สงครามรัสเซีย-ยูเครน Flipbook PDF

สงครามรัสเซีย-ยูเครน
Author:  N

20 downloads 122 Views 3MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

สงคราม รัสเซีย-ยูเครน

RUSSIAN TROOPS IN UKRAINE

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ที่มา ชนวนเหตุ และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อันเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อ สังคมโลกในปัจจุบัน รวมไปถึงการรวบรวมความคิดเห็นที่มีต่อบทความ ที่วิเคราะห์จุดจบของสงครามนี้เอาไว้ ซึ่งอยู่ในรายวิชา Global alliance and Emerging issues เพื่ออธิบายให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาเข้าใจถึงแก่นแท้ของเหตุการณ์ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำ

สารบัญ CONTENT

ที่มาของสงคราม ชนวนสงคราม ผลกระทบต่อประเทศไทย แนวโน้มจุดจบสงครามรัสเซีย-ยูเครน วิเคราะห์แนวโน้มจุดจบสงครามรัสเซียยูเครน ผลการวิเคราะห์แนวโน้มจุดจบสงคราม รัสเซีย-ยูเครน แหล่งอ้างอิง รายชื่อสมาชิก

1-2 3-4 5 6-9 10-11

12

13 14

ที่มาของสงคราม ความขัดแย้งครั้งนี้เริ่มมาจากการแยกตัวของ รัฐโดเนสต์ (donetsk) – ลูฮันสก์ (luhansk) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เป็น ฝ่ายที่ชื่นชอบรัสเซียและต้องการเห็นแคว้นของตัวเองเป็นแบบไครเมีย (Crimea) ที่แยกดินแดนออกมาจากยูเครนได้สำเร็จ ช่วงกำแพงเบอร์ลิน ในปี 1945 ภายใต้ผู้นำอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่ได้พ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสัมพันธมิตรได้ยึดครอง เยอรมัน โดยแกนนำในครั้งนั้นคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต และได้แบ่งเยอรมันภายใต้การปกครองออกเป็น 4 ส่วน โดยหลังจากนั้นมีการควบรวมจาก สหรัฐฯ อังกฤษ และ ฝั่ง เศส เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันตก และ สหภาพโซเวียต จัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือเยอรมนี ตะวันออก โดยเมื่อเวลาผ่านไปเยอรมนีตะวันออกนั้นเสื่อมถอยพัฒนา ไม่ทันฝั่งตะวันตก ทำให้ชาวเยอรมนีตะวันออกย้ายถิ่นฐาน เป็น สาเหตุให้กำแพงเบอร์ลินเกิดขึ้นในปี 1961 จุดประสงค์เพื่อปิดกั้นการ เดินทางข้ามไปฝั่งตะวันตก แต่ในที่สุดก็จบลงในปี 1989 เมื่อกำแพง เบอร์ลิน ที่ถูกสร้างมานานถึง 28 ปี ได้พังทลายลง โดยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี 1990 เจมส์ เบเกอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ คำมั่นสัญญา กับประธานาธิบดี มิคาอิล กอบาชอฟ ของอดีตสหภาพ โซเวียตในการหารือสถานะการรวมเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก โดยทั้งสหรัฐฯ และโซเวียตเห็นพ้องว่านาโต้จะไม่ขยายพื้นที่เกิน เยอรมนีตะวันออก แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์ไม่เป็นดังที่คิด เมื่อนาโต้ กลับขยายพื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ มาทางตะวันออก ซึ่งเป็นอดีตประเทศ ของสหภาพโซเวียต

ที่มาของสงคราม กลับมาในปัจจุบันนั้น รัสเซียรู้สึกถึงภัยคุกคามมาตลอด เนื่องจากนา โต้ได้ขยายอิทธิพลและผิดคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้กับรัสเซียมาตลอด ซึ่งรัสเซียก็ได้พยายามไกล่เกลี่ยทางการทูตเรื่อยมา แต่ถึงกระนั้นทางนา โต้กับสหรัฐฯ ก็เมินเฉยข้อตกลงที่ทางรัสเซียเสนอไปตลอดระยะเวลา โดยหัวข้อหลักที่เสนอมีอยู่ว่า ยุติหรือป้องกันการขยายอิทธิพลของนาโต้ สัญญาว่าจะไม่รับยูเครนเป็นสมาชิก ยกเลิกการประจำการอาวุธในประเทศยุโรปตะวันออก และให้ กลับไปยึดข้อตกลงที่รัสเซียทำกับนาโต้ไว้เมื่อปี 1997 ความตึงเครียดนี้รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายอิทธิพลจาก ตะวันตก โดยรัฐบาลยูเครนนั้นเริ่มบุกฝั่งตะวันออกของยูเครนรุนแรงขึ้น และมีท่าทีที่จะเข้านาโต้มากขึ้น โดยปูตินอ้างว่านาโต้ และสหรัฐฯ อยู่ เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดซึ่งทำให้รัสเซียไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องจากยูเครนเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์สำคัญและมีพื้นที่ติดกับรัสเซีย มากที่สุด ถ้าเข้าไปอยู่ในนาโต้หมายถึงการมีปืนจ่อหน้าบ้านอยู่ตลอด เวลานั่นเอง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 กองทัพรัสเซียเคลื่อนกำลังพล บุกยูเครนเต็มรูปแบบ โดยก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดี รัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ได้เซ็นยินยอม 2 รัฐ โดเนสต์-ลูฮันสก์ เป็นรัฐ อิสระ และได้เคลื่อนทัพเข้าไปสู่ 2 รัฐนี้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาในการ ยึดอย่างรวดเร็วเพียงไม่ถึง 1 วันเท่านั้น โดยทางรัสเซียอ้างว่าเป็นการ เคลื่อนทัพเพื่อปกป้องผู้คนชาวรัสเซียจากการรุกรานของชาติตะวันตก ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ได้แถลงผ่านวิดีโอถึง ประชาชนในยูเครนเสียชีวิตอย่างน้อย 137 คน และผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 316 คน

ชนวนสงคราม

1) ต้นกําเนิดยูเครนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ : ยูเครนเคยเป็นสมาชิก ของสหภาพโซเวียตมาก่อน จนกระทั่งเมื่อ ปี ค.ศ.1991 ได้แยกตัวออกมา หลังการล่มสลายของสหภาพฯ โดยหลังจากได้รับเอกราชในช่วง 10 ปีแรก ยูเครนดําเนินนโยบายมุ่งสู่ชาติตะวันตก หันไปให้ความสําคัญกับ สหรัฐฯ และชาติยุโรป พยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ขณะที่รัสเซียเองก็ไม่ ยอมรับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ของยูเครน เนื่องจากรัสเซียมองยูเครนเป็นส่วน หนึ่งของประเทศตนเองมาโดยตลอด 2) อดีตประธานาธิบดียูเครนผู้ฝักใฝ่รัสเซีย : ในช่วงปลาย ปี2013ประชาชนชาวยูเครนนับแสนคนออกมา ประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี ยากูโนวิช จากการคว่ําแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป ซึ่งผู้ประท้วงมองว่าเท่ากับเป็นการปฏิเสธโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ยูเครน ทั้งนี้ มีการปราบปรามผู้ ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงจนทําให้ สถานการณ์บานปลายเป็นเหตุการณ์นองเลือด จนในที่สุดประธานาธิบดียา กูโนวิชได้ถูกถอดถอนและหลบหนีออกนอกประเทศ 3) การยึดไครเมียโดยรัสเซีย : อีกชนวนเหตุหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ในปี2014รัสเซียเข้ายึดครองและผนวก รวมดินแดนไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอน ใต้และเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน หลังจากผลการลงประชามติของชาวไครเมีย ได้ข้อสรุปเป็นเสียงข้างมากถึง 96% ว่าจะประกาศเอกราชเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของรัสเซีย และเป็นเหตุให้ ดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครนคือ ดอแนต สก์และลูฮานสก์ พากันทําประชามติเพื่อประกาศอิสรภาพ จากยูเครนบ้าง แต่กลับกลายเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องจนมาถึง ล่าสุดท่ีรัสเซีย ประกาศรับรองความเป็นรัฐอิสระของทั้งสองดินแดน

ชนวนสงคราม

4) ความพยายามเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ของยูเครน : ในทาง ภูมิศาสตร์ยูเครนตั้งอยู่ระหว่างรัสเซียและชาติ ยุโรปต่าง ๆ ไม่ต่างจากความ เป็นรัฐกันชน ที่ผ่านมา การที่ยูเครนพยายามจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของนาโต้ โดย ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งมีสาระสําคัญในสนธิสัญญาว่า “หาก ประเทศพันธมิตรนาโต้ถูกรุกรานหรือ โจมตีโดยประเทศนอกกลุ่มสมาชิก ประเทศพันธมิตรทั้งหมดต้องยื่นมือเข้าปกป้อง” ทําให้รัสเซียรู้สึกถึงภัย คุกคาม ต่อความมั่นคงของประเทศตน เพราะจะถูกล้อมด้วยชาติสมาชิกนาโต้ท่ีดาหน้า รุมมาถึงหน้าประตูบ้าน ทั้งน้ี มีนักวิเคราะห์และนักวิชาการทางรัฐศาสตร์หลาย ท่านระบุว่า ความพยายามเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ของ ยูเครนดังกล่าวเป็นตัว แปรสําคัญหรือเป็นดั่งเชื้อไฟที่เร่งให้รัสเซียแสดงท่าทีแข็งกร้าวและตอบโต้ ยูเครนอย่าง รุนแรงดังที่ปรากฎในสถานการณ์ปัจจุบัน

ผลกระทบต่อประเทศไทย ราคาน้ำมันแพงขึ้น ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างที่เราไม่เคยเห็น มาตั้งแต่ปี 2014 เนื่องจากการบุกรัสเซียของ ยูเครนนั้นเป็นเหตุให้ซัปพลายน้ำมันของรัสเซีย ชะงัก เงินเฟ้อพุ่งเป็นประวัติการณ์ ผลกระทบจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สูง ขึ้น ผลักดันให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนของ อุปกรณ์ทำความร้อนและค่าไฟขยับตามขึ้นเป็น เงาตามตัว ตลาดหุ้นปรับตัวลง เป็นที่รู้กันดีว่าตลาดหุ้นนั้นมักจะมีความเซนซิ ทีฟต่อเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ได้ง่าย เห็นได้จากเพียงแค่มีข่าวว่ารัสเซียยกกองกำลัง ประชิดพรมแดนยูเครน กลิ่นของสงครามก็ลอย มา นักลงทุนก็พากันขายหุ้นออกมาเนื่องด้วยกลัว ผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน เงินเฟ้อ

สําหรับประเทศไทย อาจได้รับ ผลกระทบหลัก ๆ จากราคาสินค้า โภคภัณฑ์และพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้ง ราคาของสินทรัพย์ในตลาดการเงินที่มี ความผันผวนสูง ซึ่งไม่แตกต่างจากภาวะที่ เกิดขึ้นทั่วโลก และหากสงคราม ยืดเยื้อ บานปลาย อาจได้รับผลกระทบทางอ้อม จากการชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าของรัสเซีย โดยเฉพาะ ยุโรปที่ได้รับ ผลกระทบจากการคว่ําบาตรรัสเซียนั้นเอง ขณะที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกนําเข้า สินค้าโดยตรงและ การลงทุนจากรัสเซีย และยูเครนค่อนข้างน้อย แต่มีสัดส่วนนัก ท่องเที่ยวรัสเซียอยู่บ้างที่จะส่งผลกระทบ ต่อการฟ้ืน ตัวของท่องเที่ยวไทยโดยตรง

01.

แนวโน้มจุดจบ สงครามรัสเซีย-ยูเครน 1.รัสเซียเข้าปกครองบางแคว้น

คลิฟฟ์ คุปชาน ประธานกลุ่มยูเรเซีย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ สถานการณ์ยุโรปและนักสังเกตการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครนอย่างใกล้ชิด กล่าวว่า สถานการณ์เปลี่ยนเร็วมาก ทำให้ยาก ประเมินจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของ มอสโกและท่าทีชาติตะวันตกที่ไม่อาจคาดเดาได้ เพียงแต่พอคาดการณ์ว่า จะได้เห็นประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปู ติน ผู้เกลียดชังรัฐบาลยูเครนปัจจุบันเพราะปรารถนาเข้าร่วมเป็น สมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) และสมาชิกองค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (นาโต) เข้าวางฐานอำนาจให้กับรัฐบาลใหม่ ซึ่ง เป็นกลุ่มโปรรัสเซีย "จะเกิดขึ้นเมื่อไร ไม่อาจระบุได้ แต่สถานการณ์พื้นฐานใน กลุ่มประเทศยูเรเซียอาจเกิดใน 3 เดือนข้างหน้า โดยรัสเซียจะ สามารถคุมพื้นที่ทางตะวันออก ไปจนถึงแม่น้ำดนีโปร เพื่อยึดกรุง เคียฟ หลังการปิดล้อมที่ยืดเยื้อ ในระหว่างนี้ได้เตรียมจัดตั้งรัฐบาล หุ่นเชิดที่รัสเซียให้การสนับสนุนเข้าไปปกครองยูเครน" คุปชาน กล่าวเสริมว่า คาดจำนวนผู้ลี้ภัยจะมีสูงถึง 5 -10 ล้านคนจาก ยูเครนเดินทางไปยังยุโรปตะวันตก ในสถานการณ์เช่นนี้ นาโตไม่อาจปฏิเสธแทรกแซงทางทหาร ในความขัดแย้งครั้งนี้ ทั้งที่ยูเครนไม่ใช่สมาชิกนาโต ด้วยการ สนับสนุนยุทโธปกรณ์ทางทหารให้ยูเครน เพื่อสนับสนุนปฏิบัติ การต้านรัสเซียในยูเครนตะวันออก แต่สิ่งนี้อาจนำไปสู่ความเสี่ยง ของการ “ปะทะกันทางอากาศระหว่างเครื่องบินรัสเซียและนาโต”

02. แนวโน้มจุดจบ

สงครามรัสเซีย-ยูเครน

2. ล้างไพ่และแบ่งพื้นที่ปกครอง นักวิเคราะห์บางคนเห็นด้วยว่า มีโอกาสรัสเซียเข้ามาปกครองบาง แคว้นในยูเครน จนนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน และเมื่อรัสเซียสามารถ ยึดที่มั่นในดินแดนทางตะวันออกได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดอนบาส ซึ่งทารัส คูซิโอ นักวิจัยสถาบันเฮนรี่แจ็คสันของสหรัฐ เขียนบทความ ระบุว่า จุดมุ่งหมายของมอสโก "พิชิตทางทหารอย่างสมบูรณ์ในยูเครน ตามด้วยการแบ่งแยกและการกำจัดประชากรพลเรือนจำนวนมาก" “เป้าหมายที่ชัดเจนของปูตินคือการขจัดร่องรอยความเป็น เอกลักษณ์ยูเครนทั้งหมด และกลุ่มเผด็จการทางทหารจะฝั่งรากรึกใน จักรวรรดิรัสเซียสมัยใหม่ในประเทศยูเครน วิสัยทัศน์นี้สร้างความน่า หวาดเสียว สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของปูตินในการปฏิบัติการทาง ทหารในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับประวัติอันยาวนานของเขา ในการดูถูก เหยียดหยามและความเกลียดชังรัฐบาลยูเครน" คูซิโอกล่าว 3.คลื่นความไม่สงบ ชาวยูเครนยังคงต่อสู้กับการปกครองโดยรัฐบาลหุ่นเชิดที่โปรรัสเซีย โดยความขัดแย้งจะลุกลามไปสู่การก่อความไม่สงบในระยะยาว และชาว ยูเครนที่เหลือในประเทศจะพยายามโค่นล้มระบอบการปกครองดังกล่าว ด้วยวิธีการใดๆ ที่มีอยู่ ชัยชนะของรัสเซียในยูเครนจะเป็น “ชัยชนะที่ลุกโชน” นั่นคือ ชัยชนะที่ไม่คุ้มที่จะชนะเพราะต้องสูญเสียทุกอย่างไปมากเพื่อแลกกับ ชัยชนะ โดยได้ตั้งข้อสังเกตกับยุทธศาสตร์ที่ยูเครนใช้กับรัสเซียใน ขณะนี้เป็นลักษณะการบีบให้ “รัสเซียต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ การเงินและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ” เนื่องจากจะต้องใช้ทรัพยากร มากขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในระหว่างนี้ ประเทศ ต่างๆ ของนาโต “น่าจะให้ความช่วยเหลือเชิงป้องกันอย่างลับๆ แต่ แข็งแกร่งมากแก่กลุ่มยูเครนต่อต้านรัสเซีย”

03.

แนวโน้มจุดจบ สงครามรัสเซีย-ยูเครน

4. นาโตปะทะรัสเซีย พันธมิตรนาโตปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการทหารโดยตรงหลาย ต่อหลายครั้งในสงครามรัสเซียกับยูเครน เพราะนั้นจะทำให้ไปสู่ ความขัดแย้งโดยตรงกับรัสเซีย ซึ่งปธน.ปูตินประกาศเตือนไว้ก่อน หน้านี้แล้วว่าประเทศใดที่แทรกแซงจะเท่ากับว่ามีส่วนร่วมกับ ปฏิบัติการทางทหาร จะต้องรับผลตามมามากมาย โดยประเทศใน ฝั่งตะวันออกที่เป็นสมาชิกนาโต เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย และ ประเทศในบอลติก ซึ่งได้ปรับท่าทีล่าสุดเพราะเกรงความขัดแย้ง จะขยายมายังดินแดนของตนเอง เอียน เบรมเมอร์ ประธานของยูเรเซีย กรุ๊ป ตั้งข้อสังเกตว่า จะไม่เห็นชาติตะวันตกส่งทหารไปรบเคียงบ่าเคียงไหล่ยูเครนหรือ กำหนดเขตห้ามบินเหนือยูเครน เพราะเท่ากับกองกำลังนาโต เผชิญหน้ากองทัพรัสเซียโดยตรง เสี่ยงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 "ไม่น่าเป็นไปได้ที่รัสเซียจะโจมตีทางการทหารโดยตรงกับนา โต และนาโตก็ไม่น่าจะตอบโต้โดยตรงกับการโจมตีทางทหาร ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ วิธีเดียวในการเตรียมตัวตั้งรับคือ หน่วยข่าวกรองต้องทำงานมากขึ้น ในการป้องกันหรืออย่างน้อยก็ ลดทอนการโจมตีที่ไม่ตรงมาตรงไป" เบรมเมอร์กล่าว เราจะได้เห็นชาติตะวันตกปล่อยมาตรการทางเศรษฐกิจเป็น ระลอก โดยเฉพาะก่อการร้ายทางไซเบอร์ เพื่อตอบโต้ชาติสมาชิก นาโต

02. แนวโน้มจุดจบ

สงครามรัสเซีย-ยูเครน

5. ปาฏิหาริย์ นักวิเคราะห์หลายสำนักเห็นตรงกัน การถอนกำลังทหารออกจาก ยูเครนเป็นทางออกดีที่สุด โดยพาเวล อิงเกล นักยุทธศาสตร์ของ Atlantic Council’s กล่าวว่า อันที่จริงในสถานการณ์ “ปาฏิหาริย์” นี้ เครมลินตระหนักดีว่า ในการรุกรานยูเครน “รัสเซียต้องจ่ายต้นทุน ทางสงคราม แต่ตอนนี้มันเริ่มสูงเกินไป” และเผชิญกับความล่มสลาย ทางเศรษฐกิจและการทูต ถ้าปูตินแยกแยะได้ เขาจะสั่งให้ถอนทหาร รัสเซียออกจากยูเครน แม้สงครามอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น แต่ก็ได้คร่าชีวิตผู้คนหลายพัน คนทั้งรัสเซียและยูเครน โดยทิ้งความขมขื่นไว้ เชื่อว่า ยูเครนยังคงเป็น ประเทศประชาธิปไตยแบบไม่บุบสลาย แต่ตราบใดที่ยังเป็นเพื่อนบ้าน รัสเซีย อนาคตย่อมสั่นครอนเพราะมุมมองรัสเซียที่มีต่อยูเครนไม่เคย เปลี่ยนแปลงไป

1

วิเคราะห์แนวโน้มจุดจบ สงครามรัสเซีย-ยูเครน

1) รัสเซียเข้าปกครองบางแคว้น มีแนวโน้มที่เป็นไปได้และเห็นด้วยแต่จะกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อเนื่องจากนาโตไม่อาจ ปฏิเสธแทรกแซงทางทหาร ด้วยการสนับสนุนยุทโธปกรณ์ทางทหารให้ยูเครนเพื่อสนับสนุนการ ต้านรัสเซีย และยากที่จะประเมินความเคลื่อนไหวของรัสเซียและชาติตะวันตกเนื่องจาก ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เกลียดชังรัฐบาลยูเครนมาก และในระหว่างนี้ได้เตรียมจัดตั้งรัฐบาล หุ่นเชิดที่รัสเซียให้การสนับสนุนเข้าไปปกครองยูเครนแทน การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ ประเทศมหาอำนาจส่วนใหญ่ใช้และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นสูงมาก อีกทั้งรัสเซียจะสามารถคุมพื้นที่ ทางตะวันออก ไปจนถึงแม่น้ำดนีโปร เพื่อยึดกรุงเคียฟ หลังการปิดล้อมที่ยืดเยื้อ 2) ล้างไพ่และแบ่งพื้นที่ปกครอง มีความเป็นไปได้สูงที่ถ้ารัสเซียมาปกครองบางแคว้นในยูเครน จนนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน และเห็นด้วยกับบทความที่ว่าจุดมุ่งหมายของมอสโก "พิชิตทางทหารอย่างสมบูรณ์ในยูเครน ตาม ด้วยการแบ่งแยกและการกำจัดประชากรพลเรือนจำนวนมาก" เพราะเป้าหมายที่ชัดเจนของปูติน คือการขจัดร่องรอยความเป็นเอกลักษณ์ยูเครนทั้งหมด และกลุ่มเผด็จการทางทหารจะฝั่งรากรึกใน จักรวรรดิรัสเซียสมัยใหม่ในประเทศยูเครน แต่หากเข้าร่วมนาโตฐานทัพของยุโรปและ สหรัฐอเมริกาก็สามารถตั้งฐานทัพขีปนาวุธใกล้เมืองหลวงของรัสเซียได้

2

วิเคราะห์แนวโน้มจุดจบ สงครามรัสเซีย-ยูเครน

3) คลื่นความไม่สงบ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าการทำศึกรบครั้งนี้จะยุติลงเเล้วแต่ความสงบไม่ได้ยุติตาม ยังมี ประชาชนของยูเครนที่ต้องทนทุกข์ทรมานและหากกลายเป็นสงครามยืดเยื้อเนื่องจากประเทศต่างๆ จะบีบให้รัสเซียต้องเสียทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านการเงินและเศรษฐกิจอย่างที่เห็นได้กับค่าเงินของ รัสเซียที่ตกอย่างรวดเร็ว อีกทั้งชาวยูเครนยังคงต่อสู้กับการปกครองโดยรัฐบาลหุ่นเชิดที่โปรรัสเซีย ทำให้ชาวยูเครนที่เหลือในประเทศจะพยายามโค่นล้มระบอบการปกครองดังกล่าวด้วยวิธีการใดๆ ที่มีอยู่เพราะชัยชนะของรัสเซียในอยู่เครนต้องแลกไปด้วยความสูญเสียอย่างมากมาย 4) นาโตปะทะรัสเซีย มีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากนาโตคงไม่เอาตัวเองไปเสี่ยงเพราะถ้าทำสงครามกัน อาจจะกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่3 และประเทศรัสเซียยังเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่พร้อม จะทำลายล้างอยู่มากอาจกลายเป็นสงครามโลก 5) ปาฏิหาริย์ การถอนกำลังทหารออกจากยูเครนเป็นทางออกดีที่สุด ในการรุกรานยูเครน “รัสเซียต้องจ่าย ต้นทุนทางสงคราม แต่ตอนนี้มันเริ่มสูงเกินไป” และเผชิญกับความล่มสลายทางเศรษฐกิจและ การทูตได้

ผลการวิเคราะห์แนวโน้มจุดจบ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ข้อที่ 1 รัสเซียเข้าปกครองบางแคว้น เห็นด้วย 100% ไม่เห็นด้วย 0% ข้อที่ 2 ล้างไพ่และแบ่งพื้นที่ปกครอง เห็นด้วย 100% ไม่เห็นด้วย 0% ข้อที่ 3 คลื่นความไม่สงบ เห็นด้วย 100% ไม่เห็นด้วย 0% ข้อที่ 4 นาโตปะทะรัสเซีย เห็นด้วย 20% ไม่เห็นด้วย 80% ข้อที่ 5 ปาฏิหาริย์ เห็นด้วย 100% ไม่เห็นด้วย 0% แนวโน้มจุดจบที่สามารถเป็นไปได้มากที่สุด คือ ข้อ 3 คลื่นความไม่สงบ ซึ่งจะกลายเป็น สงครามยืดเยื้ออย่างประเทศอื่นๆ และเกิดคลื่นความไม่สงบ และจะทำให้รัสเซียโดนบีบ บังคับจากประเทศอื่นๆไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน เศรษฐกิจ หรือ แม้แต่ความกดดันของคนในชาติเอง

แหล่งอ้างอิง

https://www.bangkokbiznews.com/world/992675 https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_ /Article_28Feb2022.pdf https://marketeeronline.co/archives/253330 https://www.thaipost.net/abroad-news/132210/ https://brandinside.asia/what-ukraine-russia-conflict-meansfor-thailand/

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

รายชื่อสมาชิก กลุ่ม 7

1) นางสาวธรภรณ์ บุญบรรดาล 2) นางสาวศิวพร พัดนาค 3) นางสาวอริซ่า กัลญา ทริปป์ 4) นางสาวเพ็ญพิชชา วันเพ็ญ 5) นางสาวอชิรญา ศรีสุข 6) นางสาวหทัยชนก การสามารถ 7) นางสาวอัญชลี เทพกรม 8) นางสาวเกวลิน เพ็ญโรภัย 9) นางสาวชนาพร คุณาพรอนันต์ 10) นางสาวณัฐกฤตา นครพงศ์ 11) นางสาวพริมา ธงวิชัย 12) นางสาวณัฏฐณิชา ทาผา 13) นางสาวอารยา ศรีนารัตน์ 14) นางสาวกัญญาพัชร ปาลวัฒน์ 15) นายศิวากร สกุลพอง

1650400425 เลขที่ 2 1650400441 เลขที่ 3 1650400458 เลขที่ 4 1650400482 เลขที่ 7 1650400532 เลขที่ 12 1650400623 เลขที่ 20 1650400664 เลขที่ 2 1650400698 เลขที่ 26 1650400706 เลขที่ 27 1650400714 เลขที่ 28 1650400748 เลขที่ 30 1650400763 เลขที่ 32 1650401274 เลขที่ 40 1650401282 เลขที่ 41 1650402157 เลขที่ 116

GLOBAL ALLIANCE AND EMERGING ISSUES

GE105

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.