Data Loading...

การสืบพันพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก Flipbook PDF

การสืบพันพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก


300 Views
465 Downloads
FLIP PDF 1.06MB

DOWNLOAD FLIP

REPORT DMCA

ใบความรู้ที่ 1

วิชา ชีววิทยา ( ว30242)

เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ใบความรู้ เรื่อง การสืบพันธแ์ ุ บบอาศัยเพศของพืชดอก

ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่



ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

การสืบพันธุ์ของพืชดอก ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอก แตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมี ขนาดใหญ่มาก บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบาง ชนิดไม่มีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความ หลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทาหน้าที่เหมือนกันคือ เป็น อวัยวะสืบพันธุ์ของพืช

การสืบพันธุ์ คือ การสร้างชีวิตใหม่จากสิ่งมีชีวิตเดิม เพื่อดารงสืบพันธุ์ไป เป็นกระบวนการที่ทาให้ สิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารเพื่อการดารงชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะสืบพันธุ์เพื่อการดารง เผ่าพันธุ์ของตนเองไว้ พืชก็เช่นเดียวกันการสืบพันธุของพืชมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกจะต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งเกิดขึ้นในดอก ดังนั้นดอกจึงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก

การสืบพันธุ์ของพืชโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศ (Asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องใช้เซลล์ สืบพันธุ์ แต่ใช่ส่วนอื่นๆขยายพันธุ์แทน เช่น -การแตกหน่อ (budding) ได้แก่ หน่อกล้วย ไผ่ กล้วยไม้ เป็นต้น -การสร้างสปอร์ (sporeformation) ได้แก่ มอส เฟิร์น เป็นต้น -การตอนกิ่ง (marcotting) ได้แก่ กุหลาบ มะม่วง ส้ม เงาะ เป็นต้น -การติดตา (budding) ได้แก่ กุหลาบ ยางพารา เป็นต้น -การทาบกิ่ง (grafting) ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น -การปักชา (cutting) ได้แก่ ชบา เฟื่องฟ้า เป็นต้น - การแตกต้นใหม่จากส่วนต่างๆของพืช

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexualreproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยดอกมีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย กระบวนการสร้าง เซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก เกิดขึ้นในเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก มี 2 ชนิด คือ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เซลล์สืบพันธุ์ทั้ง สองมีขั้นตอนในการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจานวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง และเมื่อเกิดการปฏิสนธิ จานวนโครโมโซมจะมี จานวนเท่าเดิมอีกครั้ง

การสร้างเซลล์สืบพันธ์เพศผู้

 การสร้างเซลล์สืบเพศผู้ หรือ การสร้างละอองเรณู (Microsporogenesis)

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เกิดขึ้นในอับเรณู (Anther) ซึ่งประกอบด้วยอับละอองเรณู (Pollen sac) 4 อัน Pollen sac จะมีเซลล์อยู่เป็นกลุ่ม เรียกว่า ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (Microspore mother cell) 1. ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ซึ่งมีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n) แบ่งเซลล์แบบ Meiosis ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์โดยมีจานวนโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (n) เรียกแต่ ละเซลล์ว่าไมโครสปอร์ (Microspore) 2. ไมโครสปอร์แบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้นิวเคลียส 2 อัน คือ เจเนอเรทีพนิวเคลียส (Generative nucleus) และ ทิวป์นิวเคลียส (Tube nucleus) ไมโครส ปอร์ในระยะนี้จะสร้างผนังหนา 2 ชั้นหุ้มรอบเซลล์ โดยผนังชั้นในประกอบด้วยเซลลูโลส และเพกติน ส่วนผนัง

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ชั้นนอกเป็นคิวติน เซลล์ในระยะนี้เรียกว่า ละอองเรณู (Pollen grain) หรือ แกมีโทไฟท์เพศผู้ (Male gametophyte) พืชแต่ละชนิดมีลักษณะของละอองเรณูที่แตกต่างกัน

ภาพแสดงการสร้างเซลล์สืบพันธุเ์ พศผู้ในพืชดอก หรือที่เรียกว่า ละอองเรณู

เมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่อับเรณูจะแตกออกทาให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไป ลักษณะของละอองเรณูมีความแตกต่างกันทั้งขนาด รูปร่าง ลักษณะ และจานวน เนื่องจากพืชดอกมีวิวัฒนาการ ยาวนานมาก จึงมีความหลากหลาย บางชนิดผิวขรุขระ บางชนิดมีหนามหรือปุ่มยื่นออกมา มีความเหนียวขึ้น เมื่อ ตกบนยอดเกสรเพศเมียแล้วจะไม่ปลิวไปตามลม ซึ่งเหมาะสมต่อการถ่ายละอองเรณูไปบนยอดเกสรเพศเมีย จานวนละอองเรณูส่วนใหญ่มีจานวนมากกว่าเซลล์ไข่มาก เนื่องจากมีโอกาสน้อยที่จะตกบนยอดเกสรเพศเมียพอดี เพราะบางชนิดต้องถ่ายละอองเรณูข้ามดอกและข้ามต้นซึ่งอยู่ในระยะไกลๆ

ภาพของละอองเรณูที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศอิเล็กตรอนแบบส่งกราด (SEM) และใช้โปรแกรมตกแต่งภาพในการย้อมสี

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

การสร้างเซลล์สืบพันธ์เพศเมีย

 การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย หรือ การสร้างไข่ (Megasporerogenesis)

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ (Ovary) โดยที่ภายในรังไข่อามีหนึ่งออวุล (Ovule) หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์ เซลล์ (Megaspore mother cell)

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

1. เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ซึ่งมีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n) แบ่งเซลล์แบบ Meiosis ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์เรียงเป็นแถวจากบนลงล่างโดยมีจานวนโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (n) เรียกแต่ละเซลล์ว่าเมกะสปอร์ (Megaspore) 2. มี 3 เซลล์สลายไป เหลือเพียง 1 เซลล์ มีการเจริญเติบโตโดยการขยายขนาดและแบ่งนิวเคลีสแบบ Mitosis 3 ครั้ง ทาให้ได้เซลล์ที่มี 8 นิวเคลียส 3. นิวเคลียสมีการจัดกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 นิวเคลียส กลุ่มหนึ่งอยู่ทางด้านไมโครไพล์ (Micropyle) อีกกลุ่มอยู่ด้านตรงข้ามไมโครไพล์ นิวเคลียสอันหนึ่งจากกลุ่มด้านไมโครไพล์ และอีกอันหนึ่งจากกลุ่มที่อยู่ด้านตรง ข้ามไมโครไพล์ จะเคลื่อนที่มาอยู่ตรงกลาง ดังนั้นนิวเคลียสในเมกะสปอร์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ - กลุ่มที่อยู่ตรงข้าม ไมโครไพล์ มี 3 นิวเคลียส เรียกว่า แอนติโพดอล (Antipodal) - กลุ่มที่อยู่ตรงกลางมี 2 นิวเคลียส เรียกว่า โพลานิวเคลียส (Polar nucleus) - กลุ่มทีอ่ ยู่ทางด้านไมโครไพล์มี 3 นิวเคลียส นิวเคลียสอันตรงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า เซลล์ไข่ (Egg cell) และอีก 2 เซลล์ที่อยู่ด้านข้างเซลล์ไข่เรียกว่า ซินเนอร์จิด (Synergids) 4. นิวเคลียสแต่ละอันและโพลานิวเคลียสทั้งสอง จะมีเยื่อหุ้มทาให้เมกะสปอร์ ประกอบด้วย 7 เซลล์แต่มี 8 นิวเคลียส เมกะสปอร์ระยะนี้เรียกว่า ถุงเอมบริโอ (Embryo sac) หรือ แกมีโทไฟท์เพศเมีย (Female gametophyte) https://www.youtube.com/watch?v=I8W4LyIXINE

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

สรุป - กระบวนการสร้าง Embryo sac เกิดใน Ovule ของรังไข่ โดยผ่านกระบวนการ Meiosis( I, II ) และ Mitosis (3 ครั้ง) - 1 Magaspore mother cell แบ่งตัวเสร็จจะได้ 1 Embryo sac (7 เซลล์ 8 นิวเคลียส) ถูกปฏิสนธิ 2 ครั้ง เซลล์ถูกปฏิสนธิ 2 เซลล์ นิวเคลียสถูกใช้ 3 นิวเคลียส (สลายไป 5 เซลล์)

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิด เดียวกัน จะเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่ อับเรณูก็จะแตกออกเกิดเป็นละอองกระจายไป โดยอาศัยลม น้า หรือ สิ่งอื่นๆพาไปในที่ต่างๆโดยเฉพาะแมลง พืชดอกแต่ล่ะชนิดมีละอองเรณูและรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจานวนที่แตกต่างกันเมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมียโดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น้า แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมีย เรียกว่า การถ่ายละออง เรณู (pollination)

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

เมื่ อ ละอองเรณู ตกลงสู่ ยอดเกสรตั ว เมี ย ละอองเรณู จ ะงอกท่ อ ยาว เรี ย กว่ า พอลเลน ทิว บ์ (Pollen tube) ลงสู่ก้ านเกสรตัว เมี ย ทิว บ์นิ วเคลี ยสจะเคลื่ อนตัว ไปตามท่ อ ผ่า นทางรู ไมโคร ไพล์ (Micropyle) ของออวุล ในขณะนี้เจเนเรทีฟนิวเคลียส (Generative nucleus) จะแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีส ได้สเปิร์มนิวเคลียส (Sperm nucleus) 2 ตัว เข้าผสมกัน นิวเคลียสของไข่ (Egg cell) ได้ไซโกต (2n) ซึ่งจะเจริญ เป็นเอมบริโอต่อไป ส่วนอีกนิวเคลียสจะผสมกับ โพลาร์นิวคลีไอ (Polar nuclei) เจริญเป็นเอนโดสเปิร์ม (3n) ซึ่ง เป็นอาหารสาหรับเลี้ยงเอมบริโอ

การผสมซึ่งเกิดจากการผสม 2 ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) ซึ่งพบ เฉพาะใน พืชดอกเท่านั้น หลังจากปฏิสนธิแล้ว รังไข่ (ovary ) เจริญเป็น ผล ผนังรังไข่ (ovary wall ) เจริญเป็น เปลือกและเนื้อของผลไม้ ออวุล (ovule ) เจริญเป็น เมล็ด ไข่ (egg ) เจริญเป็น ต้นอ่อนอยูภ่ ายในเมล็ด โพลาร์นิวเคลียส (polar nucleus ) เจริญเป็น เอนโดสเปิร์ม เยื่อหุ้มออวุล (integument ) เจริญเป็น เปลือกหุ้มเมล็ด ********สาหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอกจะเหี่ยวแห้งและสลายตัวไป การปฏิสนธิซ้อนของพืชดอก มีความสาคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผลไม้ที่เราใช้รับประทานก็เกิดมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกจ้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วน ของเอนโดสเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยูใ่ นใบเลี้ยงของเอมบริโอของถั่ว

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ภาพแสดงลักษณะของดอกไม้หลังจากปฏิสนธิแล้ว

การเกิดผลและเมล็ด โครงสร้างของผลเมื่อรังไข่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นผล ผนังรังไข่จะเปลี่ยนเป็นเพริคาร์ป (pericarp) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ภายใน เพริคาร์ปของผลแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เอกโซ คาร์ป มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ป 1.1 เอกโซคาร์ป (exocarp) เป็นชั้นนอกสุดของผลที่มักเรียกว่าเปลือก โดยทั่วไปประกอบด้วย เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสเพียงชั้นเดียว แต่ก็มีผลบางชนิดที่เอกโซคาร์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชั้นและอาจมีปากใบ ด้วย เอกโซคาร์ปของพืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เรียบเหนียว เป็นมัน ขรุขระ อาจมีหนาม มีขน หรือต่อมน้ามัน

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

1.2 มีโซคาร์ป (mesocarp) เป็นชั้นกลางถัดจากเอกโซคาร์ปเข้ามา ผลบางชนิดนั้นมีโซคาร์ปหนา บางชนิดบางมาก มีโซคาร์ปของผลบางชนิดเป็นเนื้ออ่อนนุ่มใช้รับประทานได้ 1.3 เอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นชั้นในสุดของเพริคาร์ป ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีความหนาชั้น เดียวหรือหลายชั้นจนมีลักษณะหนามาก บางชนิดเป็นเนื้อนุ่มใช้รับประทานได้

ภาพแสดงผนังรังไข่จะเปลีย่ นเป็นเพริคาร์ป (pericarp) เพริคาร์ปของผลแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ผลบางชนิดมีเพริคาร์ปเชื่อมติดกันจนแยกไม่ออก เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง บางชนิดส่วนเอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ปเชื่อมติดกันหรือแยกกันไม่เด่นชัด เช่น มะเขือ เทศ มะละกอ ฟัก แต่เพริคาร์ปของพืชอีกหลายชนิดสามารถแยกเป็น 3 ชั้นชัดเจน เช่น มะม่วง พุทรา มะพร้าว มะปราง

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ผลที่กาเนิดมาจากรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น แตงกวา ฟักทอง ทับทิมและฝรั่ง มีเปลือกนอกเป็น ผนังของฐานดอก ส่วนเพริคาร์ปจะอยู่พัดเข้าไปและมักเชื่อมรวมกันจนสังเกตยาก ผลบางชนิดมีส่วน เนื้อที่รับประทานได้เจริญมาจากฐานดอกซึ่งอวบเต่งเจริญเป็นเนื้อผล เช่น แอปเปิ้ล ส่วนที่เป็นเพริ คาร์ปจริง ๆ จะอยู่ข้างใน เนื้อของผลชนิดนี้เรียกว่า ซูโดคาร์ป (seudocarp) เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ทานตะวัน ดาวเรือง ผักกาดหอม ส่วนที่เรียกว่า เมล็ด นั้นแท้จริงแล้วคือผล ซึ่งเป็นผลที่มีขนาดเล็ก มีเพริคาร์ปบางมากแนบสนิทกับเยื่อหุ้มเมล็ด ดังในกรณี ของบัว ส่วนของแกลบก็คือเพริคาร์ป ราคือส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและข้าวสารที่ใช้รับประทานคือ เอนโด สเปิร์ม

ชนิดของผล การจาแนกประเภทของผล สามารถกระทาได้โดยอาศัยลักษณะต่าง ๆ ของผลเป็นหลักในการ จาแนก ได้แก่ โครงสร้างของดอกที่เจริญกลายเป็นผล จานวนและชนิดของรังไข่ จานวนคาร์เพลในรัง ไข่ ลักษระของเพริคาร์ปเมื่อผลแก่ ลักษณะการแตกหรือไม่แตกของเพริคาร์ปเมื่อแก่ ตลอดจนส่วนอื่น ๆ ของดอกที่เจริญเป็นส่วนประกอบของผล 1 ผลเดี่ยว (simple fruit) คือผลที่เจริญมาจากรังไข่อันเดียวภายในดอกหนึ่ง ๆ รังไข่นี้อาจ ประกอบด้วยคาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลเชื่อมกัน ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยวหรือช่อดอกก็ได้ผลเดี่ยว ยังสามารถจาแนกตามลักษณะของเพริคาร์ปได้เป็น ผลสดและผลแห้ง 1.1 ผลสด (fleshy fruit) เป็นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีเนื้อนุ่มและสดจาแนก ได้ดังนี้ 1) ดรูป (drupe) เป็นผลสดชนิดที่เพริคาร์ปแบ่งเป็น 3 ชั้น เอนโดคาร์ปแข็งมาก อาจเรียกว่า สโตนฟรุต (stone fruit) เอนโดคาร์ปมักติดกับเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งมีอยู่เมล็ดเดียวมีโซ คาร์ปเป็นเนื้อนุ่มหรือเป็นเส้นเหนียว ๆ ส่วนเอกโซคาร์ปเรียบเป็นมัน มีคาร์เพลเดียวหรือหลายเคร์เพล เช่น มะม่วงพุทรา มะปราง มะกอก มะพร้าว ตาล เชอรี่ ท้อ 2) เบอรี (berry) เป็นผลสดที่มีเพริคาร์ปอ่อนนุ่ม เอกโซคาร์ปเป็นผิวบาง ๆ มีโซ คาร์ป และเอนโดคาร์ปรวมกันแยกได้ไม่ชัดเจน เช่น มะเขือ มะเขือเทศ พริก องุ่น กล้วย ฝรั่ง

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

3) เพโป (pepo) เป็นผลสดที่มีลักษณะคล้ายเบอรี แต่มีเปลือกนอกหนาเหนียวและ แข็ง เจริญมาจากฐานดอกเชื่อมรวมกับเอกโซคาร์ป ชั้นมีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ปเป็นเนื้อเยื่ อนุ่ม ผล ชนิดนี้มักเจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น ฟัก แฟง แตงกวา น้าเต้า บวบ มะตูม 4) เฮสเพริเดียม (hesperidium) เป็นผลสดที่มีเอกโซคาร์ปค่อนข้างแข็งและ เหนียว มีต่อมน้ามันมาก เปลือกประกอบด้วยเอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ปซึ่ง ติดกันและมองเกือบไม่เห็น รอยแยก แต่ ชั้ นมี โ ซคาร์ ป จะมีสี ข าวและไม่ ค่อ ยมี ต่อ มน้ ามั น เอนโดคาร์ ป เป็ น เยื่ อบาง ๆ หุ้ ม เนื้ อ บางส่วนจะเปลี่ยนไปเป็นขนหรือถุงสาหรับเก็บน้า (juice sac) ซึ่งเป็นเนื้อที่ใช้รับประทาน เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด 5) โพม (pome) เป็นผลสดที่เจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย มีหลายคาร์ เพล เนื้อผลส่วนใหญ่มาจากฐานดอกหรือส่วนฐานของกลีบดอก กลีบเลี้ยงและก้านเกสรตัวผู้ซึ่งเชื่อม ติดกัน โอบล้อมผนังรังไข่ เนื้อส่วนน้อยที่อยู่ด้านในเกิดจากเพริคาร์ป ส่วนเอนโดคาร์ปจะบางหรือมี ลักษณะกรุบ ๆ คล้ายกระดูกอ่อน เช่น แอปเปิล สาลี่ ชมพู่ 6) แอริล (arill) เป็นผลสดซึ่งเนื้อที่รับประทานได้เรียกว่าแอริล เจริญมาจากส่วน ของเมล็ดซึ่งเจริญออกมาห่อหุ้มเมล็ด (outgrowth of seed) และมีเพริคาร์ปเป็นเปลือกห่อหุ้มอยู่ ชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง เช่น เงาะ ลาไย 1.2 ผลแห้ง (dry fruit) เป็นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเพริคาร์ปจะแห้งจาแนก ย่อยเป็นผลแห้งแตกเองได้และผลแห้งแล้วไม่แตก 1) ผลแห้งแตกเองได้ (dehiscent dry fruit) เป็นผลที่เมื่อแก่แล้วเพริคาร์ปจะ แห้งและแตกได้ จาแนกย่อยได้ดังนี้ - เลกูม (legume) เป็นผลที่เกิดจากดอกที่มีรังไข่คาร์เพลเดียว ภายในมีเมล็ดมาก ติดอยู่ด้านข้างผล เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามรอยตะเข็บ เช่น ถั่ว แค กระถิน ชงโค - ฟอลลิเคิล (follicle) เป็นผลที่เกิดจากดอกที่มีรังไข่คาร์เพลเดียว ภายในมีเมล็ด มาก เมื่อผลแก่จะแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว เช่น รัก ขจร ยี่หุบ ลั่นทม แพงพวย แมกคาเด เมีย - แคปซูล (capsule) เป็นผลที่เกิดจากดอกที่มีรังไข่หลายคาร์เพลมาเชื่อมกัน เมื่อ ผลแก่จะแตกตามรอยหรือมีช่องเปิดให้เมล็ดออก จาแนกตามการแตกของผลได้ดังนี้ - โลคูลิซิดัลแคปซูล (loculicidal capsule) เป็นผลที่แตกออกตรงกลางพูหรือ กึ่งกลางของคาร์เพล เช่น ทุเรียน ตะแบก อินทนิล ฝ้าย - เซปทิซิดัลแคปซูล (septicidal capsule) เป็นผลที่แตกตรงผนังกั้นพู (septum) หรือแนวเชื่อมระหว่างคาร์เพล เช่น กระเช้าสีดา - เซอร์คัมเซสไซล์แคปซูล (circumessile capsule) เป็นผลที่แตกเป็นวงรอบ ๆ ผลตามขวาง มีลักษณะคล้ายฝาเปิด เช่น หงอนไก่ แพรเซี่ยงไฮ้ - ซิลิก (silique) เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีสองคาร์เพลติดกัน เมื่อผลแก่เพริคาร์ป จะแตกตรงกลางตะเข็บโดยเริ่มจากก้านขึ้นไปสู่ปลายเป็นสองซีก เหลือผนังบาง ๆ (septum) ติดก้าน อยู่ เช่น ผักกาด ผักเสี้ยน ต้อยติ่ง

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

- ซิโซคาร์ป (schizocarp) เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีหลายคาร์เพล เมื่อแก่จะ แตกออกเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า เมริคาร์ป (mericarp) และมีเมล็ดอยู่ภายในซีกละเมล็ด เช่น ผักชี ยี่หรา ขึ้นฉ่าย แครอต 2) ผลแห้งแล้วไม่แตก (indehiscent dry fruit) เป็นผลที่เมื่อแก่แล้วจะไม่แตกออก เอง โดยปติมีเมล็ดน้อยเพียง 1 - 2 เมล็ดเท่านั้น จาแนกย่อยได้ดังนี้ - เอคีน (achene) เป็นผลขนาดเล็ก มีเมล็ดเดียว เพริคาร์ปแข็ง ไม่เชื่อมรวม ติ ด กั บ เปลื อ กหุ้ ม เมล็ ด นอกจากตรงก้ า นฟั น นิ คิ ว ลั ส เท่ า นั้ น เช่ น ทานตะวั น ดาวเรื อ ง บางชื่ น ดาวกระจาย - ซามารา (samara) เป็นผลที่มีส่วนของเพริคาร์ปแผ่ออกเป็นแกแบน ๆ บาง ๆ เพื่อให้ลอยไปกับลมได้ มี 1 - 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมีเมล็ดเดียว เช่น ประดู่ ตะเคียน - คาริออปซิส (caryopsis) เป็นผลที่มีขนาดเล็ก มีเมล็ดเดียวคล้ายเอคีน แต่เพริคาร์ปเชื่อมรวมกันแน่นกับเปลือกหุ้มเมล็ดโดยตลาด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี - โลเมนตัม (lomentum) เป็นผลที่มี่ลักษณะคล้ายเลกูม มีคาร์เพลเดียว หัก เป็นข้อ ๆ ได้ตามขวาง แต่ละข้อมีเมล็ดเดียว ผลชนิดนี้มักเป็นฝักยาว เช่น จามจุรี คูน มะขาม 2.2 ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือผลที่เจริญมาจากหลาย ๆ รังไข่ที่อยู่ในดอกเดียวกัน โดยอยู่บนรากฐานดอกเดียวกัน รังไข่แต่ละอันจะเจริญเป็นผลย่อยหลาย ๆ ผล บางชนิดผนังรังไข่แต่ ละอันอยู่อัดกันแน่นจนผนังเชื่อมรวมกันทาให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่ แต่บาง ชนิดแม้ผนังรังไข่จะอัดกันแน่นแต่จะไม่เชื่อมรวมกัน เช่น ลูกจาก นอกจากนี้ผลกลุ่มบางชนิดจะแยกเป็น ผลเล็ก ๆ หลายผลอยู่บนฐานดอกเดียวกัน เช่น กระดังงา การะเวก นมแมว จาปี จาปา สาหรับสต รอเบอรีนั้นเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากฐานดอกซึ่งเชื่อมรวมกันแล้วมีผลย่อย ๆ ซึ่งเป็นผลเดียวชนิด เอคีนติดอยู่ผิวนอก 2.3 ผลรวม (multiple fruit) คือผลที่เจริญมาจากกลุ่มรังไข่ของช่อดอกซึ่งเชื่อมรวมกันแน่น บนฐานดอกหรือก้านดอกรวมเดียวกัน รังไข่เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อย ๆ และเชื่อมกันแน่นจนเป็น ผลรวมหนึ่งผล บางชนิดอาจมีส่วนอื่น ๆ ของดอก ได้แก่ ฐานดอก กลีบดอก กลีบเลี้ยงและยอดเกสร ตัวเมียเจริญควบคู่มากับรังไข่แล้วกลายเป็นส่วนของผลด้วย เช่น สับปะรด ขนุน ยอ สาเก สับปะรดเป็นผลรวมที่มีส่วนที่เป็นไส้กลางเจริญมาจากแกนกลางของช่อดอกชนิดสไปก์เนื้อที่ รับประทานส่วนนอก ๆ เกิดจากรังไข่โดยมีส่วนโคนเชื่อมกันแน่น เนื้อส่วนในเกิดจากแกนของช่อดอก ส่วนที่เป็นแผ่นคลุมตาคือใบประดับ ผลขนุน สาเกและยอ มีซังและเนื้อเป็นส่วนกลีบรวม (tepal) ยอดเกสรตัวเมียจะกลายเป็นแผ่น ติดกันเป็นส่วนผิวและหนามที่หุ้มผลไว้

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

การเกิดเมล็ด การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดภายในรังไข่ทาให้เกิดไซโกตและเอนโดสเปิร์ม จากนั้นไซโกต ก็จะ แบ่งเซลล์ ดังภาพ

จากภาพแสดงการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอพืชใบเลี้ยงคู่ พบว่าจากระยะ ก เป็นระยะ ข และ ค ไซโกตมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจานวนมาก และขนาดของเอ็มบริโอมีขนาดใหญ่กว่าไซโกตมาก เซลล์เริ่มมีการ เปลี่ยนแปลงในระยะ ง ถึง จ มีการเพิ่มจานวนเซลล์มากขึ้นกว่าเดิม ขนาดของเอ็มบริโอเพิ่มมากขึ้น เซลล์เริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะสร้างอวัยวะ ส่วนภาพ ฉ เริ่มมีอวัยวะเกิดขึ้น เซลล์มีจานวนมากขึ้นและขนาดของ เอ็มบริโอใหญ่ขึ้น การแบ่งเซลล์เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเพิ่มจานวนเซลล์ของเอ็มบริโอ กระบวนการที่ ไซโกตของพืชเจริญเป็นเอ็มบริโอมีกระบวนเช่นเดียวกับสัตว์ คือประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1.การแบ่งเซลล์ ( cell division) 2.การเพิ่มขนาดหรือการเจริญเติบโต (growth) 3. การเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อไปทาหน้าที่เฉพาะอย่าง (differentiation) 4. กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นอวัยวะและเกิดเป็นรูปร่าง (morphogenesis)

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ประกอบด้วยส่วนสาคัญ คือ

1. เปลือกหุ้มเมล็ด(seed coat) อยู่ชั้นนอกสุดของเมล็ด ป้องกันอันตรายให้เมล็ด 2. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) ทาหน้าที่ สะสมอาหารพวกแป้ง โปรตีน ไขมัน และน้าตาล ไว้เลี้ยง ต้นอ่อนในเมล็ด 3. ต้นอ่อน(embryo) คือ ส่วนที่เจริญไปเป็นต้นอ่อน ประกอบด้วย - ใบเลี้ยง(cotyledon) ทาหน้าที่ สะสมอาหารให้ต้นอ่อน - ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง(epicotyl) จะเจริญไปเป็นลาต้นส่วนบน กิ่ง ก้าน ใบ ส่วนปลายสุดเรียกว่า ยอดแรกเกิด (plumule) - ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง(hypocotyl) จะเจริญไปเป็นลาต้นส่วนล่าง ส่วนปลายสุดที่อยู่ ใต้ใบเลี้ยงเรียกว่า รากแรกเกิด (radicle)ซึ่งจะกลายเป็นรากแก้วต่อไป รากแรกเกิดจะงอกออกมาทางรอยแผลเป็น (raphae) ซึ่งบริเวณนี้จะมีรูที่เรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle)เป็นทางงอกของเมล็ด

หน้าที่ของเมล็ด เมล็ดมีหน้าที่ในการแพร่พันธุ์ โดยวิธีการต่าง ๆ ตามลักษณะเมล็ดพืช เช่น อาศัยลม น้า คน สัตว์ การดีดกระเด็นของเมล็ดพืชเมื่อเมล็ดพืชแตก เมล็ดเมื่อได้รับความชื้น(น้า) อากาศ อุณหภูมิที่พอเหมาะ เมล็ดจะงอกเป็นต้นใหม่ และ เจริญเติบโตออกดอก ผล และเมล็ดวนเวียนเช่นนี้ ตลอดไป

ใบความรู้ที่ 1 เอกสารประกอบการสอน วิชา ชีววิทยา(ว30242)

เรื่อง โครงสร้างของดอก ระดับชั้น ม.5 โรงเรียนเทพศิรินทร์

ตางรางเปรียบเทียบเมล็ดชนิดต่างๆ( ส่วนประกอบของเมล็ด)

ที่มา http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/biology5_2/lesson3.php