A12คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม Flipbook PDF

A12คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม
Author: 

102 downloads 172 Views 4MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง

คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2558

จำนวน 5,000 เล่ม

เจ้าของ ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ โดยการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมูลนิธิยุวสถิรคุณ นายปราโมทย์ โชติมงคล ผู้อำนวยการศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ คณะผู้จัดทำ รองศาสตราจารย์ปภัสวดี วีรกิตติ นายปกาศิต เรี่ยมสุวรรณ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางสาวจงกล ทรัพย์สมบูรณ์ นายนพพร สุวรรณรุจิ นางสาวศศิเพ็ญ วชิรเจริญทรัพย์ นางสาวชนกกานต์ หอวรรณภากร

รองผู้อำนวยการศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ อาจารย์โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม ผู้จัดการฝ่ายยุทธศาสตร์ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) คณะทำงานขยายผลการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ที่ปรึกษาศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ คณะทำงานขยายผลการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม นักวิชาการศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ

ขอขอบคุณภาพประกอบ รองศาสตราจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ รูปเล่ม นายวัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ พิมพ์ที่ บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด

คำนิยม เป้าหมายของการศึกษาคือ การสร้างคนดี คนเก่งและคนมีน้ำใจให้แก่บ้านเมือง โรงเรียนทีจ่ ะจัดการศึกษาได้ตามเป้าหมายข้างต้น จึงต้องเป็นทัง้ “โรงเรียนคุณภาพ” และ “โรงเรียน คุ ณธรรม”

คุณภาพของการศึกษามีเหตุปัจจัยหลายประการ เหตุปัจจัยที่สำคัญที่สุด สองประการคือ (1) มีครูที่ศรัทธาในอาชีพครู มีความรู้อย่างดีในวิชาที่สอน และเป็นคนดี (2) มีการวางแผนและจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวิชาและหลักสูตร

ส่วนโรงเรียนคุณธรรม เน้นการสร้างคุณธรรมผ่านการออกแบบข้อปฏิบตั ขิ องผูบ้ ริหาร ครูบาอาจารย์ และนั

กเรียนทุกคน เป็นข้อปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติกำหนดขึ้นเอง

ตัวอย่างโรงเรียนคุณธรรมกว่าร้อยแห่งในหลายจังหวัด นับว่านอกจากส่งเสริมคุณธรรมแล้ว ยังมี ส่ วนสำคัญทำให้คุณภาพดีขึ้นด้วย ขณะนีเ้ กิดความต้องการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพและคุณธรรมอีกหลายแห่ง มูลนิธยิ วุ สถิรคุณจึงได้ เชิญนักการศึกษา และผูอ้ าสาสมัครอีกมากมาย ช่วยกันถอดบทเรียนจากโรงเรียนทีป่ ฏิบตั แิ ล้ว และรวบรวม เป็

นคู่มือปฏิบัติเล่มนี้

ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วม และหวังว่าจะได้ใช้เป็นประโยชน์แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิยุวสถิรคุณ 20 มกราคม 2558





คำนำ ในโอกาสต่างๆ ทีท่ า่ นประธานมูลนิธยิ วุ สถิรคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ไปบรรยายเรื่อง “โรงเรียนคุณธรรม” ให้ครู อาจารย์ นักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหาร องค์กร และพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการต่างๆ ในช่วงปี 2557 ที่ผ่านมา และท่านได้เขียนหนังสือเรื่อง “โรงเรียนคุณธรรม” มอบให้ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม นำไปเผยแพร่ จนถึงปัจจุบันได้จัดพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วเป็นจำนวนถึง 50,000 กว่าเล่มนั้น ท่านได้แนะนำให้ศูนย์โรงเรียน คุณธรรม จัดทำหนังสือทีแ่ สดงวิธกี ารและขัน้ ตอนของการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม แบบอ่านง่าย เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ได้สะดวก ในลักษณะหนังสือ “คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม” เพื่อเผยแพร่ให้ โรงเรียนต่างๆ ที่สนใจนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม จึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยได้เรียบเรียงเนื้อหาสาระจากการบรรยาย ของประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ซึ่งท่านจะ ชี้แจงอธิบายแนวทางปฏิบัติในการเป็น “โรงเรียนคุณธรรม” ไว้ทุกครั้ง และศูนย์โรงเรียนคุณธรรม ได้ ศึกษาค้นคว้าหนังสือทีเ่ ผยแพร่เกีย่ วกับคุณธรรมและเพิม่ เติมรายละเอียดบางหัวข้อให้ชดั เจนขึน้ เพือ่ ช่วยให้ ผู้อ่านที่มิได้ไปฟังด้วยตนเอง เข้าใจง่ายขึ้น ในทุกเวทีท่านจะย้ำเสมอว่า “ปัจจัยที่ทำให้โรงเรียน/องค์กร ประสบความสำเร็จคือ



“ต้องทำทัง้ โรงเรียน/ องค์กร และทุกคนต้องทำโดยแปลงคุณธรรมให้เป็นจริยธรรมหรือพฤติกรรมที่ พึงประสงค์”

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรมหวังว่า “คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม” เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่โรงเรียน ที่ประสงค์จะพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรม และสำหรับองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาเป็นองค์กรคุณธรรม เพื่อร่วมกันสร้างคนดีให้ประเทศชาติ

นายปราโมทย์ โชติมงคล ผู้อำนวยการศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ 20 มกราคม 2558

“ความซี่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง. เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรม ให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี มีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง”

พระบรมราโชวาทที่พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2530

สารบัญ บทที่ 1 | คุณธรรม และจริยธรรมคืออะไร - 9 -

บทที่ 2 | ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม - 21 -

บทที่ 3 | รู้ได้อย่างไรว่าได้เป็นโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมแล้ว - 39 -

ภาคผนวก - 53 -

เอกสารอ้างอิง - 66 -

คุณธรรมและจริยธรรม คืออะไร บทที่ 1



“...คนที่มีระเบียบวินัยนั้น เป็นผู้ที่เข้มแข็ง เป็นผู้ที่หวังดีต่อตนเอง เป็นผู้ที่จะมีความสำเร็จในอนาคต การปฏิบัติด้วยความมีระเบียบมีวินัย การปฏิบัตินั้นสำเร็จ...”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2524

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม

การให้ความหมายของคำว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มีหลากหลายมาก ทั้งทางด้านศาสนา และ ด้านวิชาการ ซึ่งสามารถค้นคว้าหาอ่านเพื่อทำความเข้าใจและนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติได้ เช่น

คุณธรรม หมายถึง ภาวะจิตใจที่เมื่อสำแดงความประพฤติออกมาแล้ว สังคมตัดสินออกมาว่า เป็นจริยะทีด่ ี จริง งาม ถ้าใจเราคิดดี คิดจริงและคิดงาม และประพฤติออกมาดี จริง งาม แสดงว่าคนๆ นัน้ มีคณ ุ ธรรม แต่ถา้ ใจคิดชัว่ คิดไม่จริง (เท็จ) คิดไม่งาม ก็จะมีความประพฤติชว่ั เท็จ และไม่งาม ซึง่ เราก็จะ เรียกว่าคนไม่มีคุณธรรม ดังนั้น สังคมจึงต้องสร้างเครื่องตัดสินว่า อะไรคือดี จริง งาม คุณธรรมคือ ธรรมทีเ่ ป็นคุณหรือสภาพคุณงามความดี เริม่ ตัง้ แต่ความนึกคิด ความปรารถนา ความตัง้ ใจ คนทีม่ คี ณ ุ ธรรม เมื่อคิดดีแล้ว ย่อมแสดงพฤติกรรมคือคำพูดและการกระทำที่ปรากฏออกมาแล้ว สังคมตัดสินว่า ดี จริง และงาม คนทีไ่ ม่มคี ณ ุ ธรรม เมือ่ คิดชัว่ แล้ว ย่อมแสดงพฤติกรรมคือคำพูดและการกระทำทีป่ รากฏออกมา แล้ว สังคมตัดสินว่า เลว เท็จ อัปลักษณ์

จริยธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติหรือศีลธรรม หมายถึงคำพูดและการกระทำ หรือพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมาย คุณธรรมและจริยธรรมว่า หมายถึง สภาพคุณงามความดีทง้ั ทีอ่ ยูภ่ ายในจิตใจ และทีแ่ สดงออกทางกิรยิ าทีค่ วรประพฤติปฏิบตั ิ ทีค่ นในสังคมนัน้ องค์กรนั้น หรือส่วนราชการนั้นได้ยอมรับนับถือกันมา หรือได้กำหนดร่วมกันขึ้นใหม่ และประพฤติปฏิบัติ 11 4

ร่วมกัน ยอมรับร่วมกันว่าข้อประพฤติอะไรเป็นสิ่งดี อะไรเป็นสิ่งชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควรทำ หรือ ไม่ควรทำ

เครื่องตัดสินคุณธรรมหรือเครื่องฝึกฝนคุณธรรมมีหลายอย่าง เช่น ศาสนาธรรมหรือหลักศาสนา หลักนิติธรรมหรือหลักกฎหมาย หลักจริยธรรมหรือหลักของความประพฤติ ระบบธรรมาภิบาลในองค์กร ระบบคุณธรรมในครอบครัว ระบบความเชื่อ/ ค่านิยม/ ธรรมเนียมของสังคม และบุคคลตัวอย่างในสังคม เป็นต้น ศาสนาธรรมหรือคำสอนของทุกศาสนา มีหลักการใหญ่ๆ อยู่ 3 ข้อ ได้แก่

1) ความสัตย์ ความจริง ไม่มีศาสนาใดสอนให้คนพูดโกหก หลอกลวง ทุกศาสนาสอนให้พูด ความจริงทั้งนั้น 2) ศักดิ์ศรีความเป็นคน ทุกศาสนาสอนให้ยกย่องศักดิ์ศรีความเป็นคน ไม่ดูถูกคน 3) ให้มีความรักความเมตตาต่อกัน

ส่วนจรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติทผ่ี ปู้ ระกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนด ขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสังคม

จรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา หมายถึง มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็น แบบแผนในการประพฤติตน ซึง่ ผูป้ ระกอบการวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบตั ติ าม เพือ่ รักษาและส่งเสริม เกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการ และสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

12 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

ดังนั้น จะเห็นว่า จรรยาบรรณ คือ การนำเอาจริยธรรม หรือความประพฤติที่เหมาะสมสำหรับ บุคคลที่อยู่ในอาชีพใดอาชีพหนึ่งมาประมวลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บุคคลในกลุ่มอาชีพเดียวกันปฏิบัติตาม เป็นการสร้างพฤติกรรมทีพ่ งึ ประสงค์สำหรับผูท้ อ่ี ยูใ่ นกลุม่ อาชีพนัน้ ๆ กล่าวคือ มีการยึดถือคุณธรรมข้อใดข้อ หนึ่งร่วมกัน

การนำไปปรับใช้ในองค์กรต่างๆ

สำนักผูต้ รวจการแผ่นดินได้จดั ทำคุณธรรมจริยธรรมพืน้ ฐานในสังคมไทยไว้วา่ “คุณธรรมจริยธรรม ทำให้มนุษย์ผู้ประพฤติปฏิบัติมีคุณค่า และส่งผลให้สังคมน่าอยู่และสงบสุข” ประกอบด้วย

1. ซื่อตรง หมายถึง ความประพฤติทจ่ี ริงใจ ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง ไม่โกหกหลอกลวงใคร ไม่ทำ ผิดทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

ซื่อตรง จึงครอบคลุมถึง ซื่อสัตย์ ทั้งในด้านกาย วาจา ใจ ซื่อสัตย์ เป็นความประพฤติของ เฉพาะบุคคล แต่ซื่อตรง เป็นความประพฤติของตนเองและยังครอบคลุมไปถึงส่วนรวมทั้งองค์กรอีกด้วย

ผู ้ ที ่ ซ ื ่ อ ตรง มี ความซื ่ อ สั ต ย์ ในตนเองแล้ว ยังต้องไม่เพิกเฉย ไม่ยอมให้ผู้อยู่รอบข้างหรือ

ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่อย่างทุจริต เบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง ต้องไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพล 13 4

ของบุคคลที่ประพฤติมิชอบ อีกทั้งยังต้องหาทางยับยั้ง ต่อต้านการกระทำที่ทุจริตมิชอบอย่างสุดฤทธิ์ เพื่อผดุงไว้ซึ่งความถูกต้องในสังคม

• ซื่อตรงต่อตนเอง คือ การไม่โกหกตนเอง ซื่อสัตย์สุจริตต่ออุดมการณ์ของตนเอง ไม่ฝืนใจ ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ปณิธานของตนเอง • ซื่อตรงต่อบุคคลอื่น คือ ซื่อสัตย์สุจริตต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ เนรคุณผู้มีพระคุณ และไม่เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก • ซื่อตรงต่อเวลา คือ นัดหมายใคร หรือจะทำงานสิ่งใดก็ให้ตรงเวลาที่กำหนดไว้ ไม่เอาเวลา ราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัว • ซื่อตรงต่อวาจา คือ รับปากกับใครว่าจะทำสิ่งที่ดีและสุจริต ก็ให้กระทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ และจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี ทุจริต • ซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ ซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจต่อหน้าที่การงานของตนเอง ไม่ฉ้อราษฎร์

บังหลวง ไม่ละทิ้งหน้าที่ และปัดความรับผิดชอบ

2. มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นที่จะปฏิบัติตนในกรอบของขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี กฎหมาย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อพึงปฏิบัติ

มีวินัยในตนเอง คือ ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนอย่างสม่ำเสมอ การมีวินัยใน สังคม คือ การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความรับผิดชอบ เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่กระทบกระทั่งกัน ทำให้ ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

14 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม



3. เสียสละเพื่อส่วนรวม

หมายถึง การยินยอมและเต็มใจทีจ่ ะทำประโยชน์ให้แก่สาธารณะ

โดยไม่หวังผลตอบแทน

การเสียสละไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม ถือว่าเป็นการลดความเห็นแก่ตัว ช่วยให้ผู้อื่นหรือสังคมได้รับ ประโยชน์ อันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดคุณงามความดีแก่ผู้เสียสละ หรืออาจเรียกว่า ผู้มีจิตอาสาคือผู้เสียสละ แรงกายแรงใจให้แก่ผู้อื่นและสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก คนจะอยู่ อย่างปลอดภัยมีความสุขก็ต่อเมื่อสังคมโดยรวมอยู่ได้

4. พอเพียง หมายถึง การดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางหรือดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานให้แก่ปวงชน ชาวไทย เพื่อให้คนไทยอยู่อย่างมีความสุข ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 เรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์

เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ผู้ปฏิบัติต้องกระทำพร้อมกันทุกเรื่อง ไม่เลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนี้

4.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่มากไม่น้อยจนเกินไป หรือความพอใจใน สิ่งที่สมควรในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยจนก่อให้เกิดความขัดสน และไม่มากเกินไป จนฟุ่มเฟือย จนเกินกำลังของตนเองหรือไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 4.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอประมาณในมิติต่างๆ อย่างใช้ เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุ ปัจจัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่าง รอบคอบ 15 4

4.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคต 4.4 เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ผูป้ ฏิบตั ติ อ้ งมีความรอบรูเ้ กีย่ วกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน และมีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน (เพื่อ วางแผน) และความระมัดระวังในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผล 4.5 เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตใจที่ตระหนักในคุณธรรม และความ ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต โดยเน้นความอดทน ความเพียร สติ ปัญญา และความรอบคอบ

อนึ่ง ผู้ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องปฏิบัติตาม “เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม” ทั้งสองข้อคู่กันอย่างสมดุล หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง จะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ เช่น ถ้ามีความรู้ อย่างเดียวแต่นำความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ ก็สามารถนำความเสียหายมาสู่ตนเองและสังคมได้ ใน ลักษณะเดียวกัน ถ้ามีคุณธรรมแต่ขาดความรู้ ก็อาจตัดสินใจอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก่อให้เกิดผลเสียหาย ได้เช่นเดียวกัน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดคุณธรรมพื้นฐาน ของคนไทยไว้ 8 ข้อ ได้แก่

16 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม



1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์: เป็นพลเมืองดี รักษาความเป็นไทย ยึดมั่นและปฏิบัติตนตาม

หลักศาสนา เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

2. ซื่อสัตย์สุจริต: ประพฤติต่อตนเองและผู้อื่นตรงตามความเป็นจริง ทั้งด้านกาย วาจา ใจ

3. มีวินัย: ประพฤติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน สังคม

4. ใฝ่เรียนรู้: ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จาก แหล่งเรียนรูต้ า่ งๆ ทัง้ ภายในและภายนอกโรงเรียนด้วยการเลือกใช้สอ่ื อย่างเหมาะสม และนำความรูม้ าใช้

ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

5. อยู่อย่างพอเพียง: ดำเนินชีวติ อย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคณ ุ ธรรม มีภมู คิ มุ้ กัน ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

6. มุ่งมั่นในการทำงาน: ตัง้ ใจและรับผิดชอบในหน้าทีก่ ารงาน ทำงานด้วยความเพียรพยายาม และอดทนจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย

7. รักความเป็นไทย: ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย กตัญญูต่อ ประเทศไทย เห็นคุณค่า และใช้ภาษาไทยในการสือ่ สารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมทัง้ อนุรกั ษ์และร่วม สืบทอดภูมิปัญญาไทย

8. มีจิตสาธารณะ: ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน เข้าร่วมกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม

17 4



คุรสุ ภาได้กำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของผูป้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประกอบด้วย



1. มีจรรยาบรรณต่อตนเอง คือ ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ



2. มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ คือ ต้องรัก ศรัทธา ซือ่ สัตย์สจุ ริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น



3. มีจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ คือ

และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

(1) ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตาม บทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

(2) ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสยั ทีถ่ กู ต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตาม

บทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

(3) ต้องประพฤติปฏิบตั ติ นเป็นแบบอย่างทีด่ ี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

(4) ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ ความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม ของศิษย์ และผู้รับบริการ

(5) ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จาก

การใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

18 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม



4. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน



5. มีจรรยาบรรณต่อสังคม คือ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนา

อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นอกจากนี้ ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารต่างๆ เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลา คนรุ่นใหม่จึงต้องมี ทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันและก้าว ทันโลก จึงมีการเผยแพร่ให้ทุกคนตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี เช่น 1. มีความรับผิดชอบต่อการใช้ขอ้ มูล โดยต้องคำนึงถึงเรือ่ งลิขสิทธิแ์ ละไม่ลอกเลียนผลงานคนอืน่ ซึ่งจะทำให้ตนเองขาดการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในทางอ้อม 2. การใช้เทคโนโลยีในทางบวก เมื่อพบเห็นสิ่งที่ไม่ดีบนสื่อออนไลน์ ก็ไม่ควรจดจำหรือทำตาม 3. การใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง 4. มีทักษะความเป็นผู้นำบนโลกออนไลน์ เช่น การให้เกียรติผู้อื่น เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นต้น

จะเห็นว่า คุณธรรมจริยธรรมสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของคนในทุกยุคทุกสมัยตลอดเวลา จนเป็น ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเรา เมื่อมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น จะมีคุณธรรมจริยธรรมกำกับการนำนวัตกรรม นั้นๆ มาใช้อยู่เสมอ ในปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคนและความเชื่อมั่นในคุณค่า ของการสร้างคุณงามความดีว่า จะนำมาซึ่งความสุขของตนเองและองค์กรในที่สุด

19 4



ทำอย่างไร จึงจะพัฒนาเป็น โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม บทที่ 2

“...การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจ และความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2529

22 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม

โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม หรือเรียกย่อๆว่า “โรงเรียนคุณธรรม” หมายถึง สถานศึกษาทีผ่ บู้ ริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริม ความดีในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็น พฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้อย่างยั่งยืน และนำไปขยายเครือข่ายได้

หลักการ

เมือ่ ผูบ้ ริหารสถานศึกษาและคณะครูสนใจ และตัดสินใจจะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณธรรม จะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้

1. ความสมัครใจและเต็มใจ จะพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรม ทุกคนควรตระหนักและ มั่นใจในคุณค่าและความสำคัญของการมีคุณธรรม ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนในโรงเรียนอยู่ร่วมกันได้อย่างมี ความสุข โดยอาศัยความคิดริเริ่มของคณะครูและการมีภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นหลักสำคัญ

2. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ทุกคนในโรงเรียนร่วมกันทำ เป็นการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยร่วมกันคิด (วางแผน) ร่วมกันทำ และร่วมกันประเมินผล เพื่อปรับปรุงตนเองและโรงเรียนของเราเอง ให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น และร่วมกันลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้น้อยลงหรือหมดไป 23 4



3. มีการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ



1. ขั้นตอนการชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกัน

นำผลการประเมินมาปรับปรุง แผนการปฏิบัติงานคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยอาจกำหนดแผนการปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรมไว้อย่างน้อย คราวละ 1 ปี

4. โครงงานคุณธรรม จะเป็นไปตามบริบทของโรงเรียน ไม่เน้นการเพิ่มงบประมาณจาก

งบปกติ

แนวปฏิบัติในการขับเคลื่อนสู่โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกัน 2) การกำหนดคุณธรรมเป้าหมายและคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน 3) การจัดทำโครงงานคุณธรรม 4) การลงมือร่วมกันปฏิบัติ 5) การนิเทศติดตามประเมินผลและเสริมแรงกัน

โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1 จัดประชุมชีแ้ จงผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องในโรงเรียน สร้างความรูค้ วามเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น เพือ่ ความมัน่ ใจในการสมัครใจทำงาน และตัดสินใจร่วมกัน ได้แก่ ผูบ้ ริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผูป้ กครอง บุคลากรทางการศึกษา พนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนชุมชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ค้าขายในโรงเรียน เป็นต้น

24 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

หากโรงเรียนสามารถสร้างความเข้าใจได้ระดับหนึ่งแล้ว ควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง ในลำดับกว้างออกไป เช่น ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

1.2 แต่งตัง้ และมอบหมายงานให้คณะทำงานรับผิดชอบ ในการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และ การปรับปรุงแผนจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีวาระการทำงาน 1 ปี

1.3 สรุปข้อมูลพืน้ ฐานของโรงเรียน โดยวิเคราะห์ขอ้ มูลปัจจัยภายในของโรงเรียน ได้แก่ จุดแข็ง (ปัจจัยส่งเสริมการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้มีคุณภาพ) และจุดอ่อนหรือข้อด้อยของโรงเรียน รวมทั้ง วิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาส (สภาพภายนอกที่เอื้อให้โรงเรียนมีผลงาน เช่น ประชาชนต้องการให้ลูกหลานมีอาชีพ โรงเรียนจึงควรให้ความรู้ด้านทักษะอาชีพ เป็นต้น) และสภาพ ภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของโรงเรียน เช่น เศรษฐกิจไม่ดี ชุมชนยากจนมาก เป็นต้น รวมทั้ง พิจารณาทบทวน วิสัยทัศน์ ปรัชญาต่างๆของโรงเรียนด้วย เพื่อให้โรงเรียนรู้จักตนเอง และเลือกใช้ ประโยชน์ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงของโรงเรียน

1.4 จัดเตรียมผูเ้ ข้าประชุมระดมสมอง โดยจัดกลุม่ ผูเ้ ข้าประชุมทีม่ ภี าระหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ ในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น 1) กลุ่มครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร ผู้ปกครองและ

คณะกรรมการสถานศึกษา 2) กลุม่ นักเรียนแกนนำระดับมัธยมศึกษา 3) กลุม่ นักเรียนระดับประถมศึกษา เป็นต้น การพิจารณาจัดประชุมแต่ละกลุ่มที่มีพื้นฐานหน้าที่ความรับผิดชอบใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ ในการมีความรู้ ความเข้าใจใกล้เคียงกัน ทัง้ เรือ่ งเกีย่ วกับปัญหา ความต้องการพัฒนา และพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน นอกจากนี้ ขนาดของกลุ่ม ควรมีปริมาณที่ช่วยให้ทุกคนในกลุ่ม มีโอกาสแสดง ความคิดเห็นได้ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดเตรียมไว้ในแผนงาน

25 4

1.5 จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ ตามทีก่ ำหนดไว้ในแผนงานตามความจำเป็น สำหรับการจัดหา วิทยากร ขอให้พิจารณาตามความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน



2. ขั้นตอนการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายและคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน

จัดประชุมระดมสมอง จะเลือกใช้กิจกรรมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือประชุมอภิปราย หารือ ฯลฯ ก็ได้ และดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

2.1 วิเคราะห์ปัญหา หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียน พฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิด ขึ ้ น ในโรงเรี ย นอี ก เช่ น มาโรงเรี ย นสาย ลอกการบ้านเพื่อน เป็นต้น หรือ ช่ ว ยกั น วิเคราะห์หา พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียน พฤติกรรมที่ต้องการเห็นได้ในโรงเรียน เช่น ช่วยติวเพื่อน เดินแถว ให้เป็นระเบียบ ทิ้งขยะให้เป็นที่ เป็นต้น โดยตั้งคำถามให้ทุกคนคิด ดังนี้

คำถาม : ในโรงเรียนนี้มีปัญหาอะไรบ้างที่อยากแก้

หรือ

สิ่งดีๆ ที่ทุกคนอยากเห็น อยากทำมีอะไรบ้าง

2.2 รวบรวมและจัดกลุม่ ความคิดเห็นให้เป็นเรือ่ งๆ แล้วสรุปความเข้าใจของทีป่ ระชุมให้ตรงกัน

26 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

2.3 ค้นหาคุณธรรมเป้าหมาย โดยใช้ข้อมูลความคิดเห็นของที่ประชุม (ตามข้อ2.1และ ข้อ2.2) ขอให้ที่ประชุมร่วมกันค้นหาคุณธรรมที่จะใช้แก้ปัญหาที่อยากแก้ หรือ คุณธรรมที่จะใช้เป็นหลักในการ ประพฤติปฏิบตั สิ ง่ิ ทีอ่ ยากเห็น อยากทำ เช่น ความซือ่ สัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีนำ้ ใจ ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เป็นต้น

2.4 จัดกลุ่ม “คุณธรรมเป้าหมาย” ให้เป็นเรื่องๆ โดยรวบรวมรายการคุณธรรมเป้าหมายที่ได้ จากการระดมสมอง แล้วนำมาจัดกลุ่ม เลือกกลุ่มที่มีความหมายใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันกรณีมีคำศัพท์ แตกต่างกันหลากหลาย ควรหารือในทีป่ ระชุม และให้เลือกใช้คำศัพท์ทม่ี คี วามเข้าใจตรงกัน ไม่ตอ้ งตีความ

2.5 จัดลำดับความสำคัญของคุณธรรมเป้าหมาย โดยให้ทป่ี ระชุมร่วมกันจัดลำดับความสำคัญ ของคุณธรรมเป้าหมายทีต่ อ้ งการทำก่อนหลัง (กรณี ทีป่ ระชุมเสนอความเห็นเรือ่ งคุณธรรมจำนวนหลายเรือ่ ง มาก) ควรคัดเลือกมาเพียง 3 เรื่องก่อน เพื่อใช้เป็นคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน

2.6 กำหนดคุณธรรมเป้าหมายให้เป็นทีท่ ราบทัว่ กัน กล่าวคือ คุณธรรมเป้าหมาย หมายถึง คุณธรรมที่ทุกคนในโรงเรียนได้ร่วมกันกำหนดขึ้น โดยการคิดวิเคราะห์พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่โรงเรียน ต้องการให้เกิดขึ้น เป็นคุณธรรมที่มีคุณลักษณะที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ดีของโรงเรียน และสามารถ ใช้เป็นหลักในแก้ปัญหาส่วนใหญ่ของโรงเรียนได้

ในระยะเริม่ ต้น ไม่ควรกำหนดคุณธรรมเป้าหมายจำนวนมากหลายข้อ ควรกำหนดประมาณ 3 ข้อ เพื่อง่ายสะดวกต่อการพัฒนา

27 4

2.7 กำหนดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมเป้าหมาย โดยนำคุณธรรม เป้าหมายแต่ละข้อ มากำหนดรายละเอียดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติ ควรแบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุมตามภาระ หน้าที่ความรับผิดชอบในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ในการคิดวิเคราะห์และเสนอแนะ พฤติกรรมบ่งชี้/ข้อประพฤติปฏิบัติของกลุ่มเดียวกันได้

2.8 กำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ให้เป็นที่ทราบทั่วกัน กล่าวคือ เมื่อนำคุณธรรมเป้าหมาย แต่ละข้อ มากำหนดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติเพิ่มเติมให้ครบแล้ว จะเรียกรวมว่า “คุณธรรมอัตลักษณ์” ซึ่งหมายถึง คุณธรรมเป้าหมายที่มีการกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติไว้ด้วย ซึ่งจะจำแนกตามกลุ่ม

เป้าหมาย เช่น ข้อปฏิบัติของครู ผู้บริหาร และนักเรียน เป็นต้น

คุณธรรมอัตลักษณ์ จะใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่ม เป้าหมายแต่ละกลุ่ม พฤติกรรมบ่งชี้แต่ละข้อ จะใช้เป็นตัวชี้วัดที่แสดงความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมในโรงเรียน หรือ พฤติกรรมทีพ่ งึ ประสงค์ทโ่ี รงเรียนต้องการให้เกิดขึน้ มากน้อยระดับไหน อย่างไร โรงเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ โดยมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายใด จำนวนเท่าไร และเป้าหมายเชิงคุณภาพ โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไปในทิศทางที่ ดีขึ้น เป็นต้น

2.9 กำหนดนโยบายและ/หรือข้อตกลงร่วมกัน โดยนำเสนอผลการประชุมระดมสมองใน ส่วนของคุณธรรมเป้าหมาย และ คุณธรรมอัตลักษณ์ ทีม่ กี ารจำแนกพฤติกรรมบ่งชีข้ องแต่ละกลุม่ เป้าหมาย แล้ว เพื่อให้ทุกคนที่เข้าประชุมมีความเข้าใจตรงกัน และร่วมกันกำหนดเป็นนโยบาย/ข้อตกลงว่าจะนำมา ปฏิบัติด้วยกัน โดยอาจนำเสนอในรูปของตารางคุณธรรมอัตลักษณ์ ดังตัวอย่างนี้ 28 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

คุณธรรมเป้าหมาย ความซื่อสัตย์

ความรับผิดชอบ

ความพอเพียง



พฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติ (จำแนกตามกลุ่ม) ผู้บริหาร ครู นักเรียน - จัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส - เข้าสอนตรงเวลา - ไม่ลอกการบ้าน - พิจารณาความดีความชอบ - ไม่เอาเวลาราชการไป - ไม่โกหก ไม่พูดเท็จ อย่างถูกต้องเป็นธรรม ทำประโยชน์ส่วนตัว - มีความประพฤติดีเป็นแบบ - สอนให้นักเรียนรู้จักคิด - มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผือแผ่ทำ อย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับ วิเคราะห์ รู้จักการแก้ ประโยชน์ให้เพื่อนๆ ที่ บัญชา ปัญหาด้วยตนเอง ต้องการความช่วยเหลือ - ใช้จ่ายสมฐานะ - ใช้จ่ายอย่างประหยัด - มีแผนงานแผนเงินที่ สอดคล้องกัน - ใช้สื่อการสอนร่วมกัน - อดทน เสียสละเพื่อส่วน รวม - ใช้จ่ายตามแผนงาน อย่างคุ้มค่า

3. ขั้นตอนการจัดทำโครงงานคุณธรรม โครงงานคุณธรรม คือ โครงงานความดีเชิงรุก ที่เด็กคิด เด็กเลือก เด็กทำ ในรูปแบบของโครงงาน กลุ่ม ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงการทำความดี เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อม ทางศีลธรรม และส่งเสริมการบ่มเพาะความดีผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมและเป็น ระบบ ขยายการมีส่วนร่วมไปยังบุคคลต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน “ร่วมกันทำดี อย่างมีปัญญา”

29 4

การจัดทำโครงงานคุณธรรม (Moral Project) จะแบ่งกลุม่ ตามความสนใจโครงงานเรือ่ งหนึง่ เรือ่ งใด หรืออาจแบ่งตามระดับชัน้ เรียน แบ่งตามชมรมความสนใจ แล้วจัดเป็นประชุมสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร หรือ ประชุมอภิปรายหารือ หรือประชุมระดมสมอง โดยมีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้

3.1 วิเคราะห์ปัญหา หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งกลุ่มต้องการให้โรงเรียนมีการแก้ไข โดยตั้งคำถามให้ทุกคนคิดวิเคราะห์ เช่น พฤติกรรมของเพื่อนๆ ที่อยากปรับปรุง หรือ คุณธรรมพื้นฐาน ของโรงเรียนมีข้อใดยังไม่ได้ทำบ้าง เป็นต้น

คำถาม: ในโรงเรียนนี้มีปัญหาอะไรบ้างที่อยากแก้ (หรือสิ่งดีๆที่อยากทำมีอะไรบ้าง)

3.2 ควรจัดลำดับปัญหาทีส่ ำคัญด่วนทีส่ ดุ ทีท่ กุ คนเห็นพ้องต้องกันว่า ควรรีบแก้ไข เลือกมา

1 ปัญหาตามความเห็นของที่ประชุม

คำถาม: ปัญหาข้อใดที่อยากแก้ไขมากที่สุด

30 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

3.3 หาสาเหตุของปัญหา โดยนำปัญหาทีค่ ดั เลือกแล้ว มาระดมสมองหาสาเหตุของปัญหานัน้ ๆ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุปัจจัยภายในและ/หรือปัจจัยภายนอกอย่างไรบ้าง อาจใช้การอภิปราย หาเหตุผล นำข้อมูลสถิติ ข้อเด่น ข้อด้อย ความเป็นไปได้ ความเร่งด่วนมาพิจารณาประกอบ เพื่อหาข้อยุติในการ ตัดสินใจเลือกเป็นประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไขมากที่สุด

คำถาม: ปัญหาเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

มีข้อมูลประกอบการพิจารณาอะไรบ้าง

3.4 กำหนดเป้าหมายของการแก้ปัญหานั้นๆ โดยนำปัญหาที่คัดเลือกมากำหนดเป้าหมาย ทั้งเป้าหมายเชิงปริมาณ หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นักเรียนชั้นไหน จำนวน เท่าไร ฯลฯ เป็นต้น และกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพ หมายถึง พฤติกรรมอะไรที่ต้องการให้เกิดขึ้น หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างไร

คำถาม: ต้องการเปลี่ยนแปลงใคร/กลุ่มไหน จำนวนเท่าไร เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร

31 4

3.5 กำหนดชื่อโครงงาน ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย และ ควรสะท้อนกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่ เกี่ยวข้อง เช่น “โครงงานลด ละ เลิก บุหรี่-เมรัยฯ” “โครงงานรักษ์สัตว์ รักษ์สังคม” เป็นต้น

3.6 กำหนดวิธีแก้ไขปัญหา หรือ วิธีดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น จะมีแผนอย่างไร

คำถาม: วิธีการแก้ไขแต่ละสาเหตุ ทำอย่างไรบ้าง

3.7 หลักธรรม/พระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน ใช้หลักธรรมอะไรเป็นหลักคิดในการดำเนิน โครงงาน น้อมนำพระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน อะไรมาเป็นหลักในการดำเนินโครงงาน โครงงานแต่ละ โครงงานสามารถมีคุณธรรมหลายข้อเป็นหลักคิดในการปฏิบัติโครงงานได้

คำถาม: การดำเนินงานแก้ปัญหา จะใช้คุณธรรม/ พระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน อะไรบ้างเป็นหลักคิด

32 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

3.8 การเชื่อมโยงไปสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน โดยที่ประชุมพิจารณาการเชื่อมโยง ไปสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ได้อย่างไร โครงงานแต่ละโครงงานสามารถเชื่อมโยงไปสู่คุณธรรม อัตลักษณ์หลายข้อได้ โดยพิจารณาถึงกระบวนการในการปฏิบัติโครงงานและคุณธรรมที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น

คำถาม: โครงงานนี้นำไปสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ ของโรงเรียนได้อย่างไร

3.9 กำหนดวิธีการวัดและประเมินผล โดยกำหนดตัวชี้วัด เพื่อวัดหรือประเมินผลว่า มีการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไร ไปมากน้อยเพียงไรในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

3.10 จัดทำร่างเอกสารโครงงานคุณธรรม โดยรวบรวมข้อมูลทั้งหมด แล้วจัดทำเป็นเอกสาร ร่างโครงการ เพื่อนำไปทดลองปฏิบัติสักระยะหนึ่ง แล้วปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบท ของโรงเรียน ก่อนนำไปใช้จริง

ทั้งนี้ เนื่องจากโครงงานคุณธรรม เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาทักษะการคิด และการปฏิบัติงาน กลุม่ ของนักเรียน จึงควรจัดทำโครงงานฉบับร่างแล้วนำไปทดลองใช้กอ่ นสักระยะ เพือ่ ให้นกั เรียนได้เรียนรู้ แล้วปรับปรุงแผนเป็นระยะๆ จนกลุ่มคิดว่าสามารถนำไปปฏิบัติให้ได้ผลตรงตามความต้องการได้แล้ว 33 4

3.11 จัดทำเป็นโครงงานคุณธรรม โดยนำข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการทดลอง ทุกขั้นตอน มาเรียบเรียงให้อ่านเข้าใจง่าย อาจใช้รูปแบบการเขียนโครงงานคุณธรรม หรือรูปแบบตาม ความเหมาะสมของโรงเรียน

กรณีมขี อ้ คิดเห็น ข้อทักท้วง ผูบ้ ริหารและคณะทำงานควรร่วมกันชีแ้ จง และ/หรือพิจารณาปรับปรุง แก้ไขแผนโครงงานให้แล้วเสร็จ และเผยแพร่ใช้เป็นโครงงานจริงต่อไป

โครงงานคุณธรรม ประกอบด้วย 1.ชื่อโครงงาน 2.ความสำคัญของปัญหา 3.วัตถุประสงค์ 4.กลุ่มเป้าหมาย 5.แผนการดำเนินโครงงาน 6.งบประมาณ 7.หลักธรรมที่นำมาใช้ 8.ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ 9. วิธีการวัดและประเมินผล 10.ผู้รับผิดชอบโครงงาน

34 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

4. ขั้นตอนการลงมือร่วมกันปฏิบัติ 4.1 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน โดยอาจมีนักเรียนรวมกลุ่มกันเองเพื่อทำความดีตามความ สนใจ หรือ ครูคัดเลือกเยาวชนแกนนำของโรงเรียนสัก 8-10 คน เป็นผู้รับผิดชอบโครงงาน มีครูที่ปรึกษา 1- 3 คน พิจารณาตามขอบเขตและขนาดของงาน สมาชิกกลุม่ ไม่ควรจำกัดจำนวน ควรเป็นไปตามความ สนใจและภาระงานที่ให้รับผิดชอบ

4.2 กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงาน ทั้งในระยะสั้นในแต่ละเดือน และเป้าหมายระยะยาวใน แต่ละภาคการศึกษา

4.3 กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน

4.4 ลงมือปฏิบัติด้วยกันตามแผนปฏิบัติงาน ในทุกกิจกรรมนักเรียนจะได้เรียนรู้จากการ ลงมือทำ โดยการสังเกต คิดพิจารณาปรับปรุงกิจกรรมให้นำไปสู่ความสำเร็จ ประการสำคัญ ได้เรียนรู้ จากการร่วมกันทำงานเป็นทีมทำงานที่ดีด้วยกัน

หลักสำคัญประการหนึง่ ทีช่ ว่ ยในการรวมกลุม่ ของนักเรียนให้ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข คือ ความเป็นกัลยาณมิตร ทุกคนในกลุ่มจะทำงานอย่างสนุกสนานร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีความเป็น กัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน คุณสมบัติของกัลยาณมิตร ได้แก่ 1) มีความน่ารัก ให้ความรู้สึกอยากร่วมงาน ด้วย อยากเข้าไปขอคำปรึกษาหารือ 2) มีความน่าเคารพ ทำให้รสู้ กึ อบอุน่ ใจ เป็นทีพ่ ง่ึ ได้ 3) อยากนำมาเป็น ตัวอย่างในการเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ 4) บอกสอนเป็น คือ รู้จักพูดให้ 35 4

เข้าใจ คอยให้คำแนะนำ ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดีได้ 5) พร้อมรับฟังคำปรึกษา ข้อซักถาม ข้อวิพากษ์ วิจารณ์โดยไม่ใช้อารมณ์ 6) สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจง่าย และแนะนำให้เรียนรู้เรื่องที่ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 7) ไม่นำผิดทาง ผิดทำนองคลองธรรม หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสียไม่เหมาะสม

4.5 เมื่อจบแต่ละกิจกรรมย่อย ให้ทำ AAR (After Action Review) เป็นการพูดคุยกัน เพื่อ ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และควรให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและการนำไป ประยุกต์ใช้ในสมุดเป็นรายบุคคล

4.6 เผยแพร่เอกสารโครงงานคุณธรรม โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมและการ ประชุมทุกขั้นตอน มาเรียบเรียงให้กระชับ อ่านเข้าใจง่าย อาจใช้รูปแบบการเขียนโครงงานคุณธรรม หรือ รูปแบบตามความเหมาะสมของโรงเรียน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสะดวกและทั่วถึงในการนำไปเผยแพร่ให้ ทุกคนทราบ นำไปใช้ และใช้ในการประเมินผลได้



5. ขั้นตอนการนิเทศติดตามประเมินผลและเสริมแรงกัน

ในการทำโครงงานต่างๆ ควรมีคณะทำงานทำหน้าที่นิเทศ ติดตามให้คำปรึกษาหารือ รวมทั้ง เป็นพี่เลี้ยงสอนงาน และให้ความช่วยเหลือแนะนำสิ่งที่จำเป็นอย่างมีกัลยาณมิตร เพื่อให้งานบรรลุผล ตามขั้นตอน เป้าหมายและกำหนดเวลาที่คาดหวังไว้ ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและหลังการ ทำงาน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยพิจารณาตาม ตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในโครงงาน เช่น ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีจิตอาสาเพิ่มขึ้น เป็นต้น ควรสร้าง

36 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อให้มีมุมมองด้าน การประเมินผลสำเร็จของงาน ทั้งจากภายในและภายนอกโรงเรียน

นอกจากนี้ โรงเรียนควรกำหนดให้มีการเยี่ยมเยียน เยี่ยมชมโครงงานซึ่งกันและกัน โดยอาจจัด ในรูปแบบของตลาดนัดโครงงานคุณธรรม มีเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และ ช่วยผนึกกำลังกันให้เข้มแข็งในการร่วมกันทำความดี โครงงานอื่นๆของโรงเรียน ทั้งด้านวิชาการ ด้าน วินัยนักเรียน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆของคณะครู ทั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงงานคุณธรรมหรือไม่เกี่ยวข้อง ก็ตาม ควรนับรวมว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมหนุน ให้เกิดการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมขึ้นในโรงเรียน คุณความดีจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติด้วยตนเอง การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน การเสริมแรงกันด้วย กิจกรรมต่างๆ เป็นการขยายงานไปให้ทั่วโรงเรียน จึงเป็นหลักประกันของการประพฤติคุณธรรมความดี จะคงอยู่และยั่งยืนตลอดไปในโรงเรียน และมีโอกาสที่จะขยายผลสู่ชุมชนเครือข่ายใกล้เคียงได้ต่อไป



37 4

รู้ได้อย่างไรว่า ได้เป็นโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมแล้ว บทที่ 3

“...ความสุขความเจริญที่แท้จริงอันควรหวังนั้น เกิดขึ้นได้จากการกระทำ และความประพฤติที่เป็นธรรม มีลักษณะสร้างสรรค์ คือ อำนวยผลที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัว แก่ผู้อื่น ตลอดถึงประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย...”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2535

40 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

เมื่อผู้บริหารและคณะครูตัดสินใจจะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมแล้ว ย่อมต้องการ ทราบผลว่า การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมมีความก้าวหน้าไปอย่างไรบ้าง และพฤติกรรมของครู นักเรียน ผู้บริหาร และ ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พฤติกรรมทีพ่ งึ ประสงค์ในโรงเรียนเรือ่ งใดเพิม่ ขึน้ มากหรือน้อย พฤติกรรมไม่พงึ ประสงค์ลดลงมากหรือน้อย เป็นต้น ดังนั้น คณะผู้บริหารจึงจำเป็นต้องกำหนดกระบวนการบริหารงาน เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนงาน พัฒนาคุณธรรมของโรงเรียน ประกอบด้วย 1) การวางแผนงานคุณธรรม 2) สร้างกลไกการลงมือปฏิบตั งิ าน 3) กำหนดการติดตามนิเทศงาน และ 4) ให้มกี ารประเมินผลการปฏิบตั งิ าน ครบรอบบริหารงาน ประมาณ 1 ปีแล้ว นำผลจากการประเมินผลงานมาปรับปรุงแผนงานคุณธรรมฉบับต่อๆ ไป การลงมือปฏิบัติอย่าง ต่อเนื่องจะพัฒนาให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนคุณธรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1. การวางแผนงานคุณธรรม

แผนงานคุณธรรม หมายถึง การกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสูโ่ รงเรียนคุณธรรมอย่างเป็น ระบบ เพือ่ ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามทีค่ าดหวังไว้ ประกอบด้วย การกำหนด วิสยั ทัศน์ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบตั ิ และ ตัวชีว้ ดั เพือ่ การประเมินผล ดังตัวอย่าง ดังนี้

41 4

ผังแสดง แผนงานคุณธรรมจริยธรรม ช่วยกันสร้างคนดีให้สังคม 1. มีกระบวนการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนคุณธรรม 2. มีกลไกและเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนา โรงเรียนคุณธรรม 3. พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น 4. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนลดน้อยลง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 2. เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยฝึกกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 3. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนให้น้อยลง ยุทธศาสตร์ 1. ผนึกกำลังของผู้บริหาร ครู และนักเรียนลงมือปฏิบัติคุณธรรมทั่วทั้งโรงเรียน ดำเนินงาน 2. บูรณาการแผนงาน/โครงการ ทั้งด้านวิชาการตามกลุ่มสาระ งานวินัยนักเรียน กิจกรรมพัฒนานักเรียน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร เข้าไว้ในการพัฒนาโรงเรียน คุณธรรม แผนปฏิบัติ แผนพัฒนาโรงรียนคุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมเป้าหมาย 1.ความซื่อสัตย์ 2. ความรับผิดชอบ 3. ความพอเพียง

วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์

42 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

คุณธรรม อัตลักษณ์

1. ความซื่อสัตย์ ผู้บริหาร ครู นักเรียน - ไม่แสวงหาผลประโยชน์ - ไม่เบียดเบียนเวลาราชการ - ใช้วาจาสุภาพ

- ไม่โกหกและมีสัจจะ - ไม่สร้างความแตกแยกใน ไม่พูดคำหยาบ - ไม่เบียดเบียนเวลา หมู่คณะ - ไม่ลอกการบ้าน ราชการ - ห่างไกลยาเสพติด 2. ความรับผิดชอบ นักเรียน ครู ผู้บริหาร - ตรงต่อเวลา - แต่งกายถูกระเบียบของ - ตรงต่อเวลา - แต่งกายถูกระเบียบของ โรงเรียน - รับผิดชอบต่อหน้าที่ โรงเรียน - ยิ้มไหว้ ทักทาย - อดทน แก้ไขปัญหาให้ - มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อม - สอนให้นักเรียนรู้จักคิด ลุล่วงด้วยดี ถ่อมตน - ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเป็น วิเคราะห์ หลัก 3. ความพอเพียง นักเรียน ครู ผู้บริหาร - ประหยัดทรัพยากรของ - มีน้ำใจ เสียสละ ช่วยเหลือ - ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน โรงเรียน - แผนงานของโรงเรียน - ประหยัด ไม่ใช้จา่ ยเกินตัว - เสียสละ แบ่งปันต่อ สอดคล้องกับแผน นักเรียน และเพือ่ นร่วมงาน - ประหยัดทรัพยากรของ งบประมาณ โรงเรียน - ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ - อบรม ให้ความรู้ สอน งานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา - สอนงานเพื่อนร่วมงาน 43 4

โครงการ/โครงงาน/ โรงเรียนมีโครงการ/โครงงาน/กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม รวมทั้งสิ้น.…โครงงาน ได้แก่ กิจกรรม 1. โครงการ.... 2. โครงงาน.... ฯลฯ. ตัวชี้วัดในการ 1. มีกระบวนการขับเคลื่อนคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน พัฒนาโรงเรียนสู่ 2. (ร้อยละ)จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์เพิ่มขึ้น โรงเรียนคุณธรรม 3. (ร้อยละ)จำนวนครูที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์เพิ่มขึ้น จริยธรรม 4. (ร้อยละ)จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดน้อยลง 5. มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และชุมชน 6. มีองค์ความรู้/นวัตกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม และมีการบูรณาการกับ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 7. มีการขยายเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม 8. มีภาคีความร่วมมือในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คณะทำงาน 1.นาย/นาง/นางสาว......................................................ผู้อำนวยการโรงเรียน รับผิดชอบ 2. 3.

1.1 วิสัยทัศน์ หมายถึง สิง่ ทีโ่ รงเรียนมุง่ หวังให้เกิดขึน้ ในอนาคต ซึง่ ระดับผูบ้ ริหารต้องกำหนดขึน้ และทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วม เช่น โรงเรียนมุ่งจะช่วยสร้างคนดีให้สังคม

1.2 เป้าประสงค์ (Ultimate Goal) หมายถึง เป้าหมายที่โรงเรียนมุ่งมั่นจะไปให้ถึงในอนาคต และต้องมีความสอดคล้องกับการกำหนดวัตถุประสงค์ เช่น มุ่งให้มีกระบวนการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียน คุณธรรม 44 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม





1.3 วัตถุประสงค์ เป็นข้อความทีแ่ สดงถึงแนวทางปฏิบตั ติ า่ งๆเพือ่ ช่วยให้บรรลุตามเป้าประสงค์ ที่

กำหนดไว้ ข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้ เช่น เพื่อพัฒนา ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม (ซึง่ จะส่งผลให้เกิดกระบวนการพัฒนาโรงเรีย น

ตามเป้าประสงค์ที่วางไว้)

1.4 ยุ ท ธศาสตร์ ด ำเนิ นงาน หมายถึ ง วิ ธ ี ก ารในระดั บ รายละเอี ย ดที ่ จ ะนำมาใช้ ในการ

ดำเนินงาน เช่น โรงเรียนจะผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันทำงาน และจะบูรณาการแผนงาน/

โครงการต่างๆ ที่โรงเรียนทำอยู่แล้วมาไว้ด้วย เป็นต้น

อนึ่ง โรงเรียนควรพิจารณาแนวทางการบูรณาการงาน โครงการ โครงงาน กิจกรรมต่างๆ ที่ โรงเรียนได้จัดทำขึ้นภายใต้แผนงานต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ ด้านวินัย ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้าน กิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นต้น มาดำเนินการภายใต้เป้าหมายเดียวกันของโรงเรียน เพื่อประโยชน์ในการ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งงบประมาณ บุคลากร ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ประการ สำคัญผลงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการงานต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างทีมงานที่ดี ซึ่งจะส่งผลที่ดีในการพัฒนาโรงเรียนในระยะยาว

1.5 แผนปฏิบัติ หมายถึง แผนงานที่จะใช้ในการปฏิบัติงานคุณธรรม ประกอบด้วย คุณธรรม เป้าหมาย คุณธรรมอัตลักษณ์ โครงการ/โครงงาน/กิจกรรม และตัวชี้วัดในการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียน คุณธรรม 45 4

2. สร้างกลไกการลงมือปฏิบัติงาน

โรงเรียนพัฒนากลไกในการปฏิบตั งิ าน โดยเน้นการสร้างความมีสว่ นร่วม มีคณะทำงานรับผิดชอบ มีนักเรียนแกนนำ มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการ ประเมินผล เป็นต้น

3. กำหนดการติดตามนิเทศงาน

ในช่วงของการปฏิบัติงาน ควรมีการนิเทศงานเป็นระยะๆ มีผู้รับมอบหมายให้เป็นผู้นิเทศติดตาม งาน สอนงาน ให้คำปรึกษาหารืออย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อให้งานเป็นไปในแนวทางที่กำหนดไว้ แก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที และ ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา

การนิเทศติดตามงานจะเป็นการกระตุ้นส่งเสริม เสริมแรง ให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานให้ดำเนิน การอย่างราบรื่นจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงการติดตามให้คำแนะนำปรึกษาอย่าง กัลยาณมิตร การนิเทศติดตามงานอย่างต่อเนื่องจะเป็นหลักประกันที่ดีต่อความสำเร็จของการพัฒนา โรงเรียนคุณธรรม

46 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลจะช่วยให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น การประเมินผลควรทำ 2 ระดับ ได้แก่ การประเมินผลในระดับโครงงานคุณธรรม และ การประเมินผลภาพรวมของโรงเรียน ระดับ ความสำเร็จของโครงงานคุณธรรมต่างๆจะส่งผลให้เกิดผลสำเร็จในภาพรวมของโรงเรียน ดังนัน้ การเลือกใช้ ตัวชีว้ ดั จึงมีความสำคัญ และมีผลต่อการแสดงผลความสำเร็จแตกต่างกัน

ตัวชี้วัด หมายถึง คุณลักษณะความประพฤติ พฤติกรรมที่ต้องการวัดหรือประเมิน ควรใช้คำที่ ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความ และระบุการประเมินเชิงปริมาณ และ/หรือเชิงคุณภาพ เช่น • ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนนักเรียนที่กล้าแสดงออกในทางที่ดีเพิ่มมากขึ้น • ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : นักเรียนสร้างสรรค์กิจกรรมหน้าเสาธงอย่างหลากหลาย



4.1 การประเมินผลในระดับโครงงานคุณธรรม

ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลโครงงานคุณธรรม อาจแบ่งออกตามช่วงเวลาของแผน 1. การเริ่มโครงงานคุณธรรม อาจใช้ตัวชี้วัดเพื่อประเมินการเตรียมความพร้อม และ กิจกรรมที่ปฏิบัติงานขั้นต้น เช่น • มีการประชุมสร้างความเข้าใจ • มีการแต่งตั้งคณะทำงาน • ร้อยละของผู้สนใจเขาร่วมประชุมฟังคำชี้แจงฯลฯ เป็นต้น 47 4

2. ช่วงระยะกลางแผนของโครงงานคุณธรรม อาจใช้ตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการทำ กิจกรรมโครงงานในช่วงครึ่งแผนได้ผลอย่างไร เพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนปฏิบัติงาน เช่น • ร้อยละของโครงงานที่ปฏิบัติได้ตามแผนที่กำหนดไว้ • ร้อยละของผู้สนใจเขาร่วมทำกิจกรรม/โครงงาน • จำนวนโครงงานที่เป็นไปตามแผน ฯลฯ เป็นต้น

3. เมื่อสิ้นสุดโครงงานคุณธรรม ควรใช้ตวั ชีว้ ดั เพือ่ ประเมินผลสำเร็จของโครงงานคุณธรรม เช่น • ร้อยละของกิจกรรม/โครงงานที่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด • ร้อยละของผู้สนใจเขาร่วมทำกิจกรรม/โครงงานตั้งแต่ต้นจนแล้วเสร็จ • พฤติกรรมที่พึงประสงค์(ที่กำหนดไว้ในโครงงาน)เพิ่มขึ้น • พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์(ที่กำหนดไว้ในโครงงาน)ลดน้อยลง ฯลฯ เป็นต้น



4.2 การประเมินผลภาพรวมของโรงเรียน

โรงเรียนแต่ละแห่งจะมีการจัดทำกิจกรรม/โครงงานคุณธรรมหลายเรื่องมากมาย บางโรงเรียนมี กิจกรรม/โครงงานแบ่งตามจำนวนห้องเรียน ชั้นเรียน ชมรม กลุ่มสนใจ เป็นต้น เมื่อประเมินผลระดับ โครงงานคุณธรรมแล้ว ให้นำผลมาใช้ประเมินผลภาพรวมของโรงเรียน โดยนำคุณธรรมเป้าหมายของ โรงเรียนที่ได้กำหนดไว้ มาใช้เป็นเป้าหมายในการประเมินผล แล้วนำคุณธรรมอัตลักษณ์ที่ระบุพฤติกรรม

บ่งชี้มาเป็นหลักในการพิจารณาประกอบ แล้วจึงกำหนดตัวชี้วัดภาพรวม เช่น

48 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

คุณธรรมเป้าหมาย: ความรับผิดชอบ

คุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้บริหาร: ตรงต่อเวลา ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเป็นหลัก

ตัวชี้วัด: พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดภาพรวม จะใช้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน

โดยพิจารณาจากเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ตัวชี้วัดภาพรวมที่สำคัญ ได้แก่ 1. มีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน 2. มีกลไกคณะทำงานและใช้โครงงานคุณธรรมเป็นเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือ ปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 3. พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น 4. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนลดน้อยลง 5. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนจากทุกภาคส่วน

ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารโรงเรียน ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน 6. มีองค์ความรู้/นวัตกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม และมีการบูรณาการกับการจัดการ เรียนรู้ในชั้นเรียน 7. เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม

49 4

นอกจากนี้ อาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดความสำเร็จภาพรวมเพิ่มอีกได้ ตามสถานการณ์จริงและความ ต้องการของโรงเรียน เช่น • มีการขยายเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม • มีภาคีความร่วมมือในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในกลุ่มโรงเรียน และ/หรือชุมชน • เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมในภูมิภาค • มีโครงงานคุณธรรมกระจายอยู่ในทุกกลุ่มเป้าหมายของโรงเรียน • ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการความรู้คู่ความดี • ครูเป็นต้นแบบที่ดีงามของนักเรียน • นักเรียนในโรงเรียนคุณธรรมแสดงออกถึงพฤติกรรมพึงประสงค์ทช่ี ดั เจน เป็นรูปธรรม สม่ำเสมอ • พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ครู และนักเรียนในโรงเรียนลดลง • พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ครู และนักเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น



4.3 ผลลัพธ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การมีกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มีโครงงานคุณธรรม มีกิจกรรมส่งเสริมความดีเป็น เครื่องมือให้ทุกคนในโรงเรียนได้ร่วมกันสร้างสรรค์คุณงามความดีเป็นเป้าหมายที่ประสบความสำเร็จแล้ว โรงเรียนยังได้รับประโยชน์อีกมากมาย เช่น

1. ครูจะมีความตระหนักในบทบาทหน้าที่ และเห็นคุณค่าของอาชีพครู มีศกั ยภาพในการออกแบบ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตลอดจนปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างครูที่ดี เป็นที่ยอมรับทั่วกัน 50 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

2. นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะในการดำเนินชีวิต พึ่งตนเองได้ และช่วยเหลือสังคมได้

3. พฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียน ครู บุคลากร นักเรียน และ ผู้ปกครองเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้น

4. นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น และผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ใน ระดับที่ดีขึ้น

5. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนได้รับความสนใจจาก

นักวิชาการ ในการนำไปต่อยอดขยายผลเชิงวิชาการให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

6. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สังคมชุมชน ประชาชนจะให้ความสนใจ และ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมร่วมกัน เพื่อความสุขของประเทศ

อนึง่ เมือ่ โรงเรียนได้พฒ ั นาเป็นโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมแล้ว นอกจากจะเป็นประโยชน์ตอ่ ทุกฝ่าย แล้ว ยังเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อีกด้วย

51 4



ภาคผนวก

(ตัวอย่าง) กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม

หน่วยงาน ร่วม ขับเคลื่อน

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครู เพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน 1. การประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เชิงลึกแก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูแกนนำ 2. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการความรู้คู่ความดี 3. โครงงานคุณธรรม (Moral Project)

การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำ 4. ค่ายเด็กดีสร้างได้ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา 5. ค่ายผู้นำเยาวชนจิตอาสา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

การศึกษาดูงานและการนิเทศติดตาม 6. การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบคุณธรรมในประเทศ 7. การศึกษาดูงานต่างประเทศ (มูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน)

การนิเทศติดตาม และประเมินผล 8. การนิเทศติดตาม เสริมหนุน จำนวน 4 ครั้ง (รายไตรมาส) 9. การรายงานความก้าวหน้าโครงการ “Progress Report” ระยะที่ 1 10. การรายงานความก้าวหน้าโครงการ “Progress Report” ระยะที่ 2 11. การสังเคราะห์และประเมินผลกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม

54 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

(ตัวอย่าง) แผนภาพการพัฒนาคุณธรม จริยธรรมของโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ จ.ฉะเชิงเทรา (ประถมศึกษา)

หนองใหญ่โมเดล โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม รวมใจเป็นหนึ่ง

ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา

วิเคราะห์ บริบท

- จุดอ่อน จุดแข็ง (SWOT) ของโรงเรียน - สภาพปัจจุบัน ปัญหา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียน

รวบรวมผลิตเครื่องมือ

- แบบประเมิน / แบบสอบถาม - แบบสังเกต / แบบสัมภาษณ์ - แบบประเมินโครงการระยะต่างๆ

หาทุนผลกำไร

- ก่อนดำเนินงาน - ระหว่างดำเนินงาน - หลังดำเนินงาน

กำหนดจุดมุ่งหมาย

- เลือกพัฒนาคุณธรรม “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” (ความรับผิดชอบ วินัย จิตอาสา)

ยึดถืออุปกรณ์ “เด็กดี สร้างได้”

หาปัจจัยความสำเร็จ

- ปัจจัยภายนอก - ปัจจัยภายใน - การขจัดปัญหาอุปสรรค

หาข่ายแหล่งความรู้

- วิธีการของศูนย์คุณธรรม - ความรูท้ ไ่ี ด้รบั จากการอบรม ศึกษาดูงาน - งานวิจัยต่างๆ

ดำเนินงานตามแนวทาง

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน - กิจกรรมในโครงการตามแผน - การเรียนการสอนตามหลักสูตร

เผยแพร่กลเม็ดสู่สังคม

- เทคนิคการบริหารจัดการ - องค์ความรู้ที่ได้รับ - บทเรียนที่ได้รับ

นำสู่กรอบความคิด

- Input / Process / Product / Impact - กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ

สร้างเสริมพลังหนุน

- นิเทศติดตาม สนับสนุนจากศูนย์คุณธรรม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน หน่วยงาน ภายนอก และกระบวนการภายในสถานศึกษา

ชื่นชมคนดีให้มีตลอดกาล

- ประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง คุณงามความดี แก่ผู้ร่วมงานทุกฝาย - รักษากิจกรรมดำเนินการต่อไป

ความรับผิดชอบ เป็นเลิศ เกิดวินัย ใฝ่อาสา โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 55 4

(ตัวอย่าง) แผนภาพการพัฒนาคุณธรม จริยธรรมของโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ จ.ฉะเชิงเทรา (ประถมศึกษา) (ต่อ)

กระบวนการขับเคลื่อนหนองใหญ่โมเดล โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

ยุทธศาสตร์การพัฒนา ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา กระตุ้นต่อมคิด ปลุกจิตสำนึก ฝึกนักเรียนทำความดี มีจิตอาสา นำพาให้เห็นตัวอย่าง

ครูดีศรีหนองใหญ่

นักเเรียน

ผู้ปกครองและชุมชน

สภาพแวดล้อม ของโรงเรียน

สร้างแกนนำ ทำต้นแบบ

สร้างความตระหนัก

หาแนวร่วม รวมกำลังคน

หาแนวร่วม รวมผู้นำ

ใส่ใจรักษาความสะอาด

คิดค้นโครงงาน

พาทำดี มีอาสา

ทำให้ปราศจากมลพิษ

ปรับปรุงให้ปลอดภัย

บูรณาการคุณธรรม

ประดิษฐ์แหล่งเรียนรู้

ฝึกทำจนเป็นนิสัย

ดูแลบริเวณให้ร่มรื่น

เด็กดีศรีหนองใหญ่

56 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

ชุมชนดีศรีหนองใหญ่

น่าดู น่าอยู่ น่ามอง

(ตัวอย่าง) แผนภาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนรุจิรพัฒน์ จ.ราชบุรี (ขยายโอกาส) แผนการขับเคลื่อน Ruji’s Model

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

กระบวนการมีส่วนร่วม กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา

- แต่งกานสะอาด - ศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองสอน - หาความรู้ - ดูแลสุขอนามัยของ เพิ่มเติมให้กับตนเอง เช่นอบรม สัมมนาดูงาน ตนเองและนักเรียน -ปลูกฝังคุณลักษณะการใฝารู้ - ดูแลห้องเรียนสะอาด - สอนตรงเวลา ใฝ่ เ รี ย นให้ ก ั บ นั ก เรี ย น กำหนด - ทำงานที่ได้รับมอยหมายตามกำหนด อัตลักษณ์/ตัวบ่งชี้ - มาทำงานตรงเวลา - ไม่แสวงหาประโยฃน์จากนักเรียนและโรงเรียน - เข้าสอนตามชั่วโมงที่ได้รับมอบหมาย - เอาใจใส่ดูแลนักเรียน - ปฏบัติตามระเบียบของโณงเรียน - ไม่สร้างความแตกแยกในหมู่คณะ - เข้าสอนตรงเวลา - แต่งกายสุภาพ ถูกระเบียบ สะอาด

พัฒนาครู

คุณธรรมเป้าหมาย

พัฒนานักเรียน

พัฒนา สภาพแวดล้อม

วินัย

ใฝ่เรียนรู้

- เสียสละเวลา ส่วนตัวในการทำงาน - ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน - มีจิตสาธารณะ

จิตอาสา

รับผิดชอบ

- แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ - ส่งงานตรงเวลา - ทิ้งขยะลงถัง - ทำความสะอาดก่อนและหลังใช้ห้องน้ำ - รับผิดชอบหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย

- ห้องเรียนสะอาด - ทิ้งขยะถูกที่ / คัดแยก ประเภทของขยะได้ถูกต้อง - ดูแลรักษาความ สะอาดของห้องเรียนและบริเวณที่รับผิดชอบ - แต่งกายสะอาด ดูแลสุขภาพอนามัยส่วน บุคคล เช่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

- มีวินัยการเข้าแถว/เดินแถว/วางรองเท้า - ไม่ดื่มสุรา ยาเสพติด เล่นการพนัน หรือก่อเหตุทะเลาะวิวาท - เคารพเชื่อฟังคำตักเตือนของ ครูและผู้ปกครอง - เข้าเรียนตรงเวลา/ไม่หนีเรียน - มีความกระตือรือล้น ในการเรียน - รักการอ่าน - ศึกษาหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง - ภายในโรงเรียนสะอาดเป็นระเบียบ ร่มรื่น - มีแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรม หลากหลาย พอเพียง - ชุมชนร่วมมือพัฒนาคุณภาพการ ศึกษา ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม อัตลักษณ์ : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เคียงคู่ความรับผิดชอบ

งบประมาณ/ประสานงาน/นิเทศ

ศูนย์คุณธรรม - ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของ ส่วนรวม - ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน

ติดอาวุธทางปัญญา ส่งเสริม/สนับสนุน โดยนักวิชาการ

กอบกิจจิตอาสา รักษาความสะอาด

โรงเรียน โรงเรียนคุณธรรม

รุจิโมเดล

โครงงานคุณธรรม

57 4

(ตัวอย่าง) แผนภาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนรุจิรพัฒน์ จ.ราชบุรี (ขยายโอกาส) (ต่อ) โครงสร้างการบริหารงานโครงการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม โครงการกองทุนการศึกษา

กระบวนการมีส่วนร่วม

ผู้ให้การอุปการะ/สนับสนุน

ครูและนักเรียนทั้งโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานราชการ/เอกชน ผู้ปกครอง

วินัย

ใฝ่เรียนรู้ สะอาด รับผิดชอบ

ยุทธศาสตร์การพัฒนา จิตอาสา

6 โครงงาน 5 คุณธรรม

โครงงานภูมิทัศน์สวยด้วยมือเรา

โครงงานพลพรรครักษ์ส้วม โครงงานมดทำได้หนูทำได้

1. นางสุรภา 2. นางขนิษฐา 3. นายวัชรพันธ์ 4. นางเบญจมาศ 5. นายจักรพงษ์ 6. นายอมร 1. ด.ช.สุวัฒน์ 2. ด.ญ.เจนจิรา 3. ด.ญ.ณัฐกมล 4. ด.ช.สมศักดิ์ 5. ด.ช.ภาคภูมิ 6. ด.ญ.รักษ์สุดา 7. ด.ช.เสนีย์ 8. ด.ช.สมหวัง 9. ด.ช.แพวา 10. ด.ช.ป๋อง 11. ด.ญ.จารุวรรณ

โครงงานขยะลงถังปลูกฝังคุณธรรม

1. น.ส.พิมพ์จิต 2. น.ส.ขนิษฐา 3. น.ส.พัชรินทร์ 4. น.ส.กฤติกา 5. น.ส.จุฑารัตน์ 6. น.ศงกาญจณี 7. นายพงษ์ศักดิ์ 8. นายนพพร 9. น.ส.กันทิมา 1. ด.ญ.จารุณี 2. ด.ญ.น้ำอ้อย 3. ด.ช.สุวิช 4. ดงช.กิตติศักดิ์ 5. ด.ช.เอระ 6. ด.ญ.ปริญญา 7. ด.ญ.ศิรินยา

1. นายปราโมทย์ 2. น.ส.อนัญญา 3. นายศักดิ์เดช 4. นายสรภพ 5. น.ส.จุฑามาศ 6. น.ส.อรพิน 7. น.ส.สุนารี 8. น.ส.วิชชุดา 1. ด.ญ.จันทรักษ์ 2. ด.ญ.เสาวนี 3. ด.ช.โกทู 4. ด.ช.วสันต์ 5. ด.ช.ภุคพล 6. ด.ช.สมคิด

1. น.ส.อภิญญา 2. น.ส.จิราพร 3. น.ส.ปาณิสรา 4. น.ส.ญดา 5. น.ส.พัชรีพร 6. น.ส.นิรมล 1. ด.ญ.นราพร 2.ด.ช.จอกระเจ้อ 3. ด.ช.จกรพรรษดิ์ 4. ด.ช.กำพล

สภานักเรียน/นักเรียนแกนนำ

58 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

โครงงานอาณาจักรรักการอ่าน

โครงงานนวดไทยใส่ใจคุณภาพ

1. น.ส.ยสวรรณ 2. น.ส.ตาคม 3. น.ส.วนิดา 4. น.ส.ชุลีพร 5. นายภานุวัฒน์ 6. น.ส.สุภาพร 1. ด.ช.สมชาย 2. ด.ญ.เจนจิรา 3. ด.ญ.กนกวรรณ 4. ด.ช.พรพล 5. ด.ช.ป๋อง 6. ด.ญ.จันทร์เพ็ญ 7. ด.ช.สิงห์ทอง 8. ด.ช.สุทน 9. ด.ช.ยิ้ม 10 ด.ญ.อรวรรณ

1. น.ส.อัจฉราภรณ์ 2. น.ส.ชนิษฐา 3. น.ส.ภัทรวรรณ 4. น.ส.สุกัญญา 5. น.ส.สุชาทิพย์ 6. น.ส.วิลาวรรณ 1. ด.ญ.นราพร 2. ด.ช.จอกระเจ้อ 3. ด.ช.จักรพรรษดิ์ 4. ด.ช.กำพล 5. ด.ญ.สิธิดา 6. ด.ญ.รัชดาพร 7. ด.ช.ชูเตอร์ 8. ด.ช.สมบุญ

(ตัวอย่าง) แผนภาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม จ.พิจิตร (มัธยมศึกษา) กระบวนการขับเคลื่อนบางมูลนากโมเดล กิจกรรมการเรียนการสอน/ กิจกรรมพิเศษ

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ยุทธศาสตร์การพัฒนานักเรียน

ชุมนุมโครงงานคุณธรรม (ปัญหาที่อยากแก้+ความดี ที่อยากทำ) 1 ห้อง 2 โครงงาน 2 อาจารย์ที่ปรึกษา

งานวินัยนักเรียน

ครูประจำวิชา

ผู้บริหารโรงเรียน

การสอนสอดแทรกใน 8 กลุ่มสาระ

ผู้รับผิดชอบ+ทีมงาน

บูรณาการงานโครงงานกับภารกิจหลัก / งานประจำ

หลากหลาย สร้างสรรค์ พัฒนา โรงเรียน สีขาว น้อมนำ จิตอาสา

เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำเสนอ เสริมสร้าง ระเบียบ เรียนรู้การ วินัย ทำความดี ใส่ใจ อย่าง เสริมสร้าง มีความสุข ความดี

มากมี ความกตัญญู กตเวที

พร้อมมี จริยธรรม

ซื่อสัตย์ อัตลักษณ์

รับผิดชอบ พอเพียง

บางมูลนากโมเดล

ฝ่ายกิจการนักเรียน หัวหน้าระดับ ครูเวรประจำชั้น

งานประกัน คุณภาพ

งานสอน

กิจกรรมพิเศษโรงเรียน กลุ่มสาระ / โอกาสสำคัญ

ครูประจำชั้น

ประชาสัมพันธ์ / สื่อสารเชิงลึก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ครูทุกคน (บุคลากรทางการศึกษา) คณะกรรมการนักเรียน

นิเทศ กำกับ ติดตาม สร้างขวัญ + กำลังใจ

คณะกรรมการ สถานศึกษา

กระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน

เครือข่ายผู้ปกครองจิตอาสา ผู้ปกครอง/ชุมชน/ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

59 4

(ตัวอย่าง) แผนภาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม จ.ราชบุรี (อาชีวศึกษา) กระบวนการในการดำเนินโครงการพัฒนา วิทยาลัยคุณธรรม จริยธรรม วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม ขั้นที่ 1 ตระหนัก

• ผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา ศึกษาดูงาน อบรม และรายงานความก้าวหน้า โครงการ

ขั้นที่ 2 เรียนรู้

• ผู้บริหาร ครู นักเรียน ร่วมคิดอัตลักษณ์: วินัย พอเพียง จิตอาสา • ปฏิบัติ 5 อ่อน : มืออ่อน - ปากอ่อน - กายอ่อน - หัวอ่อน - ใจอ่อน • กลยุทธ 3 ท : ทิ่มหู ทิ่มตา ทิ่มใจ

ขั้นที่ 3 ปฏิบัติ

• ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คิดบวก ได้แรงเสริมทางบวก • นักเรียน คิด ทำ นำเสนอโครงการ ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ • วินัย : นักเรียนมีสัมมาคาราวะ แต่งกายถูกระเบียบ, ไม่ทะเลาะวิวาท • พอเพียง : ของหายได้คืน, ไม่ลักขโมย, ประหยัดอดออม • จิตอาสา : เสียสละแบ่งปัน, ช่วยเหลือโดยสมัครใจไม่หวังผลตอบแทน

ขั้นที่ 4 ประเมินผล

ประเมินผล จากตัวบ่งชี้ตามอัตลักษณ์วิทยาลัย • ด้านวินัย : มีสัมมาคาระวะ, ไม่ทะเลาะวิวาท, แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมกิจกรรม หน้าเสาธง • ด้านพอเพียง : ไม่ลักขโมย, ประหยัดและออม, ใช้ทรัพยากรของวิทยาลัยอย่าง ประหยัด • ด้านจิตอาสา : เสียสละ, แบ่งปัน. ช่วยเหลือโดยสมัครใจโดยไม่หวังผลตอบแทน

60 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

(ตัวอย่าง) สรุปย่อโครงงานใน 1 หน้ากระดาษ A4 โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ ประจำปีการศึกษา 2554 ระดับมัธยมศึกษา โครงงาน “ลด ละ เลิก บุหรี่ – เมรัย สานสายใย เทิดไท้องค์ราชันย์” โดยเยาวชนกลุ่ม “ดวงตาธรรม” ในโรงเรียนเวียงหมอกวิทยา ต.เวียงหมอก อ.เถิน จ.ลำปาง สพท. ลำปาง เขต 2 หลักธรรมสำคัญ : ศีล 5, อบายมุข 6, ไตรสิกขา พระราชดำริ /พระราชดำรัส : บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) และเศรษฐกิจพอเพียง (การสร้างภูมิคุ้มกัน) ประเด็นปัญหาหลัก : นักเรียนดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ อันเนื่อจากนักเรียนคบเพื่อนกลุ่มเสี่ยง หลงผิด และมี พฤติกรรมลอกเลียนแบบ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลลูก ตามใจลูกและเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี สภาพชุมชน

ดื่ม-สูบไม่เลือกที่ ไม่ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบและไม่มีภูมิคุ้มกัน อีกทั้งชุมชนมีเป็นพื้นที่เสี่ยง

(มีร้านค้าขายเหล้า-บุหรี่ จำนวน 7 ร้าน) และนักเรียนห่างเหินธรรมะที่ใช้ในการขัดเกลาจิตใจ กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนโรงเรียนเวียงมอกวิทยาและนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง (จำนวน 22 คน) กิจกรรมเด่น : คณะกรรมการโครงงานฯได้สานต่อกิจกรรมในภาคเรียนที่ 1 ประกอบด้วยกิจกรรม “แกนนำ

ผู้ก่อการดีกัลยาณมิตร (D+)” กิจกรรม “กระบอกเสียงแห่งธรรม” กิจกรรม “บริสุทธิ์ใจ ค้นได้ทั่วตัว” กิจกรรม “รู้แจ้ง เห็นกรรม” (อบรมธรรมะ-วิปัสสนา) และจัดกิจกรรมเพิ่มเติมภาคเรียนที่ 2 ประกอบด้วย

(1) กิจกรรม “สายลับสีขาว” (2) กิจกรรม “ปลูกจิตสำนึกลด ละ เลิก เหล้า – บุหรี่” (3) กิจกรรม “นำสื่อ ความดี สู่ชุมชน” และ (4) กิจกรรม “สานสายใยครู สู่รั้วบ้าน” กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่มุ่งการติดตาม พฤติกรรม แก้ไขปัญหา และปลูกจิตสำนึกการลด ละ เลิก บุหรี่ –เหล้า ของนักเรียนและนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 61 4

อย่างเป็นปัจจุบันและใกล้ชิดจากสายลับสีขาวและการนำผู้ก่อนการดีกัลยาณมิตร อีกทั้งได้โดยอาศัยการมี ส่วยร่วมจากครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และทุกฝ่ายในชุมชน ผลที่เกิด : นักเรียนมีค่านิยมในการลด ละ เลิก บุหรี่-เมรัยจากการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ตามแนว พระราชดำริบวรและหลักพุทธวิถี และสรุปผลสัมฤทธิ์ในภาคเรียนที่ 2 พบว่า นักเรียนกลุ่มเสี่ยง 22 คน มี พฤติกรรมปลอดจากเหล้า-บุหรี่ รวม 18 คน ร้อยละ 18.19 (ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 3 คน ร้อยละ 27.27ค่า เฉลี่ยลดลงจากเดิมร้อยละ 9.08) กลุ่มเยาวชนผู้รับผิดชอบโครงงาน : 1.................................................................................

2..................................................................................

พระสงฆ์ที่ปรึกษา : พระครูวิรุฬพิพัฒนกิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยริน

ผู้บริหารที่ปรึกษา : นายมานพ แสนทวี ผู้อำนวยการโรงเรียน

ครูที่ปรึกษา : นายศานติกรศิ์ วงค์เขียว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวนครู 24 คน จำนวนักเรียน 479 คน แยกเป็น ช่วงชั้นที่ 3 รวม 353 คน ช่วงชั้นที่ 4 รวม 124 คน ติดต่อ ครูศานติกรศิ์ โทร 0812887283 Facebook โครงงาน : ......................................................................... สนับสนุนโดย - กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ (กคพ.) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ)

62 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

(ตัวอย่าง) โครงงานคุณธรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และครู

โรงเรียนวัดถ้ำองจุ จ.กาญจนบุรี 63 4

(ตัวอย่าง) โครงงานคุณธรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน

โรงเรียนบ้านดอนขุนห้วย จ.เพชรบุรี

64 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

(ตัวอย่าง) โครงงานคุณธรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน

โรงเรียนบ้านท่าตะคร้อ มิตรภาพที่ 192 จ.เพชรบุรี 65 4

เอกสารอ้างอิง

ศ.นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี. 2557. หนังสือ โรงเรียนคุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. มูลนิธพิ ระดาบส. 2551. หนังสือ ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส “คำพ่อสอน”. พิมพ์ครัง้ ที่ 10. กรุงเทพฯ. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). 2557. หนังสือ การสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการสร้างโรงเรียน ต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม (บางมูลนากโมเดล). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). 2557. หนังสือ มุ่งสู่เป้าเข้าถึงแก่น “โครงงานคุณธรรม”. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2556. คุณธรรม 5 ประการ. กรุงเทพฯ. เอกสารเผยแพร่ สำนักงานคุรุสภา. 2556. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ.

66 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.