การเปรียบเทียบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) Flipbook PDF

การเปรียบเทียบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)
Author:  s

86 downloads 132 Views 3MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

โครงการขับเคลื่อนการจัดทาเอกสารวิชาการ ภายใต้ความร่วมมือของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการจัดทาเอกสารวิชาการ กับสานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

เอกสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบส่วนบุคคลของผู้เขียน สานักงานเลขาธิการวุฒิสภาไม่จาเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

บทความทางวิชาการ

ªÞҾѲ¹ ÍÑÁ¾ÐÇÑμñ ¹Ôμԡû¯ÔºμÑ Ô¡Òà Êӹѡ¡®ËÁÒÂ

การเปรียบเทียบกฎหมายที่มีผลบังคับใชในปจจุบัน ที่เกี่ยวกับการแกไขปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหวางประเทศไทย และสหราชอาณาจักร เปนที่ทราบกันดีวารัฐบาล พลเอก ประยุทธ จันทรโอชา ไดมีการประกาศสถานการณฉุกเฉิน๒ ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ไปเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ ซึ่งอาจมีขอสังเกตในทางวิชาการวา พระราชกําหนดดังกลาวอาจจะเปนการใหอํานาจแกรัฐ โดยเบ็ ด เสร็ จ เด็ ด ขาดมากเกิ น ไป ๓ เพราะมี ก ารโอนอํ า นาจหน า ที่ ข องรั ฐ มนตรี ว  า การกระทรวง ตามกฎหมาย หรือทีเ่ ปนผูร กั ษาการตามกฎหมาย หรือทีม่ อี ยูต ามกฎหมายทีเ่ กีย่ วของทัง้ หมด ๔๐ ฉบับ โอนมาเปนอํานาจหนาทีข่ องนายกรัฐมนตรีเปนการชัว่ คราว แมจะเปนเพียงในสวนทีเ่ กีย่ วกับการอนุญาต อนุมตั ิ สัง่ การบังคับบัญชา หรือชวยในการปองกัน แกไข ปราบปราม ระงับยับยัง้ ในสถานการณฉกุ เฉิน หรือฟน ฟูหรือชวยเหลือประชาชนเทานัน้ ก็ตาม๔ การประกาศใชพระราชกําหนดดังกลาว ยอมกอใหเกิด ผลตอกลไกในการตรวจสอบและควบคุมรัฐในทางการเมือง๕ ดวยเหตุนี้ทําใหหลายฝายอาจเกิด การตัง้ คําถามวา พระราชบัญญัตโิ รคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ ทีม่ ผี ลบังคับใชอยูแ ลวนัน้ เพียงอยางเดียวไมสามารถ นํามาใชแกปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่กําลังระบาดในขณะนี้ไดเพียงพอ หรือไม อยางไร ผูเขียนเห็นวา การประกาศใชพระราชกําหนดดังกลาว มีแงดีในมุมของการทําให เกิดความรวดเร็วในการบริหารประเทศในแงของการรวมอํานาจในการตัดสินใจ และสามารถเสริม การทํางานบางอยางทีก่ ารบังคับใชพระราชบัญญัตโิ รคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพียงอยางเดียวนัน้ ไมสามารถ ทําใหการแกไขปญหาเกิดความสมบูรณและทันทวงที ยกตัวอยางที่เห็นไดชัดคือ การหามออกนอก เคหสถานทั่วราชอาณาจักร หรือการประกาศเคอรฟวส๖ นิติกรปฏิบัติการ สํานักกฎหมาย นม. (มธ.), นบท., LL.M. UNIVERSITY OF BRISTOL ประกาศสถานการณฉุกเฉิน ในทุกเขตทองที่ทั่วราชอาณาจักร Retrieved April 17, 2020 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/069/T_0001.PDF ๓ กรุงเทพธุรกิจ. (2563). พระราชกําหนดฉุกเฉินโควิด ‘รัฐประหารเงียบ’ Retrieved April 17, 2020 from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872948 ๔ มาตรา ๗ แหงพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๕ สราวุธ ทับทอง. (2563). ความทาทายครั้งใหมกับการใช พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จัดการโรคระบาดเปนครั้งแรก. Retrieved April 17, 2020 from https://themomentum.co/thailand-state-of-emergency-fight-covid-19/ ๖ มติชนออนไลน. (2563).ชํานาญ เทียบ พ.ร.บ.โรคติดตอฯ กับ พรก.ฉุกเฉิน ความเหมือนหรือตาง ในวิกฤตโควิด-19. Retrieved April 17, 2020 from https://www.matichon.co.th/politics/news_2121474 ๑ ๒

๔๑

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

สิ่งที่ผูเขียนตองการเนนยํ้า คือ ขอบเขตของการใชอํานาจและการประกาศใชพระราชกําหนด ดังกลาว ก็มีขอพึงระวังและควรตองพิจารณาดวยความละเอียดรอบคอบหลายประการดวยกัน ขอควรพิจารณาประการแรก คือ คณะกรรมการตามพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ ฉุ ก เฉิ น พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ ง ต อ ไปในบทความนี้ จ ะเรี ย กว า พระราชกํ า หนดฉุ ก เฉิ น มีความแตกตางจากคณะกรรมการโรคติดตอแหงชาติ โดย “คณะกรรมการโรคติดตอแหงชาติ” ตามพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจํานวนทั้งหมด ๓๐ คน ในขณะที่พระราชกําหนดฉุกเฉิน มี “คณะกรรมการบริหารสถานการณฉกุ เฉิน” จํานวน ๑๙ คน คณะกรรมการทัง้ ๒ คณะจะมีตาํ แหนง ที่เหมือนกันเพียงแค ๕ ตําแหนง คือ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการตางประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติ และอธิบดีกรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ทําใหเกิดขอสังเกตวาการประกาศใชพระราชกําหนดฉุกเฉินนั้นทําใหองคประกอบของบุคคลที่มาเปน คณะกรรมการนั้นขาดบุคลากรที่มีความรูความเชี่ยวชาญทางดานการแพทยและการสาธารณสุขไป หรือไม เพราะคณะกรรมการโรคติดตอแหงชาติตามพระราชบัญญัตโิ รคติดตอนั้น รวมไปถึงกรรมการ ซึ่งมาจากผูแทนแพทยสภา ผูแทนสภาการพยาบาล ผูแทนสภาเทคนิคการแพทย และผูแทนสมาคม โรงพยาบาลเอกชน กรรมการผูทรงคุณวุฒิที่เปนผูมีความรู ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ ในดานการสาธารณสุข การควบคุมโรค และดานอื่นที่เปนประโยชนในการปองกันและควบคุมโรค เปนอยางดี โดยมีรัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุขเปนประธานกรรมการ๗ ดังกลาว ขอพิจารณาประการที่สอง คือ การใชพระราชกําหนดฉุกเฉินนั้นมีที่มาจากสถานการณ ความไมสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต๘ ซึง่ ถูกออกแบบมาใหแกไขเรือ่ งปญหาความมัน่ คงและความสงบ ของรัฐเปนหลัก๙ ในขณะทีพ่ ระราชบัญญัตโิ รคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ เกิดขึน้ มาจากพืน้ ฐานเรือ่ งสิทธิมนุษยชน ระหวางประเทศ (International Human Rights Law) โดยที่ประเทศไทยใหสัตยาบัน (ratification) กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใชบังคับ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ โดยมีประเทศที่เขารวมเปนภาคีในปจจุบันทั้งหมด ๑๗๐ ประเทศ๑๐

มาตรา ๑๑ แหงพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ ทวี สอดสอง. (2563). “ทวี”ชีส้ าระสําคัญกฎหมาย 2 ฉบับ เปรียบเทียบคณะกรรมการ พ.ร.บ.โรคติดตอ กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน. Retrieved April 17, 2020 from https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3823350 ๙ เลิศศักดิ์ ตนโต. (2557). ขอคิดบางประการ : กฎหมายการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน. Retrieved April 17, 2020 from http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1928 ๑๐ Wikipedia. Retrieved April 17, 2020 from https://en.wikipedia.org/wiki/International_Covenant_on_Civil_and_Political_Rights ๗ ๘

๔๒

บทความทางวิชาการ

พื้นที่สีนํ้าเงินบนแผนที่แสดงรายชื่อประเทศที่เขารวมเปนภาคี ของกติการะหวางประเทศวาดวย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม๑๑ เนือ้ หาของกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไดมกี ารพูดถึง สิทธิตาง ๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เชน สิทธิในการตัดสินใจดวยตนเอง (the right to self-determination)๑๒ สิทธิในการไมถูกเลือกปฏิบัติ (the right to non-discrimination)๑๓ สิทธิในการศึกษา (the right to education)๑๔ สิทธิในการทํางาน (the right to work)๑๕ และสิทธิทาง ดานสุขภาพ (the right to health)๑๖ โดยสิทธิทางดานสุขภาพตามกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ขอ ๑๒. ไดบัญญัติไวดังตอไปนี้ “๑. รัฐภาคีแหงกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐาน สูงสุดเทาที่เปนได ๒. ขั้นตอนในการดําเนินการโดยรัฐภาคีแหงกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการทําใหสิทธินี้เปนจริง อยางสมบูรณจะตองรวมถึงสิ่งตาง ๆ ที่จําเปนเพื่อ (ก) การหาหนทางลดอัตราการตายของทารกกอนคลอดและของเด็กแรกเกิดและการพัฒนาทีม่ ี ประโยชนตอสุขภาพของเด็ก (ข) การปรับปรุงในทุกดานของสุขลักษณะทางสิ่งแวดลอมและอุตสาหกรรม สหประชาชาติ. STATUS OF RATIFICATION INTERACTIVE DASHBOARD. Retrieved April 17, 2020 from https://indicators.ohchr.org/ ๑๒ ขอ ๑ แหงกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๑๓ ขอ ๒ แหงกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๑๔ ขอ ๑๓ และขอ ๑๔ แหงกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๑๕ ขอ ๖ และขอ ๗ แหงกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๑๖ ขอ ๑๒ แหงกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๑๑

๔๓

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

(ค) การปองกัน รักษาและควบคุมโรคระบาด โรคประจําถิ่น โรคจากการประกอบอาชีพ และโรคอื่น ๆ (ง) การสรางสภาวะที่ประกันบริการทางแพทย และการใหการดูแลรักษาพยาบาลแกทุกคนใน กรณีเจ็บปวย”๑๗ เมื่อประเทศไทยไดมีพันธกรณีตามกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเรื่องเกี่ยวกับการปองกัน รักษาและควบคุมโรคระบาดนี้เอง ทําใหรัฐจําตองมี การอนุวัติการ (Implementation) กลาวคือ การตราเปนกฎหมายภายในประเทศ (National Laws) เกิดเปนพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมีบทบาทสําคัญเปนอยางมากในการควบคุมโรค ติดตอตัง้ แตในอดีต เชน โรคซารส (SARS) จนกระทัง่ ถึงปจจุบนั ทีม่ สี ถานการณการระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) แตเนื่องจากในปจจุบันรัฐบาลมีการประกาศใชสถานการณฉุกเฉินตามพระราชกําหนดการ บริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทําใหเห็นวาเนื้อหาบางประการมีความทับซอน กับพระราชบัญญัตโิ รคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังนัน้ ผูเ ขียนจึงไดศกึ ษาเปรียบเทียบความแตกตางระหวาง กฎหมายทัง้ สองฉบับในการปองกัน รักษา และควบคุมโรคระบาดในกรณีทเี่ กีย่ วของกับโรคติดเชือ้ ไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ ทั้งนี้ เพื่อใหเกิดความเขาใจในกฎหมายทั้งสองฉบับ ดังนี้

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหาร พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ราชการในสถานการณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๙ (๑) หามมิใหบคุ คลใด -ไมมี(๑) หามบุคคลใดออกนอก ออกนอกเคหสถานภายใน เคหสถานภายในระยะเวลา ระยะเวลาที่กําหนด เวนแต ที่กําหนด จะไดรบั อนุญาตจากพนักงาน เจาหนาที่ หรือเปนบุคคลซึ่ง ไดรับยกเวน (๒) หามไมใหมีการชุมนุม -ไมมีมาตรา ๙ (๒) ห า มมิ ใ ห มี หรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ การชุ ม นุ ม หรื อ มั่ ว สุ ม กั น ณ ที่ใด ๆ หรือกระทําการใด อั น เ ป น ก า ร ยุ ย ง ใ ห เ กิ ด ความไมสงบเรียบรอย

ขอสังเกต -

-

กระทรวงการตางประเทศ. กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. Retrieved April 17, 2020 from http://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/icescrt.pdf ๑๗

๔๔

บทความทางวิชาการ

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ.ศ. ๒๕๔๘

ขอสังเกต

(๓) ห า มการเสนอข า ว อันอาจทําใหประชาชนเกิด ความหวาดกลัวหรือเจตนา บิ ด เบื อ นข อ มู ล ข า วสาร ทํ า ให เ กิ ด ความเข า ใจผิ ด ใ น ส ถ า น ก า ร ณ ฉุ ก เ ฉิ น จนกระทัง่ ความมัน่ คงของรัฐ

-ไมม-ี

มาตรา ๙ (๓) ห า มการ เสนอขาว การจําหนายหรือ ทํ า ให แ พร ห ลายซึ่ ง หนั ง สื อ สิ่ ง พิ ม พ หรื อ สื่ อ อื่ น ใดที่ มี ข อ ค ว า ม อั น อ า จ ทํ า ใ ห ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิ ด เบื อ นข อ มู ล ขาวสารทําใหเกิดความเขาใจผิด ในสถานการณฉกุ เฉินจนกระทบ ตอความมั่นคงของรัฐ หรือ ความสงบเรี ย บร อ ยหรื อ ศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้ ง ในเขตพื้ น ที่ ที่ ป ระกาศ สถานการณ ฉุ ก เฉิ น หรื อ ทั่วราชอาณาจักร

-

(๔) ห า มการใช เ ส น ทาง ค ม น า ค ม ห รื อ ก า ร ใ ช ยานพาหนะหรือกําหนดเงือ่ นไข การใช เ ส น ทางคมนาคม หรือการใชยานพาหนะ

- มี ก า ร กํ า ห น ด เงื่อ นไขการใช ย าน พาหนะ กล า วคื อ ควบคุ ม โรคติ ด ต อ ประจําดานควบคุม โรคติ ด ต อ ระหว า ง ประเทศ (มาตรา ๓๙) - ใหเจาของพาหนะ หรือผูควบคุม

มาตรา ๙ (๔) หามการใช เส น ทางคมนาคมหรื อ การ ใชยานพาหนะ หรือกําหนด เงื่ อ นไขการใช เ ส น ทาง คมนาคมหรือการใชยานพาหนะ

-

๔๕

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติ ด ต อ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๔๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ า ห น ะ ที่ เ ข า ม า ในราชอาณาจั ก ร จากทองที่หรือเมือง ทานัน้ ดําเนินการตาม เงื่อ นไขที่กํา หนดไว (มาตรา ๔๐)

ขอสังเกต

(๕) ห า มการใช อ าคาร มาตรา ๓๔ (๗) มาตรา ๙ (๕) ห า มการ หรื อ เข า ไปอยู ห รื อ อยู ใ น หามผูใดเขาไปหรือ ใช อ าคาร หรื อ เข า ไปหรื อ ออกจากที่ เ อกเทศ อยูในสถานที่ใด ๆ สถานที่ใด ๆ เวนแตไดรับอนุญาต จากเจ า พนั ก งาน ควบคุ ม โรคติ ด ต อ (๘) เข า ไปในบ า น โรงเรื อ น สถานที่ หรือพาหนะที่มีหรือ สงสัยวามีโรคติดตอ อั น ตรายหรื อ โรค ระบาดเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ เฝ า ระวั ง ป อ งกั น และควบคุ ม มิ ใ ห มี การแพรของโรค

-

(๖) ใหอพยพประชาชนออก จากพืน้ ทีท่ กี่ าํ หนดเพือ่ ความ ปลอดภัยของประชาชนหรือ ห า มผู ใ ดเข า ไปอยู ใ นพื้ น ที่ ที่กําหนด

-ไมมี-

มาตรา ๙ (๖) ให อ พยพ ประชาชนออกจากพื้ น ที่ ทีก่ าํ หนดเพือ่ ความปลอดภัย ของประชาชนดั ง กล า ว หรือหามผูใดเขาไปในพื้นที่ ที่กําหนด

-

(๗) การเฝาระวังโรคติดตอ

มาตรา ๓๑ - ๓๓

-ไมมี-

๔๖

-

บทความทางวิชาการ

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ.ศ. ๒๕๔๘ -ไมมีการบัญญัติไว (๘) ใหผูที่เปนหรือมีเหตุอัน มาตรา ๓๔ (๑) เปนการเฉพาะควรสงสัยวาเปนโรคติดตอ หรื อ ผู ที่ เ ป น ผู สั ม ผั ส โรค หรือเปนพาหะ มารับการตรวจ หรื อ รั ก ษา หรื อ รั บ การ ชันสูตรทางการแพทย และ อาจดําเนินการโดยการแยก กัก กักกัน หรือคุมไวสังเกต ณ สถานที่ซ่ึงเจาพนักงาน ควบคุมโรคติดตอกําหนด -ไมม-ี (๙) ใหผูที่มีความเสี่ยงที่จะ มาตรา ๓๔ (๒) ติดโรคไดรับการสรางเสริม ภูมิคุมกันโรค

ขอสังเกต -

-

(๑๐) ใหนําศพหรือซากสัตว ซึ่ ง ตายหรื อ มี เ หตุ อั น ควร สงสัยวาตายดวยโรคติดตอ อันตรายหรือโรคระบาดไป รั บ การตรวจ หรื อ จั ด การ ทางการแพทย

มาตรา ๓๔ (๓)

-ไมม-ี

-

(๑๑) กํ า จั ด ความติ ด โรค หรือทําลายสิ่งใด ๆ ที่มีเชื้อ โรคติดตอ หรือมีเหตุอนั ควร สงสัยวามีเชื้อโรคติดตอ (๑๒) หามผูใดกระทําการ หรือดําเนินการใด ๆ ซึ่งอาจ ก อ ให เ กิ ด สภาวะที่ ไ ม ถู ก สุขลักษณะซึ่งอาจเปนเหตุ ให โ รคติ ด ต อ อั น ตรายหรื อ โรคระบาดแพรออกไป

มาตรา ๓๔ (๔)

-ไมม-ี

-

มาตรา ๓๔ (๖)

-ไมม-ี

-

๔๗

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

อํานาจในการออก พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) เพือ่ ปฏิบตั กิ ารใหเปนไป (๑๓) การรายงานตัว ตามพระราชบัญญัตนิ ี้ ใ ห เ จ า พ นั ก ง า น ควบคุ ม โรคติ ด ต อ มี อํ า นาจมี ห นั ง สื อ เรียกบุคคลใด ๆ มา ให ถ อ ยคํ า หรื อ แจ ง ข อ เท็ จ จริ ง หรื อ ทํ า คําชี้แจงเปนหนังสือ หรื อ ให ส ง เอกสาร ห รื อ ห ลั ก ฐ า น ใ ด เพื่อตรวจสอบหรือ เพื่อใชประกอบการ พิจารณา (มาตรา ๔๕ (๑))

พ.ร.ก. การบริหารราชการ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในกรณีท่สี ถานการณฉุกเฉิน นายกรั ฐ มนตรี มี อํ า นาจ ออกขอกําหนดประกาศให พนักงานเจาหนาที่มี อํ า นาจ ออกคําสั่งเรียกใหบุคคลใด มารายงานตัวตอ พนักงาน เจาหนาที่หรือมาใหถอยคํา หรื อ ส ง มอบเอกสารหรื อ หลั ก ฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับ สถานการณฉุกเฉิน (มาตรา ๑๑(๒))

(๑๔) การเขาออกตรวจคน เ พื่ อ ป ฏิ บั ติ ก า ร ใ ห เ ป น ไ ป ต า ม เคหสถาน พระราชบั ญ ญั ติ น้ี ใหเจาพนักงานควบคุม โรคติ ด ต อ มี อํ า นาจ เข า ไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานทีใ่ ด ๆ ใ น เ ว ล า ร ะ ห ว า ง พระอาทิตยขึ้นและ พระอาทิตยตก หรือ ในเวลาทําการของ อาคารหรือสถานทีน่ น้ั เพื่อตรวจสอบ

ในกรณีทสี่ ถานการณฉกุ เฉิน น า ย ก รั ฐ ม น ต รี มี อํ า น า จ ออกข อ กํ า หนดประกาศ ใ ห พ นั ก ง า น เ จ า ห น า ที่ มี อํ า นาจออกคํ า สั่ ง ตรวจค น รื้อ ถอน หรือทําลายซึง่ อาคาร สิ่งปลูกสราง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจํ า เป น ในการ ป ฏิ บั ติ ห น า ที่ เ พื่ อ ร ะ งั บ เหตุ ก ารณ ร า ยแรงให ยุ ติ โดยเร็วและหากปลอยเนิ่นชา จะทําใหไมอาจระงับเหตุการณ ไดทนั ทวงที (มาตรา ๑๑ (๔))

๔๘

ขอสังเกต -

-

บทความทางวิชาการ

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือควบคุมใหเปนไป ตามพระราชบัญญัตนิ ้ี (มาตรา ๔๕ (๒))

ขอสังเกต

(๑๕) สั่งปดตลาด สถานที่ ประกอบหรื อ จํ า หน า ย อาหาร สถานที่ ผ ลิ ต หรื อ จําหนาย เครื่องดื่ม โรงงาน สถานทีช่ มุ นุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานทีอ่ น่ื ใด ไวเปนการชั่วคราว

เ ฉ พ า ะ ใ น ก ร ณี ที่ มี เ ห ตุ จํ า เ ป น เ ร ง ด ว นเพื่ อ เป น การ ปองกันการแพรของ โรคติ ด ต อ อั น ตราย ห รื อ โ ร ค ร ะ บ า ด (มาตรา ๓๕ (๑.))

-ไมมีการบัญญัติไว เปนการเฉพาะ-

(๑๖) สั่ ง ให ผู ที่ เ ป น หรื อ มี เหตุ อั น ควรสงสั ย ว า เป น โรคติดตออันตรายหรือโรค ระบาดหยุดการประกอบอาชีพ เปนการชั่วคราว

เฉพาะในกรณี ที่ มี เหตุ จํ า เป น เร ง ด ว น เพื่อเปนการปองกัน การแพร ข องโรค ติดตออันตรายหรือ โรคระบาด (มาตรา ๓๕ (๒.))

-ไมมีการบัญญัติไว เปนการเฉพาะ-

-

(๑๗) สั่งหามผูที่เปนหรือมี เหตุ อั น ควรสงสั ย ว า เป น โรคติดตออันตรายหรือโรค ระบาดเข า ไปในสถานที่ ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด

เฉพาะในกรณี ที่ มี เหตุ จํ า เป น เร ง ด ว น เพื่อเปนการปองกัน การแพร ข องโรค ติดตออันตราผหรือ โรคระบาด (มาตรา ๓๕ (๓.))

-ไมมีการบัญญัติไว เปนการเฉพาะ-

-

(๑๘) ประกาศใหพนักงาน เจาหนาที่มีอํานาจจับกุม

-ไมม-ี

ในกรณีที่สถานการณฉุกเฉิน

-

๔๙

-

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ.ศ. ๒๕๔๘ และควบคุ ม ตั ว บุ ค คลที่ ให น ายกรั ฐ มนตรี มี อํานาจ สงสัยวาจะเปนผูรวมกระทํา ออกขอกําหนด (มาตรา ๑ (๑)) การให เ กิ ด สถานการณ ฉุ ก เ ฉิ น ห รื อ เ ป น ผู ใ ช ผู โ ฆษณาผู ส นั บ สนุ น การ กระทําเชนวานั้น

ขอสังเกต

(๑๙) ประกาศใหพนักงาน เจ า หน า ที่ มี อํ า นาจออก คํ า สั่ ง ตรวจสอบจดหมาย หรือการสื่อสารดวยวิธีการ อืน่ ใด ตลอดจนการสัง่ ระงับ การติดตอสื่อสารใด (๒๐) ประกาศห า มมิ ใ ห กระทําการใด ๆ หรือสั่งให กระทําการใด ๆ เทาทีจ่ าํ เปน แก ก ารรั ก ษาความมั่นคง ของรั ฐ ความปลอดภั ย ของประเทศ หรื อ ความ ปลอดภัยของประชาชน

-ไมมี-

ในกรณีที่สถานการณฉุกเฉิน ให น ายกรั ฐ มนตรี มี อํ า นาจ ออกขอกําหนด (มาตรา ๑๑ (๕))

-ไมมี-

ในกรณีที่สถานการณฉุกเฉิน ผูเขียนมีความเห็น ให น ายกรั ฐ มนตรี มี อํ า นาจ วาขอกําหนดขอนี้มี ออกขอกําหนด (มาตรา ๑๑ (๖)) ความหมายกวางมาก สามารถใชไดอยาง ค ร อ บ จั ก ร ว า ล ใ น ก ร ณี ที่ ไ ม มี ขอกําหนดเปนการ เฉพาะตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการ ในสถานการณฉกุ เฉิน เช น สั่ ง ป ด ตลาด เป น ต น สามารถ ใชมาตรา ๑๑ (๖) นี้ได

(๒๑) ประกาศใหพนักงาน เจาหนาทีม่ อี าํ นาจออกคําสัง่ ห า มมิ ใ ห ผู ใ ดออกไปนอก ราชอาณาจักร และ

-ไมมี-

ในกรณีที่สถานการณฉุกเฉิน ให น ายกรั ฐ มนตรี มี อํ า นาจ ออกขอกําหนด

๕๐

-

-

บทความทางวิชาการ

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ.ศ. ๒๕๔๘ (มาตรา ๑๑ (๗) และ (๘) ป ร ะ ก า ศ ใ ห พ นั ก ง า น ตามลําดับ) เจาหนาที่มีอํานาจสั่งการ ใหคนตางดาวออกไปนอก ราชอาณาจักร (๒๒) ออกคําสั่งใหใชกําลัง ทหารเพือ่ ชวยเจาหนาทีฝ่ า ย ปกครองหรื อ ตํ า รวจระงั บ เหตุ ก ารณ ร า ยแรง หรื อ ควบคุมสถานการณใหเกิด ความสงบโดยดวน (๒๓) โทษทางกฎหมาย

๑๘

ขอสังเกต

-ไมม-ี

ในกรณีที่สถานการณฉุกเฉิน ใหนายกรัฐมนตรีมอี าํ นาจออก ขอกําหนด (มาตรา ๑๑ (๑๐))

-

-มีโทษทางกฎหมาย ขึ้ น อ ยู กั บ ค ว า ม ร า ยแรงของแต ล ะ ฐานความผิด (มาตรา ๔๙ - ๕๗) -บางฐานความผิด มีแตโทษปรับอยางเดียว เ ช น ม า ต ร า ๓ ๕ “ ผู ใ ด ไ ม อํ า น ว ย ค ว า ม ส ะ ด ว ก แ ก เจาพนักงานควบคุม โรคติ ด ต อ หรื อ เจ า พนั ก งานท อ งถิ่ น ตามมาตรา ๓๘ ตอง ระวางโทษปรั บ ไม เกินสองหมืน่ บาท”๑๘

ระวางโทษจํ า คุ ก ไม เ กิ น สองป หรื อ ปรั บ ไม เ กิ น สี่ ห มื่ น บาท หรื อ ทั้ ง จํ า ทั้ ง ป รั บ ( ม า ต ร า ๑ ๘ )

โดยภาพรวมแล ว พ.ร.ก. การบริหาร ราชการในสถาน การณ ฉุ ก เฉิ น ดู มี โทษที่ รุ น แรงกว า เพราะไมวาจะเปน การกระทําความผิด ฐานความผิ ด ใด โทษทางกฎหมาย ที่นํามาใชจะเปนไป ตามมาตรา ๑๘ ทั้ ง สิ้ น แต ใ นเรื่ อ ง ความผิดที่ดูจะสราง ความเสียหายรุนแรง ใหกับสถานการณ โรคระบาด พ.ร.บ. โรคติ ด ต อ มี ก าร กําหนดโทษทาง

มาตรา ๓๕ แหงพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘

๕๑

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

อํานาจในการออก พ.ร.ก. การบริหารราชการ พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) พ.ศ. ๒๕๔๘ -บางฐานความผิด มีโทษทางกฎหมาย สู ง ก ว า โ ท ษ ต า ม มาตรา ๑๘ ของ พ.ร.ก. การบริ ห าร ราชการในสถานการณ ฉุกเฉิน เชน มาตรา ๕๔ เจาของพาหนะหรือ ผู ค วบคุ ม พาหนะ ผู ใ ดไม ป ฏิ บั ติ ต าม คําสัง่ ของเจาพนักงาน ควบคุ ม โรคติ ด ต อ ตามมาตรา ๔๐ (๒) ตองระวางโทษ จํ า คุ ก ไม เ กิ น สองป ห รื อ ป รั บ ไ ม เ กิ น ห า แสนบาทหรื อ ทั้งจําทั้งปรับ -ความผิดตาม พระราชบั ญ ญั ติ นี้ ทีม่ โี ทษปรับสถานเดียว ห รื อ มี โ ท ษ จํ า คุ ก ไมเกินหนึ่งป ใหอธิบดีหรือผูซ ง่ึ อธิบดี มอบหมาย มีอํานาจ เปรียบเทียบได (มาตรา ๕๗)

๑๙

มาตรา ๔๐ (๒) แหงพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘

๕๒

ขอสังเกต กฎหมายไวสูงกวา เชน ในกรณีเจาของ ยานพาหนะไมยอม จั ด ใ ห พ า ห น ะ จอดอยู ณ สถานที่ ที่กําหนดใหจนกวา เจาพนักงานควบคุม โรคติ ด ต อ ประจํ า ด า นควบคุ ม โรค ติดตอระหวางประเทศ จะอนุญาตให ไ ปได ตามมาตรา ๔๐ (๒)๑๙

บทความทางวิชาการ

อํานาจในการออก พ.ร.บ. โรคติดตอ ขอกําหนด (สรุปสาระของ พ.ศ. ๒๕๕๘ ขอกําหนดโดยยอ) (๒๔) ขอยกเวนความรับผิด -ไมม-ี ของเจาหนาที่กรณีเปนการ กระทําทีส่ จุ ริต ไมเลือกปฏิบตั ิ และไมเกินสมควร แกเหตุ หรือไมเกินกวากรณีจําเปน

พ.ร.ก. การบริหารราชการ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๗ พนักงานเจาหนาที่ แ ล ะ ผู มี อํ า น า จ ห น า ที่ เชนเดียวกับพนักงานเจาหนาที่ ตามพระราชกําหนดนีไ้ มตอ ง รับผิดทั้งทางแพง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการ ปฏิ บั ติ ห น า ที่ ใ นการระงั บ หรื อ ป อ งกั น การกระทํ า ผิ ด กฎหมาย หากเปนการกระทํา ที่สุจริต ไมเลือกปฏิบัติ และ ไม เ กิ น สมควรแก เ หตุ ห รื อ ไ ม เ กิ น ก ว า ก ร ณี จํ า เ ป น แต ไ ม ตั ด สิ ท ธิ ผู ไ ด รั บ ความ เ สี ย ห า ย ที่ จ ะ เ รี ย ก ร อ ง คาเสียหายจากทางราชการ ต า ม ก ฎ ห ม า ย ว า ด ว ย ความรับผิดทางละเมิดของ เจาหนาที่

ขอสังเกต -

จากตารางเปรียบเทียบขางตน แสดงใหเห็นวากฎหมายทั้งสองฉบับมีลักษณะที่เหมือนกัน กลาวคือ เปนกฎหมายที่มีการจํากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางประการเพื่อใหความรายแรง ของสถานการณการแพรระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ บรรเทาลงจนกลับสูสถานการณปกติ ในเร็ววัน เพื่อประโยชนทางดานสุขภาพและชีวิตของประชาชนทุกคน หากแตพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นัน้ จะมีการจํากัดในการเสนอขาว อันอาจทําให ทําใหเกิดความเขาใจผิดในสถานการณฉุกเฉิน หรือขาวที่มีผลตอความมั่นคงของรัฐ และรัฐยังมีอํานาจ

๕๓

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

ตรวจสอบและสั่งระงับการติดตอสื่อสารไดอีกดวย ซึ่งทั้งสองเรื่องมิไดมีการระบุไวในพระราชบัญญัติ โรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ แตอยางใด นอกจากพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ จะไมมีการออกขอกําหนดเรื่องขาวสารและ การตรวจสอบยับยั้งการสื่อสารดังกลาวแลว อาจพิจารณาไดวาพระราชบัญญัติโรคติดตอ พ.ศ. ๒๕๕๘ จะมีการกําหนดขอบเขตของขอกําหนดตาง ๆ ใหมีขอบเขตที่แคบกวาพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กลาวคือ โดยสวนใหญมกี ารระบุวตั ถุประสงคของขอกําหนด ใหมขี อบเขตทีแ่ นนอนและชัดเจนมาก ดังเชน การใชคาํ วา “เพือ่ ประโยชนในการปองกันและควบคุม โรคติดตอ” หรือ “เพือ่ ปฏิบตั กิ ารใหเปนไปตามพระราชบัญญัตนิ ”ี้ (พระราชบัญญัตโิ รคติดตอ) เปนตน ดังนั้น แมการใชกฎหมายทั้งสองฉบับดังกลาวจะถือวาเปนการชวยสงเสริมการทํางานในการ แกไขปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ก็ตาม กลาวคือ เปนการเขามาเสริมมาตรการ ที่ พ ระราชบั ญ ญั ติ โ รคติ ด ต อ ฯ นั้ น ไม มี ก ารกํ า หนดไว แต สิ่ ง ที่ พึ ง ระวั ง คื อ การใช อํ า นาจตาม พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉินฯ นั้นจะตองไมเปนการลิดรอนสิทธิของ ประชาชนที่มากเกินไป หลักกฎหมายดังกลาวจะตองเปนไปตามหลักการไดสัดสวน (principle of proportionality)๒๐ และเปนการใชอํานาจตามกฎหมายเพื่อแกปญหาไดตรงจุดเทาที่มีความจําเปน และสมควร เพราะดังที่กลาวมาแลวขางตนวาปรัชญาและที่มาของกฎหมายทั้งสองฉบับนั้นมีความ แตกตางกันอยูมากเลยทีเดียว เพื่อใหการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกลาว มีความสมบูรณและครอบคลุมยิ่งขึ้น ผูเขียนจึงคนควา และศึกษากรณีศึกษาในตางประเทศที่มีการแกไขปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยไดมีการสืบคนกฎหมายของสหราชอาณาจักร พบวา ปจจุบันสหราชอาณาจักรเพิ่งจะมีการตรา พระราชบัญญัติไวรัสโคโรนา (Coronavirus Act 2020) โดยพระราชบัญญัติดังกลาวมีการลง พระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใชไปเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓๒๑ ที่ผานมา กฎหมายนี้จะมีผลใชบังคับ เปนระยะเวลา ๒ ป๒๒ แตอาจสิน้ ผลกอนระยะเวลาดังกลาวหรือมีการขยายระยะเวลาตอไปอีกไดขนึ้ อยู กับสถานการณ๒๓ โดยพระราชบัญญัตดิ งั กลาวมีวตั ถุประสงค คือ เพือ่ ใหอาํ นาจเพิม่ เติมแกรฐั บาลในการ ลดการแพรกระจายของไวรัส เพื่อลดภาระการจัดหาทรัพยากรและการบริหารในหนวยงานของรัฐ

วรดนู วิจาระนันนท. (2548). หลักความไดสัดสวนในระบบกฎหมายไทย. Retrieved April 17, 2020 from https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1720275/ ๒๑ Coronavirus Act 2020. (2020). Retrieved April 17, 2020 from https://services.parliament.uk/bills/201921/coronavirus.html ๒๒ Coronavirus Act 2020. (2020). Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/89 ๒๓ Coronavirus Act 2020. (2020). Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/90 ๒๐

๕๔

บทความทางวิชาการ

และเพื่ อ จํ า กั ด ผลกระทบของการขาดแคลนพนั ก งานที่ มี ศั ก ยภาพในการให บ ริ ก ารสาธารณะ ๒๔ โดยกอนหนาทีจ่ ะมีการประกาศใชพระราชบัญญัตดิ งั กลาว สหราชอาณาจักรไดมกี ารบังคับใชกฎหมาย ที่เกี่ยวของกับการแกไขปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อยูแลวคือ พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข (การควบคุมโรค) ค.ศ. ๑๙๘๔ (Public Health (Control of Disease) Act 1984) และพระราชบัญญัติการดูแลสุขภาพและสังคม ค.ศ. ๒๐๐๘ (Health and Social Care Act 2008)๒๕ ตอมาเมือ่ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ ๒๕๖๓ ประเทศอังกฤษมีการออกกฎหมายลําดับรองเปนระเบียบวาดวย การคุมครองสุขภาพ (ไวรัสโคโรนา) ๒๐๒๐ ซึ่งมีการออกขอกําหนดสั่งปดกิจการชั่วคราว เชน รานอาหาร โรงแรม รานสปา รานทําผม โรงภาพยนตร เปนตน๒๖ และหามเดินทางออกนอกที่พัก โดยไมมเี หตุผลอันสมควรในระหวางชวงระยะเวลาฉุกเฉินนี้ ตัวอยางเหตุผลอันสมควร ไดแก การจัดซือ้ สิ่งจําเปนพื้นฐาน (อาหาร ยารักษาโรค นํ้า ฯลฯ) การบริจาคเลือด การออกกําลังกายตามลําพัง หรือกับสมาชิกในครอบครัว การรับการบริการทางการแพทย เปนตน โดยขอกําหนดหามออกจากทีพ่ กั นี้ จะไมใชกับคนไรบาน (homeless)๒๗ ประเด็นที่นาสนใจ คือ สหราชอาณาจักรไมไดมีการการนําพระราชบัญญัติสถานการณฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ (Civil Contingencies Act 2004 (‘CCA’)) ซึ่งออกแบบมาสําหรับเหตุการณฉุกเฉิน ที่ ร  า ยแรงที่ สุ ด ซึ่ ง ให อํ า นาจแก รั ฐ มนตรี ม าใช ๒๘ แม โ รคติ ด เชื้ อ ไวรั ส โคโรนาจะอยู  ใ นคํ า นิ ย าม ของคําวา “เหตุการณหรือสถานการณ” ที่เปนอันตรายตอสวัสดิภาพของมนุษย ตามมาตรา ๑๙๒๙ ของพระราชบัญญัตสิ ถานการณฉกุ เฉินก็ตาม อาจเปนเพราะพระราชบัญญัตดิ งั กลาวมีขอ จํากัดในเรือ่ ง ของระยะเวลาจํากัดในการบังคับใชกฎในสถานการณฉกุ เฉินทีจ่ ะมีเพียง ๓๐ วัน แตสามารถขยายระยะเวลา ไดโดยสภา๓๐ แตในอีกนัยหนึ่งการไมใชพระราชบัญญัติดังกลาวอาจเปนสาเหตุใหรัฐบาลอังกฤษ ถูกวิพากษวจิ ารณเรือ่ งความลาชาในการจัดการแกไขปญหาสถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ nstitute for Government. (2020). Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from https://www.instituteforgovernment.org.uk/explainers/coronavirus-act ๒๕ Health and Social Care Act 2008. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2008/14/contents ๒๖ The Health Protection (Coronavirus, Restrictions) (England) Regulations 2020. (2020). Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/uksi/2020/350/schedule/2/made ๒๗ The Health Protection (Coronavirus, Restrictions) (England) Regulations 2020. (2020). Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/uksi/2020/350/regulation/6/made ๒๘ Laura Kuenssberg. (2020). Coronavirus: Emergency touches every part of UK life Retrieved April 17, 2020 from https://www.bbc.com/news/uk-politics-52012378 ๒๙ Article 19 of Civil Contingencies Act 2004. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2004/36/pdfs/ukpga_20040036_en.pdf ๓๐ Samuel Lovett. (2020). Coronavirus: What would a UK state of emergency look like and how long would it last? Retrieved April 17, 2020 from https://www.independent.co.uk/news/health/coronavirus-ukstate-emergency-nhs-covid-19-pandemic-boris-johnson-a9404816.html ๒๔

๕๕

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

ทั้งนี้ เพื่อใหเกิดความเขาใจที่กระจางขึ้น ผูเขียนจึงไดศึกษาคํานิยาม ของเหตุการณหรือ สถานการณฉกุ เฉิน โดยทําการเปรียบเทียบคํานิยามดังกลาวตามทีป่ รากฎในพระราชบัญญัตสิ ถานการณ ฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ (Civil Contingencies Act 2004 (‘CCA’)) กับ พระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ตารางเปรียบเทียบพระราชบัญญัติสถานการณฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ ของสหราชอาณาจักร กับพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ของประเทศไทย

คํานิยาม “เหตุการณหรือสถานการณฉุกเฉิน” พ.ร.บ. สถานการณฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ ของสหราชอาณาจักร “มาตรา ๑๙ ความหมายของคําวา ฉุกเฉิน (๑.) ในสวนนี้ ฉุกเฉิน หมายถึง (ก) เหตุ ก ารณ ห รื อ สถานการณ ที่ เ ป น อั น ตรายต อ สวั ส ดิ ภ าพของมนุ ษ ย ใ น สหราชอาณาจักรหรือในสวนใดสวนหนึ่ง ของสหราชอาณาจักรหรือภูมิภาค หรือ (ข) เหตุการณหรือสถานการณเปนอันตราย ตอสิง่ แวดลอมของสหราชอาณาจักรหรือใน สวนใดสวนหนึง่ ของสหราชอาณาจักรหรือ ภูมิภาค หรือ (ค) สงคราม หรือการเกิดจลาจลทีเ่ ปนภัย ต อ ความมั่ น คงของสหราชอาณาจั ก ร (๒.) เพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค ข องมาตรา (๑)(ก) เหตุการณหรือสถานการณทเี่ ปนอันตรายเสียหาย ตอสวัสดิภาพของมนุษยก็ตอเมื่อมีการเกี่ยวของ หรือกอใหเกิด หรืออาจกอใหเกิดตอ (ก) ความสูญเสียชีวิตของมนุษย (ข) ความเจ็บปวยและการบาดเจ็บของมนุษย (ค) ความไรบาน ๓๑

พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ของประเทศไทย “มาตรา ๔ ในพระราชกําหนดนี้ “สถานการณ ฉุ ก เฉิ น ” หมายความว า สถานการณ อั น กระทบหรื อ อาจกระทบต อ ความสงบเรียบรอยของประชาชนหรือเปนภัยตอ ความมัน่ คงของรัฐหรืออาจทําใหประเทศหรืสว นใด ส ว นหนึ่ ง ของประเทศตกอยู ใ นภาวะคั บ ขั น หรือมีการกระทําความผิดเกีย่ วกับการกอการราย ตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่ ง จํ า เป น ต อ งมี ม าตรการเร ง ด ว นเพื่ อ รั ก ษา ไวซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริยท รงเปนประมุขตามรัฐธรรมนูญ แหงราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพ แหงอาณาเขต ผลประโยชนของชาติ การปฏิบัติ ตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดํ า รงชี วิ ต โดยปกติ สุ ข ของประชาชน การคุมครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบรอย หรื อ ประโยชน ส ว นรวม หรื อ การป อ งป ด หรื อ แก ไ ขเยี ย วยาความเสี ย หายจากภั ย พิ บั ติ สาธารณะอันมีมาอยางฉุกเฉินและรายแรง”๓๑

มาตรา ๔ แหงพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

๕๖

บทความทางวิชาการ

คํานิยาม “เหตุการณหรือสถานการณฉุกเฉิน” พ.ร.บ. สถานการณฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ ของสหราชอาณาจักร

พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ของประเทศไทย

(ง) ความเสียหายตอทรัพยสิน (จ) การหยุดชะงักของการจัดหาเงิน อาหาร นํ้า พลังงาน หรือเชื้อเพลิง (ฉ) การหยุดชะงักของระบบการสื่อสาร (ช) การหยุดชะงักของสิ่งอํานวย ความสะดวกสําหรับการคมนาคม หรือ (ซ) การหยุดชะงักของการบริการที่ เกี่ยวของกับสุขภาพ”๓๑ นอกจากขอจํากัดเรือ่ งระยะเวลาบังคับใชแลว พระราชบัญญัตกิ ารบริหารราชการในสถานการณ ฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ ของสหราชอาณาจักร ยังมีขอจํากัดในเรื่องของกฎที่ออกมาจะตองมีความจําเปน สําหรับวัตถุประสงคในการแกไขสถานการณฉุกเฉินเทานั้น กฎจะตองเปนไปตามหลักการไดสัดสวน และกฎไมสามารถปองกันการประทวงทางอุตสาหกรรม หรือการใชกําลังทหาร และไมสามารถแกไข ภาคที่สอง หรือ พระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๙๘ อีกทั้งกฎดังกลาวไมสามารถเปลี่ยนแปลง วิธีพิจารณาคดีอาญา (มาตรา ๒๓(๔)(ง)) ซึ่งอาจเปนอีกเหตุผลหนึ่งที่ทําใหรัฐบาลหลีกเลี่ยงที่จะใช พระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉินนี้ เพราะพระราชบัญญัติไวรัสโคโรนา (มาตรา ๕๓ และตารางที่ ๒๓) ไดมกี ารอนุญาตใหใชการเชือ่ มตอวิดที ศั น (video links) ในกระบวนการ พิจารณาทางศาล รวมทั้งในคดีอาญาไดดวย๓๒ แมวาเหตุผลตาง ๆ ขางตนอาจเปนเพียงขอสันนิษฐานที่ทําใหรัฐบาลอังกฤษไดมีการตรา กฎหมายไวรัสโคโรนาขึ้นมาเพิ่มเติม แตในทายที่สุดแลวประเด็นที่นาสนใจคือ พระราชบัญญัติไวรัส โคโรนานั้น ประกอบไปดวยเรื่องใดบางที่ไดรับการบัญญัติในกฎหมายฉบับดังกลาว และประเทศไทย ควรนําขอกฎหมายบางประการที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมาเปนตัวอยางในการปรับปรุง พัฒนากฎหมายของประเทศไทยใหสามารถรับมือกับสถานการณที่เกิดขึ้นดวยหรือไม อยางไร Civil Contingencies Act 2004. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2004/36/pdfs/ukpga_20040036_en.pdf ๓๓ Andrew Blick and Clive Walker. (2020). Why did government not use the Civil Contingencies Act? Retrieved April 17, 2020 from https://www.lawgazette.co.uk/legal-updates/why-did-government-not-use-the-civilcontingencies-act/5103742.article ๓๒

๕๗

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

ดังนั้น ผูเขียนจึงขอนําสาระสําคัญบางประการที่นาสนใจของพระราชบัญญัติไวรัสโคโรนา มาเปนตัวอยางในการศึกษาในเรื่องสําคัญ ๆ ดังนี้ เรือ่ งทีน่ า สนใจทีไ่ ดรบั การบัญญัตใิ นกฎหมาย ๑. อํานาจในการออกคําสั่งการหยุดการ ทํางานชั่วคราวของทาเรือ ๒. อํานาจในการออกคําสั่งซึ่งเกี่ยวกับผูที่มี โอกาสติดเชื้อ ๓. อํานาจในการออกคําสั่งเกี่ยวกับการ จัดงาน การชุมนุม และสถานที่ ๔. อํานาจในการขอขอมูลที่เกี่ยวกับหวงโซ อุปทานอาหาร (Food Supply Chains) โดยหวงโซอุปทานอาหาร หมายถึง ระบบเคลื่อนยายอาหารจากผูผลิตหรือ เกษตรกร ไปยังลูกคาหรือผูบริโภค โดย ระหวางทางมี ผูดําเนินการ ผูจัดจําหนาย ผูขายปลีก และบุคคลที่เกี่ยวของมากมาย ที่ทําใหอาหารไปยังมือผูบริโภค๓๖

มาตราหรือเนือ้ หาโดยสังเขปของกฎหมาย มาตรา ๕๐๓๔ มาตรา ๕๑๓๕ มาตรา ๕๒ โดยตาราง ๒๒ ขอ ๕ กําหนดใหมี อํานาจในการสั่งหามการจัดงานหรือการชุมนุม ในกรณีที่มีการหยุดชะงัก หรือมีความเสี่ยงของ การหยุ ด ชะงั ก ของห ว งโซ อุ ป ทานอาหารไม ว า ทั้ ง หมดหรื อ บางส ว น หรื อ กรณี ที่ เ จ า หน า ที่ มี ความเห็นวาหวงโซอปุ ทานอาหารมีการหยุดชะงัก หรือมีความเสี่ยงของการหยุดชะงักทั้งหมดหรือ บางสวน เจาหนาที่มีอํานาจในการขอขอมูลจาก บุ ค คลที่ อ ยู ใ นหรื อ เกี่ ย วข อ งกั บ ห ว งโซ อุ ป ทาน อาหารได (มาตรา ๒๕)๓๗

๕. การสั่งปดสถานศึกษาและสถานที่เลี้ยงเด็ก (Childcare) เปนการชั่วคราว ๖. การจายเงินคาจางในขณะลาปวยตาม กฎหมาย (Statutory Sick Pay)

มาตรา ๓๗๓๘ คาจางขณะลาปวยตามกฎหมาย : ความรับผิดชอบ ของนายจาง

Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/50/enacted ๓๕ Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/51/enacted ๓๖ COVID-19 and the risk to food supply chains: How to respond?. Retrieved April 17, 2020 from http://www.fao.org/family-farming/detail/en/c/1268820/ ๓๗ Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/25/enacted ๓๘ Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/37/enacted ๓๔

๕๘

บทความทางวิชาการ

เรื่องที่นาสนใจที่ไดรับการบัญญัติในกฎหมาย

มาตราหรือเนือ้ หาโดยสังเขปของกฎหมาย (๑) พรบ. เงินสมทบและสวัสดิการสังคม ค.ศ. ๑๙๙๒ มีผลบังคับใชโดยใหถือเสมือนวา ไดแทรกขอความหลังจากมาตรา 159A แลว ดวยขอความดังตอไปนี้ “159B เงิ น ทุ น ของนายจ า งในเรื่ อ งของ ความรับผิดชอบที่เกี่ยวของกับคาจางในขณะ ลาปวยตามกฎหมายที่เกี่ยวของกับไวรัสโคโรนา (๑) คณะกรรมาธิ ก ารเพื่ อ รายได ข องสมเด็ จ พระนางเจ า พระบรมราชิ นี น าถอาจมี ขอบังคับกําหนดใหมีการจายเงินคาจาง ในขณะลาปวยตามกฎหมายโดยนายจาง ในกรณีที่ไมสามารถทํางานไดเนื่องจาก ไวรัสโคโรนา (มาตรา ๓๙)๓๙

๗. เงินบํานาญของเจาหนาที่ระบบดูแล สุขภาพแหงชาติ (National Healthcare Service: NHS)

ใหเจาหนาที่บริการสุขภาพแหงชาติ (National Health Service: NHS) ทีเ่ กษียณแลวมีสทิ ธิไดรบั ประโยชนจากโครงการเงินบํานาญ เหมือนเดิม ทุกประการ ในกรณีท่ีมีการกลับเขาไปทํ า งาน เพื่อสนับสนุนในการปองกันการแพรระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (มาตรา ๔๕)๔๐

๘. การพิจารณาคดีมรณกรรม (Inquest) โดยคณะลูกขุน

สํ า หรั บ วั ต ถุ ป ระสงค ข องมาตรา 7 (2)(c) ของ พระราชบัญญัติเจาหนาที่ชันสูตรศพและความ ยุติธรรม ค.ศ. 2009 (ขอกําหนดเรื่องการจัดใหมี การไต ส วนร ว มกั บ คณะลู ก ขุ น หากเจ า หน า ที่ ชันสูตรศพอาวุโสมีเหตุผลที่สงสัยวาการเสียชีวิต

Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/39/enacted ๔๐ Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/45/enacted ๓๙

๕๙

การเปรียบเทียบกฎหมายทีม่ ผ ี ลบังคับใชŒในป˜จจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับการแกŒไขป˜ญหา สถานการณโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหว‹างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร

เรือ่ งทีน่ า สนใจทีไ่ ดรบั การบัญญัตใิ นกฎหมาย

มาตราหรือเนือ้ หาโดยสังเขปของกฎหมาย เกิดจากโรคทีจ่ ะตองมีการแจงเตือน), COVID-19 ไมใชโรคที่จะตองมีการแจงเตือน (หมายความวาการไตสวนโดยคณะลูกขุนไมเปน การบังคับ หากการตายเกีย่ วของกับ COVID-19)๔๑ (มาตรา ๓๐)๔๒

จากตารางขางตนแสดงใหเห็นวาพระราชบัญญัตไิ วรัสโคโรนาไมเพียงแตเปนการออกขอกําหนด ในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเทานั้น หากแตพระราชบัญญัติดังกลาวยังเปนบอเกิดแหง สิทธิแกประชาชน เชน สิทธิในการไดรับเงินในขณะลาปวยตามกฎหมายของลูกจาง ในกรณีที่ ไม ส ามารถทํ า งานได เ นื่ อ งจากไวรั ส โคโรนา อี ก ทั้ ง พระราชบั ญ ญั ติ ดั ง กล า วมี ก ารขอข อ มู ล จาก ประชาชนในเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวของกับไวรัสโคโรนา เชน การขอขอมูลที่เกี่ยวกับหวงโซอุปทานอาหาร จึงเปนตัวอยางกฎหมายที่นาสนใจเปนอยางยิ่ง ที่ทําใหการแกไขปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ สามารถดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันไมเปนการจํากัดสิทธิ ของประชาชนที่เกินสมควร แตทั้งนี้ไมวาการจะใชพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาแกไขปญหาเหมือนทีป่ ระเทศไทยกําลังทําอยูใ นปจจุบนั หรือการออกกฎหมายใหมเปนการเฉพาะดังที่ สหราชอาณาจักรกําลังบังคับใชอยู ก็มที งั้ ดานทีด่ แี ละดานทีค่ วรตองพึงระวังและพิจารณาอยางละเอียด ถี่ถวนอยางที่กลาวมาแลวขางตน ซึ่งแนนอนวา ไมมีคําตอบไหนถูกตองที่สุด หากแตการศึกษา ในเชิงเปรียบเทียบทําใหเราสามารถนําขอดีของแตละกลยุทธมาศึกษา เพือ่ ทีจ่ ะทําการพัฒนากฎหมาย ของประเทศใหดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตอไป โดยเฉพาะในเรื่องไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวของกับสุขภาพ และชีวิตรางกายของประชาชนทุกคน และมีผลกระทบตอความมั่นคงและสงบสุขของประเทศ บทสรุป จากที่ไดกลาวมาขางตนเกี่ยวกับการเปรียบเทียบกฎหมายที่มีผลบังคับใชในปจจุบันที่เกี่ยวกับ การแกไขปญหาสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระหวางกฎหมายของ ประเทศไทยและสหราชอาณาจั ก ร พบว า การใช ก ฎหมายของประเทศไทยในกรณี ก ารใช พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อาจมีความรวดเร็วในการแกไข What the Coronavirus Bill will do. Retrieved April 17, 2020 from https://www.gov.uk/government/publications/coronavirus-bill-what-it-will-do/what-the-coronavirus-billwill-do#contents-of-the-bill ๔๒ Coronavirus Act 2020. Retrieved April 17, 2020 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2020/7/section/30/enacted ๔๑

๖๐

บทความทางวิชาการ

ป ญ หามากกว า การออกกฎหมายเป น การเฉพาะขึ้ น มาใหม ใ นรู ป แบบพระราชบั ญ ญั ติ ดั ง เช น สหราชอาณาจักร เพราะการออกพระราชบัญญัตินั้นแมในกรณีเรงดวนจะตองใชระยะเวลาพอสมควร เนื่องจากรัฐสภาตองผานกระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหลายขั้นตอน แตการใช พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นัน้ ก็มขี อ พึงระวังในเรือ่ งการใช อํานาจของรัฐในจํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทีต่ อ งเปนไปตามหลักความไดสดั สวน และเทาทีม่ ี ความจําเปนเทานั้นดังที่กลาวไปแลวขางตน ผูเขียนไดพิจารณาแลวเห็นวา การใชพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เฉพาะในชวงระยะเวลาหนึง่ นัน้ ทําใหการแกไขปญหามีความรวดเร็ว แตไมควรใหใช พระราชกําหนดดังกลาวตอไปโดยไมมีระยะเวลาสิ้นสุด หรือไมมีการทบทวนโดยรัฐสภา (ดังเชน พระราชบัญญัติสถานการณฉุกเฉิน ค.ศ. ๒๐๐๔ ของสหราชอาณาจักรไดกําหนดใหการบังคับใชกฎ ในสถานการณฉุกเฉินมีเพียง ๓๐ วัน แตสามารถขยายระยะเวลาไดโดยสภา) ซึ่งหลังจากประกาศใช พระราชกําหนดดังกลาวไประยะเวลาหนึ่งเพื่อแกไขปญหาเฉพาะหนาเทาที่จําเปนแลว ผูเขียนเห็นวา อาจมีการตรากฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการจัดการโรคไวรัสโคโรนา เปนตน มาบังคับใชเปนการเฉพาะ ซึ่ ง ในเบื้ อ งต น ให อ ยู  ใ นรู ป แบบของพระราชกํ า หนดไวรั ส โคโรนา โดยอาจมี ก ารนํ า หลั ก การของ สหราชอาณาจักรที่นาสนใจมาปรับใชใหเหมาะสม เชน ในเรื่องของสิทธิการไดรับเงินคาจางในขณะ ลาปวยตามกฎหมายในกรณีที่ไมสามารถทํางานไดเนื่องจากไวรัสโคโรนา และหัวใจสําคัญในการราง พระราชกําหนดดังกลาว คือ ยังจําเปนตองมีการคํานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนเปนสําคัญอีกดวย โดยที่ผูเขียนเห็นวา หากมีการตราและมีการใชพระราชกําหนดไวรัสโคโรนาควบคูไปกับ พระราชบั ญ ญั ติ โ รคติ ด ต อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป น รู ป แบบการแก ไ ขป ญ หารู ป แบบหนึ่ ง ที่ น  า สนใจ เพราะพระราชบัญญัตโิ รคติดตอฯ มีเนือ้ หาทีถ่ กู ออกแบบมาเพือ่ จัดการกับปญหาโรคระบาดไดมปี ระสิทธิภาพ ในระดับหนึ่งอยูแลว แตเนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) นั้น มีความรุนแรงกวา สถานการณโรคระบาดในครั้งที่ผาน ๆ มา จึงจําเปนตองมีกฎหมายเฉพาะเพิ่มเติมขึ้นมา หากมีการใช กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ควบคูกันไปจะเปนการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการแกไขปญหาที่สอดคลอง กับสถานการณ และในขณะเดียวกันก็เปนการประกันวากฎหมายที่บังคับใชจะไมเปนการลิดรอนสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนจนมากเกินความจําเปนอีกดวย สุดทายนี้ ความคิดเห็นนี้ยังมีสวนที่ตองทําการคิดวิเคราะหและพิจารณาตอไปวา หากมี พระราชกําหนดไวรัสโคโรนา เกิดขึน้ มาจริงแลวนัน้ พระราชกําหนดดังกลาว ควรจะมีขอบเขตครอบคลุม เรือ่ งทีเ่ กีย่ วของเรือ่ งใดบาง เพราะเรือ่ งบางเรือ่ งอาจมีระยะเวลาบังคับใชทแี่ ตกตางกับพระราชกําหนด ไวรัสโคโรนานี้ หรือเปนเรือ่ งทีส่ มควรใหมกี ารออกขอกําหนดแยกตางหากโดยสภาพ ก็อาจจะมีการออก พระราชกําหนดนั้นเปนเรื่องเฉพาะตางหากได เชน เรื่องการอนุญาตใหใชการเชื่อมตอวิดีทัศนใน กระบวนการพิจารณาทางศาล หรือการประชุมทางอิเล็กทรอนิกสของรัฐสภา ซึ่งเปนเรื่องที่นาสนใจ และจะไดวิเคราะหและนําเสนอในโอกาสตอไป

๖๑

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.