.

รายการ

ลงทะเบียน นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ (ผู้อำนวยการสำนัก 8) ประธานเปิดประชุม ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช (ผูร้ ับผิดชอบโครงการ) ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม อภิปรายเกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม กลุ่ม 1 องค์กรภาครัฐ กลุ่ม 2 องค์กรภาคเอชน กลุ่ม 3 องค์กรศาสนา/สงฆ์ กลุ่ม 4 ชุมชนและมหาวิยาลัยเพื่อชุมชน กลุ่ม 5 กองทัพ/ตำรวจ-บุคลการทางการพยาบาล 11:10-11:30 ผู้แทนกลุ่มย่อยนำเสนอผลการอภิปรายกลุม่ ใหญ่ในที่ประชุมกลุ่มใหญ่ 11:30 น. ประธานปิดประชุม พิธีกร ดร. เกวลิน งามพิริยกร

90 บันทึกเชิญประชุม

91

รายชื่อผู้เข้าประชุม กลุ่ม กลุ่ม 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 กลุ่ม 2 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 กลุ่ม 3 1 2 3 4 5

ชื่อ นามสกุล ดร.ปิยพงษ์ คล้ายคลึง นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผศ.พ.ต.ต.ดร.ธวิช สุดสาคร นายรักษ์ เจริญศิริ นางรุ่งทิวา พงษ์วิจิตร นายยุทธนา เพชรน้อย นางสาวเพ็ญ จะชานรัมย์ นางเเพงศรี พงษ์เกษม นางสาวทัศนีย์ ธรรมชาติ นายธีรพงษ์ สุนาทัย นางสาวชิดชนก อภิชัยบุคคล นางธัญญะรัตน์ สุนทรพิทกั ษ์ ดร.ณัฐพล อนันต์ธนสาร ดร.ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว นางยุพาภรณ์ ตันติจิตรอารีย์ นางสาวอังคณา ภิญโญกุล นายสิทธิพร กล้าแข็ง คุณญดา ล่าฟ้าเริงรณ คุณเมธี จิตรสว่าง นางสาวณัฐรินทร์ พงษ์วิทยภานุ นายปฏิพัทธ์ อุกอาจ นายปิยะพัชร์ ขัยวรกาญจน์ นายวรายุทธ แปลกศักดิ์ นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ นางสาวชัชณารัช จันทนะ นางสาวอัมพร ไทยขำ นางสาวสิริเกศ วาสนาภักดี สุภาพร เทียมบุญประเสริฐ นางสาว ธนาภา งิ้วทอง ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน นายยงจิรายุ อุปเสน ศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช นางสาวปริยาภรณ์ สุขกุล นางสาวพรพิมล ขอนทอง

ผู้แทนองค์กร ประธาน (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผู้แทนกรมสุขภาพจิต ผู้แทนสถาบันวิจัยประชากร ม.มหิดล ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จ.โสตทัศนศึกษา ศูนย์ส่งเสริมอุตฯ 5 จ.ส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตฯ 5 จ.พัฒนาอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตฯ 5 ผู้ประสานงานกลุ่ม ผู้ประสานงานกลุ่ม ประธาน (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ผู้แทนมูลนิธิเครื่องนุ่งห่มไทย ผู้แทนสมาคมนักสร้างสุขภาวะองค์กร บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน กทม. บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ยโสธร บริษัท อีซูซู กาญจนบุรี จำกัด กาญจนบุรี นักทรัพยากรบุคคลปฎิบัติการ ผจก ประชาสัมพันธ์ บริษัทอานิโนะโมะโต๊ะ หน.แผนกกองประชาสัมพันธ์ อายิโนะโมะโต๊ะ สำนัก 8 สสส. สำนัก 8 สสส. สำนัก 8 สสส. สำนัก 8 สสส. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสานงานกลุ่ม ประธาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) ผู้แทนศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ผู้แทนโครงการสื่อสงฆ์ไทยไกลโรค ผู้แทนสถาบันอาศรมศิลป์ หัวหน้าฝ่ายวินัยและส่งเสริมคุณธรรม

92 กลุ่ม

ชื่อ นามสกุล 6 ดร.เพียรกิจ นิมิตรดี 7 พระครูโฆษิตสมนคุณ 8 ผู้แทนพระเทพสีมาภรณ์ 9 รศ.ดร.พินิจ ลาภธนานนท์ 10 พระมหาพร้อมพงษ์ 11 พระมหาประยูร โชติวโร กลุ่ม 3 12 นางสาวยอดขวัญ รุจนกนกนาฏ (3) (ต่อ) 13 นาย ธีรยุทธ สัจจะบุตร กลุ่ม 4 1 ดร.เกวลิน งามพิริยกร 2 ผศ.ดร.ตรรกพร สุขเกษม 3 นางบุสดี ขุนศิริ 4 นายวีระวัฒน์ อัศวสัมฤทธิ์ 5 นางน้ำเพชร มาตาชนก 6 นายวรานนท์ สมคิด 7 นางสุรีพร เป็งเงิน 8 ผศ.ดร.ธัญญรัศม์ ชิดไธสง 9 ดร.สุกัญญรัตน์ คงงาม 10 นายชานนท์ พรมเสือ 11 นายฉัตรดนัย พลพืชน์ (5) 12 นาย กษิดิศ ครุฑางคะ กลุ่ม 5 1 รศ.ดร.พ.ต.อ. หญิง ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล 2 ดร.ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล 3 ผศ.ดร.ดวงเนตร ธรรมกุล 4 ดร.ชวลี บุญโต 5 ดร.พ.ต.ท. อภิสิทธิ์ ตามสัตย์ 6 ผศ.ดร.น.ต.หญิง วัชราพร เชยสุวรรณ 7 ดร.น.ต.หญิง หฤทัย อาจปรุ 8 ดร.น.อ.พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ 9 น.อ.หญิง อัจฉรา นุตตะโร 10 พ.ท.หญิง สรานันท์ อนุชน 11 นางสาวกฤดิญาดา เกื้อวงศ์ 12 ดร.ลภัสพิชชา สุรวาทกุล หัวหน้าโครงการ : ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช ผู้ประสานงานกลางใหญ่ : ดร.วัชรศักดิ์ สุดหล้า

ผู้แทนองค์กร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน วัดแม่ห่าง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย วัดหุบกระทิง โครงการพระนักพัฒนาการสาธาณสงเคราะห์ สถาบันวิจยั จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาส แทนพระสุธีรัตนบัณฑิตเจ้าอาวาสวัดสุทธิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนัก 8 สสส. ผู้ประสานงานกลุ่ม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ชุมชนโคกหนองนา ดารา โมเดล บ้านดู่ สุรินทร์ นักสาธารณสุข รพ.พระยุพราชกล่มเก่า พยาบาลวิชาชีพ รพ.บางพลี นักวิเคราะห์นโยบาย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผอ. กองบริหารงานบุคคล มทร ธัญบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ส.บัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนัก 8 สสส. ผู้ประสานงานกลุ่ม ประธาน (วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ) พยาบาล/กองทัพ พยาบาล/กองทัพ มหาวิทยาลัย ตำรวจ ทหารเรือ ทหารเรือ ทหารอากาศ ทหารอากาศ ทหารบก สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ผู้ประสานงานกลุ่ม

93 สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมอภิปรายกลุม่ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 (ผ่าน Zoom) แบบเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วดั ศูนย์เรียนรู้/เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 1. ท่านเข้าประชุมในฐานะผู้แทนจากหน่วยงาน (ระบุ) …………………………………………………………… 2. ประเภทหน่วยงาน  1) หน่วยงานรัฐ  2) หน่วยงานเอกชน  3) องค์กรทางการแพทย์/พยาบาล  4) วัด/องค์กรทางศาสนา  5) ชุมชน  6) มหาวิทยาลัย  7) มูลนิธิ/สมาคมหน่วยงานภาครัฐ  8) อื่น ๆ ระบุ ……………………………..… 3. เคยเป็นภาคีรับทุนโครงการของสำนัก 8  1) เคย  2) ไม่เคย โปรดตรวจข้อรายการต่อไปนี้ และทำเครื่องหมาย ✓ ในข้อที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของท่าน และแสดงความเห็น เพิ่มเติมได้ภายใต้แต่ละประเด็นคำถาม และพื้นที่ว่างตอนท้ายของแบบสอบถาม ตอน 1 มุมมองต่อองค์ประกอบของศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ข้อรายการ ก. 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. ข. 8. 9. 10. ค. 11. 12. 13. 14. ง. 15. 16. 17.

บุคคลที่จะเป็นแกนนำในการสร้างศูนย์เรียนรู้/เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุข ภาวะองค์กรควรมีคุณลักษณะต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด มุ่งมั่นที่จะมีส่วนช่วยพัฒนาสร้างเสริมสุขภาวะของคนในองค์กรหรือในชุมชน ยึดมั่นในการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง เคารพความแตกต่างทางความคิด ชอบทำงานท้าทายและตั้งเป้าหมายการทำงานสูง มีทักษะความสามารถในการโน้มน้าวบุคคลให้ทำงานร่วมกัน มีทักษะการระดมสรรพกำลัง ทั้งแหล่งทุน ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันได้ มีทักษะการทำงานที่ยืดหยุ่นปรับตัวทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีทักษะการบริหารจัดการ วางระบบโครงสร้างที่เสริมหนุนซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้/เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ควรอยู่บนฐานความเชื่อต่อไปนี้ ระดับใด เชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดนำไปสู่การได้คำตอบที่สร้างสรรค์ เชื่อมั่นในการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม เชื่อว่าการสร้างเสริมสุขภาวะที่เน้นความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) ของบุคลากรจะ นำไปสู่ประสิทธิผลองค์กร การยกระดับการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของศูนย์เรียนรู้/เครือข่ายศูนย์ เรียนรู้ควรมีจุดเน้นตามข้อรายการต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด เน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคคลที่ทำงานสร้างเสริมสุขภาวะ คิดค้นวิธีการหรือแนวคิดใหม่ในการสร้างสิ่งใหม่ที่จะทำให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ กำหนดประเด็นสุขภาวะแบบองค์กรครอบคลุม Happy 8 ทุกมิติ มีฐานข้อมูลชี้สภาพปัญหาหรือรองรับการพัฒนาสุขภาวะขององค์กร บุคคลผู้มบี ทบาทในการสนับสนุนการทำงานของสำนัก 8 (สำนักสนับสนุน สุขภาวะองค์กร) ควรมีคุณลักษณะต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในนโยบายและเป้าหมายการทำงานของสำนัก 8 เคยมีประสบการณ์การทำงานกับสำนัก 8 ในบทบาทผู้รับทุน กรรมการ ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ฯลฯ สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานของสำนักต่าง ๆ ของ สสส. ให้ทำงานแบบเชื่อมโยง หรือบูรณาการกันได้ และสอดคล้องกับสภาพบริบทขององค์กร/ชุมชน

น้อย

ปานกลาง

มาก

ไม่จำเป็น

94 ข้อรายการ จ. 18. 19. 20. 21. ฉ. 22. 23. ช. 24. 25.

26. 27. 28. 29. 30.

ปัจจัยต่อไปนี้สามารถทำให้องค์กรสามารถสร้างเสริมสุขภาพแบบต่อเนื่องยั่งยืนมาก น้อยเพียงใด มีระบบฐานข้อมูลที่สะท้อนผลการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร มีบุคคลที่ทำงานในรูปของคณะกรรมการที่ทำงานแบบเครือข่าย มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะแบบรุ่นสู่รุ่น ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนัก 8 องค์กรของท่านมีศักยภาพเป็นแกนนำในการสร้างเครือข่ายการสร้างเสริม สุขภาวะองค์กรได้มากน้อยเพียงใด พร้อมเป็นแกนนำในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรของตนเองและองค์กรอื่น สามารถทำงานเป็นแม่ข่ายได้ หากได้รับการยอมรับจากองค์กร/ชุมชนต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ระดับใดในการใช้แนวคิดใหม่ในการสร้างศูนย์เรียนรู้ (learning center) เพื่อเสริมสุขภาวะองค์กร โดยเฉพาะในยุค COVID-19 การจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ (online platform) ให้บุคคลในองค์กรต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นศูนย์เรียนรู้เสมือน (virtual learning center) หรือชุมชนการเรียนรู้เสมือน (virtual learning community) (เช่น ทำสื่อ คลิปวิดิทัศน์ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุข ภาวะองค์กรเผยแพร่ในสื่อสังคม) มีหน่วยงานประสานการทำงานของศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ กระจายตามภูมิภาค ศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ ทำงานแบบเครือข่ายที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แกนนำหรือแม่ข่ายของศูนย์เรียนรู้สามารถทำงานได้แบบอิสระจาก สสส. แต่มี เป้าหมายช่วยสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรตามนโยบายของสำนัก 8 แม่ข่ายศูนย์เรียนรู้ที่ทำงานร่วมกับสำนัก 8 มีบทบาทในการสื่อสารนโยบายของ สสส. ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ และนำปัญหาของพื้นที่เสนอสำนัก 8 หรือ สสส. กำหนดอัตลักษณ์สำหรับศูนย์เรียนรู้หรือเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ที่ทำงานร่วมกับสำนัก 8

น้อย

ปานกลาง

มาก

ไม่จำเป็น

95 ตอน 2 บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรูก้ ารสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19.

20.

ข้อรายการ แปลงนโยบายสุขภาวะองค์กรไปสู่การปฏิบัติที่เป็นไปได้ กำหนดกลยุทธ์สุขภาวะที่นำไปสู่ความสำเร็จ กำหนดเป้าหมายสุขภาวะองค์กรร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทองค์กร บุคลากร และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตการทำงานประจำวัน ดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรแบบเชิงรุก สื่อสารกิจกรรม ที่เกี่ยวกับสุขภาวะองค์กรให้เข้าถึงบุคลากร สร้างค่านิยมสุขภาวะให้กับบุคลากรเกิดความมุ่งมัน่ ยึดมั่นผูกพัน เจตคติที่ ดี ความเชื่อในการพัฒนาสุขภาวะตนเองร่วมกับองค์กรที่เน้นความยั่งยืน สร้างวัฒนธรรมองค์กรเปี่ยมสุข หรือองค์กรสุขภาวะ สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาวะให้กับบุคลากร สร้างพฤติกรรมสุขภาวะองค์กร ประเมินสุขภาวะองค์กรของบุคลากรในองค์กร แสวงหาแหล่งทุนและความร่วมมือจากองค์กรภายนอก ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะให้กับองค์กร (change agent) สร้างและเผยแพร่แหล่งความรู้และเครื่องมือสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาวะองค์กร ให้คำปรึกษาการสร้างเสริมสุขภาวะกับหน่วยงานในองค์กร ขยายขอบเขตการให้บริการการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร วางแผนระยะยาวในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ให้ได้ตามมาตรฐานสากล เทียบเคียงประสิทธิภาพและการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้และหน่วยงาน อื่นๆ จัดเตรียมความพร้อม กลไก และยกระดับการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ทั้งด้านความรู้ของบุคลากรและโครงสร้างการดำเนินงานให้เชื่อมโยงกับ เครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะได้ สร้างแนวทางปฏิบัติที่ดี (best practices) สำหรับศูนย์เรียนรู้

น้อย

ปานกลาง

มาก

ไม่จำเป็น

96 ตอน 3 บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายศูนย์เรียนรูก้ ารสร้างเสริมสุขภาวะองศ์กร 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19.

20.

ข้อรายการ เป็นตัวกลางประสานงานในการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อสร้างเสริม สุขภาวะองค์กรได้ทุกกลุ่ม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์เรียนรู้ภายในเครือข่าย สร้างระบบการสื่อสารติดต่อกันอย่างทั่วถึงภายในเครือข่าย ดำเนินงานโดยให้สมาชิกในเครือข่ายมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง มีข้อมูลศักยภาพ ลักษณะธรรมชาติ จุดแข็งในการสร้างเสริมสุขภาวะของ ศูนย์เรียนรู้ภายใต้เครือข่าย มีฐานข้อมูลสภาพบริบท ความต้องการของพื้นที่ ชุมชน องค์กรเป้าหมาย ดำเนิ น งานที ่ ส ร้ า งประโยชน์ ต ่ อ สมาชิ ก ในเครื อ ข่ า ยและกระจาย ผลประโยชน์ที่ได้รับอย่างทั่วถึง จัดการการใช้งบประมาณและทรัพยากรส่วนกลางสำหรับการดำเนินงาน เกี่ยวกับเครือข่าย เป็นคนกลางในการแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาในการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างศูนย์เรียนรู้ แสวงหาศูนย์เรียนรู้เข้ามาเป็นสมาชิกของเครือข่าย จั ด เตรี ย มความพร้ อ มให้ ศ ู น ย์ เ รี ย นรู ้ ท ี ่ เ ป็ น สมาชิ ก ใหม่ ใ ห้ ส ามารถ ดำเนินงานของเครือข่ายได้ พัฒนาคุณภาพและขอบเขตการให้บริการของเครือข่ายต่อเนื่อง เป็นแกนนำในการพัฒนาความรู้ของศูนย์เรียนรู้ให้ทันสมัยและนำไปใช้ได้ จริง สร้างคลังความรู้และเครื่องมือสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร ให้กับสมาชิกในเครือข่าย แสวงหาและประสานงานกั บแหล่งทุนที ่เครือข่ ายศูนย์ เรียนรู้ ได้รั บจาก ภายนอกและภายในเครือข่าย วางแผนระยะยาวในการพัฒนาเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ของตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับองค์กรภายนอกเพือ่ สร้างเสริมสุขภาวะ องค์กรอย่างต่อเนือ่ ง ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้และเครือข่าย ขับเคลื่อนระบบ กลไก และยกระดับการสร้างเสริมสุขภาวะของสมาชิก ทั้งด้านความรู้ของบุคลากร โครงสร้างการดำเนินงานให้เชื่อมโยงกับ เครือข่ายภายนอกและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ สร้ า งแนวทางปฏิ บ ั ต ิ ท ี ่ ด ี (best practices) สำหรั บ ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ แ ละ เครือข่าย

น้อย

ปานกลาง

มาก

ไม่จำเป็น

97 ข้อเสนอแนะสำหรับการสร้างศูนย์เรียนรู้/เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรที่เหมาะสมกับ บริบทเฉพาะขององค์กร/ชุมชนของท่าน รวมทั้งบริบทสังคมไทย 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรที่คาดหวังมีอะไรบ้าง

2. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรที่คาดหวังมีอะไรบ้าง

3. อัตลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ซึ่งจะเป็นองค์กรหรือพื้นที่สนับสนุน การทำงานของสำนัก 8 (สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร) สสส. (ถ้าจำเป็นต้องมี) ควรมีลักษณะอย่างไร

4. จุดเริ่มต้นของการสร้างพื้นที่ใหม่ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรควร ดำเนินการอย่างไร

ขอขอบพระคุณที่ให้ข้อมูล ท่านสามารถเขียนตอบ หรือพิมพ์ส่งหลังการประชุม ทางอีเมล์ [email protected] ข้อมูลของท่านจะมีประโยชน์อย่างยิง่ ต่อการพัฒนางานของสำนัก 8

98

เป้าหมายการประชุม ได้ข้อมูลสะท้อนจากมุมมองของผู้เกี่ยวข้องที่นาไปพัฒนาองค์ประกอบที่ คาดหวังของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ องค์กร มุมมองของผู้เกี่ยวข้อง บุคลากรของสานัก ภาคีรับทุนโครงการจากสานัก ผู้รับผิดชอบการทางานในพื้นที่

องค์กร หน่วยงานที่ทาหน้าที่เป็นแม่ข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร ผู้รับทุน เป็น ภาคีแม่ข่าย

ผู้รับทุน ให้องค์กรอื่น ทาหน้าที่เป็น ภาคีแม่ข่าย

ภาคีผู้รับทุน

ภาคีผู้รับทุน

ภาคีแม่ข่าย

ภาคีแม่ข่าย

ภาคีผู้รับทุน

ผู้รับทุน ให้องค์กรอื่น ทาหน้าที่เป็น ภาคีแม่ข่าย ภาคีผู้รับทุน

ภาคีแม่ข่าย

ภาคีแม่ข่าย

ภาคีเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้

ภาคีเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้

ศูน ย์เรียนรู้

ศูน ย์เรียนรู้ องค์กร หน่วยงานที่ทาหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาวะ ในองค์กร จัด กิจกรรมการให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เป็นแหล่งเรียนรู้แก่องค์กรอื่นในการเข้ามาศึกษาดูงาน หรือการขอคาปรึกษาด้านการ สร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เป็นหน่วยประสานงานการดาเนินงานระหว่างภาคีแม่ข่ายกับภาคีแม่ข่าย หรือการ ทางานระหว่างภาคีเครือข่ายกับสานัก สสส.

ผู้ให้คาปรึกษา

ศูนย์เรียนรู้ ชานาญเฉพาะ

ศูนย์ เรียนรู้

ผู้รับทุน เป็น ภาคีแม่ข่าย

ภาคีเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้

ภาคีเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

องค์กร หน่วยงานที่ทาหน้าที่เป็นแม่ข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร

ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ภาคี แม่ข่าย ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ภาคี แม่ข่าย ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

ภาคี แม่ข่าย ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

องค์กร หน่วยงานที่ทาหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาวะ ในองค์กร จัด กิจกรรมการให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เป็นแหล่งเรียนรู้แก่องค์กรอื่นในการเข้ามาศึกษาดูงาน หรือการขอคาปรึกษาด้านการ สร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เป็นหน่วยประสานงานการดาเนินงานระหว่างภาคีแม่ข่ายกับภาคีแม่ข่าย หรือการ ทางานระหว่างภาคีเครือข่ายกับสานัก สสส.

99

ผู้ให้คาปรึกษา

ศูนย์เรียนรู้ ชานาญเฉพาะ

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ภาคี แม่ข่าย ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ภาคี แม่ข่าย ศูนย์ เรียนรู้

ภาคี แม่ข่าย ศูนย์ เรียนรู้

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

ท าทหนาท อ นย์ และเครอ าย นย์ องค์ประกอบและตัวชี้วัด ศูนย์ฯ และเครือข่ายศูนย์ฯ ที่คาดหวัง อัตลักษณ์ของศูนย์ฯ และเครือข่ายศูนย์ฯ ที่จะเป็นองค์กรหรือพื้นที่ สนับสนุนการทางานของสานัก สานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. จุดเริ่มต้นของการสร้างพื้นที่ใหม่ ให้เป็นศูนย์ฯ และเครือข่ายศูนย์ฯ ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร

ศูนย์ เรียนรู้ ศูนย์ เรียนรู้

. . . . . . .

คุณลักษณะของบุคคลที่จะเป็นแกนนาในการสร้างศูนย์ฯ เครือข่ายศูนย์ฯ ฐานความเชื่อในการบริหารจัดการศูนย์ฯ เครือข่ายศูนย์ฯ การยกระดับการทางานด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของศูนย์ฯ เครือข่ายศูนย์ คุณลักษณะของบุคคลที่สนับสนุนการทางานของสานัก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพแบบต่อเนื่องยั่งยืน มีประสิทธิผล ศักยภาพเป็นแกนนาในการสร้างเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร แนวคิดใหม่ในการสร้างศูนย์ฯ เพื่อเสริมสุขภาวะองค์กร โดยเฉพาะในยุค -

100

หลักฐานการประชุม

101

102 ที่ปรึกษาโครงการ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้ประสานงานข้อมูลของสำนัก 8 นางสาวชัชณารัช จันทนะ นางสาวอัมพร ไทยขำ นางสาวสิรเิ กศ วาสนาภักดี คณะทำงานในใครงการ ศ. ดร.สุวิมล ว่องวาณิช ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน อ.ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว ดร.ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล

รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะในองค์กร (2563-2564) ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะในองค์กร (สิงหาคม 2564-ปัจจุบัน) นางสาวยอดขวัญ รุจนกนกนาฏ นายฉัตรดนัย พลพืชน์

ผู้รับผิดชอบโครงการและหัวหน้าโครงการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะจัดทำรายงาน ศ. ดร.สุวิมล ว่องวาณิช ดร. ปิยพงษ์ คล้ายคลึง นายกษิดิศ ครุฑางคะ คณะผู้สัมภาษณ์และถอดมุมมองของผู้เกี่ยวข้อง ศ. ดร.สุวิมล ว่องวาณิช ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน อ.ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว ดร.ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล ดร. ปิยพงษ์ คล้ายคลึง ดร.เพียรกิจ นิมิตรดี นางสุภาพร เทียมบุญประเสริฐ นาย กษิดิศ ครุฑางคะ นางสาวกฤดิญาดา เกื้อวงศ์ คณะทำงานการประชุมอภิปรายกลุ่ม ศ. ดร.สุวิมล ว่องวาณิช ผศ.ดร.สุดประนอม สมันตเวคิน อ.ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว

ดร. ปิยพงษ์ คล้ายคลึง ดร. เกวลิน งามพิริยกร ดร.ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล

103 ผู้ประสานงานกลุม่ ย่อย ดร.ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล ดร.วัชรศักดิ์ สุดหล้า นางสุภาพร เทียมบุญประเสริฐ นายธีรยุทธ สัจจะบุตร นางสาวธนาภา งิ้วทอง สรุปผลการประชุมอภิปรายกลุ่ม นาย กษิดิศ ครุฑางคะ

ดร.ณัฐพล อนันต์ธนสาร ดร.ลภัสพิชชา สุรวาทกุล นางสาวกฤดิญาดา เกื้อวงศ์ นายกษิดิศ ครุฑางคะ

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.