Data Loading...

การลงประชามติเพื่อปฏิรูปรัฐสภาอิตาลี Flipbook PDF

การลงประชามติเพื่อปฏิรูปรัฐสภาอิตาลี


124 Views
76 Downloads
FLIP PDF 993.03KB

DOWNLOAD FLIP

REPORT DMCA

โครงการขับเคลือนการจัดทําเอกสารวิชาการ ของสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

การลงประชามติเพือปฏิรูปรัฐสภาอิตาลี กษิตา เจริญพันทวีสิน

เอกสารวิชาการนีเปนความคิดเห็นและความรับผิดชอบส่วนบุคคลของผู้เขียน สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาไม่จําเปนต้องเห็นพ้องด้วย.

1

การลงประชามติเพื่อปฏิรูปรัฐสภาอิตาลี กษิตา เจริญพันทวีสิน

1

การลงประชามติเพื่อปฏิรูปรัฐสภาอิตาลี การลงประชามติ เ พื่ อ รั บ ร า งกฎหมายปฏิ รู ป รั ฐ สภาอิ ต าลี ถู ก จั ด ขึ้ น เมื่ อ วั น ที่ 20 – 21 กั น ยายน พ.ศ. 2563 รางกฎหมายดังกลาวมีเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วของกับการเปลีย่ นแปลงจํานวนสมาชิกสภาของสาธารณรัฐอิตาลี โดยแกไขรัฐธรรมนูญในสวนทีเ่ กีย่ วของบางมาตรา เพือ่ ลดจํานวนสมาชิกรัฐสภาลงกวา 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิก เดิม ซึง่ ปจจุบนั อิตาลีมกี ารปกครองแบบสองสภา ประกอบดวย สภาผูแ ทนราษฎร (Camera dei Deputati) และ วุฒสิ ภา (Senato della Repubblica) มีจํานวนสมาชิกสภาทีม่ าจากการเลือกตัง้ รวมมากทีส่ ดุ ในยุโรปตะวันตก โดย มีจํานวนรวม 945 คน ประกอบดวยสมาชิกสภาผูแ ทนราษฎร (Deputati) จํานวน 630 คน และสมาชิกวุฒสิ ภา (Senatori) จํานวน 315 คน2การลงประชามติในครัง้ นีจ้ ะเปนการลงประชามติเพือ่ รับรางกฎหมายปฏิรปู รัฐธรรมนูญ (Referendum Costituzionale) ครัง้ ที่ 4 ในประวัตศิ าสตรของสาธารณรัฐอิตาลี ความเปนมา แนวคิดนี้เปนความคิดริเริ่มของพรรค Movimento 5 Stelle ซึ่งมองวาจํานวนสมาชิกสภาอิตาลีที่มาก เกินไปในปจจุบันนั้น นอกจากจะทําใหการทํางานในสภาไรเอกภาพแลว ยังเปนการสูญเสียงบประมาณอัน เกินความจําเปน ซึ่งในภาพรวมแลวก็ไดรับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองอื่นดวย โดยรางกฎหมายแกไข รัฐธรรมนูญดังกลาวไดถูกเสนอตอวุฒิสภาอิตาลีตั้งแตชวงตนป พ.ศ. 2562 โดยไดรับเสียงสนับสนุนจากทั้ง สองสภาในการพิจารณาทั้งสองครั้ง จนกระทั่งในการลงมติครั้งที่ 2 ของสภาผูแทนราษฎรเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562 สภาผูแทนราษฎรอิตาลีก็ไดลงคะแนนรับรองรางกฎหมายดังกลาว และไดประกาศลง ในรัฐกิจจานุเบกษา (Gazzetta Ufficiale) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2562

1 2

นักวิเทศสัมพันธปฏิบัติการ กลุมงานภาษาฝรั่งเศส รัสเซีย และอิตาลี สํานักภาษาตางประเทศ

ในจํานวนนี้ยังไมรวมสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีพ (Senatore a vita) ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 59 ประกอบดวย อดีตประธานาธิบดีที่จะไดรับสถานะเปนสมาชิก วุฒิสภาโดยอัตโนมัติหลังหมดวาระ และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแตงตั้งโดยประธานาธิบดี โดยเลือกจากพลเมืองที่มีผลงานดีเดนดานสังคม วิทยาศาสตร ศิลปะ และวรรณกรรม ซึ่งอดีตประธานาธิบดีก็จะไดรับตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาโดยอัตโนมัติหลังหมดวาระการเปนประธานาธิบดีอีกดวย เพียงแตจะไมถูกนับรวมอยูใน จํานวนสมาชิกฯที่ไดรับการแตงตั้ง สืบคนจาก https://www.senato.it/1021 ณ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

2

รางกฎหมายดังกลาวยังไมมผี ลบังคับใช ทัง้ ๆ ทีค่ วรจะมีผลบังคับใชตงั้ แตชว งตนปทผี่ า นมา สาเหตุทที่ ําใหเกิดความลาชา เนือ่ งจากกระบวนการแกไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายทีเ่ กีย่ วของของอิตาลี ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 138 ไดกําหนดวา หากการลงมติรบั รางกฎหมายไมไดรบั คะแนนเสียงขางมาก 2 ใน 3 จากสภาใดสภาหนึง่ ในการลงคะแนนครัง้ สุดทาย สมาชิกสภาใดสภาหนึง่ จํานวนไมนอ ยกวา 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกสภานัน้ สามารถเขาชือ่ รองขอใหมกี ารทําประชามติ ไดภายในสามเดือนนับจากวันทีม่ กี ารประกาศในรัฐกิจจานุเบกษา ซึง่ ในการลงมติรบั รางครัง้ ที่ 2 ของวุฒสิ ภาอิตาลีมี คะแนนเสียงขางมากไมถงึ เกณฑทกี่ ําหนด คือ 2 ใน 3 ของสมาชิกวุฒสิ ภา ทําใหตอ มาไดมสี มาชิกวุฒสิ ภาจํานวน 71 คน (คิดเปนจํานวนเกินกวา 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกวุฒสิ ภาทัง้ หมด) รวมกันลงชือ่ และยืน่ คํารองตอศาลฎีกาของอิตาลีเมือ่ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563 เพือ่ ขอใหมกี ารทําประชามติตามทีไ่ ดกําหนดไวในมาตรา 138 ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ สถานการณโรคระบาดโควิด 19 อันหนักหนวงในอิตาลีชว งตนปทผี่ า นมาก็ไดทําใหการลงประชามติตอ งถูกเลือ่ นออกไป จากเดิมทีก่ ําหนดไวเมือ่ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมือ่ กลางเดือนกรกฎาคมทีผ่ า นมาไดเห็นชอบ ใหจดั การลงประชามติในวันที่ 20 และ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 แทน รายละเอียดของรางกฎหมาย การลงประชามติเพือ่ รับรางกฎหมายดังกลาว ไดพดู ถึงการรับรางกฎหมายเพือ่ แกไขรัฐธรรมนูญมาตรา 56, มาตรา 57 และ มาตรา 59 ของรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบนั เพือ่ ลดจํานวนสมาชิกรัฐสภารวมทัง้ สองสภาลง 345 คน คิดเปนจํานวนกวา 1 ใน 3 ของ จํานวนสมาชิกเดิมทีม่ อี ยูท งั้ หมด 945 คน ซึง่ หากการแกไขรัฐธรรมนูญสําเร็จ จะทําใหจํานวนประชากรอิตาลีตอ จํานวนสมาชิกสภา ผูแ ทนราษฎร 1 คน เพิม่ ขึน้ จากเดิม 96,006 คน เปน 151,210 คน และจํานวนประชากรอิตาลีตอ จํานวนสมาชิกวุฒสิ ภา 1 คน เพิม่ ขึน้ จากเดิมราว 188,424 คน เปน 302,420 คน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกวุฒส ิ ภา

3

รางกฎหมายแกไขรัฐธรรมนูญดังกลาวประกอบดวย 4 มาตรา3 ไดแก มาตราที่ 1 – แกไขมาตราที่ 56 ลดจํานวนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งจากเดิม 630 คน เหลือ 400 คน ในจํานวนนี้รวมไปถึงสมาชิกสภาผูแทนราษฎรที่ไดรับการเลือกตั้งจากชาวอิตาลีที่อาศัยอยู นอกสาธารณรัฐอิตาลี เดิมจํานวน 12 คน เหลือ 8 คน มาตราที่ 2 – แกไขมาตราที่ 57 ลดจํานวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งจากเดิม 315 คน เหลือ 200 คน ในจํานวนนี้รวมไปถึงสมาชิกวุฒิสภาที่ไดรับการเลือกตั้งจากชาวอิตาลีที่อาศัยอยูนอกสาธารณรัฐ อิตาลี เดิมจํานวน 6 คน เหลือ 4 คน ในขณะที่จํานวนสมาชิกวุฒิสภาขั้นตํ่าที่ถูกกําหนดไวใหแตละแควนลด ลงจาก 7 เหลือ 3 คน นอกจากนี้ ยังมีการกําหนดใหจังหวัดปกครองตนเอง Trento และ Bolzano มีฐานะ เทียบเทาแควน ซึ่งทําใหทั้งสองไดโควตาจํานวนสมาชิกวุฒิสภา ไปจังหวัดละ 3 คนเชนกัน มาตราที่ 3 – แกไขมาตราที่ 59 กําหนดใหตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีพในสภาที่ไดรับการแตงตั้งโดย ประธานาธิบดีแหงสาธารณรัฐอิตาลี มีจํานวนสูงสุดไดไมเกิน 5 คนในทุกกรณี ทั้งนี้เพื่อลดความไมชัดเจน ของขอกฎหมายเดิมที่อาจเกิดการตีความไปไดวาประธานาธิบดีหนึ่งคนสามารถเสนอไดคนละ 5 ชื่อ เชน ในกรณีที่อดีตประธานาธิบดี Sandro Pertini (ดํารงตําแหนง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2528) และอดีตประธานาธิบดี Francesco Cossiga (ดํารงตําแหนง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 – 28 เมษายน พ.ศ. 2535) ที่ตางเสนอไปคนละ 5 ชื่อ ทําใหมีผูอยูในตําแหนงดังกลาวพรอมกัน ในสภาถึง 9 คน4 มาตราที่ 4 – กําหนดเวลาบังคับใชกฎหมาย ให มีผลบังคับใชตงั้ แตวนั ทีม่ กี ารยุบสภาหรือเมือ่ หมด วาระของสภาชุดปจจุบนั ทัง้ นี้ โดยตองพนกําหนด 60 วัน นับแตวนั ประกาศใชกฎหมาย รัฐธรรมนูญอิตาลี ที่มา:https://www.culturacattolica.it/attualit%C3%A0/in-rilievo/ultime-news/2018 /06/19/i-cattolici-e-la-costituzione

3

อางอิงจาก http://www.comune.mirandola.mo.it/aree-tematiche/documenti-del-cittadino/referendum-costituzionale-settembre2020/referendum-29-marzo ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 4

นาย Eduardo de Filippo หนึ่งในสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีพ ไดรับการแตงตั้งโดยอดีตประธานาธิบดี Sandro Pertini เมื่อป พ.ศ. 2524 และหมดวาระลง เมื่อเสียชีวิตในป พ.ศ. 2527 สืบคนจาก http://www.senato.it/leg/09/BGT/Schede/Attsen/00000789.htm ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

4

สถานการณ/ผลการลงประชามติ ผลดี/ผลเสียของรางกฎหมายฯ ผลการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนอิตาลีในชวงกอนการลงประชามติ พบวาสวนใหญมแี นวโนมทีจ่ ะเห็นชอบกับ รางกฎหมายดังกลาว โดยผลสํารวจจากสถาบันวิเคราะหและวิจยั ตลาด IPSOS ทีจ่ ดั ทําขึน้ เพือ่ หนังสือพิมพ Corriere della Sera เมือ่ ปลายเดือนมิถนุ ายนทีผ่ า นมา5 แสดงจํานวนผูต อบแบบสํารวจทีเ่ ห็นดวยกับรางกฎหมายฯ คิดเปนรอยละ 46 ผูท ี่ ไมเห็นดวยคิดเปนจํานวนรอยละ 10 ในขณะทีม่ ปี ระชาชนกลุม ตัวอยางจํานวนรอยละ 20 ไมประสงคจะลงคะแนน และอีก รอยละ 24 ยังไมสามารถตัดสินใจได นอกจากนีใ้ นชวงเดือนเดียวกันยังพบวามีกลุม ตัวอยางเพียงรอยละ 28 เทานัน้ ทีท่ ราบ ถึงการลงประชามติ 6 สือ่ หลายสํานักของอิตาลีมกี ารนําเสนอเหตุผลของการไมเห็นดวยกับการปฏิรปู กฎหมายรัฐธรรมนูญดังกลาว โดยหนังสือพิมพ Il Post พูดถึงการลดจํานวนสมาชิกสภาวาควรกระทําก็ตอ เมือ่ มีกฎหมายอืน่ มาประกอบ เทานัน้ เชนกฎหมายทีร่ บั รองการรักษาสมดุลอํานาจในสภา เพือ่ ปองกันไมใหการเลือกตัง้ กลายเปนการแตงตัง้ ทางออมของกลุม อํานาจกลุม ใดกลุม หนึง่ หรือผลเสียตอแควนขนาดเล็ก ทีม่ โี อกาสมีตวั แทนในสภานอยลง พรอม ทัง้ มองวา คาใชจา ยทีล่ ดลงจากการลดจํานวนสมาชิกสภานัน้ อาจตํ่ากวาทีป่ ระมาณการไวกวาครึง่ และคิดเปน สัดสวนเพียงรอยละ 0.007 7ของรายจายภาครัฐเทานัน้ ซึง่ ไมคมุ คากับความเปนประชาธิปไตยทีเ่ สียไป และอาจ นําไปสูก ารพยายามในการลดรายจายดานอืน่ ๆ ของรัฐในอนาคตดวย ทางดานหนังสือพิมพ Il Fatto Quotidiano ไดเสนอเหตุผลตาง ๆ ทีท่ ําใหไมควรมีการรับรางกฎหมายดังกลาว8 และยังเสนอวาควรมีการลด รายจายภาครัฐในสวนทีส่ นับสนุนตัวแทนสภามากกวาลดจํานวนคน และมองวาไมไดชว ยแกปญ  หาทีแ่ ทจริงซึง่ อยูท กี่ ารบริหารของภาครัฐในขณะทีน่ ติ ยสาร Internazionale มองวาการลดจํานวนสมาชิกสภาในครัง้ นีจ้ ะ ทําใหอติ าลีกลายเปนประเทศทีม่ สี ดั สวนผูแ ทนในสภาตอประชากรนอยทีส่ ดุ ในยุโรป เชน จากเดิมทีม่ อี ตั ราสวน พลเมือง 100,000 คน ตอสมาชิกสภาผูแ ทนราษฎร 1 คน ลดลงเหลือเพียง 0.7 คน9

5 6 7 8

อางอิงจาก https://www.ilpost.it/2020/08/22/referendum-taglio-numero-parlamentari/ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 เรื่องเดียวกัน เรื่องเดียวกัน

อางอิงจาก https://www.ilfattoquotidiano.it/2020/09/13/taglio-dei-parlamentari-al-referendum-votero-no-e-ho-dieci-ragioni-valide-perfarlo/5928622/ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 9

อางอิงจาก Dossier 25 giugno 2019 – Riduzione del Numero dei Parlamentari หนา 22 สืบคนจาก https://www.senato.it/service/ PDF/PDFServer/BGT/01114482. pdf ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

5

รัฐสภาอิตาลี ที่มา: https://www.linkiesta.it/2020/01/taglio-parlamentari-referendum-riforma-costituzionale/

ในสวนของผูท เี่ ห็นชอบกับรางกฎหมายฯ นัน้ มองวานอกจากจะเปนการลดรายจายภาครัฐแลว ยังจะชวยลดขัน้ ตอน กระบวนการผานกฎหมายในสภาใหเกิดประสิทธิภาพ และทําใหเสียงในสภามีความเปนเอกภาพมากขึน้ กวาปจจุบนั รวมทัง้ เสนอวาการแกปญ หาของประชาชนในแตละภูมภิ าคนาจะทําไดโดยดําเนินการผานตัวแทนในสภาทองถิน่ 10 ซึง่ ขณะนีผ้ ลการลง ประชามติไดออกมาอยางเปนทางการแลว โดยผูไ ปใชสทิ ธิสว นใหญไดลงความเห็นชอบกับการรับรางกฎหมายปฏิรปู รัฐธรรมนูญ ดังกลาว ตามรายงานของหนังสือพิมพ Corriere della Sera เมือ่ ชวงหัวคํ่าของวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 พบวามีผมู าใช สิทธิลงประชามติคดิ เปนรอยละ 53.84 ของผูม สี ทิ ธิทงั้ หมด ในจํานวนนีม้ ผี ลู งคะแนนเห็นชอบคิดเปนรอยละ 69.5 ในขณะทีผ่ ทู ี่ ลงคะแนนไมเห็นชอบคิดเปนรอยละ 30.411 ซึง่ แมวา จะมีการมองวาจํานวนผูม าใชสทิ ธิทไี่ มมากนักเปนผลมาจากสถานการณ โรคระบาดโควิด 19 ทีย่ งั ไมคลีค่ ลายในยุโรป รวมทัง้ วันเลือกตัง้ อยูใ นชวงของการเปดภาคการศึกษา แตการลงประชามติเพือ่ แกไขรัฐธรรมนูญครัง้ ทีผ่ า นมาในอิตาลีกต็ า งมีผไู ปใชสทิ ธิในจํานวนทีไ่ มสงู มากเชนกัน12 การปฏิรปู ฯ ดังกลาว ซึง่ ถูกมองวาเปนจุดจบของกระบวนการอันยาวนาน อาจเปนเพียงการเริม่ ตนของการปฏิรปู สภาอิตาลี ซึง่ ก็คงตองติดตามกันตอไปวาจะมีผลกระทบตอกระบวนการทางดานนิตบิ ญั ญัตขิ องอิตาลี และจะมีการออก กฎเกณฑอนื่ เพือ่ รองรับการดําเนินงานของสภาทีม่ จี ํานวนสมาชิกลดลงหรือไม

10อางอิงจาก

Referendum 2020, cosa cambia con il taglio dei parlamentari https://youtu.be/-KEcI_qOaL0

11

สืบคนจาก https://www.corriere.it/elezioni/referendum-2020/notizie/risultati-referendum-2020-taglio-parlamentari-bc13ec58-fc2a11ea-aca9-16c79fac234d.shtml ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 12

การทําประชามติเพื่อรับรางกฎหมายแกไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ผานมาในอิตาลี ป พ.ศ. 2544 คิดเปนประมาณรอยละ 34 ของผูมีสิทธิทั้งหมด ในขณะที่ป พ.ศ. 2549 คิดเปนรอยละ 52 และในป พ.ศ. 2559 อยูที่ประมาณรอยละ 69 อางอิงจาก https://www.ansa.it/sito/notizie/politica/2020/09/21/referendumcostituzionale-i-precedenti_269f9734-e648-4ca0-af78-32f7b5499992.html ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

6

แหลงขอมูล (ภาษาอิตาเลียน):

https://www.senato.it/documenti/repository/istituzione/costituzione.pdf (รัฐธรรมนูญอิตาลี)

www.senato.it (เว็บไซตวุฒิสภาอิตาลี) www.camera.it (เว็บไซตสภาผูแทนราษฎรอิตาลี) https://www.gazzettaufficiale.it (เว็บไซตรัฐกิจจานุเบกษาอิตาลี)

แหลงขาว (ภาษาอิตาเลียน):

https://www.ilpost.it/2020/08/22/referendum-taglio-numero-parlamentari/ https://www.ilfattoquotidiano.it/2020/09/13/taglio-dei-parlamentari-al-referendum-votero-no-e-ho-dieci-ragioi-valide-perfarlo/5928622/ https://www.ansa.it/sito/notizie/politica/2020/09/21/referendum-costituzionale-i-precedenti_269f9734-e648-4ca0-af7832f7b5499992.html https://www.corriere.it/elezioni/referendum-2020/notizie/risultati-referendum-2020-taglio-parlamentaribc13ec58-fc2a-11ea-aca 9-16c79fac234d.shtml

ผูออกแบบ : ภัคพล เสนาะกลาง